เอแบคโพลล์: สำรวจความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของคนกรุงเทพมหานคร ภายหลังเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

ข่าวผลสำรวจ Monday January 4, 2010 08:00 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจ ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของคนกรุงเทพมหานคร ภายหลังเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่ใช้บริการสถานี ตำรวจนครบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,713 ตัวอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลทางวิชาการแก่สังคม ฝ่ายการเมือง องค์กรตำรวจและประชาชนทั่วไปได้พิจารณาดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป โดยการวิจัยครั้งนี้ดำเนินโครงการระหว่างวัน ที่ 26 ธันวาคม 2552 — 1 มกราคม 2553 พบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ระบุติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมผ่านสื่อ มวลชนทุกสัปดาห์

สำหรับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรมที่ประชาชนรับรู้ผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำนั้นพบว่า ร้อยละ 80.0 ระบุข่าวเกี่ยวกับปัญหายา เสพติด ร้อยละ 72.2 ระบุการฆาตกรรม ร้อยละ 58.7 ระบุการข่มขืน ร้อยละ 48.4 ระบุการทะเลาะวิวาท และ ร้อยละ 47.9 ระบุข่าว เกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย ตามลำดับ

นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ของประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหายเดือดร้อนจากปัญหาในลักษณะต่างๆ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบ ว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 20.7 ระบุปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 18.7 ระบุสร้างความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 14.0 ระบุทำร้าย ร่างกาย ร้อยละ 8.0 ระบุชิงทรัพย์ และร้อยละ 6.2 ระบุปล้นทรัพย์ ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเคยมีประสบการณ์เป็นผู้เสียหายในลักษณะอื่นๆ อาทิ การปล้นทรัพย์ /ทำลายทรัพย์สิน /ถูกข่มขู่/ฉ้อโกง เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการพบเห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ตนเองพักอาศัยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนสิงหาคม พบว่า มีจำนวนประชาชนที่เคยพบเห็นตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยในชุมชนของตน ลดน้อย ลง จากร้อยละ 73.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 62.3

ที่น่าเป็นห่วงคือ มีตัวอย่างประชาชนที่รู้สึกหวาดกลัวอันตรายจากโจรผู้ร้าย เมื่อต้องเดินตามลำพังในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยในเวลากลาง คืนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 72.6 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 77.3 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.6 ยัง เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะมีตำรวจสายตรวจออกมาประจำจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อส่งประชาชนเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัยยามค่ำคืน

ที่น่าเป็นห่วง คือ ระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาเดินทางไปยังที่เกิดเหตุเฉลี่ย ประมาณ 35.32 นาที ซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาเดินทางไปยังที่เกิดเหตุหลังรับแจ้งจากประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากการสำรวจเมื่อช่วง เดือนสิงหาคมใช้เวลาในการเดินทางโดยเฉลี่ย 22.78 นาที ในบางพื้นที่พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลานานกว่าชั่วโมงกว่าจะเดินทางถึงที่เกิดเหตุ หลังประชาชนแจ้งขอความช่วยเหลือ

ผลวิจัยยังพบด้วยว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความพอใจโดยภาพรวมของประชาชนต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหน่วยต่างๆ เมื่อขอความช่วย เหลือลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการสำรวจ โดยพบว่าค่าเฉลี่ยความพอใจของประชาชนต่อตำรวจ 191 เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ลดลงจาก 7.00 คะแนน ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 5.79 คะแนน ในการสำรวจครั้งล่าสุด ขณะที่ตำรวจท้องที่ประจำสถานีตำรวจได้รับคะแนนเฉลี่ยความพอใจลด ลง จาก 6.98 8 คะแนน มาอยู่ที่ 5.00 คะแนน เท่านั้น

ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลอย่างน้อยสี่กลุ่มคือ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้า ราชการตำรวจนครบาล ฝ่ายแกนนำชุมชน และประชาชนทั่วไป ที่อาจต้องปรับปรุงบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยฝ่ายการเมืองต้องติดตามตรวจสอบ ประเมินผลงานการแต่งตั้งกลุ่มข้าราชการที่ตนเองปรับเปลี่ยนมาอย่างใกล้ชิด และน่าจะติดตามความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ฝ่ายข้า ราชการตำรวจนครบาลอาจต้องเพิ่มการรับรู้ของประชาชนในการเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยในชุมชนต่างๆ และหาแนวทางแก้ปัญหาการเข้าถึงที่เกิด เหตุที่ช้าเกินไป โดยในต่างประเทศเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองใหญ่ๆ จะเข้าถึงที่เกิดเหตุหลังจากรับแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือจากประชาชนเฉลี่ย ประมาณห้านาทีหรือสิบนาทีเท่านั้น ดังนั้น ทางออกที่น่าพิจารณาคือ การแบ่งโซนพื้นที่ให้ป้อมตำรวจแต่ละป้อมทั่วกรุงเทพมหานครมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำ ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการประชาชนที่ครบวงจรร่วมกับหน่วยงานของรัฐหน่วยอื่นๆ และการเชื่อมประสานความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มแกนนำชุมชน และ ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งทำให้ความรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของประชาชนลดน้อยลง ในขณะที่ความพึงพอใจต่อสถาบันตำรวจ โดยภาพรวมน่าจะเพิ่มสูงขึ้น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 45.9 เป็นเพศชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 18.6 อายุ 20—29 ปี

