ที่มาของโครงการ
จากการที่ตัวแทนของเทมาเซกโฮลดิ้งจากประเทศสิงคโปร์ และกลุ่มพันธมิตร ร่วมกับตัวแทนบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้
เปิดแถลงข่าวเมื่อบ่ายวันที่ 23 มกราคม 2549 ถึงการที่เทมาเซกตกลงซื้อหุ้นชินคอร์ป หรือ SHIN โดยได้ทำการขายหุ้นสามัญในส่วนที่ถืออยู่ในบริษัททั้ง
หมดจำนวน 1,487,740,120 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 49.595 ของทุนชำระแล้วของบริษัทชินคอร์ป ให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (Cedar) และ
บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (Aspen) ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมาปฏิเสธไม่รู้รายละเอียด
เรื่องนี้มาตลอด ก็ออกมาชี้แจงว่าเป็นเรื่องของลูกๆ ต้องการให้ตนได้ทำงานให้บ้านเมืองเต็มที่ จะได้ไม่ต้องถูกกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน อย่าง
ไรก็ดี ได้มีหลายฝ่ายได้กล่าวว่า แท้จริงการขายหุ้นของกลุ่มชิน เป็นเรื่องที่ผิดปกติมาตั้งแต่ต้น มีเงื่อนงำซับซ้อนและมีการวางแผนตระเตรียมการมาเป็น
ระยะเวลานาน โดยเกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐ และอีกประเด็นที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง คือ เรื่องการได้รับยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็น
กำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
กรณีการขายหุ้น บมจ. ชินคอร์ป ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีการขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความโปร่งใสในการซื้อขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับการขายหุ้นชิน
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากการขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความนิยมของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายก
รัฐมนตรีภายหลังการขายหุ้นชินฯ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 25 - 26 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป อายุ 18 — 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,168 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.5 เป็นเพศชาย
และตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นเพศหญิง
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 33.9 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.7 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.3 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
และตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 37.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 13.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.8 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 6.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 6.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
โดยตัวอย่างร้อยละ 28.9 ประกอบอาชีพลูกจ้าง พนักงานบริษัท
ตัวอย่างร้อยละ 27.2 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว
ตัวอย่างร้อยละ 14.2 ประกอบอาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่างร้อยละ 13.4 เป็นนักเรียน นักศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.2 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
ตัวอย่างร้อยละ 2.9 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเกษียณอายุ
ตัวอย่างร้อยละ 0.6 ประกอบอาชีพเกษตรกร
และตัวอย่างร้อยละ 1.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ความนิยมของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีภาย
หลังการขายหุ้นชินฯ” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,168 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจวันที่ 25 - 26 มกราคม 2549 โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ตัวอย่างประชาชนร้อยละ 38.7 หรือเกินกว่า 1 ใน 3 ระบุการขายหุ้นของชินฯ ให้กลุ่มนักลงทุนต่างชาติเป็นทั้งเรื่องของธุรกิจภายใน
ครอบครัวของนายกรัฐมนตรีและเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 29.4 ระบุเป็นเรื่องธุรกิจภายในครอบครัว และร้อยละ
23.7 ระบุเป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 8.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 ไม่ทราบมาก่อนว่าการขายหุ้นของชิน ไม่มีการเสียภาษี ในขณะที่ร้อยละ 26.2 ทราบ
มาก่อน ซึ่งประชาชนที่ถูกสอบถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ระบุว่าสมควรที่จะเสียภาษีจากการขายหุ้นชิน ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุไม่สมควรเสีย
ภาษี และร้อยละ 23.2 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 เชื่อว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยการแก้ไข พร
บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ระบุให้ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นธุรกิจโทรคมนาคมจาก 25% เป็น 49% สำหรับเอื้อประโยชน์ต่อการซื้อขายหุ้นกับ
กลุ่มทุนต่างชาติ ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ไม่เชื่อ และร้อยละ 22.2 ไม่มีความเห็นต่อข้อถามที่นายกรัฐมนตรีเคยระบุว่าอาจนำเงินส่วนหนึ่งมาทำ
ประโยชน์ให้กับสังคม ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 คาดหวังน้อย / ไม่คาดหวังเลย โดยไม่คาดหวังเงินจากนายกรัฐมนตรี
