ที่มาของโครงการ
สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน นับว่าเป็นชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มา
จนจะครบวาระในปี 2549 นี้ และจะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ทั่วประเทศขึ้นในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2549 การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา
ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าสนใจอย่างยิ่งในท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่า
แปลกใจเลยว่า เหตุใดสาธารณชนจึงได้ให้ความสนใจและเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งบทบาทของพรรคการเมืองต่างๆในการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาก็คือ
คุณลักษณะ และคุณสมบัติของ สมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ ที่ประชาชนต้องการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่ม
ตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนความพึง
พอใจในบทบาทหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระลง ซึ่งคาดว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองโดยรวมได้ในทางใด
ทางหนึ่ง สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวของประชาชนเรื่อง “การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่ 19 เมษายน 2549”
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของตัวอย่างต่อบทบาทหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณสมบัติและคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่ประชาชนต้องการ
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาในประเด็นต่าง ๆ
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ปี 2549 : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,297 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ปี 2549” ในครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,297 ตัวอย่าง ซึ่งได้
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ในเบื้องต้นพบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 54.3 ระบุว่าได้ติดตามข่าวการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19
เมษายน 2549
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความพึงพอใจต่อการทำงานของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 24.1 ระบุพอใจ ใน
ขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ไม่พอใจ และตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 43.7 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณีเชื่อหรือไม่ว่าพรรคการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ในครั้ง
นี้ พบว่าตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 67.0 ระบุเชื่อว่าจะมีพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ในครั้งนี้ ใน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ระบุไม่เชื่อว่าจะมีการแทรกแซง และร้อยละ 25.3 ระบุไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นที่ต้องการของประชาชน 5 อันดับแรก คือ พบว่าตัวอย่างส่วน
ใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 81.3 ระบุ สมาชิกวุฒิสภา ต้องเป็นคนที่มีความรู้-ความสามารถ รองลงมาร้อยละ 76.4 ต้องการคนที่ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ
67.4 ต้องการคนเสียสละเพื่อส่วนรวม ร้อยละ 65.4 ต้องการคนดีมีศีลธรรม/จริยธรรม และร้อยละ 59.7 ต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ตาม
ลำดับ ในขณะที่คุณสมบัติเรื่องรูปร่างหน้าตาดี มีชาติตระกูลดี และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักนั้นพบว่า ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกเท่าไรนัก โดยมีสัดส่วน
เพียงร้อยละ 5.0 ร้อยละ 8.9 และร้อยละ 18.2 ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ เมื่อนำคุณลักษณะ 2 ด้านที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ตัวอย่างระบุถึงคุณลักษณะของคนที่จะเลือกเข้า
มาเป็นสมาชิกวุฒิสภานั้น ผลการสำรวจเป็นดังนี้
เพศ :ร้อยละ 78.0 เลือกเพศชาย
ในขณะที่ร้อยละ 22.0 เลือกเพศหญิง
ด้านการศึกษา : ร้อยละ 60.8 เลือกคนที่มีการศึกษาสูง
ในขณะที่ร้อยละ 39.2 ระบุไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง
ด้านสถานภาพทางครอบครัว : ร้อยละ 73.2 ระบุเลือกคนมีครอบครัวแล้ว
ในขณะที่ ร้อยละ 26.8 เลือกคนโสด
ด้านบุคลิกในการทำงาน : ร้อยละ 59.1 เลือกคนที่มีบุคลิกในการทำงานเด็ดขาดเข้มแข็ง
ในขณะที่ร้อยละ 40.9 เลือกคนที่ประนีประนอม
ด้านบุคลิกการตัดสินใจ : ร้อยละ 81.1 ระบุเลือกคนที่ตัดสินใจละเอียดถี่ถ้วน
ในขณะที่ร้อยละ 18.9 ระบุเลือกคนที่คิดรวดเร็ว/ฉับไว
