ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ทางการเมืองไทยที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายกำลังจับตามองทั้งจากภายในประเทศและต่าง
ประเทศ โดยสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชนในขณะนี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายก
รัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มที่ไม่สนับสนุนนั้น ได้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นมา จนกระทั่งได้เคลื่อนย้ายการชุมนุมไปยังทำเนียบรัฐบาล
เมื่อเช้าวันนี้ ในขณะที่กลุ่มที่ให้การสนับสนุนนายกรัฐมนตรี อาทิกลุ่มเกษตรกรจากภาคเหนือ และภาคอีสานก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน โดย
ล่าสุดกำลังมีการเคลื่อนขบวนรถอีแต๋นเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการ
เคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจะเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยก็ตาม แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทย และภาพลักษณ์โดยรวมของ
ประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
การชุมนุมเคลื่อนไหวของฝ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนท่าทีของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการชุมนุมของ
ประชาชนและท่าทีของนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ในวันที่ 14 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,205 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และจากการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นมีค่าความคลาด
เคลื่อน +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.4 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 16.9 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 17.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.6 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 21.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการชุมนุมของประชาชน
และท่าทีของนายกรัฐมนตรี” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 14 มีนาคม 2549
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่คืนวันที่ 13 มีนาคมถึงเช้าวันนี้ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 26.8 ระบุติดตามอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 47.8 ระบุติดตามค่อนข้างต่อเนื่อง ร้อยละ 17.6 ระบุไม่ค่อยได้ติดตาม และร้อยละ 7.8 ระบุ
ไม่ได้ติดตาม
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงลักษณะการชุมนุมที่อยากเห็นจากกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.7 ระบุต้องการเห็นการชุมนุมอย่างสงบ ร้อยละ 55.1 ไม่มีการใช้ความรุนแรง ร้อยละ 49.9 ระบุความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของการชุมนุม ร้อยละ 43.1 ระบุหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย และร้อยละ 39.9 ระบุหลีกเลี่ยงการยั่วยุให้เกิดความโกรธแค้น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงท่าทีของรัฐบาลที่ควรแสดงออกต่อกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 7.9 ระบุรัฐบาลควรเปิด
โอกาสให้มีการชุมนุมต่อไปโดยไม่มีเงื่อนไข ในขณะที่ร้อยละ 16.5 ระบุเปิดโอกาสให้ชุมนุมโดยมีเงื่อนไขว่าต้องชุมนุมอย่างสงบ ร้อยละ 69.4
ระบุเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมและเปิดการเจราจาด้วยสันติวิธี ร้อยละ 6.2 ระบุเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมด้วยวิธีอื่นๆ อาทิ ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามรัฐ
ธรรมนูญ/ให้เคารพกติกา/ให้ยอมรับเหตุซึ่งกันและกัน
ผลสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อบทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างในขณะนี้ เป็นดังนี้
ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าร้อยละ 84.9 ระบุพอใจ ร้อยละ 4.1 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อท่าทีของทหาร พบว่าร้อยละ 72.1 ระบุพอใจ ร้อยละ 8.0 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 19.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อการทำงานของสื่อมวลชน พบว่าร้อยละ 71.5 ระบุพอใจ ร้อยละ 16.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.6 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อกลุ่มแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พบว่า ร้อยละ 41.3 ระบุพอใจ ร้อยละ 39.5 ระบุไม่พอใจ
และร้อยละ 19.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรี พบว่าร้อยละ 44.1 ระบุพอใจ ร้อยละ 37.1 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 18.8 ไม่ระบุความ
คิดเห็น
ความพึงพอใจต่อการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรี พบว่าร้อยละ 46.4 ระบุพอใจ ร้อยละ 30.8 ระบุไม่พอใจ
และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ
5.5 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 13.8 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 21.2 ระบุไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ
17.5 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการประกาศภาวะฉุกเฉิน หากมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.5 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 39.5 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 22.2 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 12.0 ระบุ
ไม่สนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อยละ 14.8 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อจำแนกตามการเลือกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง จากการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวัน
ที่ 6 ก.พ. 48 ที่ผ่านมานั้น พบว่า ประชาชนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ให้การสนับสนุนรัฐบาลที่จะประกาศภาวะฉุกเฉิน ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบาน
ปลาย (ร้อยละ 42.1) สนับสนุนอย่างยิ่ง (ร้อยละ 14.9) ไม่สนับสนุน (ร้อยละ 18.1) ไม่สนับสนุนเลย (ร้อยละ 11.5) และไม่มีความคิดเห็น
(ร้อยละ 13.4)
สำหรับประชาชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.5 ระบุสนับสนุน ร้อยละ 35.5 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 10.7 ไม่สนับสนุนเลย ร้อยละ 5.3 สนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อย
ละ 10.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและการทำงานของสื่อมวลชน ในขณะที่มีความพอใจ
น้อยกว่ามากต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีและการชุมนุมของทุกกลุ่ม นอกจากนี้ การยุติการชุมนุมและเปิดการเจรจาด้วยสันติวิธีเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่
ต้องการ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการชุมนุมก็ขอให้เป็นไปอย่างสงบไม่ใช้ความรุนแรงด้วยถ้อยคำวาจาและการกระทำ สิ่งเหล่านี้มีความชัดเจนในตัวมันเอง
ว่าสาธารณชนกำลังต้องการอะไรในสถานการณ์การเมืองที่ง่อนแง่นอยู่ขณะนี้ จึงขอให้ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และกลุ่มผู้ชุมนุมทุก
ฝ่ายตระหนักว่า ความรู้สึกและความต้องการของประชาชนคือแบบนี้ นายกรัฐมนตรีและแกนนำ ผู้ชุมนุมทุกกลุ่มจะตอบสนองเสียงเรียกร้องของสาธารณชน
หรือไม่
“หลายคนออกมาระบุว่าให้ระวังมือที่สามจะสร้างสถานการณ์ ตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวของทุกฝ่ายขณะนี้กำลังสร้างสถานการณ์
กระทบต่อเสถียรภาพของประเทศอย่างแท้จริง ถ้าประชาชนทุกฝ่ายผ่านการทดสอบวิกฤตการเมืองครั้งนี้ไปได้ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศตัวอย่างให้
คนทั่วโลกได้นำไปศึกษาถึงความสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของสาธารณชนที่มีมากนับแสนๆ คนที่กำลังไม่พอใจต่อกันและกันเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย
ได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อารมณ์ของสาธารณชนเป็นสิ่งอ่อนไหวง่ายจึงยังไม่มีหลักประกันแน่นอนว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยประวัติศาสตร์ที่
เจ็บปวดเพราะมันมีการพัฒนาการตัวมันเองตลอดเวลา ดังนั้นจึงขอเสนอให้มีการทำโรดแมปแก้วิกฤตของประเทศ โดยฝ่ายการเมืองทำโรดแมปให้กลุ่มผู้
ชุมนุม และแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมทำโรดแมปให้กับฝ่ายการเมือง จากนั้นมาหาข้อยุติความขัดแย้งต่อกัน
“ตอนนี้มีแต่แนวคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การเปิดเจรจาร่วมกัน การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก การประกาศสภาวะฉุกเฉิน แต่
ยังไม่มีความชัดเจนว่าแล้วจะทำอะไรต่อไปที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกแล้วหาทางยึดทรัพย์ก็ดูจะเป็นการเรียกร้องที่ไม่ใช่
การผ่าทางตันวิกฤตการณ์เมือง แต่เป็นการเรียกร้องที่จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เพราะอารมณ์ของสาธารณชนขณะนี้แตกต่างไปจากช่วง รสช. ยึดอำนาจ
เพราะจากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศครั้งล่าสุด พบว่าประชาชนยังให้การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่เป็นจำนวนมากเพราะพอใจ
ในนโยบายต่างๆ ดังนั้นถ้าการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมากลาออกแล้วยังตามไปหาช่องทางยึดทรัพย์อาจจะนำพาสังคมไปสู่
ความแตกแยกมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงขอเสนอให้แกนนำสำคัญของทุกกลุ่มและนายกรัฐมนตรีสงบสติอารมณ์กันก่อนสักสองหรือสามสัปดาห์ โดยให้แต่ละฝ่ายไป