(ร้อยละ 40.7) หรือคาดหวังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ร้อยละ 22.2)
ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของกลุ่มบริษัทต่างๆ ของคนใกล้ชิดกับฝ่าย
การเมือง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 คิดว่ามีการใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ รองลงมาคือร้อยละ 50.5
คิดว่าเป็นเพราะการผูกขาดในธุรกิจ ร้อยละ 47.4 คิดว่าเป็นเพราะมีเครือข่ายทางธุรกิจกว้างขวาง ร้อยละ 46.7 คิดว่าเป็นเพราะมีเงินทุนประกอบ
การจำนวนมาก และร้อยละ 42.2 คิดว่าเป็นเพราะความสามารถของผู้บริหารเอง ตามลำดับ
ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.5 ระบุว่าการขายหุ้นของชินฯ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ
25.4 ระบุไม่คิดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ และร้อยละ 26.1 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 คิดว่า
การขายหุ้นชินฯ ของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีไม่สามารถลบภาพลักษณ์ผลประโยชน์ทับซ้อนได้ ในขณะที่ร้อยละ 12.6 ระบุสามารถลบภาพได้และร้อยละ
28.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีในการสำรวจครั้งนี้คือ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.0 ระบุมีความนิยมต่อ
ตัวนายกรัฐมนตรีลดลงหรือถ้ามีอยู่ก็เป็นความนิยมที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่าเดิมแม้จะขายหุ้นไปแล้ว ในขณะที่มีร้อยละ 25.2 ระบุนิยมมากขึ้นหรือนิยมมาก
เหมือนเดิม และร้อยละ 22.8 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการขายหุ้นชินฯ เป็นเรื่องของธุรกิจภายในครอบครัวหรือ
เป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ลำดับที่ การขายหุ้นชิน ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องของธุรกิจภายในครอบครัว 29.4
2 เป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ 23.7
3 เป็นทั้งเรื่องของธุรกิจภายในครอบครัวและเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ 38.7
4 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบว่า การขายหุ้นชิน ครั้งนี้ไม่มีการเสียภาษี
ลำดับที่ การทราบว่า การขายหุ้นชิน ครั้งนี้ไม่มีการเสียภาษี ค่าร้อยละ
1 ทราบมาก่อน 26.2
2 ไม่ทราบมาก่อน (เพิ่งจะทราบ) 73.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสมควรในการเสียภาษีจากการขายหุ้นชิน
ลำดับที่ ความสมควรในการเสียภาษีจากการขายหุ้นชิน ค่าร้อยละ
1 สมควร 65.6
2 ไม่สมควร 11.2
3 ไม่มีความเห็น 23.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อว่า การแก้ไข พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม
ที่ระบุให้ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นธุรกิจโทรคมนาคมจาก 25% เป็น 49% เป็นการวางแผน
ล่วงหน้าเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า 66.3
2 ไม่เชื่อว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า 11.5
3 ไม่มีความเห็น 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความคาดหวังให้นายกรัฐมนตรีนำรายได้จากการขายหุ้น
มาทำประโยชน์ให้สังคม
ลำดับที่ ระดับความคาดหวังของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คาดหวังมาก 20.0
2 คาดหวังค่อนข้างมาก 17.1
3 คาดหวังค่อนข้างน้อย 22.2
4 คาดหวังน้อย / ไม่คาดหวังเลย 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่ม
บริษัทของคนที่ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองในช่วงที่ผ่านมา (ช่วงที่พรรคไทยรักไทยได้เป็นรัฐบาล)
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มบริษัท ค่าร้อยละ
1 มีการใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ 60.1
2 เป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจ 50.5
3 มีเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวาง 47.4
4 มีเงินทุนประกอบการจำนวนมาก 46.7
5 ความสามารถของผู้บริหาร 42.2
6 ชื่อเสียงของนายกรัฐมนตรีที่เคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน 35.1
7 มีผู้บุกเบิก / ผู้นำทางความคิดเชิงธุรกิจ 30.4
8 คุณภาพในการให้บริการ 24.9
9 เป็นเรื่องของโชคชะตา 5.2
10 อื่นๆ อาทิ มีความสามารถเฉพาะบุคคล เป็นต้น 1.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเจตนาในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ทางการเมืองให้กับ
นายกรัฐมนตรีจากการขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
ลำดับที่ เจตนาในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ใช่ (เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่) 48.5
2 ไม่ใช่ (ไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่) 25.4
3 ไม่มีความเห็น 26.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลบภาพผลประโยชน์ทับซ้อนให้กับนายกรัฐมนตรีจากการขาย
หุ้นชิน ในครั้งนี้
ลำดับที่ การลบภาพผลประโยชน์ทับซ้อนให้กับนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ลบภาพได้ 12.6
2 ลบภาพไม่ได้ 59.1
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความนิยมต่อตัวนายกรัฐมนตรี หลังจากการขายหุ้นชิน
ลำดับที่ ระดับความนิยมต่อตัวนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 มากขึ้น 7.9
2 มากเท่าเดิม 17.3
3 น้อยเท่าเดิม 21.0
4 ลดลง 31.0
5 ไม่มีความคิดเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากการที่ตัวแทนของเทมาเซกโฮลดิ้งจากประเทศสิงคโปร์ และกลุ่มพันธมิตร ร่วมกับตัวแทนบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้
