ที่มาของโครงการ
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองในหลายแง่มุม ซึ่งเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนอยู่ใน
ขณะนี้นอกเนื่องจากข่าวการออกมาชุมนุมของคุณสนธิแล้วก็ยังมีข่าวที่ผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต ได้ออกมาพูดพาดพิงถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยพูดผ่านทางรายการสมัคร — ดุสิต ซึ่งทำให้หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์คำพูดของคุณสมัครที่ใช้วาจาไม่เหมาะสม
ต่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลถึงความคิดเห็นที่มีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ของผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต
ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ของผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจากการวิพากษ์วิจารณ์
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อผู้ดำเนินรายการ
สมัคร-ดุสิตที่วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,245 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.5 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.7 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อผู้
ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตที่วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่
ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,245 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้เริ่มต้นคำถามในครั้งนี้ด้วยการสอบถามถึงการทราบข่าวการบรรยายพิเศษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกี่ยวกับคุณสมบัติที่
ดีของผู้บริหาร เช่น ต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้กับญาติพี่น้อง เป็นต้น ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.8 ทราบข่าวดังกล่าว
และร้อยละ 29.2 ไม่ทราบข่าว และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงการทราบข่าวสมัคร-ดุสิต ที่กล่าววิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พบ
ว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.3 ทราบข่าว และร้อยละ 25.7 ไม่ทราบข่าว โดยกลุ่มผู้ที่ทราบข่าวการวิพากษ์วิจารณ์ครั้งนี้ นั้น พบว่า มี
ตัวอย่างถึงร้อยละ 81.2 มีความเห็นว่าผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตควรได้รับการตำหนิ ร้อยละ 2.1 ระบุว่าไม่ควรได้รับการตำหนิ และร้อยละ
16.7 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.9 มีความคิดว่ามีบุคคลสำคัญในรัฐบาลร่วมรู้เห็นเป็นใจให้มีการวิจารณ์ พล.อ.เปรม
ติณสูลานนท์ ร้อยละ 32.4 ไม่คิดว่ามี และร้อยละ 23.7 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นที่ว่า มีผู้บริหารระดับสูงของคลื่น
วิทยุ-โทรทัศน์รู้เห็นเป็นใจให้มีการวิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือไม่ นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.7 คิดว่า
มี ร้อยละ 26.5 ไม่คิดว่ามี และร้อยละ 20.8 ไม่มีความเห็น
สำหรับผลเสียต่อบรรยากาศความขัดแย้งการเมืองของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.7 ระบุว่ามีผลเสีย
มาก-มากที่สุด ร้อยละ 26.4 ระบุระดับปานกลาง ร้อยละ 5.0 ระบุระดับน้อย-ไม่ส่งผลเสียเลย และร้อยละ 4.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับบุคคลที่ควรออกมารับผิดชอบต่อปัญหาผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พบว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ ผู้
ดำเนินรายการ (ร้อยละ 80.6) ผู้บริหารระดับสูงของคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์ (ร้อยละ 54.3) ผู้บริหารที่กำกับดูแลคลื่น (ร้อยละ 52.1) รัฐมนตรีที่
กำกับดูแล (ร้อยละ 47.6) และรัฐบาล (ร้อยละ 44.7) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการระงับการถ่ายทอดสดรายการสมัคร-ดุสิต นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ
56.1 มีความเห็นว่าควรระงับการถ่ายทอดสด ร้อยละ 8.8 มีความเห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 35.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ตัวอย่างร้อยละ 41.4 มีความเห็นว่ามีผลกระทบใน
ทางลบ ร้อยละ 36.5 ไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 22.1 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบจากผลสำรวจครั้งนี้ คือ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ถึง
ทางออกของนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า กลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ได้เสนอทางออกกับนายกรัฐมนตรี คือ ทำงานต่อโดย
ไม่มีเงื่อนไข (ร้อยละ 39.1) ทำงานต่อโดยมีเงื่อนไข เช่น ให้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา / ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นต้น (ร้อยละ
35.2) และเสนอให้ยุบสภา และลาออกในสัดส่วนที่เท่ากัน (ร้อยละ 5.7) สำหรับกลุ่มที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอทางออก คือ ลาออก
(ร้อยละ 34.8) ยุบสภา (ร้อยละ 22.3) และทำงานต่อโดยมีเงื่อนไข (ร้อยละ 18.2) ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวว่า จากการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามสถานการณ์ทางการเมืองอย่าง
