ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจยุบสภาไปแล้ว แต่ความร้อนแรงทางการเมืองยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
ชุมนุมประท้วงของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรฯ หรือฝ่ายที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ การรวมตัวกันของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านที่จะไม่
ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ก็นับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวทวีความร้อนแรงมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่แทบจะไม่
เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ความพยายามที่จะยุติความรุนแรงของฝ่ายต่างๆ แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้ทำให้สถานการณ์คลี่คลายไป
ในทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอที่เป็นทางออกของพรรคไทยรักไทย หรือทางออกของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่สามารถทำให้
สถานการณ์ดังกล่าวลดความร้อนแรงลงได้ ประชาชนกำลังอยู่ในภาวะสับสน และเกิดข้อสงสัยว่าอนาคตทางการเมืองจะเป็นอย่างไร การเมืองเดิน
มาถึงทางตันแล้วจริงหรือไม่ และการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้จะสามารถทำให้สถานการณ์การเมืองกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างไร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร ถึงความคิดเห็นที่มีสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการนัดชุมนุมในวันที่ 5 มีนาคม 2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้ง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์การเมือง
ในปัจจุบันและการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 28
กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,277 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.5 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 71.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.9 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 1.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.9 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 43.2 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 14.7 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.8 ระบุ 15,001-20,000 บาท
และร้อยละ 13.4 ระบุมากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
และการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ
18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,277 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีความเชื่อต่อข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุ
เชื่อข่าวลือที่เกิดขึ้นดังกล่าว ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 60.6 ระบุไม่เชื่อข่าวลือ ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อข่าวลือใน
ประเด็นต่างๆ พบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังนี้ ข่าวลือว่าจะมีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมนั้น ตัวอย่างร้อยละ 30.8 ระบุเชื่อว่าจริง ในขณะที่
ร้อยละ 69.2 ระบุไม่เชื่อว่าจริง นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก นั้น ตัวอย่างร้อยละ 24.6 เชื่อว่าจริง ใน
ขณะที่ร้อยละ 75.4 ระบุไม่เชื่อว่าจริง
ตัวอย่างอย่างร้อยละ 20.8 ระบุเชื่อข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะใช้กำลังตำรวจ-ทหารปราบกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นเรื่องจริง ในขณะที่ร้อย
ละ 79.2 ระบุไม่เชื่อว่าจริง และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงข่าวลือที่ว่านายกรัฐมนตรีและครอบครัวจะหนีออกนอกประเทศนั้นพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.1 ระบุเชื่อว่าจริง ในขณะที่ร้อยละ 83.9 ระบุ ไม่เชื่อว่าจริง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อข่าวลือว่าทหารจะทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.2 ระบุเชื่อว่าจริง ใน
ขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 85.8 ระบุไม่เชื่อว่าจริง
“อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อว่าข่าวลือต่างๆ ที่มีการปล่อยออกมาเป็นเรื่องจริง แต่ก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่
เชื่อ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าการชุมนุมจะมีการใช้ความรุนแรง ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก และข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะใช้กำลังทหาร-ตำรวจ
ปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม” ดร.นพดลกล่าว
นอกจากนี้ ผลสำรวจการทราบข่าวการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคมนี้ พบว่าตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ใน
ขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความตั้งใจในการเข้าไปร่วมชุมนุมในวันดังกล่าวนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 4.6 ระบุ
