ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจช่องว่างกระบวนการ
ยุติธรรมในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,520 ตัวอย่าง
ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 9 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลสำรวจพบช่องว่างของประชาชนจำนวนมากที่ให้ความคาดหวังและความสำคัญสูงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม
แต่ไม่ได้รับการตอบสนองหรือไม่เห็นการปฏิบัติจริงตามความคาดหวัง ซึ่งพบว่าช่องว่างกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยที่กว้างมากที่สุดคือ
1) ความเสมอภาค เท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 47.0 ของประชาชนคาดหวังและให้ความ
สำคัญมากถึงมากที่สุด แต่ร้อยละ 17.9 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มีช่องว่างมากถึงร้อยละ 29.1
2) การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 47.0 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 17.6 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวัง
นั้น มีช่องว่างมากถึงร้อยละ 29.4
3) การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 47.1 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 19.2 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มีช่อง
ว่างร้อยละ 27.9
4) การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 49.5 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 22.2 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มี
ช่องว่างร้อยละ 27.3
5) ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม พบว่า ร้อยละ 46.4 คาดหวังสูง แต่ ร้อยละ 19.3 เท่านั้นที่พบกับ
ความคาดหวังนั้น มีช่องว่างร้อยละ 27.1
6) การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม พบว่า ร้อยละ 46.3 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 19.5 เท่านั้นที่พบกับความ
คาดหวังนั้น มีช่องว่าร้อยละ 26.8
7) การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม พบว่า ร้อยละ 45.1 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 18.4
เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มีช่องว่างร้อยละ 26.7
เมื่อทำการวิเคราะห์กลุ่มประชาชนที่ได้รับสิ่งที่ตนเองคาดหวังสูงต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศโดยจำแนกออกตามภูมิภาค พบว่า
ประชาชนภาคเหนือเห็นว่าตำรวจทำงานตรงกับความคาดหวังเป็นจำนวนมากกว่าทุกภาคคือร้อยละ 25.9 คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีร้อยละ 19.2
คนภาคกลางมีร้อยละ 16.7 คนภาคใต้ร้อยละ 16.6 และคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 10.4
ในขณะที่การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม พบว่ามีจำนวนของประชาชนที่ได้รับตามความคาดหวังสูงสุดในทุกภาคเมื่อเปรียบเทียบ
กับเจ้าหน้าที่รัฐกลุ่มอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 30 ของประชาชนที่ถูกศึกษาทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่า คนกรุงเทพมหานครรู้สึก
ว่าไม่ได้รับตามความคาดหวังในเรื่องความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม คือมีเพียงร้อยละ 14.6 เท่านั้นที่คิดว่า
ได้รับตามความคาดหวังที่ให้ไว้กับกระบวนการยุติธรรมอย่างมากถึงมากที่สุด
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกเป็นประชาชนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล พบความแตกต่างคือ ประชาชนนอกเขตเทศบาลคิดว่าได้
รับรู้หรือเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมปฏิบัติจริงตามความคาดหวังสูงที่ให้ไว้ เป็นจำนวนมากกว่าประชาชนในเขตเทศบาล หรืออาจกล่าว
ว่า คนนอกเขตเทศบาลรู้สึกว่าสมหวังต่อกระบวนการยุติธรรมมากกว่าคนในเขตเทศบาลในทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 21.0 ของคนนอกเขตเทศบาล ต่อ
ร้อยละ 15.5 ของคนในเขตเทศบาลสมหวังกับการทำงานของตำรวจ ร้อยละ 31.9 ของคนนอกเขตเทศบาล ต่อร้อยละ 27.7 ของคนในเขตเทศบาล
สมหวังกับการทำงานของผู้พิพากษา เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ข่าวอื้อฉาวหรือคดีความที่ประชาชนสนใจและจะทำให้กระบวนการยุติธรรมได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนมากขึ้น
ถ้าได้รับการสะสางปฏิรูปหรือคลี่คลาย ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.5 ระบุเป็นข่าวอื้อฉาวหรือคดีทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ข้าราชการ และนายทุน เช่น ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทุจริตกล้ายาง บ่อบำบัดน้ำเสีย และงบบริหารท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น ร้อยละ 68.5 ระบุคดี
