ที่มาของโครงการ
มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยหนึ่งในโครงสร้างสังคมที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในด้านการพัฒนา เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมของ
ปัญญาชน และองค์ความรู้ต่างๆ มหาวิทยาลัยจึงได้รับความเชื่อถือในฐานะผู้นำความคิด ชี้นำสังคม ผ่านทางงานวิจัย บทความทางวิชาการ เวที
สัมมนา เสวนา ตลอดจนการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน
ปัจจุบันบทบาทข้างต้นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอยู่ท่ามกลางระบบทุนนิยมอย่างสุดขั้ว มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องหารายได้เลี้ยงตน
เอง นอกเหนือจากการสนับสนับจากรัฐ จึงเกิดโครงการพิเศษ และกิจกรรมหารายได้ต่างๆ ในขณะเดียวกันสภาพสังคมปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหา
ต่างๆ มากมาย บางปัญหามีความรุนแรงเข้าขั้นเป็นวิกฤตการณ์ของชาติ เช่น ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไข้หวัดนก การคุกคามและ
ล่วงละเมิดทางเพศ การแพร่ระบาดของยาเสพติด เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบทุนของมหาวิทยาลัยจะกระทบต่อบทบาทด้านการพัฒนา
สังคมหรือไม่ หรือว่ามหาวิทยาลัยยังคงดำรงความเป็นสถาบันแห่งภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมอยู่ นี่เป็นคำถามที่ท้าทาย และนำมาสู่การสำรวจในครั้งนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจุดยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวม
2. เพื่อสำรวจประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวมกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ
3. ผลการสำรวจที่ได้จะสะท้อนความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพ
รวม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของ
ชาติ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จำแนกตาม
เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,174 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.8
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.5 เป็นหญิง ร้อยละ 46.5 เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0
อายุ 21-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุ 30—39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุ 40—49 ปี ร้อยละ 16.4 อายุไม่เกิน 20 ปี และร้อยละ 10.8 อายุ 50 ปี
ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 42.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย /
ปวช.ร้อยละ 16.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 7.6 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.0 สำเร็จ
การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 38.4 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.4 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ
15.5 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 10.5 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 5.8 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้เกษียณอายุ ร้อยละ 5.3 อาชีพข้า
ราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 1.1 ไม่ระบุอาชีพ รวมทั้งว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยกับ
การแก้ไขวิกฤตการณ์ของประเทศ” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,174 ตัวอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวมกับการร่วมแก้ไข
ปัญหาของประเทศชาติ ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
จากการสำรวจความคิดเห็นต่อปัญหาที่เป็นวิกฤตการณ์ของชาติมากที่สุด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.2 ระบุปัญหา 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ / ปัญหาความมั่นคงของชาติ รองลงมาร้อยละ 17.8 ระบุปัญหาความยากจน และร้อยละ 11.3 ระบุปัญหาราคาน้ำมันแพง ตาม
ลำดับ
จากการประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พบว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงด้าน
เดียวที่ตัวอย่างประเมินให้ “ผ่าน” ด้วยสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 (ร้อยละ 58.1) ในทางตรงกันข้ามพบว่ามีถึง 4 ด้านที่ได้รับการประเมินให้ “ไม่
ผ่าน” ด้วยสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 68.7) ความยากจน (ร้อยละ 65.5) การคุกคาม
และล่วงละเมิดทางเพศ (ร้อยละ 61.2) และการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 58.8) ตามลำดับ
การสำรวจความคาดหวังต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวม ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ ตามแนวทางต่างๆ
พบว่า การส่งเสริมให้นักศึกษาตั้งชมรมหรือรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ตัวอย่(ร้อยละ 76.9) การทำวิจัยเพื่อหา
สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 76.1) การกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่สนองตอบต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ (ร้อยละ 72.3) การ
ผลิตบัณฑิตเฉพาะทางที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ (ร้อยละ 70.9) การแจ้งเตือนภัยโดยแสดงความเห็นหรือข้อมูลทางวิชาการให้
สังคมตระหนักถึงวิกฤตการณ์ปัญหา (ร้อยละ 70.7) การจัดเวทีเสวนา / สัมมนาถึงวิกฤตการณ์ปัญหาและทางออก (ร้อยละ 67.3) การเสนอแนะ
แนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐบาล (ร้อยละ 65.9) และการเข้ามาทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา อาทิ ร่วมเป็นคณะทำงาน ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษา
ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ (ร้อยละ 62.1)
เมื่อให้ตัวอย่างเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อจุดมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยโดยภาพรวม ในด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจกับ
การผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมนั้น พบว่า ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 50.7 คิดว่ามหาวิทยาลัยมุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า ในขณะ
ที่ร้อยละ 26.8 เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมมากกว่า โดยร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น
ในส่วนสุดท้าย ตัวอย่างได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการแสดงบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวม ซึ่งเห็นว่า มหาวิทยาลัยใน
ประเทศไทยควรเพิ่มบทบาทมากที่สุดในด้านการเพิ่มพูนความรู้ และคุณภาพการศึกษา (ร้อยละ 37.6) รองลงมาคือการส่งเสริมจริยธรรม / ศีลธรรม
ให้กับนักศึกษา (ร้อยละ 11.7) และการควบคุมเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาให้ถูกระเบียบ และมีความเหมาะสม (ร้อยละ 10.5) ตามลำดับ ใน
ทางตรงกันข้าม มหาวิทยาลัยในประเทศไทยควรลดบทบาทมากที่สุด ในด้านการกำหนดกฎระเบียบการควบคุมการแต่งกายของนักศึกษา (ร้อยละ
29.4) รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยเฉพาะการรับน้องใหม่ (ร้อยละ 26.9) และการเรียกเก็บค่าหน่วยกิตแพง (ร้อยละ 17.1) ตาม
ลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาของประเทศที่วิกฤตมากที่สุดในทรรศนะประชาชน
ลำดับที่ ปัญหาของประเทศที่วิกฤตมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 40.2
2 ปัญหาความยากจน 17.8
3 ปัญหาราคาน้ำมันแพง 11.3
4 ปัญหายาเสพติด 8.2
5 ปัญหาคอรัปชั่น 5.1
6 ปัญหาไข้หวัดนก / โรคระบาด 4.6
7 อื่นๆ อาทิ ค่าครองชีพสูง ปัญหาจราจร ปัญหาการเมือง ปัญหาเด็กและเยาวชน 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมในการ
แก้กับการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ลำดับที่ ปัญหา ความคิดเห็นในการประเมินบทบาทของ รวมทั้งสิ้น
มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
สอบผ่าน สอบไม่ผ่าน ไม่มีความเห็น
1 การปฏิรูปทางการศึกษา 58.1 31.0 10.9 100.0
2 การวิจัยหาพลังงานทดแทน 49.5 30.5 20.0 100.0
3 การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 45.8 39.6 14.6 100.0
4 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 44.1 48.6 7.3 100.0
5 การปฏิรูปทางการเมือง 38.8 40.3 20.9 100.0
6 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 38.1 41.2 20.7 100.0
7 ไข้หวัดนก 30.8 49.3 19.9 100.0
8 การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ 28.6 61.2 10.2 100.0
9 การแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 23.3 58.8 17.9 100.0
10 ความยากจน 18.1 65.5 16.4 100.0
11 ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 17.7 68.7 13.6 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวัง ต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมกับการแก้ไข
วิกฤตการณ์ของชาติ ตามแนวทางต่างๆ
-แนวทางของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ คาดหวัง ไม่คาดหวัง รวมทั้งสิ้น
-การส่งเสริมให้นักศึกษาตั้งชมรมหรือรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา 76.9 23.1 100.0
-การทำวิจัยเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา 76.1 23.9 100.0
-การกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่สนองตอบต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ 72.3 27.7 100.0
-การผลิตบัณฑิตเฉพาะทางที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ 70.9 29.1 100.0
-การแจ้งเตือนภัยโดยแสดงความเห็นหรือข้อมูลทางวิชาการให้สังคมตระหนักถึงวิกฤตการณ์ปัญหา 70.7 29.3 100.0
-การจัดเวทีเสวนา / สัมมนาถึงวิกฤตการณ์ปัญหาและทางออก 67.3 32.7 100.0
-การเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐบาล 65.9 34.1 100.0
-การเข้ามาทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา อาทิ ร่วมเป็นคณะทำงาน ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษา-
ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ 62.1 37.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบจุดมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
ในด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจกับการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม
ลำดับที่ เปรียบเทียบจุดมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 มุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า 50.7
2 มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมมากกว่า 26.8
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
ควรปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด
ลำดับที่ บทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมควรปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การเพิ่มพูนความรู้ และคุณภาพการศึกษา 37.6
2 การส่งเสริมจริยธรรม / ศีลธรรมให้กับนักศึกษา 11.7
3 การควบคุมเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาให้ถูกระเบียบ และมีความเหมาะสม 10.5
4 การปฏิรูปการศึกษา 9.5
5 การแก้ปัญหาสังคม และความมั่นคง 8.6
6 การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง 7.0
7 การให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ยากจน 3.1
8 การแก้ไขปราบปรามยาเสพติด 2.4
9 อื่นๆ อาทิ การส่งเสริมเทคโนโลยี พัฒนาเศรษฐกิจ เป็นปากเป็นเสียง
แทนประชาชน แก้ปัญหาเรื่องวัยรุ่นตีกัน / นักศึกษามั่วสุม 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
ควรปรับลดลงมากที่สุด
ลำดับที่ บทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมควรปรับลดลงมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การกำหนดกฎระเบียบการควบคุมการแต่งกายของนักศึกษา 29.4
2 การจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยเฉพาะการรับน้องใหม่ 26.9
3 การเรียกเก็บค่าหน่วยกิตแพง 17.1
4 การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 12.1
5 ความเข้มงวดกวดขันในเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา อาทิ การใช้จ่ายเงิน 8.1
6 การโฆษณาชวนเชื่อของมหาวิทยาลัย 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยหนึ่งในโครงสร้างสังคมที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในด้านการพัฒนา เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมของ
ปัญญาชน และองค์ความรู้ต่างๆ มหาวิทยาลัยจึงได้รับความเชื่อถือในฐานะผู้นำความคิด ชี้นำสังคม ผ่านทางงานวิจัย บทความทางวิชาการ เวที
สัมมนา เสวนา ตลอดจนการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน
ปัจจุบันบทบาทข้างต้นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอยู่ท่ามกลางระบบทุนนิยมอย่างสุดขั้ว มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องหารายได้เลี้ยงตน
เอง นอกเหนือจากการสนับสนับจากรัฐ จึงเกิดโครงการพิเศษ และกิจกรรมหารายได้ต่างๆ ในขณะเดียวกันสภาพสังคมปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหา
ต่างๆ มากมาย บางปัญหามีความรุนแรงเข้าขั้นเป็นวิกฤตการณ์ของชาติ เช่น ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไข้หวัดนก การคุกคามและ
ล่วงละเมิดทางเพศ การแพร่ระบาดของยาเสพติด เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบทุนของมหาวิทยาลัยจะกระทบต่อบทบาทด้านการพัฒนา
สังคมหรือไม่ หรือว่ามหาวิทยาลัยยังคงดำรงความเป็นสถาบันแห่งภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมอยู่ นี่เป็นคำถามที่ท้าทาย และนำมาสู่การสำรวจในครั้งนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจุดยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวม
2. เพื่อสำรวจประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวมกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ
3. ผลการสำรวจที่ได้จะสะท้อนความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพ
รวม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของ
ชาติ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จำแนกตาม
เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,174 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.8
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.5 เป็นหญิง ร้อยละ 46.5 เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 28.0
อายุ 21-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุ 30—39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุ 40—49 ปี ร้อยละ 16.4 อายุไม่เกิน 20 ปี และร้อยละ 10.8 อายุ 50 ปี
ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 42.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย /
ปวช.ร้อยละ 16.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 7.6 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.0 สำเร็จ
การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 38.4 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.4 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ
15.5 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 10.5 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 5.8 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้เกษียณอายุ ร้อยละ 5.3 อาชีพข้า
ราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 1.1 ไม่ระบุอาชีพ รวมทั้งว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยกับ
การแก้ไขวิกฤตการณ์ของประเทศ” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,174 ตัวอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวมกับการร่วมแก้ไข
ปัญหาของประเทศชาติ ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
จากการสำรวจความคิดเห็นต่อปัญหาที่เป็นวิกฤตการณ์ของชาติมากที่สุด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.2 ระบุปัญหา 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ / ปัญหาความมั่นคงของชาติ รองลงมาร้อยละ 17.8 ระบุปัญหาความยากจน และร้อยละ 11.3 ระบุปัญหาราคาน้ำมันแพง ตาม
ลำดับ
จากการประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พบว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงด้าน
เดียวที่ตัวอย่างประเมินให้ “ผ่าน” ด้วยสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 (ร้อยละ 58.1) ในทางตรงกันข้ามพบว่ามีถึง 4 ด้านที่ได้รับการประเมินให้ “ไม่
ผ่าน” ด้วยสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 68.7) ความยากจน (ร้อยละ 65.5) การคุกคาม
และล่วงละเมิดทางเพศ (ร้อยละ 61.2) และการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 58.8) ตามลำดับ
การสำรวจความคาดหวังต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวม ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ ตามแนวทางต่างๆ
พบว่า การส่งเสริมให้นักศึกษาตั้งชมรมหรือรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ตัวอย่(ร้อยละ 76.9) การทำวิจัยเพื่อหา
สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา (ร้อยละ 76.1) การกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่สนองตอบต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ (ร้อยละ 72.3) การ
ผลิตบัณฑิตเฉพาะทางที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ (ร้อยละ 70.9) การแจ้งเตือนภัยโดยแสดงความเห็นหรือข้อมูลทางวิชาการให้
สังคมตระหนักถึงวิกฤตการณ์ปัญหา (ร้อยละ 70.7) การจัดเวทีเสวนา / สัมมนาถึงวิกฤตการณ์ปัญหาและทางออก (ร้อยละ 67.3) การเสนอแนะ
แนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐบาล (ร้อยละ 65.9) และการเข้ามาทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา อาทิ ร่วมเป็นคณะทำงาน ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษา
ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ (ร้อยละ 62.1)
เมื่อให้ตัวอย่างเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อจุดมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยโดยภาพรวม ในด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจกับ
การผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมนั้น พบว่า ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 50.7 คิดว่ามหาวิทยาลัยมุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า ในขณะ
ที่ร้อยละ 26.8 เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมมากกว่า โดยร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น
ในส่วนสุดท้าย ตัวอย่างได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการแสดงบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยภาพรวม ซึ่งเห็นว่า มหาวิทยาลัยใน
ประเทศไทยควรเพิ่มบทบาทมากที่สุดในด้านการเพิ่มพูนความรู้ และคุณภาพการศึกษา (ร้อยละ 37.6) รองลงมาคือการส่งเสริมจริยธรรม / ศีลธรรม
ให้กับนักศึกษา (ร้อยละ 11.7) และการควบคุมเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาให้ถูกระเบียบ และมีความเหมาะสม (ร้อยละ 10.5) ตามลำดับ ใน
ทางตรงกันข้าม มหาวิทยาลัยในประเทศไทยควรลดบทบาทมากที่สุด ในด้านการกำหนดกฎระเบียบการควบคุมการแต่งกายของนักศึกษา (ร้อยละ
29.4) รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยเฉพาะการรับน้องใหม่ (ร้อยละ 26.9) และการเรียกเก็บค่าหน่วยกิตแพง (ร้อยละ 17.1) ตาม
ลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาของประเทศที่วิกฤตมากที่สุดในทรรศนะประชาชน
ลำดับที่ ปัญหาของประเทศที่วิกฤตมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 40.2