ตั้งใจว่าต้องไปร่วมแน่นอน ร้อยละ 2.7 ระบุคาดว่าจะไป ร้อยละ 12.8 ระบุอยากไปแต่กลัวอันตราย ในขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 79.9
ระบุไม่เคยคิดที่จะไปเลย โดยเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชนในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
28.0 ระบุคิดว่าจะเกิดความรุนแรง ในขณะที่ ร้อยละ 49.2 ระบุไม่คิดว่าจะเกิดความรุนแรง และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ตัวอย่างร้อยละ 43.9 ระบุถึงแม้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะลาออกก็ยังจะเลือกพรรคไทยรัก
ไทยอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 29.9 ระบุจะไม่เลือกหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก และร้อยละ 26.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกนั้น ผลการสำรวจพบว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลาออก
ประชาชนกลับให้ความไว้วางใจตั้งใจจะเลือกพรรคไทยรักไทยมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ จากร้อยละ 30 กว่าๆ
มาเป็นร้อยละ 40 กว่าๆ ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่พรรคไทยรักไทยพอใจได้ เพราะนี่เป็นความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ถ้าหากเป็นความรู้สึกของคนต่าง
จังหวัดพรรคไทยรักไทยน่าจะได้รับความนิยมสูงกว่านี้ด้วยซ้ำ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จึงไม่น่าจะเป็นห่วงกับกิจการทางการเมืองของพรรคมากเกินไปเพราะ
ถ้าเกิดเหตุการณ์ “ม็อบชนม็อบล้อมปราบ” พรรคไทยรักไทยก็จะอยู่ได้ลำบาก แต่ก็เป็นธรรมดาของคนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตที่มักจะปล่อยวาง
ยากและมักจะเป็นห่วงคนรอบข้างว่าพวกเขาจะอยู่กันไม่ได้ ถ้าตนเองยุติบทบาททางการเมือง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
นี้ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.3 ไม่เห็นด้วยเพราะฝ่ายค้านควรทำตามกติกา/เป็นการเล่นเกมทางการเมืองมากเกินไป/ทำให้เกิดความยุ่ง
ยาก ในขณะที่ร้อยละ 21.2 เห็นด้วย เพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย/ฝ่ายค้านไม่ได้รับความยุติธรรม /อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น
และ ร้อยละ 32.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของผู้ที่ระบุไม่เห็นด้วยกับฝ่ายค้านดังกล่าวข้างต้นลดลงจากการสำรวจเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยถึงร้อยละ 74.1 สำหรับผลกระทบต่อความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน เมื่อฝ่ายค้านไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุมีผลกระทบต่อความตั้งใจ ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 21.2 ระบุไม่แน่ใจ โดย
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.3 ระบุตั้งใจจะไป ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุไม่ตั้งใจ และ
ร้อยละ 24.7 ระบุไม่แน่ใจ
“ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 40.7 เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน เพราะสถานการณ์
ปัจจุบันยังมีความร้อนแรงอยู่/ ควรให้โอกาสฝ่ายค้าน/ ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น และไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ในขณะที่
ร้อยละ 20.1 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เลือกวันไหนก็เหมือนกัน และการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา และร้อยละ 39.2 ไม่มี
ความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.0 ไม่ค่อยมั่นใจและไม่มั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งที่จะมาถึง ในขณะที่ร้อย
ละ 39.2 ค่อนข้างมั่นใจและมั่นใจ และร้อยละ 10.8 ไม่มีความเห็น สำหรับประเด็นสำคัญสุดท้าย ได้แก่ ข้อเสนอแนะผ่าทางตันสถานการณ์การเมือง
ขณะนี้ในทรรศนะของประชาชน ซึ่งผลสำรวจพบว่า อันดับแรก ประชาชนเสนอแนะให้ทุกฝ่ายหันหน้าเจรจากันเพื่อยุติความขัดแย้ง รองลงมาคือ นายก
รัฐมนตรีควรยุติบทบาททางการเมือง อันดับสามคือ ควรยกเลิกการชุมนุมประท้วง และฝ่ายค้านควรหันมาส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ตามลำดับ” ดร.นพ
ดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าววิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ประชาชนคนไทยที่ถูกศึกษาครั้งนี้กำลังคาดหวังสองสิ่งอันดับแรกกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง
และชนชั้นนำของประเทศ คือ การเว้นวรรคทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี และการหันหน้ามาเจราจายุติความขัดแย้งท่ามกลางกลุ่มการเมืองฝ่าย
ต่างๆ เพื่อสร้างประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในเชิงสร้างสรรค์ที่ประชาชนจำนวนมากนับแสนคนชุมนุมเรียกร้องสปิริตของผู้นำประเทศด้วยความ
สงบไม่เกิดเหตุรุนแรงบานปลายสร้างความโล่งใจแก่ประชาชนทั้งประเทศ แต่ถ้าเกิดเหตุรุนแรงบานปลาย กลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ รวมทั้งผู้นำประเทศเอง
