ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ประเมินผลงานตำรวจ กับแนวคิดโอนย้ายตำรวจขึ้น
กับการปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,519 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-23
พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนร้อยละ 45.5 ทราบข่าวแนวคิดเรื่องการปรับโอนตำรวจขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่ร้อยละ 54.5 ไม่ทราบข่าว
เมื่อสอบถามประชาชนว่า ถ้าโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่าในด้านความ
เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 22.7 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 35.7 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 23.3 จะแย่ลง และร้อยละ 18.3 ไม่มีความเห็น ด้าน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบว่า ร้อยละ 23.7 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 43.0 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 17.8 จะแย่ลง และ
ร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น
ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 13.9 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 40.2 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 26.4 จะแย่ลง และร้อยละ 19.5 ไม่
มีความเห็น ด้านการแก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 15.5 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 37.3 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 30.7 จะแย่ลง และร้อยละ 16.5 ไม่มี
ความเห็น ด้านการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 21.6 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 37.4 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 27.0 จะแย่ลง และร้อยละ 14.0
ไม่มีความเห็น
ด้านการประสานงานร่วมมือกันของตำรวจ ร้อยละ 19.1 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 38.5 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 24.2 จะแย่ลง และร้อย
ละ 18.2 ไม่มีความเห็น ส่วนด้านการบริการประชาชน ร้อยละ 25.2 จะดีขึ้น ร้อยละ 40.9 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 16.8 จะแย่ลง และร้อยละ
17.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงกรณีการตัดสินใจของรัฐบาลระหว่างการโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นกับสิ่งที่รัฐบาลควรทำกับ
ตำรวจ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.0 ระบุไม่ต้องทำอะไร ตอนนี้ตำรวจก็ทำงานดีอยู่แล้ว ร้อยละ 32.1 ระบุควรเร่งรัดให้ตำรวจแก้ไขปรับปรุงการ
ทำงานทันที เช่น การทุจริตคอรัปชั่น การจัดระเบียบจราจร และอาชญากรรม การรับสินบน ส่วย เงินใต้โต๊ะ การเล่นพรรคเล่นพวก ในขณะที่ร้อยละ
25.8 ระบุให้เวลาศึกษาผลดีผลเสียของการโอนตำรวจไปอยู่กับท้องถิ่นโดยรอบด้านเสียก่อน เพราะอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง และร้อยละ 8.1
ระบุควรโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นทันที เพราะจะได้บริการประชาชนอย่างเต็มที่ และเข้าถึงใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.2 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลความปลอดภัยของประชาชนทั้งหมด 1-10
คน ร้อยละ 21.4 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลประชาชน 11 - 50 คน ร้อยละ 21.0 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลประชาชนทั้งหมด 51 - 500
คน และร้อยละ 8.4 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลประชาชนมากกว่า 500 คนขึ้นไป
ผลสำรวจพบว่าประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.1 เคยประสบปัญหาด้วยตนเองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานและไม่ทำงานของ
ตำรวจในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 68.9 ไม่เคยประสบปัญหา เมื่อขอให้ประชาชนประเมินความพึงพอใจต่อการทำงานของตำรวจจาก
คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า งานตำรวจทุกงานถือว่าสอบผ่านแต่อยู่ในระดับพอใช้ถึงค่อนข้างดีเท่านั้น โดยงานตำรวจที่ประชาชนพอใจอันดับแรกคือ
งานรับแจ้งเหตุ 191 ด้วยคะแนนเฉลี่ย 6.13 คะแนน รองลงมาคือ งานบริการจราจร ได้ 6.11 คะแนน งานการบริการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์
