ที่มาของโครงการ
จากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทของตระกูลชินวัตร ให้กับบรรษัทเพื่อการลงทุน "เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์" ของรัฐบาล
สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการซื้อขายโดยไม่เสียภาษี จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งจากนักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปถึงความโปร่ง
ใส จนทำให้นายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกประจำตระกูลชินวัตร ต้องออกมาแถลงข่าวชี้แจงเรื่องนี้ต่อสื่อมวลชน เมื่อเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ข้อวิพากษ์วิจารณ์นี้ก็ยังไม่สิ้นสุด อีกทั้งขณะนี้ยังมีบางกลุ่มได้ตั้งข้อสงสัยในความเป็นกลางของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก
ทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการตรวจสอบการขายหุ้นดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อกรณีปัญหาการขายหุ้นชินคอร์ป ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่เพื่อสอบ
ถามความคิดเห็นของประชาชน ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแถลงข่าวของนายสุวรรณ วลัยเสถียร เรื่องการขายหุ้น
ชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนหลังจากมีการ
แถลงข่าวชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 1-2
กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,328 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 69.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากมีการแถลงข่าวชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,328
ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 88.1 ได้ติดตามการแถลงข่าวของนายสุวรรณ วลัยเสถียร โดยส่วนที่เหลือซึ่งคิด
เป็นร้อยละ 11.9 ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ได้ติดตามข่าวเกือบครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 46.3 ได้ให้ความเห็นว่าการชี้แจงครั้งนี้ไม่มี
ความชัดเจน เพราะชี้แจงนอกประเด็น เหตุผลคลุมเครือ และหลักฐานอ้างอิงไม่เพียงพอ แต่ก็มีบางส่วนหรือคิดเป็น ร้อยละ 21.6 ที่เห็นว่ามีความ
ชัดเจน เพราะมีเอกสารประกอบ มีการอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน และมีการเตรียมตัวมาอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งมากถึงร้อยละ 32.1 ที่
ไม่มีความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ ในทำนองเดียวกันกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าว มากกว่าครึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 53.0 ไม่เชื่อว่าการขายหุ้นชินคอร์ปนี้มี
ความโปร่งใส เพราะมีการปิดบังการซื้อขายหุ้น หลีกเลี่ยงภาษี อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย รวมทั้งซื้อขายกันในต่างประเทศ แต่ก็ยังมีบางส่วนโดยคิด
เป็น ร้อยละ 24.7 ที่เชื่อว่าการขายหุ้นชินคอร์ปมีความโปร่งใส และตัวอย่างอีกร้อยละ 22.3 ไม่มีความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความเป็นอิสระทางการเมืองของ ก.ล.ต. ในการดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นในครั้งนี้ พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 43.3 ไม่เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง เพราะ ก.ล.ต.อยู่ใต้อำนาจรัฐบาล คณะกรรมการมาจากการแต่งตั้ง มีกลุ่มทุนเข้ามาเกี่ยว
ข้อง และการชี้แจงรายละเอียดยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีอีกส่วนคิดเป็นร้อยละ 30.7 ที่เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง และร้อยละ 26.0 ไม่มี
ความคิดเห็น ทั้งนี้หากจะมีหน่วยงานอื่นเข้ามาตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปนอกเหนือจาก ก.ล.ต.แล้ว ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57.0 เห็น
ว่าควรเป็นสื่อมวลชน รองลงมาร้อยละ 53.0 เห็นว่าควรเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และร้อยละ 50.3 เห็นว่า
ควรเป็นกรมสรรพากร ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.5 เห็นว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการขายหุ้นในครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 26.7
