เอแบคโพลล์: เสียงของสาธารณชนต่อดัชนีความเป็นผู้นำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบกับผลสำรวจเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา

ข่าวผลสำรวจ Monday February 15, 2010 07:39 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ เรื่อง เสียงของสาธารณชนต่อดัชนี ความเป็นผู้นำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปรียบเทียบกับผลสำรวจเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น พังงา และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,109 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2553 ผลการสำรวจพบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 ทราบข่าวกรณีการขว้างปาสิ่งปฏิกูลเข้าไปในบ้านพักนายกรัฐมนตรี และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 มองว่าเป็นการคุกคามนายกรัฐมนตรี และเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.1 สูญเสียความเชื่อมั่นต่อตำรวจเรื่องการรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงดัชนีความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยเปรียบเทียบกับผลสำรวจใน ช่วงเดือนสิงหาคมของปีที่ผ่านมา ในเกือบทุกตัวชี้วัดของความเป็นผู้นำในการสำรวจครั้งล่าสุดสูงกว่าผลสำรวจในช่วงเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ เช่น ด้านการควบคุมอารมณ์ได้ดี เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 73.8 และเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 86.1 ด้านความรู้ความ สามารถ เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 61.8 และเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 84.3 ด้านความเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม เดือนสิงหาคมปีที่ผ่าน มาอยู่ที่ร้อยละ 71.4 และเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 77.9 ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 68.2 และเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ ร้อย ละ 75.4 และด้านความน่าเลื่อมใสศรัทธา เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 64.9 และผลสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 74.1

นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดความเป็นผู้นำด้านอื่นๆ อีกเช่น ความเป็นนักประชาธิปไตย การให้เกียรติแกนนำรัฐบาลด้วยกัน สื่อสารได้ดีกับ ประชาชนภายในประเทศ เป็นที่ไว้วางใจได้ของประชาชน สื่อสารได้ดีกับนานาประเทศทั่วโลก เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลก การเข้าถึงจิต ใจของประชาชนได้ทุกระดับชั้น และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ที่ผลสำรวจค้นพบว่ามีจำนวนประชาชนมองตัวชี้วัดความเป็นผู้นำเหล่านี้สูงกว่าผล สำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อช่วง 5 — 6 เดือนที่ผ่านมา

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ที่มองว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเสียหาย เสียความน่าเชื่อถือ เพราะคนใกล้ชิดรอบข้าง นอกจากนี้ ผลสำรวจพบประชาชนยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.3 ที่ระบุว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีความรวดเร็ว แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน และจำนวนมากหรือร้อยละ 45.1 ที่มองว่า การแต่งตั้งโยก ย้ายข้าราชการ ให้ประโยชน์พวกพ้องของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอันตรายและเป็นสัญญาณเตือนภัยต่อสถานภาพความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ยังคิดว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ นักการเมืองบางกลุ่ม ในขณะที่เพียงร้อยละ 14.5 คิดว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น

อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.0 ยังคงเชื่อมั่นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยจะสามารถนำพาประเทศไทย ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้มากกว่า การปกครองแบบอื่น

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้น่าจะชี้ให้เห็นได้ว่า จุดแข็งด้านความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ การควบคุม อารมณ์และด้านคุณธรรม แต่จุดออ่อนที่เห็นได้ชัดเจนในผลสำรวจครั้งนี้ที่มักจะเกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีเกือบทุกคนที่ผ่านมาของประเทศไทย คือ ภาพ ลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีมักจะเสียหายเพราะกลุ่มคนใกล้ชิดรอบข้าง และความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน จึงอาจถูกมองว่าเป็น เรื่องไกลตัว อย่างไรก็ตาม ความชัดเจนของผลสำรวจครั้งนี้อีกประการหนึ่ง คือ ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่าการ ปกครองแบบอื่น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.1 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.9 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.8อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 28.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 67.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 27.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 5.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 17.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 2.0 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรับทราบข่าวเกี่ยวกับกรณีการขว้างปาสิ่งปฏิกูลเข้าไปในบ้านพักนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          ข่าวเกี่ยวกับกรณีการขว้างปาสิ่งปฏิกูลเข้าไปในบ้านพักนายกรัฐมนตรี            ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                                                            87.3
2          ไม่ทราบข่าว                                                          12.7
          รวมทั้งสิ้น                                                            100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกรณีการขว้างปาสิ่งปฏิกูลเข้าไปในบ้านพักนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                    ค่าร้อยละ
1          เป็นการคุกคามนายกรัฐมนตรี                                              79.6
2          ไม่ถือเป็นการคุกคาม                                                    14.6
3          ไม่มีความเห็น                                                          5.8
          รวมทั้งสิ้น                                                            100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีการขว้างปา
สิ่งปฏิกูลเข้าไปในบ้านพักนายกรัฐมนตรี (ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มคนที่ทราบข่าว)
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                    ค่าร้อยละ
1          ทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อตำรวจในการรักษาความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง 55.1
2          ไม่สูญเสียความเชื่อมั่น                                                   39.1
3          ไม่มีความเห็น                                                          5.8
          รวมทั้งสิ้น                                                            100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อดัชนีความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ดัชนีความเป็นผู้นำ                   สิงหาคม 2552ค่าร้อยละ       กุมภาพันธ์ 2553ค่าร้อยละ
1          ควบคุมอารมณ์ได้ดี                                73.8                    86.1
2          ความรู้ ความสามารถ                             61.8                    84.3
3          มีความเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม                      71.4                    77.9
4          ความซื่อสัตย์สุจริต                                68.2                    75.4
5          มีเสน่ห์ ดึงดูด จิตใจน่าเลื่อมใสศรัทธา                 64.9                    74.1
6          มีความเป็นนักประชาธิปไตย                         66.5                    72.5
7          การให้เกียรติแกนนำรัฐบาลด้วยกัน                    68.4                    71.5
8          เป็นที่ไว้วางใจได้ของประชาชน                      61.4                    70.0
9          ไม่ทอดทิ้งชาวบ้านเมื่อได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี           67.0                    69.1
10          สื่อสารได้ดีกับนานาประเทศทั่วโลก                   47.0                    68.9
11          สื่อสารได้ดีกับประชาชนภายในประเทศ                53.3                    68.6
12          เสียหาย เสียความน่าเชื่อถือ เพราะคนใกล้ชิดรอบข้าง       -                    65.6
13          เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลก                 45.7                    60.5
14          เข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ทุกระดับชั้น               51.3                    57.0
15          บริหารจัดการแบบมืออาชีพ                         40.2                    54.4
16          รวดเร็วฉับไว แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน        37.9                    47.3
17          แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ให้ประโยชน์พวกพ้องของตนเอง    -                    45.1

ความคลาดเคลื่อนประมาณ +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                     ค่าร้อยละ
1          คิดว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมืองบางกลุ่ม          73.4
2          คิดว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของประเทศชาติ            14.5
3          ไม่มีความเห็น                                          12.1
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยจะสามารถนำพาประเทศไทย
ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้มากกว่าการปกครองแบบอื่น
ลำดับที่          ความเชื่อมั่น                                    ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่น                                               78.0
2          ไม่เชื่อมั่น                                             16.5
3          ไม่มีความเห็น                                           5.5
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