กลางที่สถานีตำรวจ ได้ 5.78 คะแนน งานสอบสวนได้ 5.75 คะแนน งานสืบสวนได้ 5.74 คะแนน งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้ 5.72
คะแนน และที่น่าพิจารณาคือ งานอำนวยความยุติธรรมให้ความเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติได้เพียง 5.29 คะแนน
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอแนะต่องานรับแจ้งเหตุ 191 เพื่อรักษาคุณภาพการบริการช่วยเหลือประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
61.6 ระบุให้เร่งแก้ไขเรื่องความรวดเร็วในการทำงาน กระบวนการทำงานควรกระชับไม่ล่าช้า ร้อยละ 18.0 ระบุการดำเนินการหลังจากได้รับแจ้ง
ต้องทำจริงโดยทันที ร้อยละ 11.4 ระบุโทรติดยาก ไม่มีคนรับสาย ร้อยละ 10.5 ระบุไม่ค่อยเอาใจใส่อย่างแท้จริง ร้อยละ 4.8 ปัญหาการติดต่อ
ประสานงานกับท้องที่ ร้อยละ 4.4 พูดจาไม่ดี ร้อยละ 3.4 เลือกปฏิบัติ ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของตำรวจเรื่องพฤติกรรมการขับรถของประชาชนบนถนนที่ผ่านชุมชนหนาแน่น พบว่า ร้อยละ
36.1 ระบุควรตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ขับผิดกฏอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ร้อยละ 16.9 ระบุควรเร่งจัดสภาพแวดล้อมถนน
ด้วยการทำป้ายจำกัดความเร็วชัดเจน มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจจับตลอดเวลา จัดทำลูกระนาด เป็นต้น ร้อยละ 15.8 ระบุเร่งแก้ปัญหาไม่ซื่อสัตย์ รับ
สินบน ร้อยละ 15.6 ทำงานจริงจังไม่เลือกปฏิบัติ และร้อยละ 10.2 มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในถนนสายหลัก เป็นต้น
เช่นเดียวกับตำรวจทางหลวง พบว่าร้อยละ 38.6 ระบุควรตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ร้อยละ 16.1 ระบุ
เร่งแก้ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ รับสินบน ส่วย และการรีดไถ และร้อยละ 13.3 ระบุควรทำงานอย่างจริงจัง เข้มงวด ไม่เลือกปฏิบัติ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความเห็นของประชาชนถึงระบบเงินเดือนของตำรวจกับข้าราชการหน่วยอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม เช่น อัยการ
ผู้พิพากษา พบว่า ร้อยละ 42.7 ระบุควรมีระบบเหมือนกัน เพราะตำรวจมีเงินเดือนน้อย เป็นงานเกี่ยวกับความยุติธรรมเหมือนกัน ในขณะที่ร้อยละ
33.2 ระบุควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจมากกว่า เพราะระบบการทำงานต่างกัน คนที่ทำงานเสี่ยงกว่าควรได้เงินเดือนมากกว่า และร้อยละ 24.1
ระบุควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจน้อยกว่า เพราะ ใช้ความรู้ความสามารถน้อยกว่า และป้องกันการใช้เงินใต้โต๊ะกับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนเห็นว่าการโอนย้ายตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่มีอะไร
แตกต่างไปจากเดิมและอาจจะแย่กว่าโดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ปัญหายาเสพติด และปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเอาแค่สามปัญหาใหญ่
เหล่านี้ก็จะวิกฤตมากแล้ว
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ 1) รัฐบาลควรเพิ่มความเข้มของการบูรณาการส่วนการทำงานระหว่างตำรวจกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้
ปัญหาระดับชุมชน เช่น ตำรวจเห็นว่ามีมุมเสี่ยงมุมอับในชุมชนต่างๆ ฝ่ายปกครองก็เข้าไปแก้ไข ตำรวจเห็นว่าป้ายบอกจำกัดความเร็วไม่มีหรือมีน้อยฝ่าย
ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ เป็นต้น เมื่อประชาชนได้รับประโยชน์เพราะตำรวจและ ฝ่ายปกครองร่วมแก้ปัญหาแบบบูรณาการ การ
โอนย้ายตำรวจขึ้นกับฝ่ายปกครองท้องถิ่นก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องถกเถียงหรือมีความจำเป็นอะไร
2) ตำรวจน่าจะเน้นการสื่อสารกับสาธารณชนในการลงพื้นที่ป้องกันแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชนมากกว่าการแถลงข่าวจับกุมคดีบางคดีที่อาจ
ไกลตัวประชาชนเกินไป ซึ่งอาจได้ผลเชิงจิตวิทยาแต่ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการปัญหาแก๊งซิ่งกวนเมือง การให้
ความรู้ป้องกันความรุนแรงในครัวเรือนที่ตำรวจอาจเข้าไม่ถึง การร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับหน่วยงานอื่นๆ ให้กับเด็กและเยาวชน และการเข้มงวด
จับกุมการขับรถเกินความเร็วที่กำหนด เป็นต้น
3) เนื่องจากเวลานี้เมื่อทำการสอบถามความพอใจของประชาชนต่อตำรวจ ตำรวจก็คิดว่าประชาชนฝังใจติดภาพลบในการทำงานของ