ใกล้ชิด ส่งผลให้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักจะถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เป็นได้แค่เพียงว่า ประชาชนจำนวน
มากคิดว่า การวิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ของผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตมีผลกระทบในทางลบต่อรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนที่เคยเลือก
พรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เหลือเพียงร้อยละ 40 ของคนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ที่ระบุให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อโดยไม่
มีเงื่อนไข จึงอาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งของ 19 ล้านเสียง ที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย เริ่มลังเลและสั่นคลอนความนิยมของประชาชนต่อนายก
รัฐมนตรีได้ แต่ที่เห็นได้ชัดเจน ร้อยละ 10 ของคนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรียุบสภา หรือลาออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้นายกรัฐมนตรีเร่งรีบชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ ให้แก่ประชาชนเข้าใจ และตัดสินใจดำเนินการใดๆ ก็ตาม เพื่อให้ความรู้สึกนิยม
ศรัทธาของประชาชนกลับคืนมา เช่น ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมจากกรณีการซื้อขายหุ้น และความรู้สึกที่ไม่ดีของประชาชนในการกล่าวพาดพิงสถาบัน
เบื้องสูง เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการบรรยายพิเศษของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกี่ยวกับ
คุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร (เช่น ต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้กับญาติพี่น้อง เป็นต้น)
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 70.8
2 ไม่ทราบข่าว 29.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบข่าวสมัคร-ดุสิต กล่าววิพากษ์วิจารณ์พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 74.3
2 ไม่ทราบข่าว 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตำหนิผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตในการวิจารณ์
พล.อ.เปรม ติณสูลานนนท์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรได้รับการตำหนิ 81.2
2 ไม่ควร 2.1
3 ไม่มีความเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดว่ามีบุคคลสำคัญในรัฐบาลร่วมรู้เห็นเป็นใจให้มีการวิจารณ์
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 43.9
2 ไม่คิดว่ามี 32.4
3 ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ามีผู้บริหารระดับสูงของคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์รู้เห็นเป็นใจให้มีการ
วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 52.7
2 ไม่คิดว่ามี 26.5
3 ไม่มีความเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีผลเสียต่อบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง
ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ผลเสียต่อบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีผลเสียมากที่สุด 14.8
2 มาก 48.9
3 ปานกลาง 26.4
4 น้อย 4.3
5 ไม่ส่งผลเสียเลย 0.7
6 ไม่มีความเห็น 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ที่ควรออกมารับผิดชอบต่อปัญหาผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต
วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ควรออกมารับผิดชอบ ค่าร้อยละ
1 ผู้ดำเนินรายการ 80.6
2 ผู้บริหารระดับสูงของคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์ 54.3
3 ผู้บริหารที่กำกับดูแลคลื่น 52.1
4 รัฐมนตรีที่กำกับดูแล 47.6
5 รัฐบาล 44.7
6 นายกรัฐมนตรี 36.9
7 เจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติ 21.6
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดกรณีการระงับการถ่ายทอดสดรายการสมัคร-ดุสิต
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการระงับการถ่ายทอดสด ค่าร้อยละ
1 ควร 56.1
2 ไม่ควร 8.8
3 ไม่มีความเห็น 35.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้กระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์
ของนายกรัฐมนตรีหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 กระทบในทางลบ 41.4
2 ไม่กระทบ 36.5
3 ไม่มีความเห็น 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันจำแนก
ตามกลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ทางออกของนายกรัฐมนตรี กลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทยครั้งก่อน กลุ่มที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ครั้งก่อน
(2548)ค่าร้อยละ (2548)ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อโดยมีเงื่อนไข เช่น 35.2 18.2
ให้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา /
ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน /
ให้ปรับความเข้าใจกันกับนายสนธิและ
กลุ่มที่มีแนวความคิดขัดแย้งกับรัฐบาล/
ให้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ เป็นต้น
2 ทำงานต่อโดยไม่มีเงื่อนไข 39.1 9.1
3 ยุบสภา 5.7 22.3
4 ลาออก 5.7 34.8
5 อื่นๆ อาทิ ปรับคณะรัฐมนตรี / 1.0 3.8
แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
6 ไม่มีความเห็น 13.3 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองในหลายแง่มุม ซึ่งเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนอยู่ใน
