ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์ โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็น ตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวและประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ประมวลผลวิจัยแนวโน้มความสุขของประชาชน และการพยากรณ์ทางสถิติความสุขมวลรวมของประชาชนในปีใหม่นี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนระดับครัว เรือนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,320 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 20 ธันวาคม 2552 — 2 มกราคม 2553 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ผลวิจัยพบว่า ในช่วงปลายปี 2552 ที่ผ่านมา คนไทยมีความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมากที่สุดคือ มีค่าความสุข เฉลี่ยอยู่ที่ 8.96 เมื่อค่าความสุขเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือ สุขภาพใจอยู่ที่ 7.96 สุขภาพกายอยู่ที่ 7.72 รองๆ ลงไปคือ สิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ / บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัย / และความสุขต่อหน้าที่การงานอยู่ที่ 7.58 เท่ากัน นอกจากนี้ ยังมีค่าความสุขของ ประชาชนที่ได้เกินกว่า 7.00 ขึ้นไปได้แก่ การบริการทางการแพทย์ที่ดี ที่ได้รับ / สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน / ความเป็นธรรมทางสังคม / สิ่ง แวดล้อม เช่น สภาพอากาศ สภาพน้ำ เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองสูงถึง 5.58 หลังจากที่เคยค้นพบความสุขของ ประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองเคยตกต่ำเลวร้ายเหลือประมาณ 2.00 ในการวิจัยช่วงวิกฤตความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา
เมื่อพิจารณาค่าความสุขมวลรวมของประชาชนช่วงปลายปีที่ผ่านมา พบว่า อยู่ที่ 7.26 ในทางสถิติถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี กล่าวได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความสุขในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงความสุขต้นเดือนธันวาคมพบว่า ค่าความสุขของ ประชาชนลดลงจาก 9.86 มาอยู่ที่ 7.26 ดังกล่าว
ที่น่าสนใจคือ ผลการพยากรณ์ทางสถิติค่าดัชนีความสุขมวลรวม (GDH) ตลอดช่วงไตรมาสต่างๆ ในปีใหม่ 2553 นี้ พบว่า ถ้าไม่มีปัจจัยลบ ร้ายแรง หรือ ไม่มีปัจจัยบวกเป็นพิเศษแทรกซ้อนใดๆ คือ ถ้าสังคมไทยอยู่ในสภาวะปกติ ค่าความสุขมวลรวมของคนไทยจะอยู่ที่ 6.87 ในไตรมาสแรก ส่วนในไตรมาสที่สอง ค่าความสุขของคนไทยจะอยู่ที่ 6.97 และอยู่ที่ 6.62 ในไตรมาสที่สาม ส่วนช่วงปลายปีหน้าค่าความสุขมวลรวมของคนไทย จะอยู่ที่ 7.86 จากค่าความสุขเต็มที่ 10 คะแนน
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ข้อมูลวิจัยที่ค้นพบบอกถึงความชัดเจนว่า สังคมไทยจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างปกติสุขถ้าหากปัจจัยด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองดำเนินต่อไป ไม่แตกต่างไปจากช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ มุ่งทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ไม่ ห้ำหั่นรุนแรงเข้าหากัน แต่ช่วยกันตรวจสอบอย่างเข้มข้น จนสามารถทำให้สาธารณชนตื่นตัวเข้มแข็งตัดสินใจในวันเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่จะ สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนใคร ผลที่คาดว่าจะตามมาคือ ทุกฝ่ายสามารถช่วยกันหล่อเลี้ยงความสุขของตนเองและผู้อื่นในสังคมไทยโดยส่วนรวมให้อยู่ใน สภาวะที่ดีเพียงพอได้ เพราะจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัยก่อนหน้านี้และครั้งล่าสุด พบปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีความสุขได้อย่างยั่งยืนคือ การที่คนไทยเป็น หนึ่งเดียวกันแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การนำหลักชีวิตแห่งความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ การมีสุขภาพใจ นอนหลับพักผ่อนได้สนิท พัก ผ่อนได้เต็มที่ ได้ผ่อนคลาย ไม่เครียด มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความเป็นธรรมในสังคม ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว บรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีต่อ กันของคนในชุมชน ความพอใจในหน้าที่การงาน สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน และความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.6 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 18.2 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 22.8 อายุ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 67.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 28.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
โดยร้อยละ 30.0 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 25.2 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ
ร้อยละ 15.4 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.3 เป็นข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.3 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 2.5 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง ค่าร้อยละ 1 ทุกวันเกือบทุกวัน 60.8 2 3 — 4 วัน / สัปดาห์ 13.7 3 1 — 2 วัน / สัปดาห์ 7.0 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 9.8 5 ไม่ได้ติดตามเลย 8.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 1 บรรยากาศภายในครอบครัว 8.96 2 สุขภาพใจ 7.96 3 สุขภาพทางกาย 7.72 4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (สาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา ) 7.58 5 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัย 7.58 6 หน้าที่การงาน /อาชีพ 7.58 7 บริการทางการแพทย์ที่ดีที่ได้รับ 7.53 8 สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน 7.09 9 ความเป็นธรรมทางสังคม 7.07 10 สิ่งแวดล้อม อาทิ น้ำ สภาพอากาศ 7.03 11 วัฒนธรรมประเพณีไทย 6.91 12 ภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทย เด็กไทย ในสายตาต่างชาติ 5.84 13 บรรยากาศทางการเมืองโดยรวม 5.58 ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือนธันวาคม 2552 7.26 ตารางที่ 3 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ปลาย ม.ค.52 ก.พ.52 มี.ค.52 เม.ย.52 ต้น ก.ค.52 ส.ค.52 ต้น ปลาย พ.ย.52 5 ธ.ค.52 ปลาย ของคนไทยภายในประเทศ ธ.ค.51 มิ.ย.52 ต.ค.52 ต.ค.52 ธ.ค. 52 (Gross Domestic Happiness) 6.81 6.59 5.78 6.18 7.17 7.15 5.92 7.18 6.83 7.50 7.52 9.86 7.26 ตารางที่ 4 แสดงค่าพยากรณ์ความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศในปีใหม่ 2553 นี้ จากค่าความสุขเต็ม 10 คะแนน
จำแนกแต่ละไตรมาส (กรณีไม่มีปัจจัยลบร้ายแรง หรือ ปัจจัยบวกพิเศษแทรกซ้อน)
ไตรมาส/ปี GDH in 2010
1/2553 6.87 2/2553 6.97 3/2553 6.62 4/2553 7.86 ตารางที่ 5 แสดงผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัย จัดอันดับปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสุขของคนไทย อันดับความสำคัญที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ 1 สุขภาพใจ นอนหลับสนิท พักผ่อนได้เต็มที่ ได้ผ่อนคลาย ไม่เครียด มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ 2 ความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และที่ตนเองได้รับจริง 3 ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว 4 บรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในชุมชนที่พักอาศัย 5 ความพึงพอใจในหน้าที่การงาน การประกอบอาชีพ 6 สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน 7 การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น สภาพถนน น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น 8 ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 9 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดี มีคุณภาพ บริการดี 10 ความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ --เอแบคโพลล์-- -พห-