ตำรวจ แต่ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และตำรวจน่าจะพิจารณาแก้กฎหมายบางอย่างในเรื่อง
การจับปรับผู้กระทำผิดในชุมชนแล้วนำเงินที่ได้จัดสรรพัฒนาชุมชนมากกว่าให้ตำรวจ เช่น ห้องสมุดชุมชน มุมสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน และจัด
สภาพแวดล้อมที่ดีปลอดพื้นที่ล่อแหลมต่อการก่ออาชญากรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ตำรวจควร เปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมกับ
งานตำรวจอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพื่อให้ตำรวจเป็นตำรวจของประชาชนอย่างแท้จริง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการโอนย้ายตำรวจไปขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่ตำรวจควรปรับปรุงในสายตาประชาชน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "ประเมินผลงานตำรวจ กับแนวคิดโอนย้าย
ตำรวจขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,519 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 20.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 80.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพตัวอย่าง ร้อยละ 57.0 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 37.7 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 5.3 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.3 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 5.0 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวแนวคิดเรื่องการปรับโอนตำรวจไปขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 45.5
2 ไม่ทราบข่าว 54.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ กรณีถ้าโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ ผลที่จะได้รับ ความคิดเห็นของตัวอย่าง
ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น รวม
1 ความเป็นธรรมในสังคม 22.7 35.7 23.3 18.3 100.0
2 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 23.7 43.0 17.8 15.5 100.0
3 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 13.9 40.2 26.4 19.5 100.0
4 การแก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล 15.5 37.3 30.7 16.5 100.0
5 การแก้ปัญหายาเสพติด 21.6 37.4 27.0 14.0 100.0
6 การประสานงานร่วมมือกันของตำรวจ 19.1 38.5 24.2 18.2 100.0
7 การบริการประชาชน 25.2 40.9 16.8 17.1 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น กับสิ่งที่รัฐบาลควรทำกับตำรวจ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไม่ต้องทำอะไร ตอนนี้ตำรวจก็ทำงานดีอยู่แล้ว 34.0
2 เร่งรัดให้ตำรวจแก้ไขปรับปรุงการทำงานทันที เช่น การทุจริตคอรัปชั่น การจัดระเบียบจราจร
และอาชญากรรม การรับสินบน ส่วย เงินใต้โต๊ะ เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ 32.1
3 ให้เวลาศึกษาผลดีผลเสียโดยรอบด้านเสียก่อน เพราะอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง / อาจมี
ผลเสียมากกว่าผลดี / ต้องศึกษาข้อมูลของแต่ละท้องถิ่นให้ดีก่อน ฯลฯ 25.8
4 โอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นทันที เพราะจะได้บริการประชาชนอย่างเต็มที่ /
เข้าถึงและใกล้ชิดประชาชนในท้องถิ่นมากขึ้น ฯลฯ 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดว่าตำรวจ 1 คนดูแลความปลอดภัยของประชาชนทั้งหมดกี่คน
ลำดับที่ ความเข้าใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 1 - 10 คน 49.2
2 11 - 50 คน 21.4
3 51 - 500 คน 21.0
4 มากกว่า 500 คนขึ้นไป 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาที่เคยประสบด้วยตนเองที่ทำให้รู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในช วิตและ
ทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานและไม่ทำงานของตำรวจในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยประสบปัญหาด้วยตนเอง 31.1
2 ไม่เคย 68.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าคะแนนเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการทำงานของตำรวจ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจ คะแนนเฉลี่ย
1 งานรับแจ้งเหตุ191 6.13
2 งานบริการจราจร 6.11
3 การบริการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางที่สถานีตำรวจ 5.78
4 งานสอบสวน 5.75