เห็นว่าไม่ควรมีส่วนร่วม โดยที่ร้อยละ 13.8 ไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินการของนายกรัฐมนตรีหลังจากเกิดกรณีปัญหานี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 37.3 เห็นว่าควร
ทำงานต่อ ในขณะที่ร้อยละ 15.5 เห็นว่าควรลาออก ร้อยละ 7.0 ให้ยุบสภา และร้อยละ 4.9 เห็นว่าควรจ่ายค่าปรับ หรือจ่ายภาษีย้อนหลัง รวมทั้ง
ออกมาชี้แจงรายละเอียด อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนที่ถูกศึกษาอีกร้อยละ 25.3 ที่ไม่มีความเห็นเรื่องนี้เพราะยังไม่ทราบข้อมูลชัดเจน/ สับสน/ ไม่รู้
เรื่องการเมือง และยังไม่ต้องการตอบขณะนี้ว่านายกรัฐมนตรีควรทำอย่างไร เป็นต้น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤตศรัทธาของประชาชนคน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างไม่เคยปรากฏในการสำรวจครั้งใดตั้งแต่เป็นรัฐบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่เคยปรากกว่ามีประชาชนต้องการ
ให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีด้วยวิธีการลาออกหรือยุบสภา แต่ผลสำรวจครั้งนี้พบประชาชนจำนวนมากถึงเกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 22.5 ที่ต้อง
การให้นายกรัฐมนตรีลาออกหรือไม่ก็ยุบสภา ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจะไม่สนใจกระแสโจมตีเชิงจริยธรรมของนายกรัฐมนตรีจากการขายหุ้นอื้อฉาวครั้งนี้คง
ไม่ได้ เพราะกลุ่มคนที่สนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่ออาจกลายเป็นคนกลุ่มน้อยไปในทันทีถ้าคนที่เหลือทั้งหมดตัดสินใจไปอยู่กับฝ่ายที่เรียกร้องให้
นายกฯ ลาออกหรือยุบสภา
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ยิ่งมีตัวแปรการชุมนุมของประชาชนในวันที่ 4 ก.พ.นี้มาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ยิ่งเป็นสถานการณ์ที่อ่อนไหว
มากอาจทำให้กลุ่มคนจำนวนมากที่คับข้องใจมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่คาดไว้ได้ ผลที่ตามมาก็คือ การชุมนุมอาจกลายเป็นม็อบที่ใช้ความ
รุนแรงโกรธแค้นรัฐบาลจนทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยไม่สามารถควบคุมได้ ทางออกก็คือ นายกรัฐมนตรีควรรีบแสดงท่าทีแก้ไขจุดอ่อนเรื่อง
จริยธรรมโดยเร็วก่อนวันชุมนุมว่าจะรับผิดชอบกรณีการขายหุ้นชินฯ ด้านจริยธรรมและผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างไรโดยเฉพาะเรื่องการเป็นแบบ
อย่างที่ดีในฐานะผู้นำประเทศด้านความซื่อสัตย์และเรื่องดาวเทียมที่อาจถูกต่างชาตินำไปใช้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยที่ประชาชนจำนวนมาก
กำลังสงสัยอยู่ นายกรัฐมนตรีไม่ควรอ้างแต่เสียงสนับสนุน 19 ล้านเสียงในอดีตเท่านั้นเพราะขณะนี้เสียงไม่สนับสนุนกำลังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ และอาจ
มากกว่าเสียงที่กำลังสนับสนุนท่านนายกฯ อยู่ในขณะนี้ด้วยซ้ำไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามการแถลงข่าวของนายสุวรรณ วลัยเสถียร
โฆษกประจำตระกูลชินวัตร เรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ การติดตามการแถลงข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 88.1
2 ไม่ได้ติดตาม 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการชี้แจงของนายสุวรรณ วลัยเสถียร
เรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีความชัดเจนเพราะ... มีเอกสารประกอบ/มีการอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน/มีการเตรียมตัวมาอย่างดี 21.6
2 ไม่มีความชัดเจน เพราะ... ชี้แจงนอกประเด็น/เหตุผลคลุมเครือ/หลักฐานอ้างอิงไม่เพียงพอ 46.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความโปร่งใสในการขายหุ้นชินคอร์ป
ของตระกูลชินวัตรในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความโปร่งใส เพราะ..มีความเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี/ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย/เห็นว่ามีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์อยู่ตลอดเวลา 24.7
