ที่มาของโครงการ
คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคือความเคลื่อนไหวที่เกิดจากกรณีการขาย
หุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร ซึ่งนับว่าได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนมาอย่างต่อเนื่อง ถึงความเหมาะสมและความถูกต้อง ทั้งทางด้านกฎหมาย
และด้านจริยธรรมของผู้นำประเทศ นอกจากนี้ประเด็นดังกล่าวยังเชื่อมโยงไปสู่ความเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในการออกมาโจมตีนายก
รัฐมนตรีเรื่องการคอรัปชั่นต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สำหรับประเด็นการนัดชุมนุมเคลื่อนไหว”ม็อบสนธิ”ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ก็นับเป็นความ
เคลื่อนไหวทางการเมืองที่ร้อนแรงอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในรอบสัปดาห์และได้รับความสนใจจากสาธารณชนในวงกว้าง เช่นเดียวกัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดตามข่าว “ม็อบสนธิ 4 ก.พ.49” อาทิ การจับตามองท่าทีของนายก
รัฐมนตรีในการออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุม ความสนใจที่จะเข้าร่วมชุมนุม ความวิตกกังวลของประชาชนว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์บานปลายจนเกิดความ
วุ่นวายขึ้นในกลุ่มผู้ชุมนุม ตลอดจนท่าทีของนายกรัฐมนตรี ต่อกลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว รวมทั้งความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการชี้แจงการขาย
หุ้นชินฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมของประชาชนในการติดตามข่าว “ม็อบสนธิ 4 ก.พ. 49 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า”
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชี้แจงประเด็นข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีต่อกรณี “ม็อบ สนธิ 4 ก.พ. 49 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า”
และ “การชี้แจงการขายหุ้นชินคอร์ป”
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความเคลื่อนไหวของสนธิ ลิ้มทองกุลในสาย
ตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,467 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 69.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.2 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 5.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.7 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.5 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 20.8 ระบุ 10,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 22.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความเคลื่อนไหวของสนธิ ลิ้มทองกุล ในสายตา
ประชาชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,467 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.3 ไม่เคยคิดที่จะไปเลย โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากไปสร้างความวุ่นวายให้ประเทศ
ชาติ / ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น / ไม่เห็นด้วยกับการเมือง เป็นต้น ร้อยละ 24.0 อยากไปร่วมชุมนุม แต่กลัวอันตราย ร้อยละ 11.4 คาดว่าจะไป
เพราะ อยากรู้ความเคลื่อนไหว / อยากฟังข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี / อยากร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นต้น และร้อยละ 5.3 ที่ตั้งใจจะไปร่วม
แน่นอน เพราะ ต้องการไปให้กำลังใจ / ต้องการไปร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
สำหรับเหตุผลที่คาดว่าจะเข้าร่วมชุมนุม ถ้ามีการชุมนุมต่อเนื่องไปอีก พบว่า 5 อันดับแรก คือ ไม่พอใจการทำงานของนายกรัฐมนตรี
(ร้อยละ 18.8) ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง (ร้อยละ 17.8) ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม / ต้องการความถูกต้อง / ต้อง
การความยุติธรรม (ร้อยละ 14.0) อยากรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป (ร้อยละ 12.3) และต้องการโจมตีเพื่อล้มล้างรัฐบาล (ร้อยละ