5 งานสืบสวน 5.74
6 การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม 5.72
7 งานอำนวยความยุติธรรมให้ความเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ 5.29
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขของงานรับแจ้งเหตุ 191 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ความรวดเร็วในการทำงาน กระบวนการทำงานควรกระชับ ไม่ล่าช้า 61.6
2 การดำเนินการหลังจากได้รับแจ้งต้องทำจริง โดยทันที ด้วยความรวดเร็ว 18.0
3 โทรศัพท์ติดยาก ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย / รับสายช้า 11.4
4 ไม่เอาใจใส่แท้จริง 10.5
5 ปัญหาประสานงานกับตำรวจท้องที่ 4.8
6 พูดจาไม่ดี 4.4
7 การเลือกปฏิบัติ ความยุติธรรมในการทำงาน 3.4
8 จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจมีไม่เพียงพอ 2.7
9 ความพร้อมที่จะทำงานตลอดเวลา 2.6
10 ความซื่อสัตย์สุจริตของเจ้าหน้าที่ ไม่รีดไถ ไม่ทำร้ายประชาชน 1.2
11 อุปกรณ์ เครื่องมือควรมีความทันสมัยกว่านี้ 0.8
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าตำรวจควรปรับปรุงเรื่องอะไรบ้างที่เกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมขับรถ
ของประชาชนบนถนนที่ผ่านชุมชนหนาแน่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเร็ว ขับรถผิดกฎ เมาแล้วขับอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 36.1
2 มีป้ายจำกัดความเร็วชัดเจนพร้อมเจ้าหน้าที่คอยตรวจจับ 16.9
3 เร่งแก้ปัญหาไม่ซื่อสัตย์ รับสินบน 15.8
4 ทำงานอย่างจริงจัง เข้มงวด ไม่เลือกปฏิบัติ ทำเพื่อประชาชน 15.6
5 ควรมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในถนนสายหลัก ในชั่วโมงเร่งด่วน หรือในช่วงรถติดอย่าง
เพียงพอ 10.2
6 ควรให้คำแนะนำกับประชาชนเกี่ยวกับการขับรถด้วย ไม่ใช่จับอย่างเดียว 9.7
7 ปรับปรุงการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น การปล่อยรถ การตั้งด่าน การเปิดสัญญาณไฟ
เป็นต้น 6.7
8 การพูดจา การปฏิบัติตัว มารยาทของเจ้าหน้าที่ 6.0
9 ไม่ยัดเยียดข้อหาให้ประชาชน 4.1
10 ความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ ตรวจตราตลอด 24 ชั่วโมง 1.7
11 ให้เกียรติประชาชน ไม่ข่มขู่ ไม่ทำร้ายร่างกาย 1.4
12 ความรวดเร็วในการทำงาน 1.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าตำรวจทางหลวงควรปรับปรุงเรื่องอะไรบ้างที่ เกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรม
ขับรถของประชาชนบนถนนใหญ่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเร็ว ขับรถผิดกฎ เมาแล้วขับอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 38.6
2 เร่งแก้ปัญหาไม่ซื่อสัตย์ รับสินบน ส่วย และการรีดไถ 16.1
3 ทำงานอย่างจริงจัง เข้มงวด ไม่เลือกปฏิบัติ ทำเพื่อประชาชน 13.3
4 ปรับปรุงการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น การปล่อยรถ การตั้งด่าน การเปิดสัญญาณไฟเป็นต้น 11.6
5 มีการปฏิบัติงานในชุมชนที่หนาแน่น เช่น ตั้งด่าน จัดทำลูกระนาด กำหนดเส้นทางเข้าออก
ให้ชัดเจน มีป้ายประกาศ ดูแลการจราจรให้เรียบร้อย 7.7
6 ควรให้คำแนะนำกับประชาชนเกี่ยวกับการขับรถด้วย ไม่ใช่จับอย่างเดียว 7.4
7 ลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด จริงจัง 6.6
8 การพูดจา การปฏิบัติตัว มารยาทของเจ้าหน้าที่ 5.0
9 ไม่ยัดเยียดข้อหาให้ประชาชน 3.4
10 ควรมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในถนนสายหลัก ในชั่วโมงเร่งด่วน หรือในช่วงรถติดอย่างเพียงพอ 2.4
11 ความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ ตรวจตราตลอด 24 ชั่วโมง 1.7
12 ความรวดเร็วในการทำงาน 1.6
13 ให้เกียรติประชาชน ไม่ข่มขู่ ไม่ทำร้ายร่างกาย 0.5
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อระบบเงินเดือนของตำรวจกับข้าราชการ ในกระบวนการยุติธรรม
เช่น อัยการ ผู้พิพากษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรมีระบบเหมือนกัน เพราะข้าราชการตำรวจมีเงินเดือนน้อย / เป็นงานที่เกี่ยวกับ
ความยุติธรรมเหมือนกัน ฯลฯ 42.7
2 ควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจมากกว่า เพราะระบบการทำงานต่างกัน แล้วแต่สายงาน /
คนที่ทำหน้าที่เสี่ยงกว่า ควรได้เงินเดือนมากกว่า ฯลฯ 33.2
3 ควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจน้อยกว่า เพราะใช้ความรู้ความสามารถน้อยกว่า
