ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง นโยบายรัฐบาลในสายตาของ
ประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
จำนวนทั้งสิ้น 1,108 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจใน
ครั้งนี้
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความสำคัญของการแถลงนโยบายรัฐบาลในยุคการปฏิรูปการปกครองฯ พบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อย
ละ 74.2 เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 10.8 ระบุไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ และร้อยละ 15.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจทัศนคติของประชาชนพบว่า นโยบายของรัฐบาลในเรื่องการปฏิรูปการเมืองการปกครองได้รับคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจาก
ประชาชนต่ำสุดหรือ 6.24 คะแนน เปรียบเทียบกับคะแนนการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ (8.51 คะแนน) และนโยบายด้าน
สังคม (9.33 คะแนน)
อย่างไรก็ตาม นโยบายด้านการเมืองการปกครองที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุดได้แก่ นโยบายป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับ
ซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ (ร้อยละ 91.9 ระบุเห็นด้วย) รองลงมาคือ
นโยบายส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อ สังคม (ร้อยละ 91.6 ระบุเห็นด้วย) และการที่รัฐบาลจะเน้นให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ (ร้อยละ 90.1 ระบุเห็นด้วย) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ามีนโยบายบาง
ประการที่พบว่าประชาชนอาจจจะยังไม่เข้าใจหรือยังไม่เห็นการทำงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน จึงมีประชาชนบางส่วนไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อนโยบาย
ดังกล่าว ได้แก่ การจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง (ร้อยละ 29.5 ไม่ระบุความคิดเห็น) การผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง
และวิทยุโทรทัศน์ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง (ร้อยละ 28.0 ไม่ระบุความคิดเห็น) และ การเสริมสร้างมาตรการป้องกันปราบปรามทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในภาคการเมือง ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ (ร้อยละ 25.9 ไม่ระบุความคิดเห็น)
นอกจากนี้ ผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อนโยบายในภาคเศรษฐกิจนั้นพบว่า นโยบายที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด 3 อันดับแรก
ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่วางแผน จนถึงดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ (ร้อยละ 92.5 ระบุเห็นด้วย) รองลง
มาคือนโยบายการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า (ร้อยละ 91.4 ระบุเห็นด้วย) และนโยบายสนับสนุนการออมใน
ทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัด เพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน (ร้อยละ 86.6 ระบุเห็นด้วย)
สำหรับทัศนคติของประชาชนต่อนโยบายภาคสังคมนั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 เห็นด้วยกับทุกนโยบายที่รัฐบาลแถลง
ทั้งนี้นโยบายที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ นโยบายเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 96.4
ระบุเห็นด้วย) นโยบายส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ (ร้อยละ 95.8 ระบุเห็นด้วย) และส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็น
สุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบันศาสนา (ร้อยละ 94.7 ระบุเห็น
ด้วย) ตามลำดับ
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สัดส่วนของประชาชนที่ระบุมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศมีแนวโน้มลดลงจากการสำรวจก่อน
หน้านี้ (30 กันยายน 2549) โดยพบว่าในด้านเสถียรภาพทางการเมืองนั้น ตัวอย่างร้อยละ 58.4 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ
32.2 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 9.4 ไม่ระบุความคิดเห็น เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจของประเทศที่
พบว่ามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ร้อย
ละ 25.7 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหายาเสพติดในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.9 ระบุเชื่อมั่น ร้อย
ละ 14.8 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.9 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 25.8 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อย
ละ 9.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันโดยภาพรวมได้รับการตอบรับจากประชาชนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้าง
ดีและถึงดีมากในส่วนของนโยบายด้านสังคม แต่ปัญหาที่ต้องพิจารณาคือ นโยบายเรื่องการปฏิรูปการเมืองการปกครองที่ไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมแนว
ทางแก้ปัญหาสำคัญที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้ได้คะแนนสนับสนุนจากประชาชนต่ำสุด ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่นำมาซึ่งการปฏิรูปการปกครองฯ ด้วย
การยึดอำนาจ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า รัฐบาลกลับเขียนนโยบายที่ดูจะทำยากภายในกรอบเวลาเพียงหนึ่งปี ที่จริงเขียนสั้นๆ เน้นไปที่ 9 เรื่องและทำให้
ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมก็น่าจะพอ คือ
1) เร่งสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติและเสริมสร้างความเป็นธรรม คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมประเพณีไทย
2) เร่งรัดดำเนินการเอาผิดบรรดานักการเมือง ข้าราชการและนายทุนที่ทุจริตคอรัปชั่นในช่วงเวลาของรัฐบาลที่ผ่านมา และเสริมสร้าง
