โพลล์ชี้ คนกรุงและปริมณฑลก้ำกึ่งหนุนไม่หนุนรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน เกรงเอาเปรียบทางการเมือง ตอกย้ำอีกครั้ง ปชช.
เกือบครึ่งเห็นว่านายกฯ พาดพิงคนบารมีนอกรัฐธรรมนูญเป็นการไม่เหมาะสม เหตุเพราะไม่เป็นประโยชน์ ส่อสังคมแตกแยก แนะฝ่ายการเมืองเร่งทำ
งานหนักแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนคู่ประสานความสามัคคีของคนในชาติฝ่าวิกฤตประเทศ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งชาติพัง
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง รายการนายกฯ ทักษิณ
คุยกับประชาชนและคนบารมีนอกรัฐธรรมนูญในทรรศนะของสาธารณชน : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม
ทั้งสิ้น 1,231 คน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ผลสำรวจพบประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 ติดตามข่าวการเมืองทุกสัปดาห์ และเมื่อสอบถามถึงการติดตามรับฟัง/รับชมรายการ
นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58.9 ระบุว่าเคยติดตามรับฟัง/รับชม
รายการดังกล่าว ซึ่งในกลุ่มที่เคยติดตาม พบตัวอย่างร้อยละ 68.6 ได้ติดตามผ่านทางโทรทัศน์ ร้อยละ 40.1 ติดตามผ่านทางวิทยุ ร้อยละ 11.6
ติดตามผ่านทางหนังสือพิมพ์ และร้อยละ 2.3 ติดตามผ่านทางอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ร้อยละ 41.1 ระบุว่าไม่เคยติดตามรับฟัง/รับชมเลย
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาจัดรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน อีกครั้ง พบว่า ก้ำกึ่งกันระหว่าง
คนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยหรือร้อยละ 45.4 ต่อร้อยละ 43.6 โดยคนที่เห็นด้วยเพราะทำให้รู้การทำงานของรัฐบาลและต้องการให้นายกรัฐมนตรีชี้แจง
ข้อเท็จจริงต่างๆ ขณะที่ตัวอย่างที่ระบุไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าเป็นการหาเสียง เอาเปรียบและฉวยโอกาสทางการเมือง คิดว่าเป็นการสร้างภาพและพูด
แต่ฝ่ายเดียว และร้อยละ 11.0 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการจัดรายการ นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน นั้น ตัวอย่างต้องการให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระต่อไปนี้ ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 66.9 ต้องการให้ชี้แจงลดความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 60.5 ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอแนวทาง
แก้ไขวิกฤตการเมือง ร้อยละ 59.7 ต้องการให้ชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 50.2 ต้องการให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีประเด็น
ร้อนๆ ทางการเมือง ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ คนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.7 คิดว่าไม่เหมาะสมที่ นายกรัฐมนตรีกล่าว
พาดพิงบุคคลมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม/ ทำให้เกิดความแตกแยก/ ทำให้สถานการณ์การเมืองแย่ลงไปอีก ในขณะที่ร้อย
ละ 20.9 คิดว่าเหมาะสม และร้อยละ 31.4 ไม่มีความเห็น สำหรับบุคคลที่ประชาชนคิดว่าเป็นบุคคลบารมีนอกรัฐธรรมนูญจากการกล่าวของนายก
รัฐมนตรี คือร้อยละ 58.4 คิดว่าคงหมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 30.5 คิดว่าเป็นนายสนธิ ลิ้มทองกุล ร้อยละ 18.2 คิดว่าเป็นพลตรี
จำลอง ศรีเมือง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาแบบนี้ จะเห็นได้ว่า การที่นายกรัฐมนตรีออกมากล่าวพาดพิงบุคคลบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ทำให้
สาธารณชนคิดแตกแยกออกไปต่างๆ นานา แต่ส่วนใหญ่คิดว่านายกรัฐมนตรีพูดถึง พล.อ.เปรม ดังนั้น นายกรัฐมนตรีควรออกมาขอโทษสังคมที่พูดคลุม
เคลือจนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปขนาดนี้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทุกฝ่ายคงยอมรับว่าเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเป็นเดือนแห่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ เป็นช่วงเวลาที่คนไทยส่วน
ใหญ่แสดงให้คนทั่วโลกเห็นความรักความสามัคคีกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่วัน ฝ่ายการเมืองกำลังเป็นตัวการทำลายความสุขของคนไทยและความ
สามัคคีในหมู่ประชาชนหรือไม่ คงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าบรรดานักการเมืองจะเร่งทำงานหนักเพื่อประชาชน (บรรดานักการเมืองชอบอ้าง) แต่กลับ
ต้องสูญเสียความรักความสามัคคีของคนในชาติไป คล้ายๆ กับว่า ได้ใจประชาชนบนความแตกแยกทางสังคม ในขณะเดียวกัน ประโยชน์จะไม่เกิดแน่ ถ้า
มีความสามัคคีกันแต่ปัญหาประชาชนไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น ฝ่ายการเมืองและกลไกต่างๆ ของประเทศต้องมีกลยุทธ์เทคนิคประสานความรักความ