2 ไม่เชื่อว่ามีความโปร่งใส เพราะ..มีการปิดบังการซื้อขายหุ้น/มีการหลีกเลี่ยงภาษี/อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย/มีการซื้อขายในต่างประเทศ 53.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระทางการเมืองของก.ล.ต.ในการ
ตรวจสอบหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง 30.7
2 ไม่เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง เพราะ... อยู่ใต้อำนาจรัฐบาล/
คณะกรรมการมาจากการแต่งตั้ง/มีกลุ่มทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง/การชี้แจงรายละเอียดยังไม่ชัดเจน 43.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หน่วยงานอื่นที่ควรเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบ
หุ้นชินคอร์ปนอกเหนือจาก ก.ล.ต. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายชื่อหน่วยงานที่ควรเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบหุ้นชิน คอร์ปนอกเหนือจาก ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 สื่อมวลชน 57.0
2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) 53.0
3 กรมสรรพากร 50.3
4 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 48.8
5 กระทรวงการคลัง 36.6
6 คณะกรรมการการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 35.7
7 อื่นๆ อาทิ ฝ่ายค้าน / ป.ป.ช./ NGO /นักวิชาการอิสระ 6.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ
การซื้อขายหุ้นในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมีส่วนร่วม 59.5
2 ไม่ควรมีส่วนร่วม 26.7
3 ไม่แน่ใจ 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการดำเนินการของนายกรัฐมนตรีหลังจากเกิด
กรณีการซื้อขายหุ้นครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการดำเนินการของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อ 37.3
2 ลาออก 15.5
3 ยุบสภา 7.0
4 อื่นๆ อาทิ จ่ายค่าปรับ/จ่ายภาษีย้อนหลัง/ออกมาชี้แจงรายละเอียด 4.9
5 ไม่มีความเห็น เพราะยังไม่ทราบข้อมูลชัดเจน / สับสน / ไม่รู้เรื่องการเมือง/ และยังไม่ต้องการตอบขณะนี้ เป็นต้น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาทของตระกูลชินวัตร ให้กับบรรษัทเพื่อการลงทุน "เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์" ของรัฐบาล
สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการซื้อขายโดยไม่เสียภาษี จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งจากนักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปถึงความโปร่ง
ใส จนทำให้นายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกประจำตระกูลชินวัตร ต้องออกมาแถลงข่าวชี้แจงเรื่องนี้ต่อสื่อมวลชน เมื่อเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ข้อวิพากษ์วิจารณ์นี้ก็ยังไม่สิ้นสุด อีกทั้งขณะนี้ยังมีบางกลุ่มได้ตั้งข้อสงสัยในความเป็นกลางของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก
ทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการตรวจสอบการขายหุ้นดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อกรณีปัญหาการขายหุ้นชินคอร์ป ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่เพื่อสอบ
ถามความคิดเห็นของประชาชน ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแถลงข่าวของนายสุวรรณ วลัยเสถียร เรื่องการขายหุ้น
ชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนหลังจากมีการ
แถลงข่าวชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 1-2
กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,328 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 69.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.8 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชน
หลังจากมีการแถลงข่าวชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,328
ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 88.1 ได้ติดตามการแถลงข่าวของนายสุวรรณ วลัยเสถียร โดยส่วนที่เหลือซึ่งคิด
เป็นร้อยละ 11.9 ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ได้ติดตามข่าวเกือบครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 46.3 ได้ให้ความเห็นว่าการชี้แจงครั้งนี้ไม่มี
