ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง เสียงจากประชาชนว่าด้วย
นโยบายห้ามโฆษณาเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,289 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้
เมื่อสอบถามถึงการพบเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อต่างๆ ในรอบ 7 วันที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุพบ
เห็นผ่านทางโทรทัศน์ ร้อยละ 32.0 ระบุพบเห็นทางหนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์ต่างๆ ร้อยละ 17.9 พบเห็นทางป้าย/คัทเอาท์/ป้ายกลางแจ้ง ร้อยละ
14.7 พบเห็นทางโปสเตอร์ และร้อยละ 14.1 ระบุได้รับฟังทางวิทยุ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ การทะเลาะวิวาท การ
ใช้ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุ และปัญหาคุกคามทางเพศ หรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 คิดว่าเป็น
สาเหตุ โดยจำแนกเป็นร้อยละ 49.8 คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญ และร้อยละ 44.2 คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ ในขณะที่ มีเพียงร้อยละ 4.7 คิดว่าไม่
ใช่สาเหตุสำคัญ และร้อยละ 1.3 ไม่คิดว่าเป็นสาเหตุ
เมื่อจำแนกออกระหว่างกลุ่มผู้ดื่มเหล้าเบียร์ กับผู้ไม่ดื่ม ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.1 ยอมรับว่าเหล้า เบียร์ เป็น
สาเหตุของปัญหาการทะเลาะวิวาท ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุและการคุกคามทางเพศ ในขณะที่ส่วนใหญ่เช่นเดียวกันหรือร้อยละ 95.4 ของกลุ่ม
ประชาชนที่ไม่ดื่มก็คิดเห็นตรงกันว่าเหล้า เบียร์ เป็นสาเหตุของปัญหาสังคม
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีจะมีการออกกฎหมายห้ามโฆษณา เหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมงนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.9 ระบุเห็นด้วย เพราะมีผลชี้ชวนเด็กและเยาวชนให้อยากลอง มอมเมาเยาวชน เป็นห่วงคุณภาพเยาวชน การห้ามโฆษณา
น่าจะสามารถควบคุมจำนวนคนดื่มได้ และการสนับสนุนให้ดื่มสุราเมรัยเป็นสิ่งที่ผิดหลักคำสอนทางศาสนา ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ระบุไม่เห็นด้วย เมื่อ
จำแนกออกระหว่างกลุ่มผู้ดื่มกับผู้ไม่ดื่ม พบประเด็นที่น่าพิจารณาคือ แม้แต่ในกลุ่มคนที่ดื่มเกินครึ่งหรือร้อยละ 51.0 ยังเห็นด้วยกับการห้ามโฆษณาในขณะที่
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 ของประชาชนที่ไม่ดื่มระบุเห็นด้วยกับการห้ามโฆษณาเหล้า เบียร์ตลอด 24 ชั่วโมง
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีการฮั้วกัน(การสมยอมผลประโยชน์) ระหว่างรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มนาย
ทุน เพื่อเอื้อผลประโยชน์ในการขายเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.4 ระบุเชื่อว่ามีการฮั้วกัน ในขณะที่ร้อย
ละ 20.2 ระบุไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 33.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อสภานิติบัญญัติว่าจะออกกฎหมายเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของนายทุนหรือไม่นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 15.0 ระบุเชื่อมั่น ร้อยละ 20.7 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 39.2 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 11.9 ระบุไม่
เชื่อมั่น และร้อยละ 13.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามถึงความหวังของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการตัดสินใจปกป้องสุขภาพประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.7 ระบุ
เริ่มรู้สึกไม่มีความหวัง ร้อยละ 27.1 ยังมีความหวังอยู่ และที่เหลือร้อยละ 26.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเริ่มรู้สึกได้ถึงความไม่ชัดเจนในท่าทีของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะตัดสินใจ
อย่างไรระหว่างการห้ามโฆษณาสุราเมรัยผ่านสื่อต่างๆ กับผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มนายทุนที่ขายสิ่งมึนเมาให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนที่
หลงใหลติดเหล้า เบียร์ ไวน์ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐจึงต้องหนักแน่นไม่โอนอ่อนผ่อนปรนกับสิ่งที่เห็นได้ชัดๆ ว่าเหล้าเบียร์เป็นต้นเหตุหรือส่วนหนึ่งของ
ต้นเหตุแห่งอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท ความรุนแรง อาชญากรรม ยาเสพติด การคุกคามทางเพศ และปัญหาสังคมอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำ
คือ “อย่าเหยียบเรือสองแคม” เพราะเรือจะล่มได้ อย่าทำตัวแบบรัฐบาลชุดก่อนๆ ในลักษณะ “ปากว่าตาขยิบ” อย่าหลอกประชาชน อย่าหลอก
ว่า “ฟ้าเปิด” เพราะถ้าประชาชนผิดหวังครั้งนี้จะเป็นความผิดหวังที่ยากจะเยียวยาใหม่ได้ นี่คืออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่ถูกศึกษาและเป็นสัญญาณ
เตือนภัยต่อเสถียรภาพของรัฐบาลที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้นมากหลังจากรัฐบาลชุดนี้เข้าสู่อำนาจฝ่ายบริหารของประเทศ
“สิ่งที่น่าวิตกคือ ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่กำลังเรียนรู้ระบบการเมือง ถ้าพบว่านโยบายที่สวยหรูเป็นเพียงลมปากจากผู้นำรัฐบาลทุกรัฐบาล
โดยไม่เห็นแตกต่างกันระหว่างระดับคุณธรรมของรัฐบาลจากการแต่งตั้งกับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ประชาชนก็จะไม่อยากมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบาย
แห่งรัฐ การที่รัฐบาลกู่เรียกสุดเสียงว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็จะไม่เกิดผล ดังนั้นการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจที่ท้าทายหลักธร
รมาภิบาลและคุณภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่างแท้จริง ผู้นำรัฐบาลและกลุ่มอำนาจที่อายุมากทั้งหลายเปรียบเสมือนไม้ใกล้ฝั่งจึงควรสร้างระบบป้องกัน
และรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนในช่วงนี้ไว้ และอนาคตข้างหน้าพวกเขาจะตอบแทนบุญคุณผู้ใหญ่ในสังคมคนอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐ ส่วนพวก
ท่านที่อยู่ในอำนาจขณะนี้คงมีลูกหลานดูแลความอยู่เย็นเป็นสุขในวัยชราของพวกท่านอยู่แล้ว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมง
3. เพื่อสำรวจของประชาชนต่อรัฐบาลในการออกกฏหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 24 ชั่วโมง
4. เพื่อสำรวจของประชาชนต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการออกกฏหมายเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง เสียงจากประชาชนว่าด้วยนโยบายห้ามโฆษณาเหล้า
และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,289 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.1 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 15.7 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 15.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.4 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.0 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 31.7 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.7 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.8 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละละ 32.8 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่พบเห็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 74.0
2 หนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์ 32.0
3 ป้าย/คัทเอาท์/ป้ายกลางแจ้ง 17.9
4 โปสเตอร์ 14.7
5 วิทยุ 14.1
6 อินเทอร์เน็ต 6.2
7 อื่นๆ 1.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคม
ต่างๆ อาทิ การทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุ และปัญหาคุกคามทางเพศ
ลำดับที่ การเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญ 49.8
2 คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ 44.2
3 คิดว่าไม่ใช่สาเหตุสำคัญ 4.7
4 ไม่คิดว่าเป็นสาเหตุเลย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคม
ต่างๆ อาทิ การทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุ และปัญหาคุกคามทางเพศ
จำแนกตามพฤติกรรมการดื่ม
การเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มค่าร้อยละ ไม่ดื่มค่าร้อยละ
1. คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญ 39.2 58.8
2. คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ 52.9 36.6
3. คิดว่าไม่ใช่สาเหตุสำคัญ 6.0 3.6
4. ไม่คิดว่าเป็นสาเหตุเลย 1.9 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีกฎหมายห้ามโฆษณาเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 60.9
2 ไม่เห็นด้วย 39.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่เห็นด้วย ได้ระบุเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การโฆษณามีผลชี้ชวนให้เด็กและเยาวชนอยากลอง /มอมเมาเยาวชน
