ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ความคิดเห็นต่อ
สถานการณ์ทางการเมืองหลังศาลอาญาพิจารณาคดีจำคุก กกต. กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,235 คน ในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2549
จากการสำรวจการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 64.6 ติดตามข่าวการ
เมืองอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และมีตัวอย่างร้อยละ 58.0 ทราบข่าวการตัดสินลงโทษ กกต. เมื่อสอบถามถึงการตัดสินลงโทษ กกต. ทั้งสามคน
นี้ ว่าจะเป็นทางออกคลี่คลายสถานการณ์การเมืองได้ในลักษณะใด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 เห็นว่าจะทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์
ยุติธรรม เที่ยงธรรมมากขึ้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 17.6 เห็นว่าจะทำให้การเลือกตั้งมีปัญหามากกว่าเดิม ได้แก่ ปัญหาเรื่องไม่มีบุคคลที่รับผิดชอบ
เรื่องการเลือกตั้ง เกิดการต่อสู้ทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น และร้อยละ 26.4 ระบุไม่มีผลอะไรต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
เมื่อสอบถามถึงผลดีผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศ ถ้าการพิจารณาคดี กกต. ใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 เห็นว่าจะทำให้เกิดผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศไทยมากกว่าผลดี เพราะการสรรหา กกต. ชุดใหม่ช้าลง บ้าน
เมืองเกิดความวุ่นวาย เศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น โดยมีเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้นที่เห็นว่าจะทำให้เกิดผลดีมากกว่า เพราะ มีเวลาในการตัดสิน
ใจ และร้อยละ 33.5 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาต่อการ
ตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนและหลังศาลตัดสินคดี กกต. พบว่า หลังจากศาลตัดสินคดี กกต. วันที่ 25 กรกฎาคม พบว่า จำนวนประชาชนที่เห็น
ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเว้นวรรคทางการเมืองในการสำรวจครั้งก่อนของวันที่ 21 กรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.1 หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 16.8 ในขณะที่ร้อยละ 25.2 ยังคงเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรลาออก ดังนั้น ถ้ารวมกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาผู้ไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ
ในผลสำรวจครั้งนี้เข้าด้วยกันระหว่าง ผู้ที่เห็นว่าควรลาออก กับผู้ที่เห็นว่าควรเว้นวรรค จะอยู่ที่ร้อยละ 54.3 เปรียบเทียบกับผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.
ทักษิณ ให้ทำงานต่อไปมีอยู่ร้อยละ 42.0 ที่เหลือเพียงร้อยละ 3.7 ที่อยู่กลางๆ ในการสำรวจครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นภาพว่า หลังจากศาลอาญาตัดสินคดี
กกต. คนที่เคยอยู่กลางๆ มีจำนวนลดลงอย่างมาก แต่กลุ่มคนที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรหยุดทำงานการเมืองชั่วคราวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 เห็นด้วยกับการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ไม่
เห็นด้วยเพราะ การเมืองยังวุ่นวาย เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ และคิดว่าการเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น และร้อยละ 15.2 ไม่มีความ
เห็น
ยังมีการสอบถามต่อไปด้วยว่า คิดว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะช่วยลดปัญหาความไม่ชัดเจนทางการเมืองได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 64.9 คิดว่าลดปัญหาลงได้ ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ไม่คิดว่าจะลดปัญหาลงได้ เพราะ แต่ละฝ่ายยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ยังเป็นพรรค
การเมืองเดิมๆ และยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นต้น ที่เหลือร้อยละ 18.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไป
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่น่าสังเกตคือ จุดเชื่อมโยงระหว่างการไม่มีกกต. ทั้งสามท่าน กับการสนับสนุนของประชาชนที่เคยอยู่กลางๆ ต่อ พ.ต.ท.
ทักษิณ ทำให้หันไปมีความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเว้นวรรคทาการเมืองชั่วคราว ซึ่งนับต่อจากนี้ไปคงต้องจับตามองอย่างไม่กระพริบตาอย่างน้อยสาม
ประการคือ
1) สังคมควรติดตามกระบวนการสรรหา กกต. ใหม่ทั้งห้าท่านว่า ฝ่ายการเมืองจะอาศัยช่องว่างและเครือข่ายเข้าไปแทรกแซงให้มีคน
ของตนทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองของตนชนะได้อย่างสำเร็จหรือไม่
2) พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีท่าทีอย่างไรต่อการทำงานการเมืองในอนาคต ลาออก เว้นวรรค หรือจะยังต่อสู้ต่อไปบนความแตกแยกของคนใน
สังคม
3) กลุ่มการเมืองที่ประเมินว่าจะผิดหวังกับการเลือกตั้งและกระบวนการปฏิรูปการเมืองใหม่ อาจก่อความไม่สงบขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้
นี้ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนรองรับเรื่องความมั่นคงภายในประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป
“ถ้ามองเฉพาะจำนวนคนที่ยังสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ มีอยู่ประมาณร้อยละ 40 ในเขตกรุงเทพมหานครและน่าจะมากถึงกว่าร้อยละ 50
ในต่างจังหวัดเมื่อประเมินจากการสำรวจความนิยมทั่วประเทศครั้งล่าสุด จะเห็นได้ว่า เป็นจำนวนที่มากพอสมควรและอาจเป็นจำนวนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ยังคงพอใจในระดับหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นจำนวนที่มีพลังพอสมควรเลยทีเดียว การที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ พ.ต.ท.
