เอแบคโพลล์: เสียงสะท้อนของกลุ่มพลังเงียบ ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต่อ กระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดียึดทรัพย์ของนักการเมือง

ข่าวผลสำรวจ Thursday February 25, 2010 08:52 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เสียงสะท้อนของ กลุ่มพลังเงียบ ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต่อกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดียึดทรัพย์ของนักการเมือง :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่พักอาศัยใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เป็นการสำรวจด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในระดับครัวเรือนตามหลักสถิติ โดยครั้งนี้มีตัวอย่างในการสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,106 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 — 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 83.0 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วัน ต่อสัปดาห์ และเมื่อพิจารณาจุดยืนทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 21.2 ระบุจุดยืนทางการเมืองของตนคือสนับสนุนรัฐบาลชุด ปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 18.6 ระบุไม่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.2 ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ)

ดร.นพดล กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือพลังเงียบ ถึงสิ่งต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมในการ พิจารณาคดียึดทรัพย์ของนักการเมือง ภายหลังมีข่าวลือสินบนให้แก่กลุ่มบุคคลในกระบวนการยุติธรรม พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 ระบุไม่ มีผลกระทบและยังคงเชื่อมั่นในความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุมีผลกระทบทำให้ ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 24.1 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุเชื่อมั่นในความเป็นอิสระ/ไม่ถูกแทรกแซงของกระบวนการ พิจารณาคดีต่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 21.0 ไม่เชื่อมั่นและร้อยละ 25.2 ไม่ระบุความคิดเห็น

และประเด็นที่น่าพิจารณาคือตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 หรือส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 ของตัวอย่างในกลุ่มพลังเงียบมีความเชื่อมั่น/กล้าพูด ได้อย่างเต็มที่ว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนได้มากกว่ากระบวนการยุติธรรมในหลายๆ ประเทศในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 21.4 ไม่ระบุความคิดเห็น

สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างในกลุ่มพลังเงียบต่อการยอมรับคำพิจารณาของกระบวนการยุติธรรมในคดียึดทรัพย์ของนักการเมืองนั้นพบ ว่า ร้อยละ 61.4 ระบุควรยอมรับคำพิจารณา ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุไม่ควรยอมรับ และ ร้อยละ 18.4 ไม่มีความเห็น

นอกจากนี้กลุ่มพลังเงียบโดยส่วนใหญ่คือร้อยละ 87.6 เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะเจริญเติบโตมากกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ถ้าคน ไทยรักและสามัคคี ช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสุข ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 12.4 เท่านั้นที่ไม่เชื่อมั่นว่าจะเป็นเช่นนั้น

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า หลายฝ่ายเมื่อเห็นผลสำรวจนี้แล้วอาจรู้สึกว่า ประชาชนที่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศมี มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่เชื่อมั่น แต่หากมองอีกด้านหนึ่งในทางสถิติพอจะสรุปได้ด้วยว่า กลุ่มคนไม่เชื่อมั่นมีจำนวนมากพอที่จะเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของ บ้านเมืองได้ ดังนั้น คณะบุคคลในกระบวนการยุติธรรมจำเป็นต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นให้กับสาธาณชนด้วยการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและบริสุทธิ์ยุติธรรม เพื่อหยุดยั้งความวุ่นวายในสังคมและเป็นเสาหลักสำคัญที่คอยค้ำจุนประเทศอย่างยั่งยืน เพราะถ้าสถาบันต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเป็นไปในทิศทาง ที่ถูกต้องแล้ว จะได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากทุกกลุ่มของสังคมโดยไม่แบ่งแยกสีใดๆ และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็พร้อมจะก้าวต่อไปข้างหน้า อย่างมีความหวังที่จะพบความสุขในชีวิตของพวกเขา

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 55.6 ระบุเป็นหญิง

ในขณะที่ร้อยละ 44.4 ระบุ เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.3 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี

ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี

ร้อยละ 20.0 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี

และร้อยละ 29.8 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 48.3 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า

ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.

ร้อยละ 10.3 สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.

ร้อยละ 14.6 สำเร็จการระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.2 ระบุธุรกิจส่วนตัว/อาชีพค้าขาย

ร้อยละ 25.9 ระบุรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา

และร้อยละ 2.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                  51.1
2          3-4 วัน/สัปดาห์                                   20.0
3          1-2 วัน/สัปดาห์                                   11.9
4          น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์                              12.2
5          ไม่ได้ติดตาม                                       4.8
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดยืนทางการเมืองของตนเองในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองของตนเองในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน          ค่าร้อยละ
1          สนับสนุนรัฐบาลปัจจุบัน                                           21.2
2          ไม่สนับสนุน                                                   18.6
3          ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ)                                        60.2
          รวมทั้งสิ้น                                                    100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นในความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม ภายหลัง
ข่าวลือสินบนให้แก่กลุ่มบุคคลในกระบวนการยุติธรรม  (เฉพาะกลุ่มพลังเงียบ)
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นในความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม    ค่าร้อยละ
1          ไม่มีผลกระทบ และยังคงเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม                              52.9
2          มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น                                                   23.0
3          ไม่มีความเห็น                                                            24.1
          รวมทั้งสิ้น                                                               100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในความเป็นอิสระ/ไม่ถูกแทรกแซงของกระบวนการพิจารณาคดีต่างๆ
(เฉพาะกลุ่มพลังเงียบ)
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นในความเป็นอิสระ/ไม่ถูกแทรกแซงของกระบวนการพิจารณาคดีต่างๆ      ค่าร้อยละ
1          ยังคงเชื่อมั่น                                                             53.8
2          ไม่เชื่อมั่น                                                               21.0
3          ไม่มีความเห็น                                                            25.2
          รวมทั้งสิ้น                                                               100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่น/กล้าพูดได้เต็มที่ว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย มีความน่าเชื่อถือให้
ความเป็นธรรมแก่ประชาชนได้มากกว่ากระบวนการยุติธรรมในหลายๆ ประเทศในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
(เฉพาะกลุ่มพลังเงียบ)
ลำดับที่          ความเชื่อมั่น                                  ค่าร้อยละ
1          ยังคงเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมไทย                    60.5
2          ไม่เชื่อมั่น                                          18.1
3          ไม่มีความเห็น                                       21.4
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการยอมรับคำพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม ในคดียึดทรัพย์ของ
นักการเมือง (เฉพาะกลุ่มพลังเงียบ)
ลำดับที่          ความคิดเห็น                         ค่าร้อยละ
1          ควรยอมรับ                                61.4
2          ไม่ควรยอมรับ                              20.2
3          ไม่มีความเห็น                              18.4
          รวมทั้งสิ้น                                 100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อความเจริญเติบโตของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอื่นๆ ใน
ภูมิภาคนี้ ถ้าคนไทยรักและสามัคคี ช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสุข (เฉพาะกลุ่มพลังเงียบ)
ลำดับที่          ความเชื่อมั่นต่อความเจริญเติบโตของประเทศไทย                            ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะเจริญเติบโตมากกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้
           ถ้าคนไทยรักและสามัคคีกันช่วยกันทำให้บ้านเมืองสงบสุข                              87.6
3          ไม่เชื่อมั่น                                                               12.4
          รวมทั้งสิ้น                                                               100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