ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในหลายๆด้าน
โดยเฉพาะพฤติกรรมการติดตามข่าวสารที่พบว่าประชาชนหันมาสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองมากอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ เหตุการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ เช่น การรวมตัวกันของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านที่จะไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง การชุมนุมของฝ่ายที่สนับสนุนและไม่สนับ
สนุนนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น ก็กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ รวมถึงความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะ
เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤตการเมืองต่อความตั้งใจของ
ประชาชนในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
วันที่ 18 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,552 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 21.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ผลกระทบของวิกฤตการเมืองต่อความตั้งใจของ
ประชาชนในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,552 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 18 มีนาคม 2549
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ72.2 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุก
วัน ในขณะที่ร้อยละ 14.6 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 10.7 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 2.5 ไม่ได้ติดตามเลย
ดร.นพดล กล่าวว่า สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน นี้นั้นพบว่า ตัวอย่างประชาชน
จำนวนมากหรือร้อยละ 39.5 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 30.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 30.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึง
การเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 2 เมษายน 2549 นี้ นั้นพบว่า ประชาชนไม่ถึงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 43.1 ระบุไปแน่นอน ร้อยละ 39.8 ระบุยังไม่แน่
ใจ และร้อยละ 17.1 ระบุไม่ไปเลือกตั้งแน่นอน โดยกลุ่มคนที่ไม่แน่ใจและไม่ไปแน่นอน ให้เหตุผลว่า เบื่อการเมือง / พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่
ส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้ง / ไม่เกิดประโยชน์ / รู้สึกว่าไม่มีมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นต้น และในกลุ่มคนที่ตอบว่าจะไปเลือกตั้งแน่นอน ทางคณะผู้
วิจัยได้ถามต่อไปว่า ถ้าคุณคิดว่าพรรคที่คุณตั้งใจจะไปเลือกชนะการเลือกตั้งแน่นอน คุณยังจะไปเลือกตั้งอีกหรือไม่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนไม่ถึง
ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.8 ของคนที่จะไปเลือกตั้งนั้น ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง ถ้าพรรคที่ตั้งใจจะไปเลือกชนะการเลือกตั้งแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 37.1
ระบุยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 15.1 ระบุว่าไม่ไป
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นี้นั้น
ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 31.2 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งสัดส่วนของคนที่เห็นด้วย กับ
ไม่เห็นด้วย ไม่แตกต่างกับผลสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 49 ผลการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ประชาชนยังไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่
ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ทำการชี้แจงให้กับประชาชนทราบถึงเหตุผลแล้ว
สำหรับความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.7 ระบุไปทิศทางเชื่อมั่นต่อ
ความบริสุทธิ์ยุติธรรม (เชื่อมั่น ร้อยละ 27.4 และค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 17.3) ในขณะที่ร้อยละ 42.3 ระบุไปในทิศทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อ
มั่น ร้อยละ 26.7 และไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 15.6) และร้อยละ 13.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจในครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนจำนวนมากยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะให้ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการ
เลือกตั้งเป็นรายบุคคลได้ แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งคงต้องทำงานให้หนักขึ้นและแสดงภาพลักษณ์ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าจะวางตัว
เป็นกลางอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประชาชนมีความเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ คิดเป็นร้อยละ 36.0 ต่อ 19.5 ประชาชนเชื่อ
มั่นและไม่เชื่อมั่นต่อนายปริญญา นาคฉัตรีย์ คิดเป็นร้อยละ 32.4 ต่อ 19.4 ประชาชนเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อ พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ คิดเป็น
ร้อยละ 32.1 ต่อ 18.2 และประชาชนเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อนาย วีระชัย แนวบุญเนียร คิดเป็นร้อยละ 31.7 ต่อ 18.4 ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.1 ระบุควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน
ขณะที่ร้อยละ 16.2 ระบุไม่ควรแก้ไข และร้อยละ 45.7 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการ
ปฏิรูปการเมืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 37.2 ระบุสนับสนุน ร้อยละ 11.8 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ
3.8 ระบุไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 25.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวโดยสรุปว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองขณะนี้ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งลังเลที่จะไป
เลือกตั้ง และบางส่วนยืนยันว่าจะไม่ไปแน่นอน นอกจากนี้ ปัจจัยทางการเมืองยังส่งผลทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องการที่จะให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้ง
ออกไป และต้องการให้พรรคร่วมฝ่ายค้านกลับเข้ามาสู่สนามการเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มคนที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ารู้ว่าพรรคที่ตนเองชอบจะชนะ
การเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ลังเลว่าจะไป และบางส่วนไม่คิดว่าจะไป