เปิดแถลงข่าวเมื่อบ่ายวันที่ 23 มกราคม 2549 ถึงการที่เทมาเซกตกลงซื้อหุ้นชินคอร์ป หรือ SHIN โดยได้ทำการขายหุ้นสามัญในส่วนที่ถืออยู่ในบริษัททั้ง
หมดจำนวน 1,487,740,120 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 49.595 ของทุนชำระแล้วของบริษัทชินคอร์ป ให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (Cedar) และ
บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (Aspen) ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมาปฏิเสธไม่รู้รายละเอียด
เรื่องนี้มาตลอด ก็ออกมาชี้แจงว่าเป็นเรื่องของลูกๆ ต้องการให้ตนได้ทำงานให้บ้านเมืองเต็มที่ จะได้ไม่ต้องถูกกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน อย่าง
ไรก็ดี ได้มีหลายฝ่ายได้กล่าวว่า แท้จริงการขายหุ้นของกลุ่มชิน เป็นเรื่องที่ผิดปกติมาตั้งแต่ต้น มีเงื่อนงำซับซ้อนและมีการวางแผนตระเตรียมการมาเป็น
ระยะเวลานาน โดยเกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐ และอีกประเด็นที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง คือ เรื่องการได้รับยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็น
กำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
กรณีการขายหุ้น บมจ. ชินคอร์ป ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีการขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความโปร่งใสในการซื้อขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับการขายหุ้นชิน
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากการขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความนิยมของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายก
รัฐมนตรีภายหลังการขายหุ้นชินฯ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 25 - 26 มกราคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป อายุ 18 — 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,168 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.5 เป็นเพศชาย
และตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นเพศหญิง
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 33.9 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 มีอายุระหว่าง 30-39 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.7 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.3 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
และตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 37.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.8 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 13.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 10.8 ระบุสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 6.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 6.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
โดยตัวอย่างร้อยละ 28.9 ประกอบอาชีพลูกจ้าง พนักงานบริษัท
ตัวอย่างร้อยละ 27.2 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว
ตัวอย่างร้อยละ 14.2 ประกอบอาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจ
ตัวอย่างร้อยละ 13.4 เป็นนักเรียน นักศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.2 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
ตัวอย่างร้อยละ 2.9 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเกษียณอายุ
ตัวอย่างร้อยละ 0.6 ประกอบอาชีพเกษตรกร
และตัวอย่างร้อยละ 1.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ความนิยมของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีภาย
หลังการขายหุ้นชินฯ” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,168 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจวันที่ 25 - 26 มกราคม 2549 โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ตัวอย่างประชาชนร้อยละ 38.7 หรือเกินกว่า 1 ใน 3 ระบุการขายหุ้นของชินฯ ให้กลุ่มนักลงทุนต่างชาติเป็นทั้งเรื่องของธุรกิจภายใน
ครอบครัวของนายกรัฐมนตรีและเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 29.4 ระบุเป็นเรื่องธุรกิจภายในครอบครัว และร้อยละ
23.7 ระบุเป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 8.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 ไม่ทราบมาก่อนว่าการขายหุ้นของชิน ไม่มีการเสียภาษี ในขณะที่ร้อยละ 26.2 ทราบ
มาก่อน ซึ่งประชาชนที่ถูกสอบถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ระบุว่าสมควรที่จะเสียภาษีจากการขายหุ้นชิน ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุไม่สมควรเสีย
ภาษี และร้อยละ 23.2 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 เชื่อว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยการแก้ไข พร
บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ระบุให้ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นธุรกิจโทรคมนาคมจาก 25% เป็น 49% สำหรับเอื้อประโยชน์ต่อการซื้อขายหุ้นกับ
กลุ่มทุนต่างชาติ ในขณะที่ร้อยละ 11.5 ไม่เชื่อ และร้อยละ 22.2 ไม่มีความเห็นต่อข้อถามที่นายกรัฐมนตรีเคยระบุว่าอาจนำเงินส่วนหนึ่งมาทำ
ประโยชน์ให้กับสังคม ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 คาดหวังน้อย / ไม่คาดหวังเลย โดยไม่คาดหวังเงินจากนายกรัฐมนตรี