ความชัดเจน เพราะชี้แจงนอกประเด็น เหตุผลคลุมเครือ และหลักฐานอ้างอิงไม่เพียงพอ แต่ก็มีบางส่วนหรือคิดเป็น ร้อยละ 21.6 ที่เห็นว่ามีความ
ชัดเจน เพราะมีเอกสารประกอบ มีการอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน และมีการเตรียมตัวมาอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งมากถึงร้อยละ 32.1 ที่
ไม่มีความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ ในทำนองเดียวกันกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าว มากกว่าครึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 53.0 ไม่เชื่อว่าการขายหุ้นชินคอร์ปนี้มี
ความโปร่งใส เพราะมีการปิดบังการซื้อขายหุ้น หลีกเลี่ยงภาษี อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย รวมทั้งซื้อขายกันในต่างประเทศ แต่ก็ยังมีบางส่วนโดยคิด
เป็น ร้อยละ 24.7 ที่เชื่อว่าการขายหุ้นชินคอร์ปมีความโปร่งใส และตัวอย่างอีกร้อยละ 22.3 ไม่มีความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความเป็นอิสระทางการเมืองของ ก.ล.ต. ในการดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นในครั้งนี้ พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 43.3 ไม่เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง เพราะ ก.ล.ต.อยู่ใต้อำนาจรัฐบาล คณะกรรมการมาจากการแต่งตั้ง มีกลุ่มทุนเข้ามาเกี่ยว
ข้อง และการชี้แจงรายละเอียดยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีอีกส่วนคิดเป็นร้อยละ 30.7 ที่เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง และร้อยละ 26.0 ไม่มี
ความคิดเห็น ทั้งนี้หากจะมีหน่วยงานอื่นเข้ามาตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปนอกเหนือจาก ก.ล.ต.แล้ว ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57.0 เห็น
ว่าควรเป็นสื่อมวลชน รองลงมาร้อยละ 53.0 เห็นว่าควรเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และร้อยละ 50.3 เห็นว่า
ควรเป็นกรมสรรพากร ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.5 เห็นว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการขายหุ้นในครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 26.7
เห็นว่าไม่ควรมีส่วนร่วม โดยที่ร้อยละ 13.8 ไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินการของนายกรัฐมนตรีหลังจากเกิดกรณีปัญหานี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 37.3 เห็นว่าควร
ทำงานต่อ ในขณะที่ร้อยละ 15.5 เห็นว่าควรลาออก ร้อยละ 7.0 ให้ยุบสภา และร้อยละ 4.9 เห็นว่าควรจ่ายค่าปรับ หรือจ่ายภาษีย้อนหลัง รวมทั้ง
ออกมาชี้แจงรายละเอียด อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนที่ถูกศึกษาอีกร้อยละ 25.3 ที่ไม่มีความเห็นเรื่องนี้เพราะยังไม่ทราบข้อมูลชัดเจน/ สับสน/ ไม่รู้
เรื่องการเมือง และยังไม่ต้องการตอบขณะนี้ว่านายกรัฐมนตรีควรทำอย่างไร เป็นต้น
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤตศรัทธาของประชาชนคน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างไม่เคยปรากฏในการสำรวจครั้งใดตั้งแต่เป็นรัฐบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่เคยปรากกว่ามีประชาชนต้องการ
ให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีด้วยวิธีการลาออกหรือยุบสภา แต่ผลสำรวจครั้งนี้พบประชาชนจำนวนมากถึงเกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 22.5 ที่ต้อง
การให้นายกรัฐมนตรีลาออกหรือไม่ก็ยุบสภา ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจะไม่สนใจกระแสโจมตีเชิงจริยธรรมของนายกรัฐมนตรีจากการขายหุ้นอื้อฉาวครั้งนี้คง
ไม่ได้ เพราะกลุ่มคนที่สนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่ออาจกลายเป็นคนกลุ่มน้อยไปในทันทีถ้าคนที่เหลือทั้งหมดตัดสินใจไปอยู่กับฝ่ายที่เรียกร้องให้
นายกฯ ลาออกหรือยุบสภา
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ยิ่งมีตัวแปรการชุมนุมของประชาชนในวันที่ 4 ก.พ.นี้มาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ยิ่งเป็นสถานการณ์ที่อ่อนไหว
มากอาจทำให้กลุ่มคนจำนวนมากที่คับข้องใจมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่คาดไว้ได้ ผลที่ตามมาก็คือ การชุมนุมอาจกลายเป็นม็อบที่ใช้ความ