คงไม่สามารถหนีความรับผิดชอบได้ และประเทศไทยก็จะพบกับวิกฤตการณ์ประชาธิปไตยซ้ำซากบนซากปรักหักพังและความบอบช้ำของประเทศและคราบ
น้ำตาของประชาชนผู้สูญเสียที่ไม่มีวันเรียกร้องอดีตแห่งความสงบสุขให้กลับคืนมาได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อข่าวลือ 39.4
2 ไม่เชื่อข่าวลือ 60.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข่าวลือต่างๆเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง
ข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง เชื่อว่าจริง(ค่าร้อยละ) ไม่เชื่อว่าจริง(ค่าร้อยละ) รวมทั้งสิ้น
1. ข่าวลือว่าจะมีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม 30.8 69.2 100.0
2. ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก 24.6 75.4 100.0
3. ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะใช้กำลังตำรวจ-ทหารปราบกลุ่มผู้ชุมนุม 20.8 79.2 100.0
4. ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีและครอบครัวจะหนีออกนอกประเทศ 16.1 83.9 100.0
5. ข่าวลือว่าทหารจะทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร 14.2 85.8 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549 เพื่อ
เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก
ลำดับที่ การทราบข่าวการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ค่าร้อยละ
1 ทราบ 79.9
2 ไม่ทราบ 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะเข้าร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวง
ในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจ ต้องไปร่วมแน่นอน 4.6
2 คาดว่าจะไป 2.7
3 อยากไปแต่กลัวอันตราย 12.8
4 ไม่เคยคิดที่จะไปเลย 79.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดเหตุการณ์รุนแรงในการชุมนุม
ของประชาชน ในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความรุนแรง 28.0
2 ไม่คิดว่าจะเกิด 49.2
3 ไม่มีความเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลือกพรรคไทยรักไทย
หาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลาออก
ลำดับที่ ความคิดเห็นว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทยถึงแม้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออก ค่าร้อยละ
1 เลือก 43.9
2 ไม่เลือก 29.9
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ จากการสำรวจความนิยมของประชาชนในกรุงเทพมหานครจากโครงการประเมินผลงานรัฐบาลฯ
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 37.1 ระบุนิยมพรรคไทยรักไทย (โดยที่ยัง
ไม่ได้ระบุเงื่อนไขว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะลาออก)
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความคิดเห็นกรณีพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง
ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น 25 ก.พ. 49 ค่าร้อยละ 1 มี.ค. 49 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.6 21.2
2 ไม่เห็นด้วย 74.1 46.3
3 ไม่มีความเห็น 12.3 32.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่อความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
เมื่อพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลกระทบต่อความตั้งใจ 30.6
2 ไม่มีผล 48.2
3 ไม่แน่ใจ 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง 57.3
2 ไม่ตั้งใจ 18.0
3 ไม่แน่ใจ 24.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป
จากวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...สถานการณ์ปัจจุบันยังมีความรุนแรงอยู่/ให้โอกาสฝ่ายค้าน/
ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น/ไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ 40.7
2 ไม่เห็นด้วยเพราะ... เลือกวันไหนก็เหมือนกัน/ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหา 20.1
3 ไม่มีความเห็น 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งที่จะมาถึง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 23.6
2 ค่อนข้างมั่นใจ 15.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 27.6
4 ไม่มั่นใจ 22.4
5 ไม่มีความเห็น 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อให้สถานการณ์การเมืองในขณะนี้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายควรเปิดเจรจากันเพื่อยุติปัญหา 42.0
2 นายกรัฐมนตรีควรยุติบทบาททางการเมือง 40.6
3 ยกเลิกการชุมนุมประท้วง 34.5
4 ฝ่ายค้านควรส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง 25.9
5 ควรทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ 15.5
6 เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 15.3
7 ให้รับฟังเสียงประชาชนส่วนมาก/เปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็น 15.0
8 ไม่ต้องการให้ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา 14.7
9 ขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี 14.7