ป้องกันการใช้เงินใต้โต๊ะในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กับการปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,519 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-23
พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนร้อยละ 45.5 ทราบข่าวแนวคิดเรื่องการปรับโอนตำรวจขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่ร้อยละ 54.5 ไม่ทราบข่าว
เมื่อสอบถามประชาชนว่า ถ้าโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่าในด้านความ
เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 22.7 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 35.7 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 23.3 จะแย่ลง และร้อยละ 18.3 ไม่มีความเห็น ด้าน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบว่า ร้อยละ 23.7 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 43.0 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 17.8 จะแย่ลง และ
ร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น
ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 13.9 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 40.2 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 26.4 จะแย่ลง และร้อยละ 19.5 ไม่
มีความเห็น ด้านการแก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 15.5 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 37.3 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 30.7 จะแย่ลง และร้อยละ 16.5 ไม่มี
ความเห็น ด้านการแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 21.6 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 37.4 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 27.0 จะแย่ลง และร้อยละ 14.0
ไม่มีความเห็น
ด้านการประสานงานร่วมมือกันของตำรวจ ร้อยละ 19.1 ระบุจะดีขึ้น ร้อยละ 38.5 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 24.2 จะแย่ลง และร้อย
ละ 18.2 ไม่มีความเห็น ส่วนด้านการบริการประชาชน ร้อยละ 25.2 จะดีขึ้น ร้อยละ 40.9 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 16.8 จะแย่ลง และร้อยละ
17.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงกรณีการตัดสินใจของรัฐบาลระหว่างการโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นกับสิ่งที่รัฐบาลควรทำกับ
ตำรวจ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.0 ระบุไม่ต้องทำอะไร ตอนนี้ตำรวจก็ทำงานดีอยู่แล้ว ร้อยละ 32.1 ระบุควรเร่งรัดให้ตำรวจแก้ไขปรับปรุงการ
ทำงานทันที เช่น การทุจริตคอรัปชั่น การจัดระเบียบจราจร และอาชญากรรม การรับสินบน ส่วย เงินใต้โต๊ะ การเล่นพรรคเล่นพวก ในขณะที่ร้อยละ
25.8 ระบุให้เวลาศึกษาผลดีผลเสียของการโอนตำรวจไปอยู่กับท้องถิ่นโดยรอบด้านเสียก่อน เพราะอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง และร้อยละ 8.1
ระบุควรโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นทันที เพราะจะได้บริการประชาชนอย่างเต็มที่ และเข้าถึงใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.2 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลความปลอดภัยของประชาชนทั้งหมด 1-10
คน ร้อยละ 21.4 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลประชาชน 11 - 50 คน ร้อยละ 21.0 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลประชาชนทั้งหมด 51 - 500
คน และร้อยละ 8.4 เข้าใจว่าตำรวจ 1 คนดูแลประชาชนมากกว่า 500 คนขึ้นไป
ผลสำรวจพบว่าประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.1 เคยประสบปัญหาด้วยตนเองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานและไม่ทำงานของ
ตำรวจในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 68.9 ไม่เคยประสบปัญหา เมื่อขอให้ประชาชนประเมินความพึงพอใจต่อการทำงานของตำรวจจาก
คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า งานตำรวจทุกงานถือว่าสอบผ่านแต่อยู่ในระดับพอใช้ถึงค่อนข้างดีเท่านั้น โดยงานตำรวจที่ประชาชนพอใจอันดับแรกคือ
งานรับแจ้งเหตุ 191 ด้วยคะแนนเฉลี่ย 6.13 คะแนน รองลงมาคือ งานบริการจราจร ได้ 6.11 คะแนน งานการบริการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์
กลางที่สถานีตำรวจ ได้ 5.78 คะแนน งานสอบสวนได้ 5.75 คะแนน งานสืบสวนได้ 5.74 คะแนน งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้ 5.72