2. ถ้าไม่มีการโฆษณาก็จะไม่มีการกระตุ้นให้คนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. เป็นห่วงคุณภาพเยาวชน
4. ไม่ต้องการให้เด็กๆ หรือบุตรหลานเห็น
5. น่าจะสามารถควบคุมจำนวนคนดื่มได้ / ทำให้คนดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง
6. การสนับสนุนให้ดื่มสุราเมรัยเป็นสิ่งที่ผิดหลักคำสอนทางศาสนา
ตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วย ได้ระบุเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
2. โฆษณาไม่มีผลต่อการดื่ม
3. การโฆษณาเป็นสิ่งสร้างสรรค์สังคม
4. ไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นเหตุ
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน
สื่อตลอด 24 ชั่วโมง จำแนกตามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมง ดื่มค่าร้อยละ ไม่ดื่มค่าร้อยละ
1. เห็นด้วย 51.0 69.4
2. ไม่เห็นด้วย 49.0 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อว่าจะมีการสมยอมผลประโยชน์กันระหว่างรัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และกลุ่มนายทุน เพื่อเอื้อผลประโยชน์ในการขายเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการฮั้วกัน (มีการสมยอมผลประโยชน์กัน) 46.4
2 ไม่เชื่อว่ามี 20.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 33.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อสภานิติบัญญัติในการออกกฎหมายเพื่อดูแลสุขภาพของ
ประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของนายทุน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อสภานิติบัญญัติ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 15.0
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 20.7
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.2
4 ไม่เชื่อมั่น 11.9
5 ไม่มีความเห็น 13.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวังต่อรัฐบาลในการตัดสินใจเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน
ลำดับที่ ความหวังต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ยังมีความหวังอยู่ 27.1
2 เริ่มรู้สึกไม่มีความหวัง 46.7
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
นโยบายห้ามโฆษณาเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,289 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้
เมื่อสอบถามถึงการพบเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อต่างๆ ในรอบ 7 วันที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 ระบุพบ
เห็นผ่านทางโทรทัศน์ ร้อยละ 32.0 ระบุพบเห็นทางหนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์ต่างๆ ร้อยละ 17.9 พบเห็นทางป้าย/คัทเอาท์/ป้ายกลางแจ้ง ร้อยละ
14.7 พบเห็นทางโปสเตอร์ และร้อยละ 14.1 ระบุได้รับฟังทางวิทยุ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ การทะเลาะวิวาท การ
ใช้ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุ และปัญหาคุกคามทางเพศ หรือไม่นั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 คิดว่าเป็น
สาเหตุ โดยจำแนกเป็นร้อยละ 49.8 คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญ และร้อยละ 44.2 คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ ในขณะที่ มีเพียงร้อยละ 4.7 คิดว่าไม่
ใช่สาเหตุสำคัญ และร้อยละ 1.3 ไม่คิดว่าเป็นสาเหตุ
เมื่อจำแนกออกระหว่างกลุ่มผู้ดื่มเหล้าเบียร์ กับผู้ไม่ดื่ม ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.1 ยอมรับว่าเหล้า เบียร์ เป็น
สาเหตุของปัญหาการทะเลาะวิวาท ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุและการคุกคามทางเพศ ในขณะที่ส่วนใหญ่เช่นเดียวกันหรือร้อยละ 95.4 ของกลุ่ม
ประชาชนที่ไม่ดื่มก็คิดเห็นตรงกันว่าเหล้า เบียร์ เป็นสาเหตุของปัญหาสังคม
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีจะมีการออกกฎหมายห้ามโฆษณา เหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมงนั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.9 ระบุเห็นด้วย เพราะมีผลชี้ชวนเด็กและเยาวชนให้อยากลอง มอมเมาเยาวชน เป็นห่วงคุณภาพเยาวชน การห้ามโฆษณา
น่าจะสามารถควบคุมจำนวนคนดื่มได้ และการสนับสนุนให้ดื่มสุราเมรัยเป็นสิ่งที่ผิดหลักคำสอนทางศาสนา ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ระบุไม่เห็นด้วย เมื่อ
จำแนกออกระหว่างกลุ่มผู้ดื่มกับผู้ไม่ดื่ม พบประเด็นที่น่าพิจารณาคือ แม้แต่ในกลุ่มคนที่ดื่มเกินครึ่งหรือร้อยละ 51.0 ยังเห็นด้วยกับการห้ามโฆษณาในขณะที่