10 อื่นๆ อาทิ ให้หาคนกลางมาไกล่เกลี่ย/แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 7.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจยุบสภาไปแล้ว แต่ความร้อนแรงทางการเมืองยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
ชุมนุมประท้วงของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรฯ หรือฝ่ายที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ การรวมตัวกันของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านที่จะไม่
ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ก็นับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวทวีความร้อนแรงมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่แทบจะไม่
เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ความพยายามที่จะยุติความรุนแรงของฝ่ายต่างๆ แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้ทำให้สถานการณ์คลี่คลายไป
ในทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอที่เป็นทางออกของพรรคไทยรักไทย หรือทางออกของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่สามารถทำให้
สถานการณ์ดังกล่าวลดความร้อนแรงลงได้ ประชาชนกำลังอยู่ในภาวะสับสน และเกิดข้อสงสัยว่าอนาคตทางการเมืองจะเป็นอย่างไร การเมืองเดิน
มาถึงทางตันแล้วจริงหรือไม่ และการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้จะสามารถทำให้สถานการณ์การเมืองกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างไร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร ถึงความคิดเห็นที่มีสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการนัดชุมนุมในวันที่ 5 มีนาคม 2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้ง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์การเมือง
ในปัจจุบันและการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในวันที่ 28
กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,277 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.5 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 71.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.9 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 1.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.9 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 43.2 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 14.7 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.8 ระบุ 15,001-20,000 บาท
และร้อยละ 13.4 ระบุมากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
และการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ
18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,277 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีความเชื่อต่อข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุ
เชื่อข่าวลือที่เกิดขึ้นดังกล่าว ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 60.6 ระบุไม่เชื่อข่าวลือ ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อข่าวลือใน
ประเด็นต่างๆ พบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาดังนี้ ข่าวลือว่าจะมีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมนั้น ตัวอย่างร้อยละ 30.8 ระบุเชื่อว่าจริง ในขณะที่
ร้อยละ 69.2 ระบุไม่เชื่อว่าจริง นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก นั้น ตัวอย่างร้อยละ 24.6 เชื่อว่าจริง ใน
ขณะที่ร้อยละ 75.4 ระบุไม่เชื่อว่าจริง
ตัวอย่างอย่างร้อยละ 20.8 ระบุเชื่อข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะใช้กำลังตำรวจ-ทหารปราบกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นเรื่องจริง ในขณะที่ร้อย
ละ 79.2 ระบุไม่เชื่อว่าจริง และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงข่าวลือที่ว่านายกรัฐมนตรีและครอบครัวจะหนีออกนอกประเทศนั้นพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.1 ระบุเชื่อว่าจริง ในขณะที่ร้อยละ 83.9 ระบุ ไม่เชื่อว่าจริง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อข่าวลือว่าทหารจะทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.2 ระบุเชื่อว่าจริง ใน
ขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 85.8 ระบุไม่เชื่อว่าจริง
“อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อว่าข่าวลือต่างๆ ที่มีการปล่อยออกมาเป็นเรื่องจริง แต่ก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่
เชื่อ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าการชุมนุมจะมีการใช้ความรุนแรง ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก และข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะใช้กำลังทหาร-ตำรวจ
ปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม” ดร.นพดลกล่าว
นอกจากนี้ ผลสำรวจการทราบข่าวการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคมนี้ พบว่าตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ใน
ขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความตั้งใจในการเข้าไปร่วมชุมนุมในวันดังกล่าวนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 4.6 ระบุ