คะแนน และที่น่าพิจารณาคือ งานอำนวยความยุติธรรมให้ความเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติได้เพียง 5.29 คะแนน
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอแนะต่องานรับแจ้งเหตุ 191 เพื่อรักษาคุณภาพการบริการช่วยเหลือประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
61.6 ระบุให้เร่งแก้ไขเรื่องความรวดเร็วในการทำงาน กระบวนการทำงานควรกระชับไม่ล่าช้า ร้อยละ 18.0 ระบุการดำเนินการหลังจากได้รับแจ้ง
ต้องทำจริงโดยทันที ร้อยละ 11.4 ระบุโทรติดยาก ไม่มีคนรับสาย ร้อยละ 10.5 ระบุไม่ค่อยเอาใจใส่อย่างแท้จริง ร้อยละ 4.8 ปัญหาการติดต่อ
ประสานงานกับท้องที่ ร้อยละ 4.4 พูดจาไม่ดี ร้อยละ 3.4 เลือกปฏิบัติ ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ข้อเสนอแนะต่อการทำงานของตำรวจเรื่องพฤติกรรมการขับรถของประชาชนบนถนนที่ผ่านชุมชนหนาแน่น พบว่า ร้อยละ
36.1 ระบุควรตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ขับผิดกฏอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ร้อยละ 16.9 ระบุควรเร่งจัดสภาพแวดล้อมถนน
ด้วยการทำป้ายจำกัดความเร็วชัดเจน มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจจับตลอดเวลา จัดทำลูกระนาด เป็นต้น ร้อยละ 15.8 ระบุเร่งแก้ปัญหาไม่ซื่อสัตย์ รับ
สินบน ร้อยละ 15.6 ทำงานจริงจังไม่เลือกปฏิบัติ และร้อยละ 10.2 มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในถนนสายหลัก เป็นต้น
เช่นเดียวกับตำรวจทางหลวง พบว่าร้อยละ 38.6 ระบุควรตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเกินความเร็วที่กำหนด ร้อยละ 16.1 ระบุ
เร่งแก้ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ รับสินบน ส่วย และการรีดไถ และร้อยละ 13.3 ระบุควรทำงานอย่างจริงจัง เข้มงวด ไม่เลือกปฏิบัติ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความเห็นของประชาชนถึงระบบเงินเดือนของตำรวจกับข้าราชการหน่วยอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม เช่น อัยการ
ผู้พิพากษา พบว่า ร้อยละ 42.7 ระบุควรมีระบบเหมือนกัน เพราะตำรวจมีเงินเดือนน้อย เป็นงานเกี่ยวกับความยุติธรรมเหมือนกัน ในขณะที่ร้อยละ
33.2 ระบุควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจมากกว่า เพราะระบบการทำงานต่างกัน คนที่ทำงานเสี่ยงกว่าควรได้เงินเดือนมากกว่า และร้อยละ 24.1
ระบุควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจน้อยกว่า เพราะ ใช้ความรู้ความสามารถน้อยกว่า และป้องกันการใช้เงินใต้โต๊ะกับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนเห็นว่าการโอนย้ายตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่มีอะไร
แตกต่างไปจากเดิมและอาจจะแย่กว่าโดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ปัญหายาเสพติด และปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเอาแค่สามปัญหาใหญ่
เหล่านี้ก็จะวิกฤตมากแล้ว
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ 1) รัฐบาลควรเพิ่มความเข้มของการบูรณาการส่วนการทำงานระหว่างตำรวจกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้
ปัญหาระดับชุมชน เช่น ตำรวจเห็นว่ามีมุมเสี่ยงมุมอับในชุมชนต่างๆ ฝ่ายปกครองก็เข้าไปแก้ไข ตำรวจเห็นว่าป้ายบอกจำกัดความเร็วไม่มีหรือมีน้อยฝ่าย
ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ เป็นต้น เมื่อประชาชนได้รับประโยชน์เพราะตำรวจและ ฝ่ายปกครองร่วมแก้ปัญหาแบบบูรณาการ การ
โอนย้ายตำรวจขึ้นกับฝ่ายปกครองท้องถิ่นก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องถกเถียงหรือมีความจำเป็นอะไร
2) ตำรวจน่าจะเน้นการสื่อสารกับสาธารณชนในการลงพื้นที่ป้องกันแก้ปัญหาเดือดร้อนประชาชนมากกว่าการแถลงข่าวจับกุมคดีบางคดีที่อาจ
ไกลตัวประชาชนเกินไป ซึ่งอาจได้ผลเชิงจิตวิทยาแต่ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการปัญหาแก๊งซิ่งกวนเมือง การให้
ความรู้ป้องกันความรุนแรงในครัวเรือนที่ตำรวจอาจเข้าไม่ถึง การร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับหน่วยงานอื่นๆ ให้กับเด็กและเยาวชน และการเข้มงวด
จับกุมการขับรถเกินความเร็วที่กำหนด เป็นต้น
3) เนื่องจากเวลานี้เมื่อทำการสอบถามความพอใจของประชาชนต่อตำรวจ ตำรวจก็คิดว่าประชาชนฝังใจติดภาพลบในการทำงานของ
ตำรวจ แต่ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และตำรวจน่าจะพิจารณาแก้กฎหมายบางอย่างในเรื่อง