11.5) ตามลำดับ ซึ่งคุณลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่ตั้งใจจะเข้าร่วมชุมนุมอย่างแน่นอน ถ้ามีการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.3 จบ
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือต่ำกว่า ร้อยละ 26.7 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 22.2 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลาย/ปวช. และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 55.6 มาจากภูมิลำเนา กรุงเทพฯ และปริมณฑล และร้อยละ 42.2 มาจากภูมิลำเนาต่างจังหวัด
ในขณะที่ร้อยละ 2.2 ไม่ระบุภูมิลำเนา
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงท่าทีที่อยากให้นายกรัฐมนตรีแสดงต่อกลุ่มที่ชุมนุมโจมตีรัฐบาล พบว่า 5 อันดับแรก คือ แถลงความเป็น
จริง / ชี้แจงความเป็นจริงเพื่อตอบข้อสงสัยให้กลุ่มผู้ชุมนุม (ร้อยละ 37.4) ให้รอดูสถานการณ์ก่อน ยังไม่ต้องเคลื่อนไหวใดๆ (ร้อยละ 28.2) รับ
ฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้ชุมนุม (ร้อยละ 17.6) ใช้ความสุภาพ อ่อนโยน ต่อกลุ่มผู้ชุมนุม (ร้อยละ 11.5) และแสดงศักยภาพของความเป็นผู้นำ
ประเทศที่ดีออกมาให้ประชาชนรับรู้ (ร้อยละ 7.0) ตามลำดับ
สำหรับประเด็นการชี้แจงกรณีการขายหุ้นชินฯ ในด้านจริยธรรมของนายกรัฐมนตรี นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.6 เห็นว่ามี
ความจำเป็นในการชี้แจง เพราะ ประชาชนจะได้รับรู้ข้อเท็จจริง / ต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้ เป็นต้น ร้อยละ 19.1 เห็นว่าไม่จำเป็น
เพราะ เป็นเรื่องส่วนตัว / ทุกอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่โปร่งใส และร้อยละ 16.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ข้อเสนอแนะวิธีการดำเนินการที่นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจต่อการชุมนุมม็อบสนธิ 4 ก.พ. 49 นั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ให้ทำงานต่อ ร้อยละ 14.6 ให้ลาออก ร้อยละ 7.2 ให้ยุบสภา ร้อยละ 6.2 ระบุอื่นๆ อาทิ ให้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง /
ให้ชี้แจงข้อเท็จจริง / ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นต้น และร้อยละ 38.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
และประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ บุคคลที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ พบว่า อันดับหนึ่ง
คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อันดับสอง คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอันดับสาม คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวอย่างยังได้
ระบุบุคคลอื่นๆ อีก อาทิ พลตรีจำลอง ศรีเมือง นายชวน หลีกภัย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นต้น (ผลสำรวจเพิ่มเติมสามารถพิจารณาได้จาก
ตารางแนบท้าย)
ดร.นพดล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้สะท้อนให้เห็นข้อมูลสำคัญหลายประเด็นเช่น กลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเข้า
ร่วมชุมนุมถ้าชุมนุมยืดเยื้อ ประเด็นข้อเสนอแนะทางออกให้นายกรัฐมนตรี ประเด็นบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ และ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพบว่าประชาชนที่ตั้งใจจะเข้ร่วมชุมนุมถ้ามีการชุมนุมต่อเนื่องกระจายไปทุกระดับชั้นของคนในสังคมไม่ใช่เฉพาะคนชั้นกลางเท่า
นั้น และเป็นคนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครกับต่างจังหวัดในสัดส่วนพอๆ กัน
“ส่วนเรื่องทางออกที่กลุ่มตัวอย่างเสนอต่อนายกรัฐมนตรีพบว่าประชาชนยังต้องการให้ทำงานต่อไป แต่ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นสัดส่วน
ของคนที่ระบุให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่พรรคไทยรักไทยอาจจะได้รับ