ช่วยกันจัดทำโรดแมปแก้วิกฤตการเมืองของประเทศแบบครบวงจรมานำเสนอต่อสาธารณชนให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะเลือกรูปแบบใด เพราะการกระทำ
ใดๆ ที่ใจร้อนเร่งเร้ามักจะนำพาคนในสังคมไปสู่ความวิบัติเสียหายได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การประกาศสภาวะฉุกเฉินเพื่อยุติความร้อนแรงทางการเมืองทั้งในสถานการณ์ปกติ
หรือมีเหตุรุนแรงบานปลาย ไม่ได้เป็นวิธีการที่สังคมไทยปัจจุบันนี้จะให้การยอมรับแบบเป็นเอกฉันท์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงไม่ควรนำมาใช้
เพราะอาจก่อให้เกิดการสูญเสียตามมาแบบไม่คาดคิดและเป็นปัญหาวิกฤตยาวนานต่อไปได้ และที่สำคัญประชาชนจำนวนมากที่เคยอยู่กลางๆ อาจเปลี่ยน
ใจไปอยู่กับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
“นอกจากนี้ อยากจะขอเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองและกลุ่มผู้ชุมนุมยุติการเล่นเกมเชิงตัวเลขเพื่อนำจำนวนประชาชนมาข่มกันและกัน
เพราะมันอาจเป็นภาพลวงตาหรือมายาเท่านั้น การเล่นเกมเชิงตัวเลขของแต่ละฝ่ายจะกลายเป็นการยั่วยุที่อาจส่งผลรุนแรงกว่าการใช้ถ้อยคำกล่าวร้าย
โจมตีกันและกัน ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตัดสินใจออกมาแสดงตนในที่แจ้งสนับสนุนฝ่ายที่ตนเองคิดว่าถูกต้อง ซึ่งถ้าประชาชนออกมาจำนวนมากเกินไป
และกระจายตามจุดต่างๆ อย่างเป็นอิสระจะทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมฝูงชนและอาจเกิดจลาจลที่รุนแรง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่คืนวันที่ 13 มีนาคมถึงเช้าวันนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุม ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 26.8
2 ติดตามค่อนข้างต่อเนื่อง 47.8
3 ไม่ค่อยได้ติดตาม 17.6
4 ไม่ได้ติดตาม 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะการชุมนุมที่อยากเห็นจากฝ่ายที่สนับสนุนและ
ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะการชุมนุมที่อยากเห็น ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมอย่างสงบ 60.7
2 การไม่ใช้ความรุนแรง 55.1
3 ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการชุมนุม 49.9
4 หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคาย 43.1
5 หลีกเลี่ยงการยั่วยุเกิดความโกรธแค้น 39.9
6 การชุมนุมอย่างผู้ที่เจริญแล้ว 36.5
7 มีการชุมนุมให้ถึงที่สุดจนกว่าจะชนะ 8.4
8 มีการชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ 5.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อท่าทีของรัฐบาลที่ควรแสดงออกต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
ลำดับที่ ท่าทีของรัฐบาลที่ควรแสดงออกต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ค่าร้อยละ
1 เปิดโอกาสให้มีการชุมนุมโดยไม่มีเงื่อนไข 7.9
2 เปิดโอกาสให้ชุมนุมต่อไปโดยมีเงื่อนไขว่าต้องชุมนุมอย่างสงบ 16.5
3 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุมและเปิดเจรจาด้วยสันติวิธี 69.4
4 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม โดยให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ/ให้เคารพกติกา/ให้ยอมรับเหตุซึ่งกันและกัน 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความพอใจต่อบทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างๆ
บทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างๆ พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.เจ้าหน้าที่ตำรวจ 84.9 4.1 11.0 100.0
2.ท่าทีของทหาร 72.1 8.0 19.9 100.0
3.การทำงานของสื่อมวลชน 71.5 16.9 11.6 100.0
4. กลุ่มแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 41.3 39.5 19.2 100.0
5. ท่าทีของนายกรัฐมนตรี 44.1 37.1 18.8 100.0
6.การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนนายกรัฐมนตรี 46.4 30.8 22.8 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 5.5
2 สนับสนุน 13.8
3 ไม่สนับสนุน 42.0
4 ไม่สนับสนุนเลย 21.2
5 ไม่มีความเห็น 17.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉิน
ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 11.5
2 สนับสนุน 39.5
3 ไม่สนับสนุน 22.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 12.0
5 ไม่มีความเห็น 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
จำแนกตามการเลือกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง จากการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ 6 ก.พ.48
ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย เคยเลือกพรรคไทยรักไทย เคยเลือกประชาธิปัตย์ ภาพรวม
1.สนับสนุนอย่างยิ่ง 14.9 5.3 11.5
2.สนับสนุน 42.1 38.5 39.5
3.ไม่สนับสนุน 18.1 35.5 22.2
4.ไม่สนับสนุนเลย 11.5 10.7 12.0