การจับปรับผู้กระทำผิดในชุมชนแล้วนำเงินที่ได้จัดสรรพัฒนาชุมชนมากกว่าให้ตำรวจ เช่น ห้องสมุดชุมชน มุมสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน และจัด
สภาพแวดล้อมที่ดีปลอดพื้นที่ล่อแหลมต่อการก่ออาชญากรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ตำรวจควร เปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมกับ
งานตำรวจอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพื่อให้ตำรวจเป็นตำรวจของประชาชนอย่างแท้จริง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการโอนย้ายตำรวจไปขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของตำรวจในด้านต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่ตำรวจควรปรับปรุงในสายตาประชาชน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "ประเมินผลงานตำรวจ กับแนวคิดโอนย้าย
ตำรวจขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,519 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 20.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 80.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพตัวอย่าง ร้อยละ 57.0 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 37.7 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 5.3 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.3 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 5.0 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวแนวคิดเรื่องการปรับโอนตำรวจไปขึ้นกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 45.5
2 ไม่ทราบข่าว 54.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ กรณีถ้าโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ ผลที่จะได้รับ ความคิดเห็นของตัวอย่าง
ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น รวม
1 ความเป็นธรรมในสังคม 22.7 35.7 23.3 18.3 100.0
2 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 23.7 43.0 17.8 15.5 100.0
3 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 13.9 40.2 26.4 19.5 100.0
4 การแก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล 15.5 37.3 30.7 16.5 100.0
5 การแก้ปัญหายาเสพติด 21.6 37.4 27.0 14.0 100.0
6 การประสานงานร่วมมือกันของตำรวจ 19.1 38.5 24.2 18.2 100.0
7 การบริการประชาชน 25.2 40.9 16.8 17.1 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะโอนตำรวจไปอยู่กับการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น กับสิ่งที่รัฐบาลควรทำกับตำรวจ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไม่ต้องทำอะไร ตอนนี้ตำรวจก็ทำงานดีอยู่แล้ว 34.0
2 เร่งรัดให้ตำรวจแก้ไขปรับปรุงการทำงานทันที เช่น การทุจริตคอรัปชั่น การจัดระเบียบจราจร
และอาชญากรรม การรับสินบน ส่วย เงินใต้โต๊ะ เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ 32.1
3 ให้เวลาศึกษาผลดีผลเสียโดยรอบด้านเสียก่อน เพราะอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง / อาจมี
ผลเสียมากกว่าผลดี / ต้องศึกษาข้อมูลของแต่ละท้องถิ่นให้ดีก่อน ฯลฯ 25.8
4 โอนตำรวจไปอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่นทันที เพราะจะได้บริการประชาชนอย่างเต็มที่ /
เข้าถึงและใกล้ชิดประชาชนในท้องถิ่นมากขึ้น ฯลฯ 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดว่าตำรวจ 1 คนดูแลความปลอดภัยของประชาชนทั้งหมดกี่คน
ลำดับที่ ความเข้าใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 1 - 10 คน 49.2
2 11 - 50 คน 21.4
3 51 - 500 คน 21.0
4 มากกว่า 500 คนขึ้นไป 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาที่เคยประสบด้วยตนเองที่ทำให้รู้สึกว่าไม่ปลอดภัยในช วิตและ
ทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานและไม่ทำงานของตำรวจในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยประสบปัญหาด้วยตนเอง 31.1
2 ไม่เคย 68.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าคะแนนเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการทำงานของตำรวจ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจ คะแนนเฉลี่ย
1 งานรับแจ้งเหตุ191 6.13
2 งานบริการจราจร 6.11
3 การบริการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางที่สถานีตำรวจ 5.78
4 งานสอบสวน 5.75
5 งานสืบสวน 5.74