ทักษิณ ในการชี้แจงกับประชาชนผู้สนับสนุนตนให้เข้าใจถึงความเสียสละที่ถือเป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่งของผู้นำประเทศ ซึ่งถ้าทำได้น่าจะเป็นผลดีต่อ
ความนิยมของสาธารณชนทั่วประเทศต่อพรรคไทยรักไทยโดยรวม แต่ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ดิ้นรนต่อไป ก็คงจะได้คะแนนนิยมทั่วประเทศไม่เกินร้อยละ 50
ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานความนิยมสนับสนุนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และที่สำคัญคือเสถียรภาพของรัฐบาลและการเมืองไทยโดยรวมก็อาจอยู่ในสภาพที่
ง่อนแง่นต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การที่สภาพการเมืองไทยตกอยู่ในสภาวะเช่นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็คงต้องให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณาตัวเองด้วยว่า
ได้มีทางเลือกด้านนโยบายและผลงานที่เหมาะสมตรงใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแล้วหรือไม่ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีทางเลือกตรงความต้องการ
ของประชาชน สภาพการเมืองไทยก็คงไม่อยู่ในสภาพคลุมเคลือและวิกฤตยาวนานขนาดนี้
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการพิจารณาคดี กกต.
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังศาล
อาญาพิจารณาจำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,235 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 26.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 19.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 16.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 44.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 20.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.5
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบการตัดสินลงโทษ กกต.
ลำดับที่ การรับทราบการตัดสินลงโทษ กกต. ค่าร้อยละ
1 ทราบ 58.0
2 ไม่ทราบ 42.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวโน้มที่อาจเกิดกับการเลือกตั้งในคราวต่อไป หลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต.
ลำดับที่ แนวโน้มที่อาจเกิดกับการเลือกตั้งในคราวต่อไปหลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต. ค่าร้อยละ
1 ทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม เที่ยงธรรมมากขึ้น 56.0
2 ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหามากกว่าเดิม ได้แก่ ปัญหาเรื่อง...ไม่มีบุคคลที่รับผิดชอบเรื่องการเลือกตั้ง
เกิดการต่อสู้ทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น 17.6
3 ไม่มีผลอะไรต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลดีผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศไทย หากการพิจารณาคดี กกต.
ใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก
ลำดับที่ ผลดีผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศไทยหากการพิจารณาคดี กกต. ใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก ค่าร้อยละ
1 ผลดีมากกว่า เพราะ ... มีเวลาในการตัดสินใจ 6.6
2 ผลเสียมากกว่า ถ้าคดี กกต. ต้องใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก เพราะ ... ทำให้การสรรหา กกต.
ชุดใหม่ช้าลง บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น 59.9
3 ไม่มีความเห็น 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต.