การสนับสนุนจากประชาชนลดน้อยลงไปอย่างมาก และรัฐบาลใหม่คงเป็นรัฐบาลผสมอย่างแน่นอน ผลที่ตามมาคือ ภาคประชาชนและสังคมจะสามารถ
ตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้นกว่าปัจจุบัน และคงไม่มีผู้นำประเทศในรัฐบาลผสมที่แข็งกร้าวเกินกว่าที่สังคมไทยจะรับได้ นั่นคือนายกรัฐมนตรี
คนต่อไปอาจมีบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับความรู้สึกของคนในสังคมไทยมากขึ้น” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจอยากให้แก้ไขอันเป็นทางออกต่อสถานการณ์
การเมืองขณะนี้ โดยเฉพาะเรื่องของ ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค และนายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากพรรคการเมือง เพราะประชาชนในขณะนี้กำลังประสบ
กับสภาวะฝันสลายที่คิดว่าพรรคการเมืองเข้มแข็งแล้วจะได้รัฐบาลที่ปกครองประเทศโดยสงบ
“คนไทยรักความสงบถึงแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจบ้าง ดังนั้นถ้ารัฐบาลชุดปัจจุบันตระหนักถึงลักษณะของคนไทยประการนี้ควรเร่งรีบปรับท่าที
และค้นหาทางออกที่สันติไม่รุนแรง ไม่ตอบโต้ด้วยคำพูดแบบนักเลงหัวไม้ที่ยั่วยุให้เกิดความแตกแยก เพราะรัฐบาลคือผู้นำประเทศจึงต้องอดทนอดกลั้นไม่
ควรลดสถานะทางอารมณ์ของตัวเองให้ต่ำลงไม่สมกับการเป็นผู้นำ การที่มีคนหมู่มากจำนวนหลายหมื่นคนมารวมตัวกัน แสดงว่ามีปัญหาอย่างน้อย 2
ประการ ประการแรก คือ ระบบหรือกลไกของรัฐมีปัญหา และประการที่สอง คือ ภาพลักษณ์ของผู้นำหรือคนใกล้ชิดมีปัญหา” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า รัฐบาลควรเร่งทำสามเรื่องสำคัญตอนนี้คือ เรื่องแรก คือ แก้ปัญหาความรู้สึกแคลงใจของประชาชนด้านจริยธรรม
จากการขายหุ้นชินฯ ของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี เรื่องที่สอง คือ แก้ปัญหาการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนที่เห็นได้ชัดเจนว่าโทรทัศน์ไม่ให้ความ
สำคัญนำเสนอเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนวันที่ 4 ก.พ. อย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรมองว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นเพียงแค่คนจำนวนเล็กน้อย เพราะ
จากการสำรวจพบว่า ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ให้ความสนใจและจำนวนมากตั้งใจเข้าร่วมการชุมนุม และเรื่องที่สาม คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการ
เป็นเจ้าภาพแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่ไม่ทำให้สังคมรู้สึกอึดอัดว่ารัฐบาลกำลังมีความเข้มแข็งเกินไปจนเข้าใกล้เส้นของความเป็นรัฐบาลเผด็จการ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าว “ม็อบสนธิ” ในวันที่ 4 ก.พ.49 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 96.8
2 ไม่ทราบข่าว 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสนใจต่อ “ม็อบสนธิ” ในครั้งนี้
(เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว “ม็อบสนธิ” ในวันที่ 4 ก.พ. 49)
ลำดับที่ การให้ความสนใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 สนใจ 61.1
2 ไม่สนใจ 38.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะเข้าร่วมชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
ถ้ามีการชุมนุมต่อเนื่องอีก
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจ ต้องไปร่วมแน่นอน
เพราะ...... ต้องการไปให้กำลังใจ/ต้องการไปร่วมแสดงความคิดเห็น/
ต้องการมีส่วนร่วมกับประชาชนคนอื่นๆ/ต้องการไปเรียกร้องความเป็นธรรม 5.3
2 คาดว่าจะไป
เพราะ....อยากรู้ความเคลื่อนไหว /อยากฟังข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี/
อยากร่วมแสดงความคิดเห็น /อยากรู้ฐานะที่แท้จริงของนายกรัฐมนตรี 11.4
3 อยากไปแต่กลัวอันตราย 24.0
4 ไม่เคยคิดที่จะไปเลย
เพราะ.....ไม่อยากไปสร้างความวุ่นวายให้ประเทศชาติ/ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น/
ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม/ไม่เข้าใจเรื่องการเมือง/ไม่รู้จะเชื่อใครดี/
