เอแบคโพลล์: สถานการณ์การเลือกข้างความนิยมของประชาชน กับความในใจของคนที่ "ขออยู่ตรงกลาง"

ข่าวผลสำรวจ Monday February 8, 2010 07:24 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง สถานการณ์การ เลือกข้างความนิยมของประชาชน กับความในใจของคนที่ “ขออยู่ตรงกลาง” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่ พักอาศัยอยู่ใน 28 จังหวัดของ ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ขอนแก่น อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ เพชรบูรณ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ อุทัยธานี สุโขทัย สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม สุราษฎร์ธานี นครศรี ธรรมราช ยะลา ปัตตานีและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,470 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 20 มกราคม — 5 กุมภาพันธ์ 2553 ผล การสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารเป็นประจำ

ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาจำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 46.5 แสดงตน “ขออยู่ตรงกลาง” คือไม่เลือกข้าง เมื่อสอบถามถึง นักการเมืองที่นิยมชอบ สนับสนุน ระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นักการเมืองคนอื่น โดยร้อยละ 28.6 นิยมชอบสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวช ชาชีวะ ในขณะที่ ร้อยละ 24.9 สนับสนุนนักการเมืองคนอื่น โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ +/- ร้อยละ 5 ซึ่งผลสำรวจครั้งนี้ อาจกล่าวได้ ว่า คนจำนวนมากที่สุดไม่เลือกข้าง แต่ขออยู่ตรงกลาง ส่วนกลุ่มคนที่ตัดสินใจเลือกข้างเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ กับกลุ่มคนที่สนับสนุนนักการเมืองคนอื่น ในทางสถิติถือว่ามีสัดส่วนพอๆ กัน

ที่น่าสนใจคือ หลังจากจำแนกกลุ่มประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามออกตามภูมิภาค พบว่า เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ในแต่ ละพื้นที่ แม้แต่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีเกือบครึ่งหนึ่งหรือประมาณครึ่งหนึ่งเลยทีเดียวคือ ร้อยละ 49.3 ระบุไม่เลือกข้างแต่ขออยู่ตรงกลาง โดยมีเพียงกลุ่ม ประชาชนในภาคใต้เท่านั้นคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.8 ที่สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 37.6 สนับสนุนนักการเมืองคนอื่น มีเพียง ร้อยละ 13.1 เท่านั้นที่สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ แม้แต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีนายกรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากพรรคเดียวกัน แต่พรรคประชาธิปัตย์กลับยังไม่สามารถทำให้คนกรุงเทพมหานครสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ขาดลอย เพราะมีเพียงร้อย ละ 25.4 เท่านั้นที่สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ในขณะที่ ร้อยละ 27.2 สนับสนุนนักการเมืองคนอื่น และร้อยละ 47.4 ขออยู่ตรงกลางไม่ขอเลือกข้าง

ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน เมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกพรรคการเมืองใดในระบบแบบสัดส่วน ผลสำรวจพบ ว่า ประชาชนร้อยละ 36.9 ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง ร้อยละ 33.6 เลือกพรรคการเมืองอื่น ๆ ในขณะที่ร้อยละ 29.5 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และ พบว่าประชาชนในภาคเหนือร้อยละ 35.8 เลือกพรรคการเมืองอื่นๆ ในขณะที่ร้อยละ 26.2 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 38.0 ยังไม่ตัดสิน ใจเลือกข้าง ยังไม่เลือกพรรคใด ประชาชนในภาคกลางร้อยละ 28.2 เลือกพรรคการเมืองอื่นๆ ในขณะที่ร้อยละ 29.8 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 42.0 ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง

แต่ผลสำรวจชี้ชัดเจนว่า ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 45.9 จะเลือกพรรคการเมืองอื่น ร้อยละ 13.6 เท่านั้น จะ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และที่เหลือร้อยละ 40.5 ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคใต้ร้อยละ 77.1 ตัดสินใจแล้วเลือกพรรคประ ชาธิปัตย์ มีเพียงร้อยละ 8.9 จะเลือกพรรคอื่นๆ และร้อยละ 14.0 ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง

แต่ที่น่าตกใจคือ ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 34.8 จะเลือกพรรคการเมืองอื่น ในขณะที่ร้อยละ 26.8 จะเลือกพรรคประ ชาธิปัตย์ และร้อยละ 38.4 ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง

ผลสำรวจได้วิเคราะห์ 10 อันดับแรกความในใจของกลุ่มคนที่ “ขออยู่ตรงกลาง” ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศพบว่า อันดับแรกหรือ ร้อยละ 87.5 บอกว่า เบื่อหน่ายปัญหาการเมือง เมื่อไหร่จะจบเสียที รองลงมาอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 85.1 บอกว่า อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข โดยเร็ว อันดับที่สามหรือร้อยละ 82.2 ระบุต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ และต้องการให้เร่งยุติความขัดแย้งรุนแรง อันดับที่สี่ ร้อยละ 80.9 เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย เคารพกติกาบ้านเมือง ในขณะที่ รองๆ ลงไปคือ ขอให้คนไทยรักกัน จับมือกันแก้ปัญหา บ้านเมือง อยากให้เลิกทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ช่วยกันเป็นคนดี มีน้ำใจเกื้อกูลกันในสังคม ทำการเมืองสร้างสรรค์ รณรงค์เลิกพูดเรื่อง การเมือง และเอาประเทศชาติมาก่อน ไม่สนใจพวกนักการเมือง ตามลำดับ

ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้อมูลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อจะได้ใจและฐานสนับสนุนจากกลุ่มคน ที่ขออยู่ตรงกลาง โดยผู้ใหญ่ในสังคมเร่งหาแนวทางทำให้ปัญหาการเมืองคลี่คลายลง และพยายามควบคุมให้ความขัดแย้งแตกแยกในหมู่ประชาชนด้าน การเมืองพัฒนาไปตามธรรมชาติของมันที่ปราศจากการใช้กำลังและความรุนแรงในสังคมไทย ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์อาจจะได้เสียงสะท้อนจาก ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่น่าจะทำให้แปลกใจและผิดหวังได้ว่า ฐานสนับสนุนของคนกรุงเทพมหานครต่อพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีมากมาย เท่าใดนัก ประชาชนส่วนใหญ่กลับขออยู่ตรงกลางไม่พร้อมสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ที่อาจจะมาจากปัญหาความเดือดร้อนด้านต่างๆ ของคนกรุงเทพฯ ยังไม่ได้รับการแก้ไขตามความคาดหวังที่มีสูงว่า เมื่อได้นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากพรรคการเมืองเดียวกันแล้วจะทำให้ปัญหา ทุกอย่างคลี่คลายลงได้อย่างรวดเร็ว เช่น ปัญหาจราจร ค่าครองชีพ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คือประชาชนคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ ยังไม่เห็นความแตกต่างของชีวิตความเป็นอยู่ว่าดีกว่าอดีตอย่างไร จึงส่งผลให้ฐานสนับสนุนต่อนายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้สูงมากตามที่ หลายฝ่ายประเมินกันไว้

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 47.8 เป็นชาย

ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 19.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 83.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 15.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 19.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 9.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 8.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 4.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา       ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        53.0
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        23.1
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                        11.8
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                      9.6
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                          2.5
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองที่สนับสนุนเปรียบเทียบระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นักการเมืองอื่น
ลำดับที่          นักการเมืองที่นิยมชอบ สนับสนุน          ค่าร้อยละ
1          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ                    28.6
2          นักการเมืองคนอื่น                         24.9
3          ขออยู่ตรงกลาง                           46.5
          รวมทั้งสิ้น                               100.0

หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองที่นิยมชอบเปรียบเทียบระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นักการเมืองคนอื่น
จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่    นักการเมืองที่นิยมชอบเปรียบเทียบระหว่าง       เหนือ       กลาง   ตะวันออกเฉียงเหนือ   ใต้      กทม.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นักการเมืองคนอื่น
1          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ                  26.9       26.9       13.1         76.8     25.4
2          นักการเมืองคนอื่น                       22.3       20.4       37.6          2.6     27.2
3          ขออยู่ตรงกลาง                         50.8       52.7       49.3         20.6     47.4
          รวมทั้งสิ้น                             100.0      100.0      100.0        100.0    100.0

หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง      ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                                  29.5
2          พรรคการเมืองอื่นๆ รวมกันทุกพรรค                                     33.6
3          ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง                                              36.9
          รวมทั้งสิ้น                                                        100.0

หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่     พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.      เหนือ      กลาง    ตะวันออกเฉียงเหนือ    ใต้       กทม.

แบบสัดส่วนถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง

1          พรรคประชาธิปัตย์                    26.2     29.8          13.6         77.1     26.8
2          พรรคการเมืองอื่นๆ รวมกันทุกพรรค       35.8     28.2          45.9          8.9     34.8
3          ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง                38.0     42.0          40.5         14.0     38.4
          รวมทั้งสิ้น                          100.0    100.0         100.0        100.0    100.0

หมายเหตุ ความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ 10 อันดับความในใจของตัวอย่างที่ “ขออยู่ตรงกลาง” ที่อยากบอกกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองปัจจุบัน

(ค่าร้อยละของคนที่อยู่ตรงกลาง และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          10 อันดับความในใจของกลุ่มคนที่ “ขออยู่ตรงกลาง”ต่อกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง    ค่าร้อยละ
1          เบื่อหน่ายปัญหาการเมือง เมื่อไหร่จะจบเสียที                                      87.5
2          อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขโดยเร็ว                                              85.1
3          ต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เร่งยุติความขัดแย้งรุนแรง                         82.2
4          เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย เคารพกติกาบ้านเมือง         80.9
5          ขอให้คนไทยรักกัน จับมือกันแก้ปัญหาบ้านเมือง                                      78.6
6          อยากให้เลิกทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้อง                                   76.6
7          ช่วยกันเป็นคนดี มีน้ำใจเกื้อกูลกันในสังคม                                         74.8
8          ทำการเมืองสร้างสรรค์                                                      73.2
9          รณรงค์เลิกพูดเรื่องการเมือง                                                  65.5
10          เอาประเทศชาติไว้ก่อน ไม่สนใจพวกนักการเมือง                                  63.8

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