สามัคคีของคนในชาติควบคู่ไปกับการแก้ไขความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนเพื่อฟื้นความนิยมศรัทธา สถานการณ์ประเทศไทยขณะนี้ต้องการให้นักการ
เมืองทำงานหนักแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนและเป็นผู้ประสานรอยร้าวของสังคมร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
รายละเอียดโครงการสำรวจ
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “รายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนและคนบารมีสูง
นอกรัฐธรรมนูญในทรรศนะของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 1 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,231 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 27.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 28.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.3 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน
และร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน เกือบทุกวัน 49.0
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 17.3
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 14.4
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 9.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 9.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามฟัง/รับชมรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน
ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามรับฟัง/รับชมรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ค่าร้อยละ
1 เคยติดตาม โดยติดตามผ่านทางสื่อ .......(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
โทรทัศน์ ร้อยละ 68.6
วิทยุ ร้อยละ 40.1 58.9
หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 11.6
อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 2.3
2 ไม่เคยติดตาม 41.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาจัด
รายการนายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ทำให้รู้การทำงานของรัฐบาล / ต้องการให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ /
จะทำให้ได้รับรู้ข่าวสารบ้านเมือง เป็นต้น 45.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการหาเสียง / เป็นการเอาเปรียบและฉวยโอกาสทางการเมือง /
เป็นการสร้างภาพ และพูดแต่ฝ่ายเดียว เป็นต้น 43.6
3 ไม่มีความเห็น 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เนื้อหาสาระที่ต้องการให้นายกคุยกับประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เนื้อหาสาระที่ต้องการให้มีในรายการ ค่าร้อยละ
1 ชี้แจงลดความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น 66.9
2 นำเสนอแนวทางการแก้ไขวิกฤตการเมือง 60.5
3 ชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการทำงานของรัฐบาล 59.7
4 ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีประเด็นร้อนต่างๆ ทางการเมือง 50.2
5 ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาล 48.7
6 ชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการทำงานของรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 47.6
7 นำเสนอนโยบายการทำงานของรัฐบาล 46.3
8 นำเสนอผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาล 45.6
9 นำเสนอประสบการณ์จากการทำงานในรัฐบาล 32.0
10 นำเสนอประสบการณ์ชีวิตส่วนตัว/ครอบครัว 14.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเหมาะสมต่อกรณีการกล่าวพาดพิง “บุคคลมีบารมี
นอกรัฐธรรมนูญ” โดย พ.ต.ท.ทักษิณ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชน ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 20.9
2 ไม่เหมาะสม เพราะ ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม/ ทำให้เกิดความแตกแยก/
จะทำให้สถานการณ์การเมืองแย่ลงไปอีก เป็นต้น 47.7
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลซึ่งมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ จากคำให้สัมภาษณ์ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พาดพิง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าคงหมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 58.4
2 คิดว่าเป็น นายสนธิ ลิ้มทองกุล 30.5
3 คิดว่าเป็น พลตรีจำลอง ศรีเมือง 18.2
4 คิดว่าเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 5.8
5 คิดว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 3.9
6 คิดว่าเป็น นายอานันท์ ปันยารชุน 2.6
7 คิดว่าเป็น ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 2.6
8 คิดว่าเป็น นายวิษณุ เครืองาม 2.5
9 คิดว่าเป็น พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 1.9