ขณะนี้นอกเนื่องจากข่าวการออกมาชุมนุมของคุณสนธิแล้วก็ยังมีข่าวที่ผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต ได้ออกมาพูดพาดพิงถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยพูดผ่านทางรายการสมัคร — ดุสิต ซึ่งทำให้หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์คำพูดของคุณสมัครที่ใช้วาจาไม่เหมาะสม
ต่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน
เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลถึงความคิดเห็นที่มีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ของผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต
ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ของผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจากการวิพากษ์วิจารณ์
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อผู้ดำเนินรายการ
สมัคร-ดุสิตที่วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,245 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 25.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.5 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.7 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อผู้
ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตที่วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่
ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,245 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2549
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้เริ่มต้นคำถามในครั้งนี้ด้วยการสอบถามถึงการทราบข่าวการบรรยายพิเศษของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกี่ยวกับคุณสมบัติที่
ดีของผู้บริหาร เช่น ต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้กับญาติพี่น้อง เป็นต้น ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.8 ทราบข่าวดังกล่าว
และร้อยละ 29.2 ไม่ทราบข่าว และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงการทราบข่าวสมัคร-ดุสิต ที่กล่าววิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พบ
ว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.3 ทราบข่าว และร้อยละ 25.7 ไม่ทราบข่าว โดยกลุ่มผู้ที่ทราบข่าวการวิพากษ์วิจารณ์ครั้งนี้ นั้น พบว่า มี
ตัวอย่างถึงร้อยละ 81.2 มีความเห็นว่าผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตควรได้รับการตำหนิ ร้อยละ 2.1 ระบุว่าไม่ควรได้รับการตำหนิ และร้อยละ
16.7 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.9 มีความคิดว่ามีบุคคลสำคัญในรัฐบาลร่วมรู้เห็นเป็นใจให้มีการวิจารณ์ พล.อ.เปรม
ติณสูลานนท์ ร้อยละ 32.4 ไม่คิดว่ามี และร้อยละ 23.7 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นที่ว่า มีผู้บริหารระดับสูงของคลื่น
วิทยุ-โทรทัศน์รู้เห็นเป็นใจให้มีการวิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือไม่ นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.7 คิดว่า
มี ร้อยละ 26.5 ไม่คิดว่ามี และร้อยละ 20.8 ไม่มีความเห็น
สำหรับผลเสียต่อบรรยากาศความขัดแย้งการเมืองของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.7 ระบุว่ามีผลเสีย
มาก-มากที่สุด ร้อยละ 26.4 ระบุระดับปานกลาง ร้อยละ 5.0 ระบุระดับน้อย-ไม่ส่งผลเสียเลย และร้อยละ 4.9 ไม่มีความเห็น
สำหรับบุคคลที่ควรออกมารับผิดชอบต่อปัญหาผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พบว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ ผู้
ดำเนินรายการ (ร้อยละ 80.6) ผู้บริหารระดับสูงของคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์ (ร้อยละ 54.3) ผู้บริหารที่กำกับดูแลคลื่น (ร้อยละ 52.1) รัฐมนตรีที่
กำกับดูแล (ร้อยละ 47.6) และรัฐบาล (ร้อยละ 44.7) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการระงับการถ่ายทอดสดรายการสมัคร-ดุสิต นั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ
56.1 มีความเห็นว่าควรระงับการถ่ายทอดสด ร้อยละ 8.8 มีความเห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 35.1 ไม่มีความเห็น
สำหรับผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ตัวอย่างร้อยละ 41.4 มีความเห็นว่ามีผลกระทบใน
ทางลบ ร้อยละ 36.5 ไม่มีผลกระทบ และร้อยละ 22.1 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบจากผลสำรวจครั้งนี้ คือ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ถึง
ทางออกของนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า กลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ได้เสนอทางออกกับนายกรัฐมนตรี คือ ทำงานต่อโดย
ไม่มีเงื่อนไข (ร้อยละ 39.1) ทำงานต่อโดยมีเงื่อนไข เช่น ให้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา / ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นต้น (ร้อยละ
35.2) และเสนอให้ยุบสภา และลาออกในสัดส่วนที่เท่ากัน (ร้อยละ 5.7) สำหรับกลุ่มที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอทางออก คือ ลาออก
(ร้อยละ 34.8) ยุบสภา (ร้อยละ 22.3) และทำงานต่อโดยมีเงื่อนไข (ร้อยละ 18.2) ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวว่า จากการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามสถานการณ์ทางการเมืองอย่าง