ด้านฐานะทางการเงิน : ร้อยละ 91.6 เลือกคนที่ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย
มีเพียงร้อยละ 8.4 ที่ระบุว่าต้องร่ำรวย
ด้านแนวคิดทางการเมือง : ร้อยละ 85.3 ระบุเลือกคนที่มีแนวคิดทางการเมืองแบบหัวก้าวหน้า
ในขณะที่ร้อยละ 14.7 เลือกคนที่หัวอนุรักษ์นิยม
ด้านจุดยืนทางการเมือง : ร้อยละ 53.5 ระบุเลือกคนที่สนับสนุนรัฐบาล
ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุเลือกคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล
ด้านแนวทางการทำงาน : ร้อยละ 56.5 ระบุเลือกคนที่เน้นการพัฒนาชาติ
ในขณะที่ร้อยละ 43.5 ระบุเลือกคนที่มีแนวทางในการทำงานโดยเน้นการพัฒนาท้องถิ่น
ด้านวัยวุฒิ : ตัวอย่างร้อยละ 70.0 ระบุเลือกคนรุ่นใหม่
ในขณะที่ร้อยละ 30.0 ระบุเลือกผู้มีอาวุโส
ด้านความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง : ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือ
ร้อยละ 70.8 ระบุเลือกผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
ในขณะที่ร้อยละ 29.2 ระบุจะเลือกผู้ที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าว “การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
วันที่ 19 เมษายน 2549”
ลำดับที่ การติดตามข่าว “การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา วันที่ 19 เมษายน 2549” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 54.3
2 ไม่ได้ติดตาม 45.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 24.1
2 ไม่พอใจ 32.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 43.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อที่ว่าจะมีพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซงในการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้
ลำดับที่ ความเชื่อที่ว่าจะมีพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซงในการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าแทรกแซง 67.0
2 ไม่เชื่อ 7.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 มีความรู้-ความสามารถ 81.3
2 มีความซื่อสัตย์สุจริต 76.4
3 เสียสละเพื่อส่วนรวม 67.4
4 มีศีลธรรม/จริยธรรม 65.4
5 มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน 59.7
6 มีมนุษยสัมพันธ์ดี 54.3
7 มีความอดทนในการทำงาน 54.2
8 มีประสบการณ์ในการทำงานด้านสาธารณะ 48.2
9 เป็นที่ยอมรับจากสังคม 42.3
10 มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ 33.0
11 เป็นตัวของตัวเอง 32.2
12 มีการศึกษาสูง 29.5
13 รักครอบครัว 26.9
14 สมถะ/เรียบง่าย 26.1
15 มีหน้าที่-การงานมั่นคง 24.7
16 พูดจาไพเราะ 24.1
17 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 18.2
18 มีชาติตระกูลดี 8.9
19 รูปร่างหน้าตาดี 5.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกในการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะ 2 ด้าน
คุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1.เพศ
ชาย 78.0
หญิง 22.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
2.การศึกษา
การศึกษาสูง 60.8
ไม่จำเป็นต้องมีศึกษาสูงมาก 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
3.สถานภาพสมรส
โสด 26.8
มีครอบครัว 73.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
4.บุคลิกภาพในการทำงาน
ประนีประนอม 40.9
เด็ดขาดเข้มแข็ง 59.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
5.การตัดสินใจ
รวดเร็ว/ฉับไว 18.9
ละเอียด/ถี่ถ้วน 81.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
6.ฐานะทางการเงิน
ร่ำรวย 8.4
ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย 91.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
7.แนวคิดทางการเมือง
หัวอนุรักษ์นิยม 14.7
หัวก้าวหน้า 85.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
8.จุดยืนทางการเมือง
สนับสนุนรัฐบาล 53.5
ไม่สนับสนุนรัฐบาล 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 (ต่อ) แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกใน
การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้
คุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
9.แนวทางการทำงาน
เน้นการพัฒนาชาติ 56.5
เน้นการพัฒนาท้องถิ่น 43.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
10.วัยวุฒิ
เป็นผู้มีอาวุโส 30.0
เป็นคนรุ่นใหม่ 70.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
11.ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 29.2
ไม่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 70.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน นับว่าเป็นชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มา