6 การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม 5.72
7 งานอำนวยความยุติธรรมให้ความเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ 5.29
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขของงานรับแจ้งเหตุ 191 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ความรวดเร็วในการทำงาน กระบวนการทำงานควรกระชับ ไม่ล่าช้า 61.6
2 การดำเนินการหลังจากได้รับแจ้งต้องทำจริง โดยทันที ด้วยความรวดเร็ว 18.0
3 โทรศัพท์ติดยาก ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย / รับสายช้า 11.4
4 ไม่เอาใจใส่แท้จริง 10.5
5 ปัญหาประสานงานกับตำรวจท้องที่ 4.8
6 พูดจาไม่ดี 4.4
7 การเลือกปฏิบัติ ความยุติธรรมในการทำงาน 3.4
8 จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจมีไม่เพียงพอ 2.7
9 ความพร้อมที่จะทำงานตลอดเวลา 2.6
10 ความซื่อสัตย์สุจริตของเจ้าหน้าที่ ไม่รีดไถ ไม่ทำร้ายประชาชน 1.2
11 อุปกรณ์ เครื่องมือควรมีความทันสมัยกว่านี้ 0.8
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าตำรวจควรปรับปรุงเรื่องอะไรบ้างที่เกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมขับรถ
ของประชาชนบนถนนที่ผ่านชุมชนหนาแน่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเร็ว ขับรถผิดกฎ เมาแล้วขับอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 36.1
2 มีป้ายจำกัดความเร็วชัดเจนพร้อมเจ้าหน้าที่คอยตรวจจับ 16.9
3 เร่งแก้ปัญหาไม่ซื่อสัตย์ รับสินบน 15.8
4 ทำงานอย่างจริงจัง เข้มงวด ไม่เลือกปฏิบัติ ทำเพื่อประชาชน 15.6
5 ควรมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในถนนสายหลัก ในชั่วโมงเร่งด่วน หรือในช่วงรถติดอย่าง
เพียงพอ 10.2
6 ควรให้คำแนะนำกับประชาชนเกี่ยวกับการขับรถด้วย ไม่ใช่จับอย่างเดียว 9.7
7 ปรับปรุงการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น การปล่อยรถ การตั้งด่าน การเปิดสัญญาณไฟ
เป็นต้น 6.7
8 การพูดจา การปฏิบัติตัว มารยาทของเจ้าหน้าที่ 6.0
9 ไม่ยัดเยียดข้อหาให้ประชาชน 4.1
10 ความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ ตรวจตราตลอด 24 ชั่วโมง 1.7
11 ให้เกียรติประชาชน ไม่ข่มขู่ ไม่ทำร้ายร่างกาย 1.4
12 ความรวดเร็วในการทำงาน 1.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่าตำรวจทางหลวงควรปรับปรุงเรื่องอะไรบ้างที่ เกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรม
ขับรถของประชาชนบนถนนใหญ่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตรวจจับผู้ที่กระทำผิดขับรถเร็ว ขับรถผิดกฎ เมาแล้วขับอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 38.6
2 เร่งแก้ปัญหาไม่ซื่อสัตย์ รับสินบน ส่วย และการรีดไถ 16.1
3 ทำงานอย่างจริงจัง เข้มงวด ไม่เลือกปฏิบัติ ทำเพื่อประชาชน 13.3
4 ปรับปรุงการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น การปล่อยรถ การตั้งด่าน การเปิดสัญญาณไฟเป็นต้น 11.6
5 มีการปฏิบัติงานในชุมชนที่หนาแน่น เช่น ตั้งด่าน จัดทำลูกระนาด กำหนดเส้นทางเข้าออก
ให้ชัดเจน มีป้ายประกาศ ดูแลการจราจรให้เรียบร้อย 7.7
6 ควรให้คำแนะนำกับประชาชนเกี่ยวกับการขับรถด้วย ไม่ใช่จับอย่างเดียว 7.4
7 ลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด จริงจัง 6.6
8 การพูดจา การปฏิบัติตัว มารยาทของเจ้าหน้าที่ 5.0
9 ไม่ยัดเยียดข้อหาให้ประชาชน 3.4
10 ควรมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในถนนสายหลัก ในชั่วโมงเร่งด่วน หรือในช่วงรถติดอย่างเพียงพอ 2.4
11 ความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ ตรวจตราตลอด 24 ชั่วโมง 1.7
12 ความรวดเร็วในการทำงาน 1.6
13 ให้เกียรติประชาชน ไม่ข่มขู่ ไม่ทำร้ายร่างกาย 0.5
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อระบบเงินเดือนของตำรวจกับข้าราชการ ในกระบวนการยุติธรรม
เช่น อัยการ ผู้พิพากษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรมีระบบเหมือนกัน เพราะข้าราชการตำรวจมีเงินเดือนน้อย / เป็นงานที่เกี่ยวกับ
ความยุติธรรมเหมือนกัน ฯลฯ 42.7
2 ควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจมากกว่า เพราะระบบการทำงานต่างกัน แล้วแต่สายงาน /
คนที่ทำหน้าที่เสี่ยงกว่า ควรได้เงินเดือนมากกว่า ฯลฯ 33.2
3 ควรมีระบบต่างกันโดยให้ตำรวจน้อยกว่า เพราะใช้ความรู้ความสามารถน้อยกว่า
ป้องกันการใช้เงินใต้โต๊ะในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-