5.ไม่มีความเห็น 13.4 10.0 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สถานการณ์ทางการเมืองไทยที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายกำลังจับตามองทั้งจากภายในประเทศและต่าง
ประเทศ โดยสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชนในขณะนี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายก
รัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มที่ไม่สนับสนุนนั้น ได้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นมา จนกระทั่งได้เคลื่อนย้ายการชุมนุมไปยังทำเนียบรัฐบาล
เมื่อเช้าวันนี้ ในขณะที่กลุ่มที่ให้การสนับสนุนนายกรัฐมนตรี อาทิกลุ่มเกษตรกรจากภาคเหนือ และภาคอีสานก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน โดย
ล่าสุดกำลังมีการเคลื่อนขบวนรถอีแต๋นเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการ
เคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจะเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยก็ตาม แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทย และภาพลักษณ์โดยรวมของ
ประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
การชุมนุมเคลื่อนไหวของฝ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนท่าทีของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการชุมนุมของ
ประชาชนและท่าทีของนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ในวันที่ 14 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,205 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และจากการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นมีค่าความคลาด
เคลื่อน +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 33.4 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 16.9 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 17.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.6 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 21.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการชุมนุมของประชาชน
และท่าทีของนายกรัฐมนตรี” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 14 มีนาคม 2549
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่คืนวันที่ 13 มีนาคมถึงเช้าวันนี้ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 26.8 ระบุติดตามอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 47.8 ระบุติดตามค่อนข้างต่อเนื่อง ร้อยละ 17.6 ระบุไม่ค่อยได้ติดตาม และร้อยละ 7.8 ระบุ
ไม่ได้ติดตาม
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงลักษณะการชุมนุมที่อยากเห็นจากกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.7 ระบุต้องการเห็นการชุมนุมอย่างสงบ ร้อยละ 55.1 ไม่มีการใช้ความรุนแรง ร้อยละ 49.9 ระบุความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของการชุมนุม ร้อยละ 43.1 ระบุหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย และร้อยละ 39.9 ระบุหลีกเลี่ยงการยั่วยุให้เกิดความโกรธแค้น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงท่าทีของรัฐบาลที่ควรแสดงออกต่อกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 7.9 ระบุรัฐบาลควรเปิด
โอกาสให้มีการชุมนุมต่อไปโดยไม่มีเงื่อนไข ในขณะที่ร้อยละ 16.5 ระบุเปิดโอกาสให้ชุมนุมโดยมีเงื่อนไขว่าต้องชุมนุมอย่างสงบ ร้อยละ 69.4
ระบุเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมและเปิดการเจราจาด้วยสันติวิธี ร้อยละ 6.2 ระบุเรียกร้องให้ยุติการชุมนุมด้วยวิธีอื่นๆ อาทิ ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามรัฐ
ธรรมนูญ/ให้เคารพกติกา/ให้ยอมรับเหตุซึ่งกันและกัน
ผลสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อบทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างในขณะนี้ เป็นดังนี้
ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าร้อยละ 84.9 ระบุพอใจ ร้อยละ 4.1 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อท่าทีของทหาร พบว่าร้อยละ 72.1 ระบุพอใจ ร้อยละ 8.0 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 19.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อการทำงานของสื่อมวลชน พบว่าร้อยละ 71.5 ระบุพอใจ ร้อยละ 16.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.6 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อกลุ่มแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พบว่า ร้อยละ 41.3 ระบุพอใจ ร้อยละ 39.5 ระบุไม่พอใจ
และร้อยละ 19.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความพึงพอใจต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรี พบว่าร้อยละ 44.1 ระบุพอใจ ร้อยละ 37.1 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 18.8 ไม่ระบุความ
คิดเห็น
ความพึงพอใจต่อการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรี พบว่าร้อยละ 46.4 ระบุพอใจ ร้อยละ 30.8 ระบุไม่พอใจ
และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ
5.5 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 13.8 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 21.2 ระบุไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ
17.5 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการประกาศภาวะฉุกเฉิน หากมีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายเกิดขึ้น
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.5 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 39.5 ระบุสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 22.2 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 12.0 ระบุ
ไม่สนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อยละ 14.8 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อจำแนกตามการเลือกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง จากการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวัน
ที่ 6 ก.พ. 48 ที่ผ่านมานั้น พบว่า ประชาชนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ให้การสนับสนุนรัฐบาลที่จะประกาศภาวะฉุกเฉิน ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบาน
ปลาย (ร้อยละ 42.1) สนับสนุนอย่างยิ่ง (ร้อยละ 14.9) ไม่สนับสนุน (ร้อยละ 18.1) ไม่สนับสนุนเลย (ร้อยละ 11.5) และไม่มีความคิดเห็น
(ร้อยละ 13.4)
สำหรับประชาชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลายนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.5 ระบุสนับสนุน ร้อยละ 35.5 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ 10.7 ไม่สนับสนุนเลย ร้อยละ 5.3 สนับสนุนอย่างยิ่ง และร้อย
ละ 10.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและการทำงานของสื่อมวลชน ในขณะที่มีความพอใจ
น้อยกว่ามากต่อท่าทีของนายกรัฐมนตรีและการชุมนุมของทุกกลุ่ม นอกจากนี้ การยุติการชุมนุมและเปิดการเจรจาด้วยสันติวิธีเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่
ต้องการ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการชุมนุมก็ขอให้เป็นไปอย่างสงบไม่ใช้ความรุนแรงด้วยถ้อยคำวาจาและการกระทำ สิ่งเหล่านี้มีความชัดเจนในตัวมันเอง
ว่าสาธารณชนกำลังต้องการอะไรในสถานการณ์การเมืองที่ง่อนแง่นอยู่ขณะนี้ จึงขอให้ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และกลุ่มผู้ชุมนุมทุก
ฝ่ายตระหนักว่า ความรู้สึกและความต้องการของประชาชนคือแบบนี้ นายกรัฐมนตรีและแกนนำ ผู้ชุมนุมทุกกลุ่มจะตอบสนองเสียงเรียกร้องของสาธารณชน
หรือไม่
“หลายคนออกมาระบุว่าให้ระวังมือที่สามจะสร้างสถานการณ์ ตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวของทุกฝ่ายขณะนี้กำลังสร้างสถานการณ์
กระทบต่อเสถียรภาพของประเทศอย่างแท้จริง ถ้าประชาชนทุกฝ่ายผ่านการทดสอบวิกฤตการเมืองครั้งนี้ไปได้ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศตัวอย่างให้
คนทั่วโลกได้นำไปศึกษาถึงความสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของสาธารณชนที่มีมากนับแสนๆ คนที่กำลังไม่พอใจต่อกันและกันเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย
ได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อารมณ์ของสาธารณชนเป็นสิ่งอ่อนไหวง่ายจึงยังไม่มีหลักประกันแน่นอนว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยประวัติศาสตร์ที่
เจ็บปวดเพราะมันมีการพัฒนาการตัวมันเองตลอดเวลา ดังนั้นจึงขอเสนอให้มีการทำโรดแมปแก้วิกฤตของประเทศ โดยฝ่ายการเมืองทำโรดแมปให้กลุ่มผู้
ชุมนุม และแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมทำโรดแมปให้กับฝ่ายการเมือง จากนั้นมาหาข้อยุติความขัดแย้งต่อกัน
“ตอนนี้มีแต่แนวคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การเปิดเจรจาร่วมกัน การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก การประกาศสภาวะฉุกเฉิน แต่
ยังไม่มีความชัดเจนว่าแล้วจะทำอะไรต่อไปที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกแล้วหาทางยึดทรัพย์ก็ดูจะเป็นการเรียกร้องที่ไม่ใช่
การผ่าทางตันวิกฤตการณ์เมือง แต่เป็นการเรียกร้องที่จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เพราะอารมณ์ของสาธารณชนขณะนี้แตกต่างไปจากช่วง รสช. ยึดอำนาจ
เพราะจากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศครั้งล่าสุด พบว่าประชาชนยังให้การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่เป็นจำนวนมากเพราะพอใจ
ในนโยบายต่างๆ ดังนั้นถ้าการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมากลาออกแล้วยังตามไปหาช่องทางยึดทรัพย์อาจจะนำพาสังคมไปสู่
ความแตกแยกมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงขอเสนอให้แกนนำสำคัญของทุกกลุ่มและนายกรัฐมนตรีสงบสติอารมณ์กันก่อนสักสองหรือสามสัปดาห์ โดยให้แต่ละฝ่ายไป