ร้อยละ 24.4 อายุ 30—39 ปี

ร้อยละ 22.0 อายุ 40—49 ปี

และร้อยละ 26.9 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 26.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 23.4 อาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 18.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.8 ระบุนักเรียน นักศึกษา

ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน /เกษียณอายุ

และร้อยละ 4.1 ระบุว่างงาน

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรม ผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรม ผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                                            53.1
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                                            23.6
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                                            15.7
4          น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์                                                        4.9
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                                              2.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                  100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรมที่มักได้ยินหรือพบเห็นผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรมที่มักได้ยินหรือพบเห็นผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำ       ค่าร้อยละ
1          ยาเสพติด                                                            80.0
2          การฆาตกรรม                                                         72.2
3          ข่มขืน                                                               58.7
4          การทะเลาะวิวาท                                                      48.4
5          ทำร้ายร่างกาย                                                        47.9
6          จี้ปล้น                                                               38.8
7          ล่วงละเมิดทางเพศ                                                     37.2
8          โจรกรรม                                                            34.8
9          ฉ้อโกง                                                              19.7
10          ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ                                                18.9
11          การข่มขู่รีดไถ                                                        15.0
12          กักขัง หน่วงเหนี่ยว                                                    14.1

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่าตนเองหรือคนในครอบครัวเคยตกเป็นผู้เสียหายเดือดร้อนจากปัญหา

ในลักษณะต่างๆ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          เคยตกเป็นผู้เสียหายเดือดร้อนจากปัญหา ในลักษณะต่างๆ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา              ค่าร้อยละ
1          ปัญหายาเสพติด                                                                    20.7
2          การสร้างความเดือดร้อนรำคาญ                                                        18.7
3          ทำร้ายร่างกาย                                                                    14.0
4          ชิงทรัพย์                                                                          8.0
5          ปล้นทรัพย์                                                                         6.2
6          ทำลายทรัพย์สิน                                                                     4.0
7          ถูกข่มขู่                                                                           3.8
8           อื่นๆ อาทิ ถูกฉ้อโกง /โจรกรรม/พยายามฆ่า/ข่มขืน/ถูกคุกคามล่วงละเมิดทางเพศ/กักขัง หน่วงเหนี่ยว   17.7

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยในชุมชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
 ลำดับที่       การพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตรา          พฤษภาคมค่าร้อยละ     สิงหาคมค่าร้อยละ    ธันวาคมค่าร้อยละ

ความปลอดภัยในหมู่บ้าน/ชุมชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

1          เคยพบเห็น/รับรู้                                     48.5              73.4            62.3
2          ไม่เคยพบเห็น/ไม่รับรู้                                 51.5              26.6            37.7
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0             100.0           100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกหวาดกลัวต่ออันตรายจากโจรผู้ร้าย เมื่อต้องเดินตามลำพังในชุมชนในเวลากลางคืน
ลำดับที่          ความรู้สึกหวาดกลัวต่ออันตรายจากโจรผู้ร้าย           พฤษภาคมค่าร้อยละ   สิงหาคมค่าร้อยละ   ธันวาคมค่าร้อยละ

เมื่อต้องเดินตามลำพังในหมู่บ้าน/ชุมชน ในเวลากลางคืน

1          รู้สึกหวาดกลัว                                       78.7             72.6            77.3
2          ไม่รู้สึกหวาดกลัว                                     21.3             27.4            22.7
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0            100.0           100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับตำรวจสายตรวจควรออกมาประจำจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อส่งประชาชนกลับถึงบ้าน
ลำดับที่          ความคิดเห็น            ค่าร้อยละ
1          จำเป็น                      92.6
2          ไม่จำเป็น                     7.4
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหน่วยงานของตำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอความช่วยเหลือ
ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยโทรศัพท์ติดต่อ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          หน่วยงานของตำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอความช่วยเหลือ     ค่าร้อยละ
1          ตำรวจ 191                                                             16.0
2          ตำรวจสถานีตำรวจท้องที่                                                    17.4

ตารางที่ 8 แสดงค่าเวลาเฉลี่ยในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุหลังจากโทรแจ้งเมื่อขอความช่วยเหลือ
(ค่าเฉลี่ยเฉพาะผู้ที่เคยติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
ลำดับที่          เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยต่างๆ                                   สิงหาคมเวลา   ธันวาคมเวลา

เฉลี่ย(นาที) เฉลี่ย (นาที)

          การเข้าถึงที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังประชาชนแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ   22.78        35.32

ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยรวมของประชาชนต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยต่างๆ
เมื่อขอความช่วยเหลือ (ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่          ความพึงพอใจของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยต่างๆ    พฤษภาคมค่า    สิงหาคมค่า    ธันวาคมค่า

เฉลี่ยคะแนน เฉลี่ยคะแนน เฉลี่ยคะแนน

1          ตำรวจ 191                                           6.87          7.00       5.79
2          ตำรวจสถานีตำรวจท้องที่                                  6.36          6.98       5.00

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