ลำดับที่ ความเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนศาลตัดสิน(21 ก.ค.) หลังศาลตัดสิน(25 ก.ค.) ส่วนต่างค่าร้อยละ
หลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต. ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ลาออก 26.0 25.2 -0.8
2 หยุดทำงานการเมืองชั่วคราว 12.3 29.1 +16.8
3 ทำงานต่อไป 41.0 42.0 +1.0
4 อื่นๆ เช่น รอดูสถานการณ์ต่อไป ฟังเสียงของประชาชนก่อน เป็นต้น 20.7 3.7 - 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้
ลำดับที่ ความเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 74.1
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ... การเมืองยังวุ่นวาย เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ การเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น 10.7
3 ไม่มีความเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การลดความไม่ชัดเจนทางการเมืองเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ การลดความไม่ชัดเจนทางการเมืองเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าลดปัญหาลงได้ 64.9
2 ไม่คิดว่าจะลดปัญหาลงได้ เพราะ ... แต่ละฝ่ายเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ยังเป็นพรรคการเมืองเดิมๆ
ยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นต้น 16.9
3 ไม่มีความเห็น 18.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สถานการณ์ทางการเมืองหลังศาลอาญาพิจารณาคดีจำคุก กกต. กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,235 คน ในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2549
จากการสำรวจการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 64.6 ติดตามข่าวการ
เมืองอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และมีตัวอย่างร้อยละ 58.0 ทราบข่าวการตัดสินลงโทษ กกต. เมื่อสอบถามถึงการตัดสินลงโทษ กกต. ทั้งสามคน
นี้ ว่าจะเป็นทางออกคลี่คลายสถานการณ์การเมืองได้ในลักษณะใด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 เห็นว่าจะทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์
ยุติธรรม เที่ยงธรรมมากขึ้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 17.6 เห็นว่าจะทำให้การเลือกตั้งมีปัญหามากกว่าเดิม ได้แก่ ปัญหาเรื่องไม่มีบุคคลที่รับผิดชอบ
เรื่องการเลือกตั้ง เกิดการต่อสู้ทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น และร้อยละ 26.4 ระบุไม่มีผลอะไรต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
เมื่อสอบถามถึงผลดีผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศ ถ้าการพิจารณาคดี กกต. ใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 เห็นว่าจะทำให้เกิดผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศไทยมากกว่าผลดี เพราะการสรรหา กกต. ชุดใหม่ช้าลง บ้าน
เมืองเกิดความวุ่นวาย เศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น โดยมีเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้นที่เห็นว่าจะทำให้เกิดผลดีมากกว่า เพราะ มีเวลาในการตัดสิน
ใจ และร้อยละ 33.5 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาต่อการ
ตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนและหลังศาลตัดสินคดี กกต. พบว่า หลังจากศาลตัดสินคดี กกต. วันที่ 25 กรกฎาคม พบว่า จำนวนประชาชนที่เห็น
ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเว้นวรรคทางการเมืองในการสำรวจครั้งก่อนของวันที่ 21 กรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.1 หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 16.8 ในขณะที่ร้อยละ 25.2 ยังคงเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรลาออก ดังนั้น ถ้ารวมกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาผู้ไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ
ในผลสำรวจครั้งนี้เข้าด้วยกันระหว่าง ผู้ที่เห็นว่าควรลาออก กับผู้ที่เห็นว่าควรเว้นวรรค จะอยู่ที่ร้อยละ 54.3 เปรียบเทียบกับผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.
ทักษิณ ให้ทำงานต่อไปมีอยู่ร้อยละ 42.0 ที่เหลือเพียงร้อยละ 3.7 ที่อยู่กลางๆ ในการสำรวจครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นภาพว่า หลังจากศาลอาญาตัดสินคดี
กกต. คนที่เคยอยู่กลางๆ มีจำนวนลดลงอย่างมาก แต่กลุ่มคนที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรหยุดทำงานการเมืองชั่วคราวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 เห็นด้วยกับการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ไม่
เห็นด้วยเพราะ การเมืองยังวุ่นวาย เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ และคิดว่าการเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น และร้อยละ 15.2 ไม่มีความ
เห็น
ยังมีการสอบถามต่อไปด้วยว่า คิดว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะช่วยลดปัญหาความไม่ชัดเจนทางการเมืองได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 64.9 คิดว่าลดปัญหาลงได้ ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ไม่คิดว่าจะลดปัญหาลงได้ เพราะ แต่ละฝ่ายยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ยังเป็นพรรค
การเมืองเดิมๆ และยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นต้น ที่เหลือร้อยละ 18.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไป
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่น่าสังเกตคือ จุดเชื่อมโยงระหว่างการไม่มีกกต. ทั้งสามท่าน กับการสนับสนุนของประชาชนที่เคยอยู่กลางๆ ต่อ พ.ต.ท.
ทักษิณ ทำให้หันไปมีความเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเว้นวรรคทาการเมืองชั่วคราว ซึ่งนับต่อจากนี้ไปคงต้องจับตามองอย่างไม่กระพริบตาอย่างน้อยสาม
ประการคือ
1) สังคมควรติดตามกระบวนการสรรหา กกต. ใหม่ทั้งห้าท่านว่า ฝ่ายการเมืองจะอาศัยช่องว่างและเครือข่ายเข้าไปแทรกแซงให้มีคน
ของตนทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองของตนชนะได้อย่างสำเร็จหรือไม่
2) พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีท่าทีอย่างไรต่อการทำงานการเมืองในอนาคต ลาออก เว้นวรรค หรือจะยังต่อสู้ต่อไปบนความแตกแยกของคนใน
สังคม
3) กลุ่มการเมืองที่ประเมินว่าจะผิดหวังกับการเลือกตั้งและกระบวนการปฏิรูปการเมืองใหม่ อาจก่อความไม่สงบขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้
นี้ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนรองรับเรื่องความมั่นคงภายในประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป
“ถ้ามองเฉพาะจำนวนคนที่ยังสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ มีอยู่ประมาณร้อยละ 40 ในเขตกรุงเทพมหานครและน่าจะมากถึงกว่าร้อยละ 50
ในต่างจังหวัดเมื่อประเมินจากการสำรวจความนิยมทั่วประเทศครั้งล่าสุด จะเห็นได้ว่า เป็นจำนวนที่มากพอสมควรและอาจเป็นจำนวนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ยังคงพอใจในระดับหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นจำนวนที่มีพลังพอสมควรเลยทีเดียว การที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ พ.ต.ท.