ช่วยกันจัดทำโรดแมปแก้วิกฤตการเมืองของประเทศแบบครบวงจรมานำเสนอต่อสาธารณชนให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะเลือกรูปแบบใด เพราะการกระทำ
ใดๆ ที่ใจร้อนเร่งเร้ามักจะนำพาคนในสังคมไปสู่ความวิบัติเสียหายได้” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การประกาศสภาวะฉุกเฉินเพื่อยุติความร้อนแรงทางการเมืองทั้งในสถานการณ์ปกติ
หรือมีเหตุรุนแรงบานปลาย ไม่ได้เป็นวิธีการที่สังคมไทยปัจจุบันนี้จะให้การยอมรับแบบเป็นเอกฉันท์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงไม่ควรนำมาใช้
เพราะอาจก่อให้เกิดการสูญเสียตามมาแบบไม่คาดคิดและเป็นปัญหาวิกฤตยาวนานต่อไปได้ และที่สำคัญประชาชนจำนวนมากที่เคยอยู่กลางๆ อาจเปลี่ยน
ใจไปอยู่กับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
“นอกจากนี้ อยากจะขอเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองและกลุ่มผู้ชุมนุมยุติการเล่นเกมเชิงตัวเลขเพื่อนำจำนวนประชาชนมาข่มกันและกัน
เพราะมันอาจเป็นภาพลวงตาหรือมายาเท่านั้น การเล่นเกมเชิงตัวเลขของแต่ละฝ่ายจะกลายเป็นการยั่วยุที่อาจส่งผลรุนแรงกว่าการใช้ถ้อยคำกล่าวร้าย
โจมตีกันและกัน ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนตัดสินใจออกมาแสดงตนในที่แจ้งสนับสนุนฝ่ายที่ตนเองคิดว่าถูกต้อง ซึ่งถ้าประชาชนออกมาจำนวนมากเกินไป
และกระจายตามจุดต่างๆ อย่างเป็นอิสระจะทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมฝูงชนและอาจเกิดจลาจลที่รุนแรง” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่คืนวันที่ 13 มีนาคมถึงเช้าวันนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุม ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 26.8
2 ติดตามค่อนข้างต่อเนื่อง 47.8
3 ไม่ค่อยได้ติดตาม 17.6
4 ไม่ได้ติดตาม 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะการชุมนุมที่อยากเห็นจากฝ่ายที่สนับสนุนและ
ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะการชุมนุมที่อยากเห็น ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมอย่างสงบ 60.7
2 การไม่ใช้ความรุนแรง 55.1
3 ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการชุมนุม 49.9
4 หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคาย 43.1
5 หลีกเลี่ยงการยั่วยุเกิดความโกรธแค้น 39.9
6 การชุมนุมอย่างผู้ที่เจริญแล้ว 36.5
7 มีการชุมนุมให้ถึงที่สุดจนกว่าจะชนะ 8.4
8 มีการชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ 5.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อท่าทีของรัฐบาลที่ควรแสดงออกต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
ลำดับที่ ท่าทีของรัฐบาลที่ควรแสดงออกต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ค่าร้อยละ
1 เปิดโอกาสให้มีการชุมนุมโดยไม่มีเงื่อนไข 7.9
2 เปิดโอกาสให้ชุมนุมต่อไปโดยมีเงื่อนไขว่าต้องชุมนุมอย่างสงบ 16.5
3 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุมและเปิดเจรจาด้วยสันติวิธี 69.4
4 เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม โดยให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ/ให้เคารพกติกา/ให้ยอมรับเหตุซึ่งกันและกัน 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความพอใจต่อบทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างๆ
บทบาทและท่าทีของบุคคล/กลุ่มต่างๆ พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.เจ้าหน้าที่ตำรวจ 84.9 4.1 11.0 100.0
2.ท่าทีของทหาร 72.1 8.0 19.9 100.0
3.การทำงานของสื่อมวลชน 71.5 16.9 11.6 100.0
4. กลุ่มแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 41.3 39.5 19.2 100.0
5. ท่าทีของนายกรัฐมนตรี 44.1 37.1 18.8 100.0
6.การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนนายกรัฐมนตรี 46.4 30.8 22.8 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 5.5
2 สนับสนุน 13.8
3 ไม่สนับสนุน 42.0
4 ไม่สนับสนุนเลย 21.2
5 ไม่มีความเห็น 17.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉิน
ถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 11.5
2 สนับสนุน 39.5
3 ไม่สนับสนุน 22.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 12.0
5 ไม่มีความเห็น 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย
จำแนกตามการเลือกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง จากการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ 6 ก.พ.48
ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย เคยเลือกพรรคไทยรักไทย เคยเลือกประชาธิปัตย์ ภาพรวม
1.สนับสนุนอย่างยิ่ง 14.9 5.3 11.5
2.สนับสนุน 42.1 38.5 39.5
3.ไม่สนับสนุน 18.1 35.5 22.2
4.ไม่สนับสนุนเลย 11.5 10.7 12.0
5.ไม่มีความเห็น 13.4 10.0 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-