ความที่เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง ข้าราชการทำผิดทำร้ายประชาชน ร้อยละ 64.7 ข่าวเลี่ยงภาษีของนักการเมืองและเครือญาติ ร้อยละ 62.1 ระบุ
คดีการหายตัวไปของทนายสมชาย ร้อยละ 61.3 ระบุคดีจ้างวานฆ่า กลุ่มอิทธิพลมืด และขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 49.2 คดีนายทุนบุกรุกที่ดิน ตัด
ไม้ทำลายป่า ร้อยละ 47.8 ระบุคดีกรือแซะ ตากใบ ร้อยละ 30.3 คดีลอบวางระเบิดอดีตนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 28.7 ระบุอื่นๆ เช่น ปัญหา
นักการเมืองข้าราชการคุกคามทางเพศ ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านประเทศไทยขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะมีสังคมที่ดีกว่าเก่า และกระบวนการยุติธรรม
เป็นกลไกสำคัญประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะตำรวจที่สำรวจพบว่าเป็นองค์กรสำคัญที่ต้องเร่งฟื้นฟูความรู้สึกของประชาชนให้ประชาชนเห็น
และรับรู้ว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชน อย่างไรก็ตาม การสำรวจครั้งนี้เสนอให้เห็นภาพรวมในอารมณ์ความรู้สึกนึก
คิดของประชาชนไม่ได้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ดังนั้นผลสำรวจที่ค้นพบจึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเชิงรุกของ
เจ้าหน้าที่รัฐทุกกลุ่มในกระบวนการยุติธรรมโดยลงพื้นที่ชุมชนเข้าถึงวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนแท้จริงมากกว่ามุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารหรือ
สร้างภาพลักษณ์เพียงอย่างเดียว
“สิ่งที่รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐควรเร่งรีบดำเนินการขณะนี้คือ การลดช่องว่างกระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเดือด
ร้อนของประชาชนหรือข้อพิพาทในหมู่ประชาชนที่มีผลกระทบวงกว้างต่อความรู้สึกของสาธารณชน เช่น รื้อตลาดนัดซันเดย์ การรื้อบาร์เบียร์ ที่เป็น
เหตุการณ์ร้อนอยู่ใกล้ศูนย์อำนาจในเขตเมืองหลวงท้าทายต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ รัฐบาลต้องไม่นิ่งนอนใจหรือปล่อยให้ข้าราชการระดับ
กระทรวงดำเนินการเอง เพราะพฤติการณ์ของข้าราชการจำนวนมากยังคงเป็นสิ่งติดค้างข้องใจหรือไม่น่าเชื่อถือศรัทธาในจิตใจของประชาชน” ดร.นพ
ดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สำรวจช่องว่างกระบวนการยุติธรรมในสายตา
ประชาชน กรณีศึกษาประชาชนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 21 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 9 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย
คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่
การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,520 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.9 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.7 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 39.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 26.5 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 4.7 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 3.6 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 25.6 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า
ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 63.1 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 36.9 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงความคาดหวัง-ให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุดและการรับรู้-ได้เห็นจริงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
ในกระบวนการยุติธรรม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ คาดหวัง-ให้ความสำคัญ การรับรู้-ได้เห็นจริง ช่องว่าง-ส่วนต่าง
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 47.0 17.6 29.4
2 การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม 47.1 19.2 27.9
3 การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม 49.5 22.2 27.3
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 46.3 19.5 26.8
5 การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม 45.1 18.4 26.7
6 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 46.4 19.3 27.1
7 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 47.0 17.9 29.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ได้รับสิ่งที่ตนเองคาดหวังสูงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม
จำแนกประชาชนตามภูมิภาค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 25.9 16.7 19.2 16.6 10.4
2 การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม 30.0 25.5 24.8 30.0 18.4