จนจะครบวาระในปี 2549 นี้ และจะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก (ส.ว.) ทั่วประเทศขึ้นในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2549 การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา
ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าสนใจอย่างยิ่งในท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่า
แปลกใจเลยว่า เหตุใดสาธารณชนจึงได้ให้ความสนใจและเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งบทบาทของพรรคการเมืองต่างๆในการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาก็คือ
คุณลักษณะ และคุณสมบัติของ สมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ ที่ประชาชนต้องการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่ม
ตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนความพึง
พอใจในบทบาทหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระลง ซึ่งคาดว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองโดยรวมได้ในทางใด
ทางหนึ่ง สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวของประชาชนเรื่อง “การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่ 19 เมษายน 2549”
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของตัวอย่างต่อบทบาทหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณสมบัติและคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่ประชาชนต้องการ
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาในประเด็นต่าง ๆ
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ปี 2549 : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์
2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,297 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.2 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ปี 2549” ในครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,297 ตัวอย่าง ซึ่งได้
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ในเบื้องต้นพบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 54.3 ระบุว่าได้ติดตามข่าวการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19
เมษายน 2549
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความพึงพอใจต่อการทำงานของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 24.1 ระบุพอใจ ใน
ขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ไม่พอใจ และตัวอย่างเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 43.7 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณีเชื่อหรือไม่ว่าพรรคการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ในครั้ง
นี้ พบว่าตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 67.0 ระบุเชื่อว่าจะมีพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ในครั้งนี้ ใน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ระบุไม่เชื่อว่าจะมีการแทรกแซง และร้อยละ 25.3 ระบุไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นที่ต้องการของประชาชน 5 อันดับแรก คือ พบว่าตัวอย่างส่วน
ใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 81.3 ระบุ สมาชิกวุฒิสภา ต้องเป็นคนที่มีความรู้-ความสามารถ รองลงมาร้อยละ 76.4 ต้องการคนที่ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ
67.4 ต้องการคนเสียสละเพื่อส่วนรวม ร้อยละ 65.4 ต้องการคนดีมีศีลธรรม/จริยธรรม และร้อยละ 59.7 ต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ตาม
ลำดับ ในขณะที่คุณสมบัติเรื่องรูปร่างหน้าตาดี มีชาติตระกูลดี และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักนั้นพบว่า ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกเท่าไรนัก โดยมีสัดส่วน
เพียงร้อยละ 5.0 ร้อยละ 8.9 และร้อยละ 18.2 ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือ เมื่อนำคุณลักษณะ 2 ด้านที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบ เพื่อให้ตัวอย่างระบุถึงคุณลักษณะของคนที่จะเลือกเข้า
มาเป็นสมาชิกวุฒิสภานั้น ผลการสำรวจเป็นดังนี้
เพศ :ร้อยละ 78.0 เลือกเพศชาย
ในขณะที่ร้อยละ 22.0 เลือกเพศหญิง
ด้านการศึกษา : ร้อยละ 60.8 เลือกคนที่มีการศึกษาสูง
ในขณะที่ร้อยละ 39.2 ระบุไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูง
ด้านสถานภาพทางครอบครัว : ร้อยละ 73.2 ระบุเลือกคนมีครอบครัวแล้ว
ในขณะที่ ร้อยละ 26.8 เลือกคนโสด
ด้านบุคลิกในการทำงาน : ร้อยละ 59.1 เลือกคนที่มีบุคลิกในการทำงานเด็ดขาดเข้มแข็ง
ในขณะที่ร้อยละ 40.9 เลือกคนที่ประนีประนอม
ด้านบุคลิกการตัดสินใจ : ร้อยละ 81.1 ระบุเลือกคนที่ตัดสินใจละเอียดถี่ถ้วน
ในขณะที่ร้อยละ 18.9 ระบุเลือกคนที่คิดรวดเร็ว/ฉับไว