ไม่เห็นด้วยกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล/ติดตามข่าวจากโทรทัศน์ดีกว่า/เดินทางไม่สะดวก/
กลัวมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้น/ยังมั่นใจในตัวนายกรัฐมนตรี/
เป็นเกมการเมืองที่ทำให้ประเทศชาติวุ่นวาย 59.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่คาดว่าจะเข้าร่วม “ม็อบสนธิ” ถ้ามีการชุมนุมต่อเนื่องอีก
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลของคนที่คาดว่าจะเข้าร่วม “ม็อบสนธิ” ค่าร้อยละ
1 ไม่พอใจการทำงานของนายกรัฐมนตรี 18.8
2 ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง 17.8
3 ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม/ต้องการความถูกต้อง/ต้องการความยุติธรรม 14.0
4 อยากรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป 12.3
5 ต้องการโจมตีเพื่อล้มล้างรัฐบาล 11.5
6 เชื่อว่าข้อมูลของนายสนธิ ลิ้มทองกุลเป็นเรื่องจริง 10.3
7 มีแนวคิดเดียวกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล/มีความเห็นเหมือนกัน 8.8
8 ทำตามกระแสสังคม 8.3
9 อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานของนายกรัฐมนตรี 8.0
10 ต้องการออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 6.2
11 ต้องการแสดงออกถึงพลังมวลชน 4.9
12 ต้องการไปฟังคำปราศรัยของนายสนธิ 4.1
13 ต้องการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลดการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ 1.7
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่ตั้งใจจะเข้าร่วมชุมนุม
อย่างแน่นอน ถ้ามีการชุมนุมต่อเนื่องอีก
ลำดับที่ คุณลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
1 ระดับการศึกษาชั้นสูงสุด
- มัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.3
- มัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. ร้อยละ 22.2
- อนุปริญญา / ปวส. ร้อยละ 15.6
- ปริญญาตรี ร้อยละ 26.7
- สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.2
2 ภูมิลำเนา
- กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 55.6
- ต่างจังหวัด ร้อยละ 42.2
- ไม่ระบุ ร้อยละ 2.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวเกี่ยวกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีต่อการชุมนุม
ในวันเสาร์ที่ 4 ก.พ. 49
ลำดับที่ การติดตามของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 57.3
2 ไม่ได้ติดตาม 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อการชุมนุม
(เฉพาะผู้ที่ติดตามการชุมนุมในวันเสาร์ที่ 4 ก.พ. 49)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 44.2
2 ไม่เห็นด้วย 33.1
3 ไม่มีความเห็น 22.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุท่าทีที่อยากให้นายกรัฐมนตรีแสดงต่อกลุ่มที่ชุมนุมโจมตีรัฐบาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ท่าทีที่อยากให้นายกรัฐมนตรีแสดงต่อกลุ่มชุมนุม ค่าร้อยละ
1 แถลงความเป็นจริง/ชี้แจงความจริงเพื่อตอบข้อสงสัยให้กลุ่มผู้ชุมนุม 37.4
2 ให้รอดูสถานการณ์ก่อน ยังไม่ต้องเคลื่อนไหวใดๆ 28.2
3 รับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้ชุมนุม 17.6
4 ใช้ความสุภาพ อ่อนโยน ต่อกลุ่มผู้ชุมนุม 11.5
5 แสดงศักยภาพของความเป็นผู้นำประเทศที่ดีออกมาให้ประชาชนรับรู้ 7.0
6 นายกรัฐมนตรีควรประกาศลาออก 4.0
7 ให้ประกาศต่อผู้ชุมนุมว่าจะนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นมาช่วยเหลือประชาชน 1.3
8 ยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน 0.9
9 สลายกลุ่มผู้ชุมนุม 0.9
10 ควรรับฟังพระราชดำรัสและนำไปไตร่ตรองอย่างรอบคอบ 0.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเกิดเหตุการณ์บานปลายหรือเกิดความ
วุ่นวายขึ้นจากการชุมนุมในวันที่ 4 ก.พ. 49
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าบานปลาย 28.7
2 ไม่คิดว่าบานปลาย 52.8
3 ไม่มีความเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่นายกรัฐมนตรีและคุณสนธิกับกลุ่ม