ระบบและกลไกป้องกันแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งในรัฐบาลชุดปัจจุบันและอนาคต
3) เร่งรัดดำเนินการเอาผิดกับการแทรกแซงองค์กรอิสระในรัฐบาลที่ผ่านมา และสร้างเสริมระบบและกลไกปกป้ององค์กรอิสระต่างๆ ให้
เข้มแข็ง เช่น การเสริมสร้างทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งได้บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ได้ผู้แทนราษฎรที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมแท้จริง
การเสริมสร้างทำให้คณะกรรมการ ปปช. มีศักยภาพดำเนินการเอาผิดนักการเมือง ข้าราชการ และนายทุน ที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น ฮั้วประมูล ถึงไม่มี
ใบเสร็จแต่พบว่ามีการเอื้อประโยชน์หรือการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
4) ดำเนินการเอาผิดกลุ่มบุคคลที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีท่าทีอันเชื่อได้ว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐบาลต้องมีนโย
บายชัดเจนในการรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนทุกหมู่เหล่า
5) ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกชนชั้นและระดับการปกครอง ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
7) นโยบายการต่างประเทศเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและการค้าระหว่างประเทศในเวทีโลก
8) นโยบายด้านความมั่นคงที่รัฐบาลจะส่งเสริมผนึกกำลังทุกภาคส่วนของสังคมในการรักษาป้องกันราชอาณาจักรและความมั่นคงภายใน
9) ดำเนินการสานต่อนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนทั่วไปโดยทำให้เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เช่น
นโยบายแก้ปัญหายาเสพติด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
แต่ปัญหาที่พบหลังจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลคือ นโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติน่าจะเหมาะกับรัฐบาลชุดต่อไปใน
อนาคตมากกว่า เพราะเป็นนโยบายที่ต้องใช้เวลามากในการทำให้บรรลุได้และประชาชนจำนวนมากที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้ต่างก็มองว่ามันเป็น
นโยบายที่เป็นนามธรรมมากจับต้องได้ยาก สุดท้ายก็ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นและไม่มีพลังที่มากพอในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อวคามสำคัญในการแถลงนโยบายรัฐบาลในยุคการปฏิรูปการปกครองฯ
2. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาล ในภาคการเมืองการปกครอง ภาคเศรษฐกิจ และภาคสังคม
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “นโยบายรัฐบาลในสายตาของประชาชน กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,108 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,108 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 27.7 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 21.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความสำคัญของการแถลงนโยบายรัฐบาลในยุคการปฏิรูป
การปกครองฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องสำคัญ 74.2
2 ไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ 10.8
3 ไม่มีความเห็น 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคการเมืองการปกครอง
ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. รัฐบาลจะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ 90.1 4.2 5.7
2. เสริมสร้างมาตรการป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในภาคการเมือง ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 70.4 3.7 25.9
3. เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรม 87.3 6.8 5.9
4. จัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง 58.4 12.1 29.5
5. ส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม 91.6 6.1 2.3
6. ผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง 64.4 7.6 28.0
7. ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พิทักษ์ปกป้องสิทธิและประโยชน์ของ
ตนเองและสังคมไทย 87.5 4.9 7.6
8. เน้นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีมโนสุจริต ดำรงชีพอย่างพอเพียง
มีขีดความสามารถบริการประชาชน 82.8 3.3 13.9
9. สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 74.4 12.5 13.1
10. ป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน และการแสวงหาผล
ประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ 91.9 4.4 3.7
คะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง หรือหลักธรรมาภิบาล
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)6.24 คะแนน
สำหรับเหตุผลประกอบสำหรับผู้ที่ระบุ “ไม่มีความเห็น” คือ 1) นโยบายไม่ชัดเจน 2) เป็นนามธรรมจับต้องยากเกินไป
3) นโยบายคลุมเคลือ 4) ไม่ทราบไม่ได้ติดตามข่าว 5) ไม่เข้าใจ เป็นต้น
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคเศรษฐกิจ
ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. ขยายโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร 82.3 6.0 11.7
2. สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 79.6 8.4 12.0
3. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐ
เพื่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 74.6 10.4 15.0
4. ส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 85.1 6.6 8.3
5. การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 76.8 11.8 11.4
6. ส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ 84.2 4.5 11.3
7. พัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย 83.7 5.9 10.4
8. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่วางแผน จนถึงดำเนินโครงการ
ลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ 92.5 5.3 2.2
9. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า 91.4 7.1 1.5
10. สนับสนุนการออมในทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลด
หนี้สินในระดับครัวเรือน 86.6 12.9 0.5
คะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)8.51 คะแนน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคสังคม
ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 95.8 3.8 0.4
2. ส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรม
ร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบันศาสนา 94.7 3.3 2.0
3. เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 96.4 2.1 1.5
4. พัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนและเสนอออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 92.2 5.1 2.7
5. ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชนให้ประชาชนทุกระดับได้มีโอกาสเล่นกีฬา
และออกกำลังกาย 88.1 7.4 4.5
6. ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน องค์กร อาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบัน การศึกษา
และศาสนาร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง 90.6 5.9 3.5
7. ดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 91.1 4.2 4.7
8. สนับสนุนสิทธิสตรี และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 89.5 7.8 2.7
9. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 92.9 3.9 3.2
10. คุ้มครองสิทธิเสริภาพประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม 94.2 3.5 2.3
คะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)9.33 คะแนน
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน 30 กันยายน 3 พฤศจิกายน
1 เชื่อมั่น 26.3 19.6
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 46.8 38.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.9 20.7
4 ไม่เชื่อมั่น 8.2 11.5
5 ไม่มีความเห็น 3.8 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน 30 กันยายน 3 พฤศจิกายน
1 เชื่อมั่น 23.1 20.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 40.9 37.9
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.2 12.5
4 ไม่เชื่อมั่น 11.7 13.2
5 ไม่มีความเห็น 10.1 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหายาเสพติดในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 11.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 14.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 37.9
4 ไม่เชื่อมั่น 25.8
5 ไม่มีความเห็น 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
จำนวนทั้งสิ้น 1,108 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจใน
ครั้งนี้
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความสำคัญของการแถลงนโยบายรัฐบาลในยุคการปฏิรูปการปกครองฯ พบว่า ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 คือร้อย
ละ 74.2 เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 10.8 ระบุไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ และร้อยละ 15.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจทัศนคติของประชาชนพบว่า นโยบายของรัฐบาลในเรื่องการปฏิรูปการเมืองการปกครองได้รับคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจาก
ประชาชนต่ำสุดหรือ 6.24 คะแนน เปรียบเทียบกับคะแนนการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ (8.51 คะแนน) และนโยบายด้าน
สังคม (9.33 คะแนน)
อย่างไรก็ตาม นโยบายด้านการเมืองการปกครองที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุดได้แก่ นโยบายป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับ
ซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ (ร้อยละ 91.9 ระบุเห็นด้วย) รองลงมาคือ
นโยบายส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อ สังคม (ร้อยละ 91.6 ระบุเห็นด้วย) และการที่รัฐบาลจะเน้นให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ (ร้อยละ 90.1 ระบุเห็นด้วย) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่ามีนโยบายบาง
ประการที่พบว่าประชาชนอาจจจะยังไม่เข้าใจหรือยังไม่เห็นการทำงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน จึงมีประชาชนบางส่วนไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อนโยบาย
ดังกล่าว ได้แก่ การจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง (ร้อยละ 29.5 ไม่ระบุความคิดเห็น) การผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง
และวิทยุโทรทัศน์ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง (ร้อยละ 28.0 ไม่ระบุความคิดเห็น) และ การเสริมสร้างมาตรการป้องกันปราบปรามทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในภาคการเมือง ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ (ร้อยละ 25.9 ไม่ระบุความคิดเห็น)
นอกจากนี้ ผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อนโยบายในภาคเศรษฐกิจนั้นพบว่า นโยบายที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด 3 อันดับแรก
ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่วางแผน จนถึงดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ (ร้อยละ 92.5 ระบุเห็นด้วย) รองลง
มาคือนโยบายการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า (ร้อยละ 91.4 ระบุเห็นด้วย) และนโยบายสนับสนุนการออมใน
ทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัด เพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือน (ร้อยละ 86.6 ระบุเห็นด้วย)
สำหรับทัศนคติของประชาชนต่อนโยบายภาคสังคมนั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 เห็นด้วยกับทุกนโยบายที่รัฐบาลแถลง