(ร้อยละ 40.7) หรือคาดหวังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ร้อยละ 22.2)
ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของกลุ่มบริษัทต่างๆ ของคนใกล้ชิดกับฝ่าย
การเมือง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 คิดว่ามีการใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ รองลงมาคือร้อยละ 50.5
คิดว่าเป็นเพราะการผูกขาดในธุรกิจ ร้อยละ 47.4 คิดว่าเป็นเพราะมีเครือข่ายทางธุรกิจกว้างขวาง ร้อยละ 46.7 คิดว่าเป็นเพราะมีเงินทุนประกอบ
การจำนวนมาก และร้อยละ 42.2 คิดว่าเป็นเพราะความสามารถของผู้บริหารเอง ตามลำดับ
ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.5 ระบุว่าการขายหุ้นของชินฯ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ
25.4 ระบุไม่คิดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ และร้อยละ 26.1 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 คิดว่า
การขายหุ้นชินฯ ของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีไม่สามารถลบภาพลักษณ์ผลประโยชน์ทับซ้อนได้ ในขณะที่ร้อยละ 12.6 ระบุสามารถลบภาพได้และร้อยละ
28.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีในการสำรวจครั้งนี้คือ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.0 ระบุมีความนิยมต่อ
ตัวนายกรัฐมนตรีลดลงหรือถ้ามีอยู่ก็เป็นความนิยมที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่าเดิมแม้จะขายหุ้นไปแล้ว ในขณะที่มีร้อยละ 25.2 ระบุนิยมมากขึ้นหรือนิยมมาก
เหมือนเดิม และร้อยละ 22.8 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการขายหุ้นชินฯ เป็นเรื่องของธุรกิจภายในครอบครัวหรือ
เป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ลำดับที่ การขายหุ้นชิน ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องของธุรกิจภายในครอบครัว 29.4
2 เป็นเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ 23.7
3 เป็นทั้งเรื่องของธุรกิจภายในครอบครัวและเรื่องที่กระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ 38.7
4 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบว่า การขายหุ้นชิน ครั้งนี้ไม่มีการเสียภาษี
ลำดับที่ การทราบว่า การขายหุ้นชิน ครั้งนี้ไม่มีการเสียภาษี ค่าร้อยละ
1 ทราบมาก่อน 26.2
2 ไม่ทราบมาก่อน (เพิ่งจะทราบ) 73.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสมควรในการเสียภาษีจากการขายหุ้นชิน
ลำดับที่ ความสมควรในการเสียภาษีจากการขายหุ้นชิน ค่าร้อยละ
1 สมควร 65.6
2 ไม่สมควร 11.2
3 ไม่มีความเห็น 23.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อว่า การแก้ไข พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม
ที่ระบุให้ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นธุรกิจโทรคมนาคมจาก 25% เป็น 49% เป็นการวางแผน
ล่วงหน้าเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า 66.3
2 ไม่เชื่อว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า 11.5
3 ไม่มีความเห็น 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความคาดหวังให้นายกรัฐมนตรีนำรายได้จากการขายหุ้น
มาทำประโยชน์ให้สังคม
ลำดับที่ ระดับความคาดหวังของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คาดหวังมาก 20.0
2 คาดหวังค่อนข้างมาก 17.1
3 คาดหวังค่อนข้างน้อย 22.2
4 คาดหวังน้อย / ไม่คาดหวังเลย 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่ม
บริษัทของคนที่ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองในช่วงที่ผ่านมา (ช่วงที่พรรคไทยรักไทยได้เป็นรัฐบาล)
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มบริษัท ค่าร้อยละ
1 มีการใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ 60.1
2 เป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจ 50.5
3 มีเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวาง 47.4
4 มีเงินทุนประกอบการจำนวนมาก 46.7
5 ความสามารถของผู้บริหาร 42.2
6 ชื่อเสียงของนายกรัฐมนตรีที่เคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน 35.1
7 มีผู้บุกเบิก / ผู้นำทางความคิดเชิงธุรกิจ 30.4
8 คุณภาพในการให้บริการ 24.9
9 เป็นเรื่องของโชคชะตา 5.2
10 อื่นๆ อาทิ มีความสามารถเฉพาะบุคคล เป็นต้น 1.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเจตนาในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ทางการเมืองให้กับ
นายกรัฐมนตรีจากการขายหุ้นชิน ในครั้งนี้
ลำดับที่ เจตนาในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ใช่ (เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่) 48.5
2 ไม่ใช่ (ไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่) 25.4
3 ไม่มีความเห็น 26.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลบภาพผลประโยชน์ทับซ้อนให้กับนายกรัฐมนตรีจากการขาย
หุ้นชิน ในครั้งนี้
ลำดับที่ การลบภาพผลประโยชน์ทับซ้อนให้กับนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ลบภาพได้ 12.6
2 ลบภาพไม่ได้ 59.1
3 ไม่มีความเห็น 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความนิยมต่อตัวนายกรัฐมนตรี หลังจากการขายหุ้นชิน
ลำดับที่ ระดับความนิยมต่อตัวนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 มากขึ้น 7.9
2 มากเท่าเดิม 17.3
3 น้อยเท่าเดิม 21.0
4 ลดลง 31.0
5 ไม่มีความคิดเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-