ชุมนุมต่างๆ ยังสามารถที่จะหันหน้าพูดคุยแก้ปัญหากันได้หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 สามารถพูดคุยกันได้ 60.1
2 ไม่สามารถพูดคุยกันได้ โดยระบุทางออก คือ......ควรต้องหาบุคคลที่สามมาช่วยไกล่เกลี่ย /
ให้ดำเนินการตามวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย/ให้ยุบสภา /ให้นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อยุติความวุ่นวาย 31.3
3 ไม่มีความเห็น 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีกรณีข่าว
การขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ การติดตามของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 78.7
2 ไม่ได้ติดตาม 21.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความชัดเจนในการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีในการขายหุ้น
ชินคอร์ป (เฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวการชี้แจงข่าวการขายหุ้นชินคอร์ป)
ลำดับที่ ความชัดเจนในการชี้แจง ค่าร้อยละ
1 ชัดเจนมาก 12.9
2 ค่อนข้างมาก 25.9
3 ค่อนข้างน้อย 25.4
4 น้อย / ไม่ชัดเจนเลย 35.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับได้ต่อเหตุผลของนายกรัฐมนตรีที่ขายหุ้น
(เฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวการชี้แจงข่าวการขายหุ้นชินฯ)
ลำดับที่ การยอมรับของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 42.9
2 ยอมรับไม่ได้ 41.5
3 ไม่มีความเห็น 15.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นในการชี้แจงกรณีการขายหุ้นชินฯ ในด้าน
จริยธรรมของนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความจำเป็นในการชี้แจงข่าว ค่าร้อยละ
1 จำเป็น เพราะ....ประชาชนจะได้รับรู้ข้อเท็จจริง/ต้องการทราบรายละเอียดให้มากกว่านี้/
ต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานอย่างโปร่งใส/เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรีเอง 64.6
2 ไม่จำเป็น เพราะ....เป็นเรื่องส่วนตัว/ทุกอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่โปร่งใส 19.1
3 ไม่มีความเห็น 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะวิธีดำเนินการที่นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจต่อ
การชุมนุมม็อบสนธิ 4 ก.พ. 49
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อ 33.6
2 ยุบสภา 7.2
3 ลาออก 14.6
4 อื่นๆ อาทิ ให้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง/ให้ชี้แจงข้อเท็จจริง/ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน/
ทำงานด้วยความโปร่งใส/ให้ปรับความเข้าใจกัน 6.2
5 ไม่มีความเห็น 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าควรแก้ไข 79.4
2 คิดว่าไม่ควรแก้ไข 14.3
3 ไม่มีความเห็น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดว่า ส.ส.ต้องสังกัดพรรคหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าต้องสังกัด 36.8
2 คิดว่าไม่ต้องสังกัด 47.2
3 ไม่มีความเห็น 16.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากพรรคการเมืองหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าต้องมาจากพรรคการเมือง 23.8
2 คิดว่าไม่ต้องมาจากพรรคการเมือง 64.1
3 ไม่มีความเห็น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้
ลำดับที่ บุคคลที่มีความเหมาะสม ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 16.9
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 11.8
3 นายอานันท์ ปันยารชุน 0.9
4 พลตรีจำลอง ศรีเมือง 0.8
5 นายชวน หลีกภัย 0.5
6 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 0.4
7 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 0.4
8 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 0.2
9 ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล 0.2
10 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 0.2
ไม่ระบุ/ใครก็ได้ 67.7
(ยังมีต่อ)