ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความสนใจและปัญหาของนัก เรียน นักศึกษา และผู้ปกครองต่อการเล่นหวยออนไลน์ กรณีศึกษาตัวอย่างนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,958 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจในวันที่ 8-9 มกราคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า
ทั้งเด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 และกว่าร้อยละ 90 ในเขตกรุงเทพมหานครทราบข่าวเกี่ยวกับหวยออ นไลน์ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้ามีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ทั้งผู้ปกครองและเด็กนักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.1 และร้อยละ 59.1 สนใจที่จะทดลองเล่นหวยออนไลน์ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.0 ของกลุ่มผู้ปกครองและร้อยละ 60.0 ของกลุ่มนัก เรียนนักศึกษาคิดว่าจะทำให้เด็กและเยาวชนมาเล่นหวยออนไลน์มากขึ้นด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 ของผู้ปกครอง และร้อยละ 66.2 ของเด็กนักเรียนนักศึกษาคิดว่า ถ้าเล่นแล้วจะทำให้ติด และ อยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ อีกด้วย โดยมีปัจจัยสำคัญที่ค้นพบคือ ความง่ายในการเล่น คนไทยชอบเสี่ยง เจ้าหน้าที่รัฐไม่กวดขันจริงจัง รูปแบบการเล่นที่ทัน สมัยและการโฆษณา
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนนักศึกษาเป็นห่วงกังวลปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นตามมาถ้าเด็กและเยาวชนมีการเล่นหวยกัน มากขึ้น อันดับแรกคือ ร้อยละ 58.1 ของผู้ปกครองและร้อยละ 63.3 ของเด็กนักเรียนนักศึกษา เป็นห่วงกังวลปัญหาแหล่งพนัน อบายมุขมากขึ้น รอง มาคือ ร้อยละ 56.1 ของผู้ปกครองและร้อยละ 41.7 ของเด็กนักรียนนักศึกษาเป็นห่วงปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สิน และร้อยละ 49.0 ของผู้ปกครอง และร้อยละ 35.9 ของเด็กนักเรียน นักศึกษาเป็นห่วงกังวลปัญหาครอบครัว ส่วนปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาการค้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น ปัญหาเด็กหนีเรียน มากขึ้น ปัญหาการใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาทและปัญหาการขายบริการทางเพศจะเพิ่มขึ้น ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 58.4 ของเด็กนักรียนนักศึกษา และร้อยละ 49.0 ของผู้ปกครองสนับสนุนรัฐบาลให้ต่อสู้คดีความกับบริษัทเอกชน เพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย ในขณะที่ร้อยละ 38.8 ของเด็กนักเรียนนักศึกษา และร้อยละ 41.5 ของผู้ปกครองคิดว่ารัฐบาลควรยอม ให้มีหวยออนไลน์ และร้อยละ 2.8 ของเด็กนักรียนนักศึกษา และร้อยละ 9.5 ของผู้ปกครองไม่มีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่า ถ้าหากมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคม กลุ่มคนที่ศึกษาทั้งเด็กนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองส่วน ใหญ่ต่างก็สนใจที่จะทดลองเล่น แต่เมื่อพิจารณาปัญหาสังคมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาแล้ว ทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลให้ต่อสู้ คดีความกับบริษัทเอกชนเพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและสังคมไทยควรมีการศึกษาข้อมูลด้านอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อดู ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคมไทยมากกว่ากระแสความรู้สึกนึกคิดของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ศึกษาตัวแบบจำลองของปัญหาสังคมไทยที่อาจ จะเกิดขึ้นถ้ามีหวยออนไลน์และกลไกต่างๆ ของรัฐมีความสามารถเพียงพอจะควบคุมสถานการณ์ปัญหาสังคมไทยได้หรือไม่ ศึกษาแง่ดีของหวยออนไลน์ที่ จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นคุ้มทุนทางสังคมและคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนนักศึกษาพบว่า ร้อยละ 54.0 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.0 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 39.6 ระบุ อายุ 12-15 ปี และร้อยละ 60.4 ระบุอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 32.8 กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในขณะที่ร้อยละ 23.6 อยู่ใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และร้อยละ 43.6 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ป.ว.ช. ตามลำดับ
ในขณะที่จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไป พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 34.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.8 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 16.2 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 49.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 34.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ ร้อยละ 8.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ร้อยละ 62.2 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 31.9 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ลำดับที่ การรับทราบข่าวเกี่ยวกับหวยออนไลน์ผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 ทราบข่าว 94.0 81.9 2 ไม่ทราบข่าว 6.0 18.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองเล่นถ้ามีหวยออนไลน์ที่ถูกกฎหมาย ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองเล่นถ้ามีหวยออนไลน์ที่ถูกกฎหมาย ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 ไม่สนใจเลย 47.9 40.9 2 สนใจที่จะทดลองเล่น 52.1 59.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการมีหวยออนไลน์จะมีผลทำให้เด็กและเยาวชนที่เป็นผู้หญิง หันมาเล่นหวยมากขึ้นด้วย ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 คิดว่าจะทำให้เด็กและเยาวชนมาเล่นหวยออนไลน์มากขึ้นด้วย 59.0 60.0 2 ไม่คิดอย่างนั้น 41.0 40.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการเล่นหวย เล่นแล้วจะทำให้ติดและอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 คิดว่าถ้าเล่นแล้ว จะทำให้ติด และอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ 68.3 66.2 2 ไม่คิด 31.7 33.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่คิดว่าจะเป็นสาเหตุทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ถ้ารัฐบาลอนุมัติให้มี หวยออนไลน์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่คิดว่าเป็นสาเหตุทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 ความง่ายในการเล่น 60.7 42.8 2 คนไทยชอบเสี่ยง 58.4 57.2 3 เจ้าหน้าที่รัฐไม่กวดขันจริงจัง 53.6 31.1 4 รูปแบบการเล่นที่ทันสมัย 53.5 39.4 5 การโฆษณา 46.6 21.3 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่เป็นห่วงกังวลอาจเกิดตามมา หากเด็กและเยาวชนมีการเล่นหวยมากยิ่งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาที่เป็นห่วงกังวลอาจเกิดมากขึ้นตามมา ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 ปัญหาแหล่งพนัน อบายมุขมากขึ้น 58.1 63.3 2 ปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สิน 56.1 41.7 3 ปัญหาครอบครัว 49.0 35.9 4 ปัญหาค้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น 46.1 22.8 5 ปัญหาเด็กหนีเรียนมากขึ้น 39.8 31.2 6 ปัญหาการใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท 39.3 19.2 7 ปัญหาการขายบริการทางเพศเพิ่มขึ้น 37.5 19.3 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของรัฐบาลกรณีหวยออนไลน์ ลำดับที่ ความคิดเห็น ผู้ปกครองค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 รัฐบาลควรยอมให้มีหวยออนไลน์ 41.5 38.8 2 รัฐบาลควรต่อสู้คดีความกับบริษัทเอกชนเพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย 49.0 58.4 3 ไม่มีความคิดเห็น 9.5 2.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--