ทั้งนี้นโยบายที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ นโยบายเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 96.4
ระบุเห็นด้วย) นโยบายส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ (ร้อยละ 95.8 ระบุเห็นด้วย) และส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็น
สุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบันศาสนา (ร้อยละ 94.7 ระบุเห็น
ด้วย) ตามลำดับ
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สัดส่วนของประชาชนที่ระบุมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศมีแนวโน้มลดลงจากการสำรวจก่อน
หน้านี้ (30 กันยายน 2549) โดยพบว่าในด้านเสถียรภาพทางการเมืองนั้น ตัวอย่างร้อยละ 58.4 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ
32.2 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 9.4 ไม่ระบุความคิดเห็น เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจของประเทศที่
พบว่ามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น-เชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ร้อย
ละ 25.7 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหายาเสพติดในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.9 ระบุเชื่อมั่น ร้อย
ละ 14.8 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 37.9 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 25.8 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อย
ละ 9.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันโดยภาพรวมได้รับการตอบรับจากประชาชนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้าง
ดีและถึงดีมากในส่วนของนโยบายด้านสังคม แต่ปัญหาที่ต้องพิจารณาคือ นโยบายเรื่องการปฏิรูปการเมืองการปกครองที่ไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมแนว
ทางแก้ปัญหาสำคัญที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้ได้คะแนนสนับสนุนจากประชาชนต่ำสุด ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่นำมาซึ่งการปฏิรูปการปกครองฯ ด้วย
การยึดอำนาจ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า รัฐบาลกลับเขียนนโยบายที่ดูจะทำยากภายในกรอบเวลาเพียงหนึ่งปี ที่จริงเขียนสั้นๆ เน้นไปที่ 9 เรื่องและทำให้
ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมก็น่าจะพอ คือ
1) เร่งสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติและเสริมสร้างความเป็นธรรม คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมประเพณีไทย
2) เร่งรัดดำเนินการเอาผิดบรรดานักการเมือง ข้าราชการและนายทุนที่ทุจริตคอรัปชั่นในช่วงเวลาของรัฐบาลที่ผ่านมา และเสริมสร้าง
ระบบและกลไกป้องกันแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งในรัฐบาลชุดปัจจุบันและอนาคต
3) เร่งรัดดำเนินการเอาผิดกับการแทรกแซงองค์กรอิสระในรัฐบาลที่ผ่านมา และสร้างเสริมระบบและกลไกปกป้ององค์กรอิสระต่างๆ ให้
เข้มแข็ง เช่น การเสริมสร้างทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งได้บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ได้ผู้แทนราษฎรที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมแท้จริง
การเสริมสร้างทำให้คณะกรรมการ ปปช. มีศักยภาพดำเนินการเอาผิดนักการเมือง ข้าราชการ และนายทุน ที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น ฮั้วประมูล ถึงไม่มี
ใบเสร็จแต่พบว่ามีการเอื้อประโยชน์หรือการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
4) ดำเนินการเอาผิดกลุ่มบุคคลที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีท่าทีอันเชื่อได้ว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐบาลต้องมีนโย
บายชัดเจนในการรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนทุกหมู่เหล่า
5) ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกชนชั้นและระดับการปกครอง ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
7) นโยบายการต่างประเทศเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและการค้าระหว่างประเทศในเวทีโลก
8) นโยบายด้านความมั่นคงที่รัฐบาลจะส่งเสริมผนึกกำลังทุกภาคส่วนของสังคมในการรักษาป้องกันราชอาณาจักรและความมั่นคงภายใน
9) ดำเนินการสานต่อนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนทั่วไปโดยทำให้เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เช่น
นโยบายแก้ปัญหายาเสพติด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
แต่ปัญหาที่พบหลังจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลคือ นโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติน่าจะเหมาะกับรัฐบาลชุดต่อไปใน
อนาคตมากกว่า เพราะเป็นนโยบายที่ต้องใช้เวลามากในการทำให้บรรลุได้และประชาชนจำนวนมากที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้ต่างก็มองว่ามันเป็น
นโยบายที่เป็นนามธรรมมากจับต้องได้ยาก สุดท้ายก็ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นและไม่มีพลังที่มากพอในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อวคามสำคัญในการแถลงนโยบายรัฐบาลในยุคการปฏิรูปการปกครองฯ
2. เพื่อสำรวจทัศนคติของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาล ในภาคการเมืองการปกครอง ภาคเศรษฐกิจ และภาคสังคม
3. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “นโยบายรัฐบาลในสายตาของประชาชน กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,108 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 4 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,108 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 27.7 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 21.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความสำคัญของการแถลงนโยบายรัฐบาลในยุคการปฏิรูป
การปกครองฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องสำคัญ 74.2
2 ไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ 10.8
3 ไม่มีความเห็น 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคการเมืองการปกครอง
ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. รัฐบาลจะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญทุกระดับ 90.1 4.2 5.7
2. เสริมสร้างมาตรการป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในภาคการเมือง ราชการ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 70.4 3.7 25.9
3. เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรม 87.3 6.8 5.9
4. จัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง 58.4 12.1 29.5
5. ส่งเสริมเสรีภาพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม 91.6 6.1 2.3
6. ผลักดันให้มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง 64.4 7.6 28.0
7. ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง พิทักษ์ปกป้องสิทธิและประโยชน์ของ
ตนเองและสังคมไทย 87.5 4.9 7.6
8. เน้นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีมโนสุจริต ดำรงชีพอย่างพอเพียง
มีขีดความสามารถบริการประชาชน 82.8 3.3 13.9
9. สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 74.4 12.5 13.1
10. ป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน และการแสวงหาผล
ประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและราชการ 91.9 4.4 3.7
คะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลในภาคการเมืองการปกครอง หรือหลักธรรมาภิบาล
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)6.24 คะแนน
สำหรับเหตุผลประกอบสำหรับผู้ที่ระบุ “ไม่มีความเห็น” คือ 1) นโยบายไม่ชัดเจน 2) เป็นนามธรรมจับต้องยากเกินไป
3) นโยบายคลุมเคลือ 4) ไม่ทราบไม่ได้ติดตามข่าว 5) ไม่เข้าใจ เป็นต้น
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคเศรษฐกิจ
ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. ขยายโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร 82.3 6.0 11.7
2. สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 79.6 8.4 12.0
3. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐ
เพื่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 74.6 10.4 15.0
4. ส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 85.1 6.6 8.3
5. การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องไม่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 76.8 11.8 11.4
6. ส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศ 84.2 4.5 11.3
7. พัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย 83.7 5.9 10.4
8. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่วางแผน จนถึงดำเนินโครงการ
ลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ 92.5 5.3 2.2
9. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในทางการค้า 91.4 7.1 1.5
10. สนับสนุนการออมในทุกระดับ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลด
หนี้สินในระดับครัวเรือน 86.6 12.9 0.5
คะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)8.51 คะแนน
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันในภาคสังคม
ประเด็นในนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น
1. ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 95.8 3.8 0.4
2. ส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรม
ร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ สื่อมวลชนและสถาบันศาสนา 94.7 3.3 2.0
3. เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 96.4 2.1 1.5
4. พัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชนและเสนอออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 92.2 5.1 2.7
5. ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชนให้ประชาชนทุกระดับได้มีโอกาสเล่นกีฬา
และออกกำลังกาย 88.1 7.4 4.5
6. ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน องค์กร อาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบัน การศึกษา
และศาสนาร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง 90.6 5.9 3.5
7. ดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 91.1 4.2 4.7
8. สนับสนุนสิทธิสตรี และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 89.5 7.8 2.7
9. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 92.9 3.9 3.2
10. คุ้มครองสิทธิเสริภาพประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม 94.2 3.5 2.3
คะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลในภาคสังคม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)9.33 คะแนน
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน 30 กันยายน 3 พฤศจิกายน
1 เชื่อมั่น 26.3 19.6
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 46.8 38.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.9 20.7
4 ไม่เชื่อมั่น 8.2 11.5
5 ไม่มีความเห็น 3.8 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน 30 กันยายน 3 พฤศจิกายน
1 เชื่อมั่น 23.1 20.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 40.9 37.9
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 14.2 12.5
4 ไม่เชื่อมั่น 11.7 13.2
5 ไม่มีความเห็น 10.1 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหายาเสพติดในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 11.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 14.8
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 37.9
4 ไม่เชื่อมั่น 25.8
5 ไม่มีความเห็น 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-