ด้านฐานะทางการเงิน : ร้อยละ 91.6 เลือกคนที่ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย
มีเพียงร้อยละ 8.4 ที่ระบุว่าต้องร่ำรวย
ด้านแนวคิดทางการเมือง : ร้อยละ 85.3 ระบุเลือกคนที่มีแนวคิดทางการเมืองแบบหัวก้าวหน้า
ในขณะที่ร้อยละ 14.7 เลือกคนที่หัวอนุรักษ์นิยม
ด้านจุดยืนทางการเมือง : ร้อยละ 53.5 ระบุเลือกคนที่สนับสนุนรัฐบาล
ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุเลือกคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล
ด้านแนวทางการทำงาน : ร้อยละ 56.5 ระบุเลือกคนที่เน้นการพัฒนาชาติ
ในขณะที่ร้อยละ 43.5 ระบุเลือกคนที่มีแนวทางในการทำงานโดยเน้นการพัฒนาท้องถิ่น
ด้านวัยวุฒิ : ตัวอย่างร้อยละ 70.0 ระบุเลือกคนรุ่นใหม่
ในขณะที่ร้อยละ 30.0 ระบุเลือกผู้มีอาวุโส
ด้านความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง : ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือ
ร้อยละ 70.8 ระบุเลือกผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
ในขณะที่ร้อยละ 29.2 ระบุจะเลือกผู้ที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าว “การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
วันที่ 19 เมษายน 2549”
ลำดับที่ การติดตามข่าว “การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา วันที่ 19 เมษายน 2549” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 54.3
2 ไม่ได้ติดตาม 45.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อบทบาทการทำงานของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 24.1
2 ไม่พอใจ 32.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 43.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อที่ว่าจะมีพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซงในการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้
ลำดับที่ ความเชื่อที่ว่าจะมีพรรคการเมืองเข้ามาแทรกแซงในการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าแทรกแซง 67.0
2 ไม่เชื่อ 7.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 มีความรู้-ความสามารถ 81.3
2 มีความซื่อสัตย์สุจริต 76.4
3 เสียสละเพื่อส่วนรวม 67.4
4 มีศีลธรรม/จริยธรรม 65.4
5 มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน 59.7
6 มีมนุษยสัมพันธ์ดี 54.3
7 มีความอดทนในการทำงาน 54.2
8 มีประสบการณ์ในการทำงานด้านสาธารณะ 48.2
9 เป็นที่ยอมรับจากสังคม 42.3
10 มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ 33.0
11 เป็นตัวของตัวเอง 32.2
12 มีการศึกษาสูง 29.5
13 รักครอบครัว 26.9
14 สมถะ/เรียบง่าย 26.1
15 มีหน้าที่-การงานมั่นคง 24.7
16 พูดจาไพเราะ 24.1
17 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 18.2
18 มีชาติตระกูลดี 8.9
19 รูปร่างหน้าตาดี 5.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกในการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะ 2 ด้าน
คุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1.เพศ
ชาย 78.0
หญิง 22.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
2.การศึกษา
การศึกษาสูง 60.8
ไม่จำเป็นต้องมีศึกษาสูงมาก 39.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
3.สถานภาพสมรส
โสด 26.8
มีครอบครัว 73.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
4.บุคลิกภาพในการทำงาน
ประนีประนอม 40.9
เด็ดขาดเข้มแข็ง 59.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
5.การตัดสินใจ
รวดเร็ว/ฉับไว 18.9
ละเอียด/ถี่ถ้วน 81.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
6.ฐานะทางการเงิน
ร่ำรวย 8.4
ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย 91.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
7.แนวคิดทางการเมือง
หัวอนุรักษ์นิยม 14.7
หัวก้าวหน้า 85.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
8.จุดยืนทางการเมือง
สนับสนุนรัฐบาล 53.5
ไม่สนับสนุนรัฐบาล 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 (ต่อ) แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกใน
การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้
คุณลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาที่คิดว่าจะเลือกในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
9.แนวทางการทำงาน
เน้นการพัฒนาชาติ 56.5
เน้นการพัฒนาท้องถิ่น 43.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
10.วัยวุฒิ
เป็นผู้มีอาวุโส 30.0
เป็นคนรุ่นใหม่ 70.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
11.ความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 29.2
ไม่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 70.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-