3 การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม 34.5 29.8 28.5 32.1 19.8
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 28.5 27.1 25.5 29.2 20.3
5 การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม 28.1 28.1 26.3 29.2 17.9
6 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 24.9 24.9 25.5 28.2 16.0
7 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 23.0 23.2 23.1 27.4 14.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละประชาชนที่ได้รับสิ่งที่คาดหวังสูงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม จำแนก
ออกเป็นประชาชนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 15.5 21.0
2 การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม 23.5 28.1
3 การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม 27.7 31.9
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 23.8 28.5
5 การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม 25.1 28.7
6 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 21.9 27.1
7 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 22.4 24.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าว/คดีความอื้อฉาวที่สนใจและจะทำให้กระบวนการยุติธรรมได้รับความเชื่อถือ
ศรัทธาของประชาชนถ้าได้รับการสะสางหรือคลี่คลาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าว/คดีความอื้อฉาวต่างๆ ร้อยละ
1 คดีทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง ข้าราชการและนายทุน เช่น ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
ทุจริตกล้ายาง บ่อบำบัดน้ำเสีย และงบบริหารท้องถิ่น เป็นต้น 76.5
2 คดีความที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมือง ข้าราชการทำผิดทำร้ายประชาชน 68.5
3 ข่าวเลี่ยงภาษีของนักการเมืองและเครือญาติ 64.7
4 คดี ทนายสมชาย 62.1
5 คดีจ้างวานฆ่า กลุ่มอิทธิพลมืด และขบวนการค้ายาเสพติด 61.3
6 คดีนายทุนบุกรุกที่ดิน ตัดไม้ทำลายป่า 49.2
7 คดีกรือแซะ ตากใบ 47.8
8 คดีลอบวางระเบิดอดีตนายกรัฐมนตรี 30.3
9 อื่นๆ เช่น ปัญหานักการเมืองข้าราชการคุกคามทางเพศ/ ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ 28.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ยุติธรรมในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,520 ตัวอย่าง
ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 9 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลสำรวจพบช่องว่างของประชาชนจำนวนมากที่ให้ความคาดหวังและความสำคัญสูงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม
แต่ไม่ได้รับการตอบสนองหรือไม่เห็นการปฏิบัติจริงตามความคาดหวัง ซึ่งพบว่าช่องว่างกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยที่กว้างมากที่สุดคือ
1) ความเสมอภาค เท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 47.0 ของประชาชนคาดหวังและให้ความ
สำคัญมากถึงมากที่สุด แต่ร้อยละ 17.9 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มีช่องว่างมากถึงร้อยละ 29.1
2) การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 47.0 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 17.6 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวัง
นั้น มีช่องว่างมากถึงร้อยละ 29.4
3) การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 47.1 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 19.2 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มีช่อง
ว่างร้อยละ 27.9
4) การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม พบว่า ร้อยละ 49.5 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 22.2 เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มี
ช่องว่างร้อยละ 27.3
5) ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม พบว่า ร้อยละ 46.4 คาดหวังสูง แต่ ร้อยละ 19.3 เท่านั้นที่พบกับ
ความคาดหวังนั้น มีช่องว่างร้อยละ 27.1
6) การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม พบว่า ร้อยละ 46.3 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 19.5 เท่านั้นที่พบกับความ
คาดหวังนั้น มีช่องว่าร้อยละ 26.8
7) การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม พบว่า ร้อยละ 45.1 คาดหวังสูง แต่ร้อยละ 18.4
เท่านั้นที่พบกับความคาดหวังนั้น มีช่องว่างร้อยละ 26.7
เมื่อทำการวิเคราะห์กลุ่มประชาชนที่ได้รับสิ่งที่ตนเองคาดหวังสูงต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศโดยจำแนกออกตามภูมิภาค พบว่า
ประชาชนภาคเหนือเห็นว่าตำรวจทำงานตรงกับความคาดหวังเป็นจำนวนมากกว่าทุกภาคคือร้อยละ 25.9 คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีร้อยละ 19.2
