เอแบคโพลล์: แนวโน้มความสุขมวลรวม GDH ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมกราคม 2553 และความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของคนไทยเชื้อสายจีนในช่วงตรุษจีนปีนี้

ข่าวผลสำรวจ Monday February 1, 2010 07:41 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง แนวโน้มความ สุขมวลรวม GDH ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมกราคม 2553 และความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของคนไทยเชื้อสายจีนในช่วงตรุษจีนปีนี้ กรณี ศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 28 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานีและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,570 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวัน ที่ 24-30 มกราคม 2553

เมื่อพิจารณาผลวิจัยแนวโน้มความสุขมวลรวมหรือค่า Gross Domestic Happiness, GDH ของคนไทยภายในประเทศในเดือนมกราคม ปี 2553 ล่าสุดเปรียบเทียบกับช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว พบว่า ค่าความสุขลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือจาก 7.26 ตกลงมาอยู่ที่ 6.52 ในการ สำรวจครั้งนี้

โดยพบว่า ความสุขของคนไทยโดยภาพรวมทั้งประเทศที่น่าเป็นห่วงคือ สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ตกลงจากที่เคยสูงถึง 5.58 เหลือเพียง 4.06 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีค่าความสุขคนไทยที่น่าเป็นห่วงเกือบทุกตัวชี้วัด คือ ความเป็นธรรมในสังคมตกลงจาก 7.07 มาอยู่ที่ 5.19 สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนตกลงจาก 7.09 มาอยู่ที่ 5.87 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนตกลงจาก 7.58 มาอยู่ที่ 6.67 บรรยากาศความ สัมพันธ์ของคนในครอบครัวตกลงจาก 8.96 มาอยู่ที่ 8.01 และสุขภาพใจของประชาชนก็ตกลงจาก 7.96 มาอยู่ที่ 7.58

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อจำแนกค่าความสุขมวลรวมของคนไทยตามภูมิภาค พบว่า คนกรุงเทพมหานครมีค่าความสุขต่ำที่สุดคือ 6.17 คนในภาค กลางได้รองสุดท้ายคือ 6.19 ส่วนประชาชนที่มีความสุขมวลรวมมากที่สุดคือคนในภาคเหนือได้ 7.37 และรองลงมาคือประชาชนในภาคตะวันออกเฉียง เหนือได้ 6.69 ส่วนประชาชนในภาคใต้ได้ 6.48

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นชัดเจนว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ และบรรยากาศความขัดแย้งของผู้ใหญ่ใน สังคมไทยขณะนี้กำลังลดทอนความสุขของประชาชนคนไทยลงไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ความสุขของประชาชนคนไทยเคยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและ กระจายไปในทุกกลุ่มทั่วประเทศ โดยสะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน ถึงความตั้งใจจะจับจ่ายใช้สอยในช่วง เทศกาลตรุษจีน เรื่องการเซ่นไหว้ อั่งเปา และการท่องเที่ยว ซึ่งพบว่า ประชาชนคนไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 36.8 ระบุว่าเตรียมเงินไว้มากกว่าปีที่ แล้วในการเซ่นไหว้ แต่ปัญหาการเมืองอาจทำให้เปลี่ยนใจ เช่นเดียวกัน คนไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 30.4 ระบุว่าเตรียมเงินไว้มากกว่าปีที่แล้วสำหรับ ค่า อั่งเปา แต่ปัญหาการเมืองอาจทำให้เปลี่ยนใจ และคนไทยเชื้อสายจีน ถึงร้อยละ 45.8 ที่ตั้งใจจะใช้จ่ายเงินเรื่องท่องเที่ยว การรับประทาน อาหารนอกบ้านมากกว่าปีที่แล้ว แต่ปัญหาการเมืองอาจทำให้เปลี่ยนใจ โดยผลสำรวจพบว่ามีไม่เกินร้อยละ 10 เท่านั้นที่ตั้งใจจะใช้จ่ายเงินในเรื่อง เซ่นไหว้ อั่งเปา และการท่องเที่ยว น้อยกว่าปีที่แล้ว

ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า มีอยู่สองเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยในผลวิจัยชิ้นนี้คือ ความขัดแย้งของผู้ใหญ่ในสังคมที่เกี่ยว ยงไปยังปัญหาทางการเมือง และความไม่เป็นธรรมในสังคมที่กำลังลดทอนความสุขของคนไทย โดยจะพบตัวชี้วัดความสุขของคนไทยเกือบทุกตัวลดลงโดย เฉพาะ บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ความสุขต่อสถานการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมือง จึงเสนอให้ผู้ใหญ่ในสังคมเคลื่อนไหวทางการเมืองกันอย่างสร้างสรรค์ แสดงภาพให้สาธารณชนเห็นถึงการจับมือร่วมกันแก้ไขปัญหา ของประเทศถึงแม้จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันก็ตาม เพราะอำนาจที่จะทำให้คนไทยจำนวนมากมีความสุขหรือทุกข์ก็อยู่ในการเคลื่อนไหวของ ผู้ใหญ่เหล่านั้น แต่ทางออกสำหรับประชาชนคือ การปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสถานการณ์ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะเมื่อความแตกแยก ตกลงมาอยู่ในครัวเรือน คนที่เป็นทุกข์ไม่ใช่นักการเมืองและคนที่เคลื่อนไหวให้เกิดความแตกแยก แต่กลับเป็นคนในครอบครัวและชุมชนมากกว่าที่เป็นทุกข์