2 ปัญหาความยากจน 17.8
3 ปัญหาราคาน้ำมันแพง 11.3
4 ปัญหายาเสพติด 8.2
5 ปัญหาคอรัปชั่น 5.1
6 ปัญหาไข้หวัดนก / โรคระบาด 4.6
7 อื่นๆ อาทิ ค่าครองชีพสูง ปัญหาจราจร ปัญหาการเมือง ปัญหาเด็กและเยาวชน 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประเมินบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมในการ
แก้กับการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ลำดับที่ ปัญหา ความคิดเห็นในการประเมินบทบาทของ รวมทั้งสิ้น
มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
สอบผ่าน สอบไม่ผ่าน ไม่มีความเห็น
1 การปฏิรูปทางการศึกษา 58.1 31.0 10.9 100.0
2 การวิจัยหาพลังงานทดแทน 49.5 30.5 20.0 100.0
3 การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 45.8 39.6 14.6 100.0
4 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 44.1 48.6 7.3 100.0
5 การปฏิรูปทางการเมือง 38.8 40.3 20.9 100.0
6 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 38.1 41.2 20.7 100.0
7 ไข้หวัดนก 30.8 49.3 19.9 100.0
8 การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ 28.6 61.2 10.2 100.0
9 การแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 23.3 58.8 17.9 100.0
10 ความยากจน 18.1 65.5 16.4 100.0
11 ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 17.7 68.7 13.6 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวัง ต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมกับการแก้ไข
วิกฤตการณ์ของชาติ ตามแนวทางต่างๆ
-แนวทางของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ คาดหวัง ไม่คาดหวัง รวมทั้งสิ้น
-การส่งเสริมให้นักศึกษาตั้งชมรมหรือรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา 76.9 23.1 100.0
-การทำวิจัยเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา 76.1 23.9 100.0
-การกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่สนองตอบต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ 72.3 27.7 100.0
-การผลิตบัณฑิตเฉพาะทางที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติ 70.9 29.1 100.0
-การแจ้งเตือนภัยโดยแสดงความเห็นหรือข้อมูลทางวิชาการให้สังคมตระหนักถึงวิกฤตการณ์ปัญหา 70.7 29.3 100.0
-การจัดเวทีเสวนา / สัมมนาถึงวิกฤตการณ์ปัญหาและทางออก 67.3 32.7 100.0
-การเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐบาล 65.9 34.1 100.0
-การเข้ามาทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา อาทิ ร่วมเป็นคณะทำงาน ร่วมเป็นคณะที่ปรึกษา-
ร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือ 62.1 37.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเปรียบเทียบจุดมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
ในด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจกับการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคม
ลำดับที่ เปรียบเทียบจุดมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 มุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่า 50.7
2 มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมมากกว่า 26.8
3 ไม่มีความเห็น 22.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
ควรปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด
ลำดับที่ บทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมควรปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การเพิ่มพูนความรู้ และคุณภาพการศึกษา 37.6
2 การส่งเสริมจริยธรรม / ศีลธรรมให้กับนักศึกษา 11.7
3 การควบคุมเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาให้ถูกระเบียบ และมีความเหมาะสม 10.5
4 การปฏิรูปการศึกษา 9.5
5 การแก้ปัญหาสังคม และความมั่นคง 8.6
6 การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง 7.0
7 การให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ยากจน 3.1
8 การแก้ไขปราบปรามยาเสพติด 2.4
9 อื่นๆ อาทิ การส่งเสริมเทคโนโลยี พัฒนาเศรษฐกิจ เป็นปากเป็นเสียง
แทนประชาชน แก้ปัญหาเรื่องวัยรุ่นตีกัน / นักศึกษามั่วสุม 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวม
ควรปรับลดลงมากที่สุด
ลำดับที่ บทบาทที่มหาวิทยาลัยในประเทศโดยภาพรวมควรปรับลดลงมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การกำหนดกฎระเบียบการควบคุมการแต่งกายของนักศึกษา 29.4
2 การจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยเฉพาะการรับน้องใหม่ 26.9
3 การเรียกเก็บค่าหน่วยกิตแพง 17.1
4 การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 12.1
5 ความเข้มงวดกวดขันในเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา อาทิ การใช้จ่ายเงิน 8.1
6 การโฆษณาชวนเชื่อของมหาวิทยาลัย 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-