คนภาคกลางมีร้อยละ 16.7 คนภาคใต้ร้อยละ 16.6 และคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 10.4
ในขณะที่การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม พบว่ามีจำนวนของประชาชนที่ได้รับตามความคาดหวังสูงสุดในทุกภาคเมื่อเปรียบเทียบ
กับเจ้าหน้าที่รัฐกลุ่มอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 30 ของประชาชนที่ถูกศึกษาทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่า คนกรุงเทพมหานครรู้สึก
ว่าไม่ได้รับตามความคาดหวังในเรื่องความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม คือมีเพียงร้อยละ 14.6 เท่านั้นที่คิดว่า
ได้รับตามความคาดหวังที่ให้ไว้กับกระบวนการยุติธรรมอย่างมากถึงมากที่สุด
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนออกเป็นประชาชนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล พบความแตกต่างคือ ประชาชนนอกเขตเทศบาลคิดว่าได้
รับรู้หรือเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมปฏิบัติจริงตามความคาดหวังสูงที่ให้ไว้ เป็นจำนวนมากกว่าประชาชนในเขตเทศบาล หรืออาจกล่าว
ว่า คนนอกเขตเทศบาลรู้สึกว่าสมหวังต่อกระบวนการยุติธรรมมากกว่าคนในเขตเทศบาลในทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 21.0 ของคนนอกเขตเทศบาล ต่อ
ร้อยละ 15.5 ของคนในเขตเทศบาลสมหวังกับการทำงานของตำรวจ ร้อยละ 31.9 ของคนนอกเขตเทศบาล ต่อร้อยละ 27.7 ของคนในเขตเทศบาล
สมหวังกับการทำงานของผู้พิพากษา เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ข่าวอื้อฉาวหรือคดีความที่ประชาชนสนใจและจะทำให้กระบวนการยุติธรรมได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนมากขึ้น
ถ้าได้รับการสะสางปฏิรูปหรือคลี่คลาย ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.5 ระบุเป็นข่าวอื้อฉาวหรือคดีทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ข้าราชการ และนายทุน เช่น ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทุจริตกล้ายาง บ่อบำบัดน้ำเสีย และงบบริหารท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น ร้อยละ 68.5 ระบุคดี
ความที่เจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง ข้าราชการทำผิดทำร้ายประชาชน ร้อยละ 64.7 ข่าวเลี่ยงภาษีของนักการเมืองและเครือญาติ ร้อยละ 62.1 ระบุ
คดีการหายตัวไปของทนายสมชาย ร้อยละ 61.3 ระบุคดีจ้างวานฆ่า กลุ่มอิทธิพลมืด และขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 49.2 คดีนายทุนบุกรุกที่ดิน ตัด
ไม้ทำลายป่า ร้อยละ 47.8 ระบุคดีกรือแซะ ตากใบ ร้อยละ 30.3 คดีลอบวางระเบิดอดีตนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 28.7 ระบุอื่นๆ เช่น ปัญหา
นักการเมืองข้าราชการคุกคามทางเพศ ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านประเทศไทยขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะมีสังคมที่ดีกว่าเก่า และกระบวนการยุติธรรม
เป็นกลไกสำคัญประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะตำรวจที่สำรวจพบว่าเป็นองค์กรสำคัญที่ต้องเร่งฟื้นฟูความรู้สึกของประชาชนให้ประชาชนเห็น
และรับรู้ว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชน อย่างไรก็ตาม การสำรวจครั้งนี้เสนอให้เห็นภาพรวมในอารมณ์ความรู้สึกนึก
คิดของประชาชนไม่ได้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ดังนั้นผลสำรวจที่ค้นพบจึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเชิงรุกของ
เจ้าหน้าที่รัฐทุกกลุ่มในกระบวนการยุติธรรมโดยลงพื้นที่ชุมชนเข้าถึงวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนแท้จริงมากกว่ามุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารหรือ
สร้างภาพลักษณ์เพียงอย่างเดียว
“สิ่งที่รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐควรเร่งรีบดำเนินการขณะนี้คือ การลดช่องว่างกระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเดือด
ร้อนของประชาชนหรือข้อพิพาทในหมู่ประชาชนที่มีผลกระทบวงกว้างต่อความรู้สึกของสาธารณชน เช่น รื้อตลาดนัดซันเดย์ การรื้อบาร์เบียร์ ที่เป็น
เหตุการณ์ร้อนอยู่ใกล้ศูนย์อำนาจในเขตเมืองหลวงท้าทายต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ รัฐบาลต้องไม่นิ่งนอนใจหรือปล่อยให้ข้าราชการระดับ
กระทรวงดำเนินการเอง เพราะพฤติการณ์ของข้าราชการจำนวนมากยังคงเป็นสิ่งติดค้างข้องใจหรือไม่น่าเชื่อถือศรัทธาในจิตใจของประชาชน” ดร.นพ
ดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง สำรวจช่องว่างกระบวนการยุติธรรมในสายตา
ประชาชน กรณีศึกษาประชาชนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 21 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม — 9 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย
คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่
การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,520 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.9 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 18.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.7 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 39.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 26.5 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 4.7 ระบุ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 3.6 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 25.6 ระบุ มากกกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า
ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 63.1 อยู่นอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 36.9 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือเขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงความคาดหวัง-ให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุดและการรับรู้-ได้เห็นจริงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
ในกระบวนการยุติธรรม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ คาดหวัง-ให้ความสำคัญ การรับรู้-ได้เห็นจริง ช่องว่าง-ส่วนต่าง
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 47.0 17.6 29.4
2 การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม 47.1 19.2 27.9
3 การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม 49.5 22.2 27.3
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 46.3 19.5 26.8
5 การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม 45.1 18.4 26.7
6 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 46.4 19.3 27.1
7 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 47.0 17.9 29.1
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของประชาชนที่ได้รับสิ่งที่ตนเองคาดหวังสูงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม
จำแนกประชาชนตามภูมิภาค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 25.9 16.7 19.2 16.6 10.4
2 การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม 30.0 25.5 24.8 30.0 18.4
3 การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม 34.5 29.8 28.5 32.1 19.8
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 28.5 27.1 25.5 29.2 20.3
5 การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม 28.1 28.1 26.3 29.2 17.9
6 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 24.9 24.9 25.5 28.2 16.0
7 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 23.0 23.2 23.1 27.4 14.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละประชาชนที่ได้รับสิ่งที่คาดหวังสูงต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม จำแนก
ออกเป็นประชาชนในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญ ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความยุติธรรม 15.5 21.0
2 การทำงานของอัยการด้วยความยุติธรรม 23.5 28.1
3 การทำงานของผู้พิพากษาด้วยความยุติธรรม 27.7 31.9
4 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติในการคืนคนดีสู่สังคม 23.8 28.5
5 การทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการคืนคนไทยที่มีชีวิตแบบพอเพียงสู่สังคม 25.1 28.7
6 ตัวบทกฎหมายโดยภาพรวมสนับสนุนความเป็นธรรมในสังคม 21.9 27.1
7 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 22.4 24.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าว/คดีความอื้อฉาวที่สนใจและจะทำให้กระบวนการยุติธรรมได้รับความเชื่อถือ
ศรัทธาของประชาชนถ้าได้รับการสะสางหรือคลี่คลาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าว/คดีความอื้อฉาวต่างๆ ร้อยละ
1 คดีทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง ข้าราชการและนายทุน เช่น ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
ทุจริตกล้ายาง บ่อบำบัดน้ำเสีย และงบบริหารท้องถิ่น เป็นต้น 76.5
2 คดีความที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมือง ข้าราชการทำผิดทำร้ายประชาชน 68.5
3 ข่าวเลี่ยงภาษีของนักการเมืองและเครือญาติ 64.7
4 คดี ทนายสมชาย 62.1
5 คดีจ้างวานฆ่า กลุ่มอิทธิพลมืด และขบวนการค้ายาเสพติด 61.3
6 คดีนายทุนบุกรุกที่ดิน ตัดไม้ทำลายป่า 49.2
7 คดีกรือแซะ ตากใบ 47.8
8 คดีลอบวางระเบิดอดีตนายกรัฐมนตรี 30.3
9 อื่นๆ เช่น ปัญหานักการเมืองข้าราชการคุกคามทางเพศ/ ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ 28.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-