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 ของประชาชนที่ไม่ดื่มระบุเห็นด้วยกับการห้ามโฆษณาเหล้า เบียร์ตลอด 24 ชั่วโมง
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีการฮั้วกัน(การสมยอมผลประโยชน์) ระหว่างรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มนาย
ทุน เพื่อเอื้อผลประโยชน์ในการขายเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.4 ระบุเชื่อว่ามีการฮั้วกัน ในขณะที่ร้อย
ละ 20.2 ระบุไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 33.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อสภานิติบัญญัติว่าจะออกกฎหมายเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของนายทุนหรือไม่นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 15.0 ระบุเชื่อมั่น ร้อยละ 20.7 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 39.2 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 11.9 ระบุไม่
เชื่อมั่น และร้อยละ 13.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อสอบถามถึงความหวังของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการตัดสินใจปกป้องสุขภาพประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.7 ระบุ
เริ่มรู้สึกไม่มีความหวัง ร้อยละ 27.1 ยังมีความหวังอยู่ และที่เหลือร้อยละ 26.2 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเริ่มรู้สึกได้ถึงความไม่ชัดเจนในท่าทีของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะตัดสินใจ
อย่างไรระหว่างการห้ามโฆษณาสุราเมรัยผ่านสื่อต่างๆ กับผลประโยชน์มหาศาลของกลุ่มนายทุนที่ขายสิ่งมึนเมาให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนที่
หลงใหลติดเหล้า เบียร์ ไวน์ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐจึงต้องหนักแน่นไม่โอนอ่อนผ่อนปรนกับสิ่งที่เห็นได้ชัดๆ ว่าเหล้าเบียร์เป็นต้นเหตุหรือส่วนหนึ่งของ
ต้นเหตุแห่งอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท ความรุนแรง อาชญากรรม ยาเสพติด การคุกคามทางเพศ และปัญหาสังคมอื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำ
คือ “อย่าเหยียบเรือสองแคม” เพราะเรือจะล่มได้ อย่าทำตัวแบบรัฐบาลชุดก่อนๆ ในลักษณะ “ปากว่าตาขยิบ” อย่าหลอกประชาชน อย่าหลอก
ว่า “ฟ้าเปิด” เพราะถ้าประชาชนผิดหวังครั้งนี้จะเป็นความผิดหวังที่ยากจะเยียวยาใหม่ได้ นี่คืออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่ถูกศึกษาและเป็นสัญญาณ
เตือนภัยต่อเสถียรภาพของรัฐบาลที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้นมากหลังจากรัฐบาลชุดนี้เข้าสู่อำนาจฝ่ายบริหารของประเทศ
“สิ่งที่น่าวิตกคือ ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่กำลังเรียนรู้ระบบการเมือง ถ้าพบว่านโยบายที่สวยหรูเป็นเพียงลมปากจากผู้นำรัฐบาลทุกรัฐบาล
โดยไม่เห็นแตกต่างกันระหว่างระดับคุณธรรมของรัฐบาลจากการแต่งตั้งกับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ประชาชนก็จะไม่อยากมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบาย
แห่งรัฐ การที่รัฐบาลกู่เรียกสุดเสียงว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็จะไม่เกิดผล ดังนั้นการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจที่ท้าทายหลักธร
รมาภิบาลและคุณภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่างแท้จริง ผู้นำรัฐบาลและกลุ่มอำนาจที่อายุมากทั้งหลายเปรียบเสมือนไม้ใกล้ฝั่งจึงควรสร้างระบบป้องกัน
และรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนในช่วงนี้ไว้ และอนาคตข้างหน้าพวกเขาจะตอบแทนบุญคุณผู้ใหญ่ในสังคมคนอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐ ส่วนพวก
ท่านที่อยู่ในอำนาจขณะนี้คงมีลูกหลานดูแลความอยู่เย็นเป็นสุขในวัยชราของพวกท่านอยู่แล้ว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมง
3. เพื่อสำรวจของประชาชนต่อรัฐบาลในการออกกฏหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอด 24 ชั่วโมง
4. เพื่อสำรวจของประชาชนต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการออกกฏหมายเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง เสียงจากประชาชนว่าด้วยนโยบายห้ามโฆษณาเหล้า
และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนที่อายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,289 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 30.1 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 15.7 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 15.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