ดังนั้น บรรยากาศความขัดแย้งของผู้ใหญ่ในสังคมและปัญหาทางการเมือง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ลดทอนความสุขของคนไทยในช่วงเทศกาล ตรุษจีนที่จะมาถึงนี้ได้

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 47.8 เป็นชาย

ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 19.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 83.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 15.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 19.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 9.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 8.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 4.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10

ม.ค. 52 ก.พ.52 มี.ค.52 เม.ย.52 ต้น ก.ค.52 ส.ค.52 ต้นต.ค. พ.ย.52 5 ธ.ค.52 ปลาย ม.ค.52

  ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม                                     มิ.ย.52                   52                     ธ.ค.52
ของคนไทยภายในประเทศ
 (Gross Domestic Happiness)   6.59    5.78     6.18     7.17  7.15     5.92   7.18   6.83     7.52      9.86   7.26    6.52

ตารางที่ 2  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                              ค่า GDHธันวาคม 2552     ค่า GDHมกราคม 2553
1          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                   8.96                    8.01
2          สุขภาพกาย                                          7.72                    7.61
3          สุขภาพใจ                                           7.96                    7.58
4          หน้าที่ การงาน อาชีพ                                  7.58                    7.15
5          วัฒนธรรมประเพณีไทย ในปัจจุบัน                          6.91                    6.99
6          สภาพแวดล้อม ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ                   7.03                    6.92
7          การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ              7.53                    6.78
8          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน                      7.58                    6.67
9          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว                    7.09                    5.87
10          ความเป็นธรรมในสังคม/ความไม่เป็นธรรมในสังคมที่ได้รับ       7.07                    5.19
11          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                         5.58                    4.06
          ความสุขมวลรวม ของคนไทยประจำเดือนมกราคม  พ.ศ. 2553    7.26                    6.52

ตารางที่ 3  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนหรือ GDH   จำแนกตามภูมิภาค
                                    เหนือ      กลาง   ตะวันออกเฉียงเหนือ    ใต้      กทม.
ความสุขมวลรวม ของคนไทย หรือ
  GDHประจำเดือนมกราคม  พ.ศ. 2553     7.37      6.19        6.69         6.48    6.17

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง คนไทยเชื้อสายจีน ที่เตรียมเงินในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน  ในการเซ่นไหว้
ลำดับ          การเตรียมจำนวนเงินในการจับจ่ายใช้สอย ในส่วนการเซ่นไหว้           ค่าร้อยละ
1          เตรียมไว้มากกว่าปีที่แล้ว แต่ปัญหาการเมืองอาจทำให้เปลี่ยนใจ               36.8
2          เตรียมไว้มากกว่าปีที่แล้ว และจะใช้จ่ายตามที่ตั้งใจ                        16.4
3          เตรียมไว้เท่าเดิม แต่ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองอาจทำให้ใช้จริงน้อยกว่า        21.1
4          เตรียมไว้เท่าเดิม และจะใช้จ่ายตามที่ตั้งใจไว้                           16.8
5          เตรียมไว้น้อยกว่าปีที่แล้ว                                            8.9
          รวมทั้งสิ้น                                                      100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง คนไทยเชื้อสายจีน ที่เตรียมเงินในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน  สำหรับ อั่งเปา
ลำดับ          การเตรียมจำนวนเงินในการจับจ่ายใช้สอย ในส่วน อั่งเปา             ค่าร้อยละ
1          เตรียมไว้มากกว่าปีที่แล้ว แต่ปัญหาการเมืองอาจทำให้เปลี่ยนใจ               30.4
2          เตรียมไว้มากกว่าปีที่แล้ว และจะใช้จ่ายตามที่ตั้งใจ                        16.1
3          เตรียมไว้เท่าเดิม แต่ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองอาจทำให้ใช้จริงน้อยกว่า        27.7
4          เตรียมไว้เท่าเดิม และจะใช้จ่ายตามที่ตั้งใจไว้                           18.8
5          เตรียมไว้น้อยกว่าปีที่แล้ว                                            7.0
          รวมทั้งสิ้น                                                      100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง คนไทยเชื้อสายจีน ที่เตรียมเงินในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน  ในการท่องเที่ยว ทานอาหารนอกบ้าน
ลำดับ          การเตรียมจำนวนเงินในการจับจ่ายใช้สอย ในการท่องเที่ยว ทานอาหารนอกบ้าน             ค่าร้อยละ
1          เตรียมไว้มากกว่าปีที่แล้ว แต่ปัญหาการเมืองอาจทำให้เปลี่ยนใจ                               45.8
2          เตรียมไว้มากกว่าปีที่แล้ว และจะใช้จ่ายตามที่ตั้งใจ                                        22.1
3          เตรียมไว้เท่าเดิม แต่ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองอาจทำให้ใช้จริงน้อยกว่า                        15.5
4          เตรียมไว้เท่าเดิม และจะใช้จ่ายตามที่ตั้งใจไว้                                            9.3
5          เตรียมไว้น้อยกว่าปีที่แล้ว                                                            7.3
          รวมทั้งสิ้น                                                                      100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