ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ตำรวจกับเจ้ามือหวยในสายตาประชาชน กรณีศึกษา
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 3,386 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-30
พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 ระบุเล่นหวยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 36.8 ไม่ได้เล่น เมื่อจำแนก
ออกตามภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชาชนเล่นมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 68.1 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 67.7 กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลได้อันดับสามร้อยละ 64.3 ภาคเหนือร้อยละ 63.6 และภาคใต้ร้อยละ 53.1
เมื่อสอบถามประสบการณ์การได้เลขเด็ดมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 ระบุเคยได้ ในขณะที่ร้อยละ 25.2 ไม่เคยได้ นอกจากนี้
พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 ของกลุ่มที่เคยเล่นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเชื่อต่อข่าวเลขเด็ดที่เคยได้ยินผ่านสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่
เชื่อ และร้อยละ 21.6 ไม่มีความเห็น ผลสำรวจพบด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 พบเห็นสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ขายเกินราคาในช่วง 30
วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ไม่เคยพบเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.5 ไม่พอใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันแก้ปัญหาเจ้ามือหวย
ใต้ดิน เมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่พอใจการทำงานของตำรวจมากที่สุดคือร้อยละ 81.0 รองลงมาคือ
ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 74.7 ภาคกลางร้อยละ 72.1 ภาคเหนือร้อยละ 69.5 และภาคใต้ร้อยละ 68.7 ที่ไม่พอใจตำรวจในการ
แก้ปัญหาเจ้ามือหวยใต้ดิน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 เชื่อว่าแนวโน้มของคนเล่นหวยใต้ดินในกลุ่มประชาชนจะสูงขึ้นในอีก 6 เดือนข้าง
หน้า รองลงมาคือร้อยละ 15.5 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 2.0 เชื่อว่าจะลดลง และร้อยละ 10.3 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์การเล่นหวยของประชาชนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของตำรวจในการแก้ปัญหาเจ้ามือหวยใต้ดิน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ตำรวจกับเจ้ามือหวยในสายตาประชาชน กรณีศึกษา
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-30 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี
เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,386 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 18.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 30.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
4.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 34.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ26.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อย
ละ 8.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 71.3 พักอาศัยนอกเขตเทศบาลและร้อยละ 28.7 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเล่นหวยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์เล่นหวยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เล่น 63.2
2 ไม่เล่น 36.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเล่นหวยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ประสบการณ์เล่นหวยของตัวอย่าง กทม.และปริมณฑล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ รวม
1 เล่น 64.3 63.6 66.1 68.1 53.1 63.2
2 ไม่เล่น 35.7 36.4 33.9 31.9 46.9 36.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ของตนเองที่ได้เลขเด็ด
ลำดับที่ ประสบการณ์พบเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยได้ 74.8
2 ไม่เคยได้ 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อข่าวเลขเด็ดที่เคยได้ยินผ่านสื่อมวลชน
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยเล่นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 60.1
2 ไม่เชื่อ 18.3
3 ไม่มีความเห็น 21.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์พบเห็นการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์พบเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยพบเห็น 67.7
2 ไม่เคยพบเห็น 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันแก้ปัญหาเจ้ามือ
หวยใต้ดิน จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง กทม.และปริมณฑล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ รวม
1 พอใจ 12.7 16.6 8.3 4.9 19.8 9.9
2 ไม่พอใจ 81.0 69.5 72.1 74.7 68.7 73.5
3 ไม่มีความเห็น 6.3 13.9 19.6 20.4 11.5 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อแนวโน้มของการเล่นหวยใต้ดินของประชาชนในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีมากขึ้น 72.2
2 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม 15.5
3 เชื่อว่าจะลดลง 2.0
4 ไม่มีความเห็น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 3,386 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-30
พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 ระบุเล่นหวยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 36.8 ไม่ได้เล่น เมื่อจำแนก
ออกตามภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชาชนเล่นมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 68.1 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 67.7 กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลได้อันดับสามร้อยละ 64.3 ภาคเหนือร้อยละ 63.6 และภาคใต้ร้อยละ 53.1
เมื่อสอบถามประสบการณ์การได้เลขเด็ดมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 ระบุเคยได้ ในขณะที่ร้อยละ 25.2 ไม่เคยได้ นอกจากนี้
พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 ของกลุ่มที่เคยเล่นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเชื่อต่อข่าวเลขเด็ดที่เคยได้ยินผ่านสื่อมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่
เชื่อ และร้อยละ 21.6 ไม่มีความเห็น ผลสำรวจพบด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 พบเห็นสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ขายเกินราคาในช่วง 30
วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ไม่เคยพบเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.5 ไม่พอใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันแก้ปัญหาเจ้ามือหวย
ใต้ดิน เมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่พอใจการทำงานของตำรวจมากที่สุดคือร้อยละ 81.0 รองลงมาคือ
ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 74.7 ภาคกลางร้อยละ 72.1 ภาคเหนือร้อยละ 69.5 และภาคใต้ร้อยละ 68.7 ที่ไม่พอใจตำรวจในการ
แก้ปัญหาเจ้ามือหวยใต้ดิน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 เชื่อว่าแนวโน้มของคนเล่นหวยใต้ดินในกลุ่มประชาชนจะสูงขึ้นในอีก 6 เดือนข้าง
หน้า รองลงมาคือร้อยละ 15.5 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 2.0 เชื่อว่าจะลดลง และร้อยละ 10.3 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์การเล่นหวยของประชาชนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของตำรวจในการแก้ปัญหาเจ้ามือหวยใต้ดิน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ตำรวจกับเจ้ามือหวยในสายตาประชาชน กรณีศึกษา
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 21-30 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี
เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,386 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 18.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 30.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
4.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 34.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ26.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.5 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อย
ละ 8.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 71.3 พักอาศัยนอกเขตเทศบาลและร้อยละ 28.7 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเล่นหวยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์เล่นหวยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เล่น 63.2
2 ไม่เล่น 36.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเล่นหวยในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ประสบการณ์เล่นหวยของตัวอย่าง กทม.และปริมณฑล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ รวม
1 เล่น 64.3 63.6 66.1 68.1 53.1 63.2
2 ไม่เล่น 35.7 36.4 33.9 31.9 46.9 36.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ของตนเองที่ได้เลขเด็ด
ลำดับที่ ประสบการณ์พบเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยได้ 74.8
2 ไม่เคยได้ 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อข่าวเลขเด็ดที่เคยได้ยินผ่านสื่อมวลชน
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยเล่นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 60.1
2 ไม่เชื่อ 18.3
3 ไม่มีความเห็น 21.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์พบเห็นการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์พบเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยพบเห็น 67.7
2 ไม่เคยพบเห็น 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันแก้ปัญหาเจ้ามือ
หวยใต้ดิน จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง กทม.และปริมณฑล เหนือ กลาง อีสาน ใต้ รวม
1 พอใจ 12.7 16.6 8.3 4.9 19.8 9.9
2 ไม่พอใจ 81.0 69.5 72.1 74.7 68.7 73.5
3 ไม่มีความเห็น 6.3 13.9 19.6 20.4 11.5 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อแนวโน้มของการเล่นหวยใต้ดินของประชาชนในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีมากขึ้น 72.2
2 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม 15.5
3 เชื่อว่าจะลดลง 2.0
4 ไม่มีความเห็น 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-