ตั้งใจว่าต้องไปร่วมแน่นอน ร้อยละ 2.7 ระบุคาดว่าจะไป ร้อยละ 12.8 ระบุอยากไปแต่กลัวอันตราย ในขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 79.9
ระบุไม่เคยคิดที่จะไปเลย โดยเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชนในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
28.0 ระบุคิดว่าจะเกิดความรุนแรง ในขณะที่ ร้อยละ 49.2 ระบุไม่คิดว่าจะเกิดความรุนแรง และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ตัวอย่างร้อยละ 43.9 ระบุถึงแม้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะลาออกก็ยังจะเลือกพรรคไทยรัก
ไทยอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 29.9 ระบุจะไม่เลือกหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก และร้อยละ 26.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกนั้น ผลการสำรวจพบว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลาออก
ประชาชนกลับให้ความไว้วางใจตั้งใจจะเลือกพรรคไทยรักไทยมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ จากร้อยละ 30 กว่าๆ
มาเป็นร้อยละ 40 กว่าๆ ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่พรรคไทยรักไทยพอใจได้ เพราะนี่เป็นความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ถ้าหากเป็นความรู้สึกของคนต่าง
จังหวัดพรรคไทยรักไทยน่าจะได้รับความนิยมสูงกว่านี้ด้วยซ้ำ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จึงไม่น่าจะเป็นห่วงกับกิจการทางการเมืองของพรรคมากเกินไปเพราะ
ถ้าเกิดเหตุการณ์ “ม็อบชนม็อบล้อมปราบ” พรรคไทยรักไทยก็จะอยู่ได้ลำบาก แต่ก็เป็นธรรมดาของคนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตที่มักจะปล่อยวาง
ยากและมักจะเป็นห่วงคนรอบข้างว่าพวกเขาจะอยู่กันไม่ได้ ถ้าตนเองยุติบทบาททางการเมือง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
นี้ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.3 ไม่เห็นด้วยเพราะฝ่ายค้านควรทำตามกติกา/เป็นการเล่นเกมทางการเมืองมากเกินไป/ทำให้เกิดความยุ่ง
ยาก ในขณะที่ร้อยละ 21.2 เห็นด้วย เพราะเป็นสิทธิตามกฎหมาย/ฝ่ายค้านไม่ได้รับความยุติธรรม /อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น
และ ร้อยละ 32.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของผู้ที่ระบุไม่เห็นด้วยกับฝ่ายค้านดังกล่าวข้างต้นลดลงจากการสำรวจเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยถึงร้อยละ 74.1 สำหรับผลกระทบต่อความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน เมื่อฝ่ายค้านไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุมีผลกระทบต่อความตั้งใจ ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 21.2 ระบุไม่แน่ใจ โดย
เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.3 ระบุตั้งใจจะไป ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุไม่ตั้งใจ และ
ร้อยละ 24.7 ระบุไม่แน่ใจ
“ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 40.7 เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน เพราะสถานการณ์
ปัจจุบันยังมีความร้อนแรงอยู่/ ควรให้โอกาสฝ่ายค้าน/ ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น และไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ในขณะที่
ร้อยละ 20.1 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เลือกวันไหนก็เหมือนกัน และการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา และร้อยละ 39.2 ไม่มี
ความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.0 ไม่ค่อยมั่นใจและไม่มั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งที่จะมาถึง ในขณะที่ร้อย
ละ 39.2 ค่อนข้างมั่นใจและมั่นใจ และร้อยละ 10.8 ไม่มีความเห็น สำหรับประเด็นสำคัญสุดท้าย ได้แก่ ข้อเสนอแนะผ่าทางตันสถานการณ์การเมือง
ขณะนี้ในทรรศนะของประชาชน ซึ่งผลสำรวจพบว่า อันดับแรก ประชาชนเสนอแนะให้ทุกฝ่ายหันหน้าเจรจากันเพื่อยุติความขัดแย้ง รองลงมาคือ นายก
รัฐมนตรีควรยุติบทบาททางการเมือง อันดับสามคือ ควรยกเลิกการชุมนุมประท้วง และฝ่ายค้านควรหันมาส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ตามลำดับ” ดร.นพ
ดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าววิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ประชาชนคนไทยที่ถูกศึกษาครั้งนี้กำลังคาดหวังสองสิ่งอันดับแรกกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง
และชนชั้นนำของประเทศ คือ การเว้นวรรคทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี และการหันหน้ามาเจราจายุติความขัดแย้งท่ามกลางกลุ่มการเมืองฝ่าย
ต่างๆ เพื่อสร้างประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในเชิงสร้างสรรค์ที่ประชาชนจำนวนมากนับแสนคนชุมนุมเรียกร้องสปิริตของผู้นำประเทศด้วยความ
สงบไม่เกิดเหตุรุนแรงบานปลายสร้างความโล่งใจแก่ประชาชนทั้งประเทศ แต่ถ้าเกิดเหตุรุนแรงบานปลาย กลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ รวมทั้งผู้นำประเทศเอง