ใกล้ชิด ส่งผลให้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักจะถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เป็นได้แค่เพียงว่า ประชาชนจำนวน
มากคิดว่า การวิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ของผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตมีผลกระทบในทางลบต่อรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนที่เคยเลือก
พรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เหลือเพียงร้อยละ 40 ของคนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ที่ระบุให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อโดยไม่
มีเงื่อนไข จึงอาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งของ 19 ล้านเสียง ที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย เริ่มลังเลและสั่นคลอนความนิยมของประชาชนต่อนายก
รัฐมนตรีได้ แต่ที่เห็นได้ชัดเจน ร้อยละ 10 ของคนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ระบุต้องการให้นายกรัฐมนตรียุบสภา หรือลาออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้นายกรัฐมนตรีเร่งรีบชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ ให้แก่ประชาชนเข้าใจ และตัดสินใจดำเนินการใดๆ ก็ตาม เพื่อให้ความรู้สึกนิยม
ศรัทธาของประชาชนกลับคืนมา เช่น ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมจากกรณีการซื้อขายหุ้น และความรู้สึกที่ไม่ดีของประชาชนในการกล่าวพาดพิงสถาบัน
เบื้องสูง เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการบรรยายพิเศษของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกี่ยวกับ
คุณสมบัติที่ดีของผู้บริหาร (เช่น ต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้กับญาติพี่น้อง เป็นต้น)
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 70.8
2 ไม่ทราบข่าว 29.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ทราบข่าวสมัคร-ดุสิต กล่าววิพากษ์วิจารณ์พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 74.3
2 ไม่ทราบข่าว 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตำหนิผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิตในการวิจารณ์
พล.อ.เปรม ติณสูลานนนท์ (เฉพาะผู้ที่ทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรได้รับการตำหนิ 81.2
2 ไม่ควร 2.1
3 ไม่มีความเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดว่ามีบุคคลสำคัญในรัฐบาลร่วมรู้เห็นเป็นใจให้มีการวิจารณ์
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 43.9
2 ไม่คิดว่ามี 32.4
3 ไม่มีความเห็น 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่ามีผู้บริหารระดับสูงของคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์รู้เห็นเป็นใจให้มีการ
วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 52.7
2 ไม่คิดว่ามี 26.5
3 ไม่มีความเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีผลเสียต่อบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง
ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ผลเสียต่อบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีผลเสียมากที่สุด 14.8
2 มาก 48.9
3 ปานกลาง 26.4
4 น้อย 4.3
5 ไม่ส่งผลเสียเลย 0.7
6 ไม่มีความเห็น 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ที่ควรออกมารับผิดชอบต่อปัญหาผู้ดำเนินรายการสมัคร-ดุสิต
วิจารณ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ควรออกมารับผิดชอบ ค่าร้อยละ
1 ผู้ดำเนินรายการ 80.6
2 ผู้บริหารระดับสูงของคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์ 54.3
3 ผู้บริหารที่กำกับดูแลคลื่น 52.1
4 รัฐมนตรีที่กำกับดูแล 47.6
5 รัฐบาล 44.7
6 นายกรัฐมนตรี 36.9
7 เจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติ 21.6
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดกรณีการระงับการถ่ายทอดสดรายการสมัคร-ดุสิต
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการระงับการถ่ายทอดสด ค่าร้อยละ
1 ควร 56.1
2 ไม่ควร 8.8
3 ไม่มีความเห็น 35.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้กระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์
ของนายกรัฐมนตรีหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 กระทบในทางลบ 41.4
2 ไม่กระทบ 36.5
3 ไม่มีความเห็น 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันจำแนก
ตามกลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์
ลำดับที่ ทางออกของนายกรัฐมนตรี กลุ่มที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทยครั้งก่อน กลุ่มที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ครั้งก่อน
(2548)ค่าร้อยละ (2548)ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อโดยมีเงื่อนไข เช่น 35.2 18.2
ให้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา /
ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน /
ให้ปรับความเข้าใจกันกับนายสนธิและ
กลุ่มที่มีแนวความคิดขัดแย้งกับรัฐบาล/
ให้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ เป็นต้น
2 ทำงานต่อโดยไม่มีเงื่อนไข 39.1 9.1
3 ยุบสภา 5.7 22.3
4 ลาออก 5.7 34.8
5 อื่นๆ อาทิ ปรับคณะรัฐมนตรี / 1.0 3.8
แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
6 ไม่มีความเห็น 13.3 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-