รุนแรงโกรธแค้นรัฐบาลจนทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยไม่สามารถควบคุมได้ ทางออกก็คือ นายกรัฐมนตรีควรรีบแสดงท่าทีแก้ไขจุดอ่อนเรื่อง
จริยธรรมโดยเร็วก่อนวันชุมนุมว่าจะรับผิดชอบกรณีการขายหุ้นชินฯ ด้านจริยธรรมและผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างไรโดยเฉพาะเรื่องการเป็นแบบ
อย่างที่ดีในฐานะผู้นำประเทศด้านความซื่อสัตย์และเรื่องดาวเทียมที่อาจถูกต่างชาตินำไปใช้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยที่ประชาชนจำนวนมาก
กำลังสงสัยอยู่ นายกรัฐมนตรีไม่ควรอ้างแต่เสียงสนับสนุน 19 ล้านเสียงในอดีตเท่านั้นเพราะขณะนี้เสียงไม่สนับสนุนกำลังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ และอาจ
มากกว่าเสียงที่กำลังสนับสนุนท่านนายกฯ อยู่ในขณะนี้ด้วยซ้ำไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามการแถลงข่าวของนายสุวรรณ วลัยเสถียร
โฆษกประจำตระกูลชินวัตร เรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ การติดตามการแถลงข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 88.1
2 ไม่ได้ติดตาม 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการชี้แจงของนายสุวรรณ วลัยเสถียร
เรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีความชัดเจนเพราะ... มีเอกสารประกอบ/มีการอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน/มีการเตรียมตัวมาอย่างดี 21.6
2 ไม่มีความชัดเจน เพราะ... ชี้แจงนอกประเด็น/เหตุผลคลุมเครือ/หลักฐานอ้างอิงไม่เพียงพอ 46.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความโปร่งใสในการขายหุ้นชินคอร์ป
ของตระกูลชินวัตรในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความโปร่งใส เพราะ..มีความเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี/ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย/เห็นว่ามีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์อยู่ตลอดเวลา 24.7
2 ไม่เชื่อว่ามีความโปร่งใส เพราะ..มีการปิดบังการซื้อขายหุ้น/มีการหลีกเลี่ยงภาษี/อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย/มีการซื้อขายในต่างประเทศ 53.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระทางการเมืองของก.ล.ต.ในการ
ตรวจสอบหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง 30.7
2 ไม่เชื่อว่ามีความเป็นอิสระทางการเมือง เพราะ... อยู่ใต้อำนาจรัฐบาล/
คณะกรรมการมาจากการแต่งตั้ง/มีกลุ่มทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง/การชี้แจงรายละเอียดยังไม่ชัดเจน 43.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ หน่วยงานอื่นที่ควรเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบ
หุ้นชินคอร์ปนอกเหนือจาก ก.ล.ต. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายชื่อหน่วยงานที่ควรเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบหุ้นชิน คอร์ปนอกเหนือจาก ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 สื่อมวลชน 57.0
2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) 53.0
3 กรมสรรพากร 50.3
4 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 48.8
5 กระทรวงการคลัง 36.6
6 คณะกรรมการการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 35.7
7 อื่นๆ อาทิ ฝ่ายค้าน / ป.ป.ช./ NGO /นักวิชาการอิสระ 6.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ
การซื้อขายหุ้นในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรมีส่วนร่วม 59.5
2 ไม่ควรมีส่วนร่วม 26.7
3 ไม่แน่ใจ 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการดำเนินการของนายกรัฐมนตรีหลังจากเกิด
กรณีการซื้อขายหุ้นครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการดำเนินการของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อ 37.3
2 ลาออก 15.5
3 ยุบสภา 7.0
4 อื่นๆ อาทิ จ่ายค่าปรับ/จ่ายภาษีย้อนหลัง/ออกมาชี้แจงรายละเอียด 4.9
5 ไม่มีความเห็น เพราะยังไม่ทราบข้อมูลชัดเจน / สับสน / ไม่รู้เรื่องการเมือง/ และยังไม่ต้องการตอบขณะนี้ เป็นต้น 25.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-