ร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 13.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.4 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 2.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.0 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 31.7 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.7 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.8 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละละ 32.8 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่พบเห็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 74.0
2 หนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์ 32.0
3 ป้าย/คัทเอาท์/ป้ายกลางแจ้ง 17.9
4 โปสเตอร์ 14.7
5 วิทยุ 14.1
6 อินเทอร์เน็ต 6.2
7 อื่นๆ 1.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคม
ต่างๆ อาทิ การทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุ และปัญหาคุกคามทางเพศ
ลำดับที่ การเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญ 49.8
2 คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ 44.2
3 คิดว่าไม่ใช่สาเหตุสำคัญ 4.7
4 ไม่คิดว่าเป็นสาเหตุเลย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคม
ต่างๆ อาทิ การทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง ยาเสพติด อุบัติเหตุ และปัญหาคุกคามทางเพศ
จำแนกตามพฤติกรรมการดื่ม
การเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มค่าร้อยละ ไม่ดื่มค่าร้อยละ
1. คิดว่าเป็นสาเหตุสำคัญ 39.2 58.8
2. คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ 52.9 36.6
3. คิดว่าไม่ใช่สาเหตุสำคัญ 6.0 3.6
4. ไม่คิดว่าเป็นสาเหตุเลย 1.9 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีกฎหมายห้ามโฆษณาเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 60.9
2 ไม่เห็นด้วย 39.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่เห็นด้วย ได้ระบุเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การโฆษณามีผลชี้ชวนให้เด็กและเยาวชนอยากลอง /มอมเมาเยาวชน
2. ถ้าไม่มีการโฆษณาก็จะไม่มีการกระตุ้นให้คนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. เป็นห่วงคุณภาพเยาวชน
4. ไม่ต้องการให้เด็กๆ หรือบุตรหลานเห็น
5. น่าจะสามารถควบคุมจำนวนคนดื่มได้ / ทำให้คนดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง
6. การสนับสนุนให้ดื่มสุราเมรัยเป็นสิ่งที่ผิดหลักคำสอนทางศาสนา
ตัวอย่างที่ไม่เห็นด้วย ได้ระบุเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
2. โฆษณาไม่มีผลต่อการดื่ม
3. การโฆษณาเป็นสิ่งสร้างสรรค์สังคม
4. ไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นเหตุ
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน
สื่อตลอด 24 ชั่วโมง จำแนกตามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อตลอด 24 ชั่วโมง ดื่มค่าร้อยละ ไม่ดื่มค่าร้อยละ
1. เห็นด้วย 51.0 69.4
2. ไม่เห็นด้วย 49.0 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อว่าจะมีการสมยอมผลประโยชน์กันระหว่างรัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และกลุ่มนายทุน เพื่อเอื้อผลประโยชน์ในการขายเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการฮั้วกัน (มีการสมยอมผลประโยชน์กัน) 46.4
2 ไม่เชื่อว่ามี 20.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 33.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อสภานิติบัญญัติในการออกกฎหมายเพื่อดูแลสุขภาพของ
ประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของนายทุน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อสภานิติบัญญัติ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 15.0
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 20.7
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.2
4 ไม่เชื่อมั่น 11.9
5 ไม่มีความเห็น 13.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวังต่อรัฐบาลในการตัดสินใจเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน
ลำดับที่ ความหวังต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ยังมีความหวังอยู่ 27.1
2 เริ่มรู้สึกไม่มีความหวัง 46.7
3 ไม่มีความเห็น 26.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-