คงไม่สามารถหนีความรับผิดชอบได้ และประเทศไทยก็จะพบกับวิกฤตการณ์ประชาธิปไตยซ้ำซากบนซากปรักหักพังและความบอบช้ำของประเทศและคราบ
น้ำตาของประชาชนผู้สูญเสียที่ไม่มีวันเรียกร้องอดีตแห่งความสงบสุขให้กลับคืนมาได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อข่าวลือ 39.4
2 ไม่เชื่อข่าวลือ 60.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข่าวลือต่างๆเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง
ข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง เชื่อว่าจริง(ค่าร้อยละ) ไม่เชื่อว่าจริง(ค่าร้อยละ) รวมทั้งสิ้น
1. ข่าวลือว่าจะมีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม 30.8 69.2 100.0
2. ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก 24.6 75.4 100.0
3. ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีจะใช้กำลังตำรวจ-ทหารปราบกลุ่มผู้ชุมนุม 20.8 79.2 100.0
4. ข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีและครอบครัวจะหนีออกนอกประเทศ 16.1 83.9 100.0
5. ข่าวลือว่าทหารจะทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร 14.2 85.8 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549 เพื่อ
เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก
ลำดับที่ การทราบข่าวการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ค่าร้อยละ
1 ทราบ 79.9
2 ไม่ทราบ 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะเข้าร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวง
ในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจ ต้องไปร่วมแน่นอน 4.6
2 คาดว่าจะไป 2.7
3 อยากไปแต่กลัวอันตราย 12.8
4 ไม่เคยคิดที่จะไปเลย 79.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดเหตุการณ์รุนแรงในการชุมนุม
ของประชาชน ในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความรุนแรง 28.0
2 ไม่คิดว่าจะเกิด 49.2
3 ไม่มีความเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเลือกพรรคไทยรักไทย
หาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลาออก
ลำดับที่ ความคิดเห็นว่าจะเลือกพรรคไทยรักไทยถึงแม้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออก ค่าร้อยละ
1 เลือก 43.9
2 ไม่เลือก 29.9
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ จากการสำรวจความนิยมของประชาชนในกรุงเทพมหานครจากโครงการประเมินผลงานรัฐบาลฯ
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 37.1 ระบุนิยมพรรคไทยรักไทย (โดยที่ยัง
ไม่ได้ระบุเงื่อนไขว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะลาออก)
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความคิดเห็นกรณีพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง
ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น 25 ก.พ. 49 ค่าร้อยละ 1 มี.ค. 49 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.6 21.2
2 ไม่เห็นด้วย 74.1 46.3
3 ไม่มีความเห็น 12.3 32.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่อความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
เมื่อพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลกระทบต่อความตั้งใจ 30.6
2 ไม่มีผล 48.2
3 ไม่แน่ใจ 21.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง 57.3
2 ไม่ตั้งใจ 18.0
3 ไม่แน่ใจ 24.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป
จากวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...สถานการณ์ปัจจุบันยังมีความรุนแรงอยู่/ให้โอกาสฝ่ายค้าน/
ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น/ไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ 40.7
2 ไม่เห็นด้วยเพราะ... เลือกวันไหนก็เหมือนกัน/ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหา 20.1
3 ไม่มีความเห็น 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งที่จะมาถึง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 23.6
2 ค่อนข้างมั่นใจ 15.6
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 27.6
4 ไม่มั่นใจ 22.4
5 ไม่มีความเห็น 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อให้สถานการณ์การเมืองในขณะนี้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายควรเปิดเจรจากันเพื่อยุติปัญหา 42.0
2 นายกรัฐมนตรีควรยุติบทบาททางการเมือง 40.6
3 ยกเลิกการชุมนุมประท้วง 34.5
4 ฝ่ายค้านควรส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง 25.9
5 ควรทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ 15.5
6 เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 15.3
7 ให้รับฟังเสียงประชาชนส่วนมาก/เปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็น 15.0
8 ไม่ต้องการให้ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา 14.7
9 ขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี 14.7
10 อื่นๆ อาทิ ให้หาคนกลางมาไกล่เกลี่ย/แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 7.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-