10 อื่นๆ อาทิ นายเสนาะ เทียนทอง / นายสุเทพ เทือกสุบรรณ / นายชวน หลีกภัย เป็นต้น 3.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เกือบครึ่งเห็นว่านายกฯ พาดพิงคนบารมีนอกรัฐธรรมนูญเป็นการไม่เหมาะสม เหตุเพราะไม่เป็นประโยชน์ ส่อสังคมแตกแยก แนะฝ่ายการเมืองเร่งทำ
งานหนักแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนคู่ประสานความสามัคคีของคนในชาติฝ่าวิกฤตประเทศ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งชาติพัง
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง รายการนายกฯ ทักษิณ
คุยกับประชาชนและคนบารมีนอกรัฐธรรมนูญในทรรศนะของสาธารณชน : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม
ทั้งสิ้น 1,231 คน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ผลสำรวจพบประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 ติดตามข่าวการเมืองทุกสัปดาห์ และเมื่อสอบถามถึงการติดตามรับฟัง/รับชมรายการ
นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58.9 ระบุว่าเคยติดตามรับฟัง/รับชม
รายการดังกล่าว ซึ่งในกลุ่มที่เคยติดตาม พบตัวอย่างร้อยละ 68.6 ได้ติดตามผ่านทางโทรทัศน์ ร้อยละ 40.1 ติดตามผ่านทางวิทยุ ร้อยละ 11.6
ติดตามผ่านทางหนังสือพิมพ์ และร้อยละ 2.3 ติดตามผ่านทางอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ร้อยละ 41.1 ระบุว่าไม่เคยติดตามรับฟัง/รับชมเลย
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาจัดรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน อีกครั้ง พบว่า ก้ำกึ่งกันระหว่าง
คนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยหรือร้อยละ 45.4 ต่อร้อยละ 43.6 โดยคนที่เห็นด้วยเพราะทำให้รู้การทำงานของรัฐบาลและต้องการให้นายกรัฐมนตรีชี้แจง
ข้อเท็จจริงต่างๆ ขณะที่ตัวอย่างที่ระบุไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าเป็นการหาเสียง เอาเปรียบและฉวยโอกาสทางการเมือง คิดว่าเป็นการสร้างภาพและพูด
แต่ฝ่ายเดียว และร้อยละ 11.0 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการจัดรายการ นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน นั้น ตัวอย่างต้องการให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระต่อไปนี้ ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 66.9 ต้องการให้ชี้แจงลดความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 60.5 ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอแนวทาง
แก้ไขวิกฤตการเมือง ร้อยละ 59.7 ต้องการให้ชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 50.2 ต้องการให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีประเด็น
ร้อนๆ ทางการเมือง ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ คนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.7 คิดว่าไม่เหมาะสมที่ นายกรัฐมนตรีกล่าว
พาดพิงบุคคลมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม/ ทำให้เกิดความแตกแยก/ ทำให้สถานการณ์การเมืองแย่ลงไปอีก ในขณะที่ร้อย
ละ 20.9 คิดว่าเหมาะสม และร้อยละ 31.4 ไม่มีความเห็น สำหรับบุคคลที่ประชาชนคิดว่าเป็นบุคคลบารมีนอกรัฐธรรมนูญจากการกล่าวของนายก
รัฐมนตรี คือร้อยละ 58.4 คิดว่าคงหมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 30.5 คิดว่าเป็นนายสนธิ ลิ้มทองกุล ร้อยละ 18.2 คิดว่าเป็นพลตรี
จำลอง ศรีเมือง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาแบบนี้ จะเห็นได้ว่า การที่นายกรัฐมนตรีออกมากล่าวพาดพิงบุคคลบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ทำให้
สาธารณชนคิดแตกแยกออกไปต่างๆ นานา แต่ส่วนใหญ่คิดว่านายกรัฐมนตรีพูดถึง พล.อ.เปรม ดังนั้น นายกรัฐมนตรีควรออกมาขอโทษสังคมที่พูดคลุม
เคลือจนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปขนาดนี้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทุกฝ่ายคงยอมรับว่าเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเป็นเดือนแห่งความสุขของคนไทยทั้งประเทศ เป็นช่วงเวลาที่คนไทยส่วน
ใหญ่แสดงให้คนทั่วโลกเห็นความรักความสามัคคีกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่วัน ฝ่ายการเมืองกำลังเป็นตัวการทำลายความสุขของคนไทยและความ
สามัคคีในหมู่ประชาชนหรือไม่ คงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าบรรดานักการเมืองจะเร่งทำงานหนักเพื่อประชาชน (บรรดานักการเมืองชอบอ้าง) แต่กลับ
ต้องสูญเสียความรักความสามัคคีของคนในชาติไป คล้ายๆ กับว่า ได้ใจประชาชนบนความแตกแยกทางสังคม ในขณะเดียวกัน ประโยชน์จะไม่เกิดแน่ ถ้า
มีความสามัคคีกันแต่ปัญหาประชาชนไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น ฝ่ายการเมืองและกลไกต่างๆ ของประเทศต้องมีกลยุทธ์เทคนิคประสานความรักความ
สามัคคีของคนในชาติควบคู่ไปกับการแก้ไขความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนเพื่อฟื้นความนิยมศรัทธา สถานการณ์ประเทศไทยขณะนี้ต้องการให้นักการ
เมืองทำงานหนักแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนและเป็นผู้ประสานรอยร้าวของสังคมร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
รายละเอียดโครงการสำรวจ
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “รายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนและคนบารมีสูง
นอกรัฐธรรมนูญในทรรศนะของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 1 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,231 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 27.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 28.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.3 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน
และร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน เกือบทุกวัน 49.0
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 17.3
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 14.4
4 ไม่ได้ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 9.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 9.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามฟัง/รับชมรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน
ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามรับฟัง/รับชมรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ค่าร้อยละ
1 เคยติดตาม โดยติดตามผ่านทางสื่อ .......(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
โทรทัศน์ ร้อยละ 68.6
วิทยุ ร้อยละ 40.1 58.9
หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 11.6
อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 2.3
2 ไม่เคยติดตาม 41.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะกลับมาจัด
รายการนายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ทำให้รู้การทำงานของรัฐบาล / ต้องการให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ /
จะทำให้ได้รับรู้ข่าวสารบ้านเมือง เป็นต้น 45.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการหาเสียง / เป็นการเอาเปรียบและฉวยโอกาสทางการเมือง /
เป็นการสร้างภาพ และพูดแต่ฝ่ายเดียว เป็นต้น 43.6
3 ไม่มีความเห็น 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เนื้อหาสาระที่ต้องการให้นายกคุยกับประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เนื้อหาสาระที่ต้องการให้มีในรายการ ค่าร้อยละ
1 ชี้แจงลดความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น 66.9
2 นำเสนอแนวทางการแก้ไขวิกฤตการเมือง 60.5
3 ชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการทำงานของรัฐบาล 59.7
4 ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีประเด็นร้อนต่างๆ ทางการเมือง 50.2
5 ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาล 48.7
6 ชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการทำงานของรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 47.6
7 นำเสนอนโยบายการทำงานของรัฐบาล 46.3
8 นำเสนอผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาล 45.6
9 นำเสนอประสบการณ์จากการทำงานในรัฐบาล 32.0
10 นำเสนอประสบการณ์ชีวิตส่วนตัว/ครอบครัว 14.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเหมาะสมต่อกรณีการกล่าวพาดพิง “บุคคลมีบารมี
นอกรัฐธรรมนูญ” โดย พ.ต.ท.ทักษิณ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชน ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 20.9
2 ไม่เหมาะสม เพราะ ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม/ ทำให้เกิดความแตกแยก/
จะทำให้สถานการณ์การเมืองแย่ลงไปอีก เป็นต้น 47.7
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลซึ่งมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ จากคำให้สัมภาษณ์ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พาดพิง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าคงหมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 58.4
2 คิดว่าเป็น นายสนธิ ลิ้มทองกุล 30.5
3 คิดว่าเป็น พลตรีจำลอง ศรีเมือง 18.2
4 คิดว่าเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 5.8
5 คิดว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 3.9
6 คิดว่าเป็น นายอานันท์ ปันยารชุน 2.6
7 คิดว่าเป็น ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 2.6
8 คิดว่าเป็น นายวิษณุ เครืองาม 2.5
9 คิดว่าเป็น พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 1.9
10 อื่นๆ อาทิ นายเสนาะ เทียนทอง / นายสุเทพ เทือกสุบรรณ / นายชวน หลีกภัย เป็นต้น 3.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-