ทักษิณ ในการชี้แจงกับประชาชนผู้สนับสนุนตนให้เข้าใจถึงความเสียสละที่ถือเป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่งของผู้นำประเทศ ซึ่งถ้าทำได้น่าจะเป็นผลดีต่อ
ความนิยมของสาธารณชนทั่วประเทศต่อพรรคไทยรักไทยโดยรวม แต่ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ดิ้นรนต่อไป ก็คงจะได้คะแนนนิยมทั่วประเทศไม่เกินร้อยละ 50
ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานความนิยมสนับสนุนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล และที่สำคัญคือเสถียรภาพของรัฐบาลและการเมืองไทยโดยรวมก็อาจอยู่ในสภาพที่
ง่อนแง่นต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การที่สภาพการเมืองไทยตกอยู่ในสภาวะเช่นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็คงต้องให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณาตัวเองด้วยว่า
ได้มีทางเลือกด้านนโยบายและผลงานที่เหมาะสมตรงใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแล้วหรือไม่ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีทางเลือกตรงความต้องการ
ของประชาชน สภาพการเมืองไทยก็คงไม่อยู่ในสภาพคลุมเคลือและวิกฤตยาวนานขนาดนี้
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังการพิจารณาคดี กกต.
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังศาล
อาญาพิจารณาจำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,235 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 26.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 19.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 16.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.9 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 44.3
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 20.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 14.5
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 12.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบการตัดสินลงโทษ กกต.
ลำดับที่ การรับทราบการตัดสินลงโทษ กกต. ค่าร้อยละ
1 ทราบ 58.0
2 ไม่ทราบ 42.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวโน้มที่อาจเกิดกับการเลือกตั้งในคราวต่อไป หลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต.
ลำดับที่ แนวโน้มที่อาจเกิดกับการเลือกตั้งในคราวต่อไปหลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต. ค่าร้อยละ
1 ทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม เที่ยงธรรมมากขึ้น 56.0
2 ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหามากกว่าเดิม ได้แก่ ปัญหาเรื่อง...ไม่มีบุคคลที่รับผิดชอบเรื่องการเลือกตั้ง
เกิดการต่อสู้ทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น 17.6
3 ไม่มีผลอะไรต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 26.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลดีผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศไทย หากการพิจารณาคดี กกต.
ใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก
ลำดับที่ ผลดีผลเสียต่อปัญหาการเมืองของประเทศไทยหากการพิจารณาคดี กกต. ใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก ค่าร้อยละ
1 ผลดีมากกว่า เพราะ ... มีเวลาในการตัดสินใจ 6.6
2 ผลเสียมากกว่า ถ้าคดี กกต. ต้องใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก เพราะ ... ทำให้การสรรหา กกต.
ชุดใหม่ช้าลง บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น 59.9
3 ไม่มีความเห็น 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต.
ลำดับที่ ความเห็นต่อการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนศาลตัดสิน(21 ก.ค.) หลังศาลตัดสิน(25 ก.ค.) ส่วนต่างค่าร้อยละ
หลังศาลอาญาตัดสินลงโทษ กกต. ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ลาออก 26.0 25.2 -0.8
2 หยุดทำงานการเมืองชั่วคราว 12.3 29.1 +16.8
3 ทำงานต่อไป 41.0 42.0 +1.0
4 อื่นๆ เช่น รอดูสถานการณ์ต่อไป ฟังเสียงของประชาชนก่อน เป็นต้น 20.7 3.7 - 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้
ลำดับที่ ความเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม นี้ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 74.1
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ... การเมืองยังวุ่นวาย เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ การเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น 10.7
3 ไม่มีความเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การลดความไม่ชัดเจนทางการเมืองเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ การลดความไม่ชัดเจนทางการเมืองเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าลดปัญหาลงได้ 64.9
2 ไม่คิดว่าจะลดปัญหาลงได้ เพราะ ... แต่ละฝ่ายเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ยังเป็นพรรคการเมืองเดิมๆ
ยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นต้น 16.9
3 ไม่มีความเห็น 18.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-