และดร.นพดล ยังกล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้กับสถาบันการเมือง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า
จะเป็นรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ ให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ
ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งกลับคืนมา และการเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งในกลุ่มประชาชนเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป
การเมืองสำเร็จลุล่วงไปได้ ตามความต้องการของประชาชน และให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 72.2
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 14.6
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 10.7
4 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ/ต้องหาข้อยุติให้ได้ก่อน/
ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น / อยากให้เจรจาตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน 39.5
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ... ช้าเกินไปทำให้เสียเวลาในการพัฒนาประเทศ/เลือกวันไหนก็เหมือนกัน/
ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหา 30.2
3 ไม่มีความเห็น 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไป 43.1
2 ไม่แน่ใจ 39.8
3 ไม่ไป 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการไปเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. หากคาดว่าพรรคที่ชอบจะชนะ
การเลือกตั้งแน่นอน (เฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้งแน่นอน)
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไป 47.8
2 ไม่แน่ใจ 37.1
3 ไม่ไป 15.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความคิดเห็นกรณีพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับ
เลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น 25 ก.พ. 49ค่าร้อยละ 1 มี.ค.49ค่าร้อยละ 19 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.6 21.2 21.7
2 ไม่เห็นด้วย 74.1 46.3 47.1
3 ไม่มีความเห็น 12.3 32.5 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งที่จะมาถึง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งที่จะมาถึง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 27.4
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 17.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 26.7
4 ไม่เชื่อมั่น 15.6
5 ไม่มีความเห็น 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในการวางตัวเป็นกลางของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ 36.0 19.5 44.5 100.0
2. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ 32.4 19.4 48.2 100.0
3. พล.อ. จารุภัทร เรืองสุวรรณ 32.1 18.2 49.7 100.0
4. นายวีระชัย แนวบุญเนียร 31.7 18.4 49.9 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการแก้ไข เพราะ...จะได้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างสมบูรณ์/ทำให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย/
อยากให้การเมืองไทยพัฒนาขึ้น และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขโดยเร็ว 38.1
2 ไม่ควร เพราะ ของเดิมดีอยู่แล้ว/ยังไม่ถึงเวลา/อาจทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมาอีก 16.2
3 ไม่มีความเห็น 45.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการเมือง ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 21.7
2 สนับสนุน 37.2
3 ไม่สนับสนุน 11.8
4 ไม่สนับสนุนเลย 3.8
5 ไม่มีความเห็น 25.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในหลายๆด้าน
โดยเฉพาะพฤติกรรมการติดตามข่าวสารที่พบว่าประชาชนหันมาสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองมากอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ เหตุการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ เช่น การรวมตัวกันของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านที่จะไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง การชุมนุมของฝ่ายที่สนับสนุนและไม่สนับ
สนุนนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้น ก็กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
สถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ รวมถึงความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะ
เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤตการเมืองต่อความตั้งใจของ
ประชาชนในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
วันที่ 18 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,552 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 26.7 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 21.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ผลกระทบของวิกฤตการเมืองต่อความตั้งใจของ
ประชาชนในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,552 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 18 มีนาคม 2549
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ72.2 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุก
วัน ในขณะที่ร้อยละ 14.6 ระบุติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 10.7 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 2.5 ไม่ได้ติดตามเลย
ดร.นพดล กล่าวว่า สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน นี้นั้นพบว่า ตัวอย่างประชาชน
จำนวนมากหรือร้อยละ 39.5 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 30.2 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 30.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึง
การเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 2 เมษายน 2549 นี้ นั้นพบว่า ประชาชนไม่ถึงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 43.1 ระบุไปแน่นอน ร้อยละ 39.8 ระบุยังไม่แน่
ใจ และร้อยละ 17.1 ระบุไม่ไปเลือกตั้งแน่นอน โดยกลุ่มคนที่ไม่แน่ใจและไม่ไปแน่นอน ให้เหตุผลว่า เบื่อการเมือง / พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่
ส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้ง / ไม่เกิดประโยชน์ / รู้สึกว่าไม่มีมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นต้น และในกลุ่มคนที่ตอบว่าจะไปเลือกตั้งแน่นอน ทางคณะผู้
วิจัยได้ถามต่อไปว่า ถ้าคุณคิดว่าพรรคที่คุณตั้งใจจะไปเลือกชนะการเลือกตั้งแน่นอน คุณยังจะไปเลือกตั้งอีกหรือไม่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนไม่ถึง
ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.8 ของคนที่จะไปเลือกตั้งนั้น ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง ถ้าพรรคที่ตั้งใจจะไปเลือกชนะการเลือกตั้งแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 37.1
ระบุยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 15.1 ระบุว่าไม่ไป
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นี้นั้น
ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 31.2 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งสัดส่วนของคนที่เห็นด้วย กับ
ไม่เห็นด้วย ไม่แตกต่างกับผลสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 49 ผลการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ประชาชนยังไม่เห็นด้วยกับการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่
ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ทำการชี้แจงให้กับประชาชนทราบถึงเหตุผลแล้ว
สำหรับความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.7 ระบุไปทิศทางเชื่อมั่นต่อ
ความบริสุทธิ์ยุติธรรม (เชื่อมั่น ร้อยละ 27.4 และค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 17.3) ในขณะที่ร้อยละ 42.3 ระบุไปในทิศทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อ
มั่น ร้อยละ 26.7 และไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 15.6) และร้อยละ 13.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจในครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนจำนวนมากยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะให้ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการ
เลือกตั้งเป็นรายบุคคลได้ แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งคงต้องทำงานให้หนักขึ้นและแสดงภาพลักษณ์ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าจะวางตัว
เป็นกลางอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประชาชนมีความเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ คิดเป็นร้อยละ 36.0 ต่อ 19.5 ประชาชนเชื่อ
มั่นและไม่เชื่อมั่นต่อนายปริญญา นาคฉัตรีย์ คิดเป็นร้อยละ 32.4 ต่อ 19.4 ประชาชนเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อ พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ คิดเป็น
ร้อยละ 32.1 ต่อ 18.2 และประชาชนเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อนาย วีระชัย แนวบุญเนียร คิดเป็นร้อยละ 31.7 ต่อ 18.4 ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.1 ระบุควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน
ขณะที่ร้อยละ 16.2 ระบุไม่ควรแก้ไข และร้อยละ 45.7 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการ
ปฏิรูปการเมืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุสนับสนุนอย่างยิ่ง ร้อยละ 37.2 ระบุสนับสนุน ร้อยละ 11.8 ระบุไม่สนับสนุน ร้อยละ
3.8 ระบุไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 25.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวโดยสรุปว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองขณะนี้ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งลังเลที่จะไป
เลือกตั้ง และบางส่วนยืนยันว่าจะไม่ไปแน่นอน นอกจากนี้ ปัจจัยทางการเมืองยังส่งผลทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องการที่จะให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้ง
ออกไป และต้องการให้พรรคร่วมฝ่ายค้านกลับเข้ามาสู่สนามการเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มคนที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ารู้ว่าพรรคที่ตนเองชอบจะชนะ
การเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ลังเลว่าจะไป และบางส่วนไม่คิดว่าจะไป
และดร.นพดล ยังกล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้กับสถาบันการเมือง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า
จะเป็นรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ ให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ
ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งกลับคืนมา และการเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งในกลุ่มประชาชนเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป
การเมืองสำเร็จลุล่วงไปได้ ตามความต้องการของประชาชน และให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 72.2
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 14.6
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 10.7
4 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่จะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ/ต้องหาข้อยุติให้ได้ก่อน/
ทุกพรรคจะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น / อยากให้เจรจาตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน 39.5
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ... ช้าเกินไปทำให้เสียเวลาในการพัฒนาประเทศ/เลือกวันไหนก็เหมือนกัน/
ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหา 30.2
3 ไม่มีความเห็น 30.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไป 43.1
2 ไม่แน่ใจ 39.8
3 ไม่ไป 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการไปเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. หากคาดว่าพรรคที่ชอบจะชนะ
การเลือกตั้งแน่นอน (เฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะไปเลือกตั้งแน่นอน)
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไป 47.8
2 ไม่แน่ใจ 37.1
3 ไม่ไป 15.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความคิดเห็นกรณีพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับ
เลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็น 25 ก.พ. 49ค่าร้อยละ 1 มี.ค.49ค่าร้อยละ 19 มี.ค.49ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.6 21.2 21.7
2 ไม่เห็นด้วย 74.1 46.3 47.1
3 ไม่มีความเห็น 12.3 32.5 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งที่จะมาถึง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งที่จะมาถึง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 27.4
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 17.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 26.7
4 ไม่เชื่อมั่น 15.6
5 ไม่มีความเห็น 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในการวางตัวเป็นกลางของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1.พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ 36.0 19.5 44.5 100.0
2. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ 32.4 19.4 48.2 100.0
3. พล.อ. จารุภัทร เรืองสุวรรณ 32.1 18.2 49.7 100.0
4. นายวีระชัย แนวบุญเนียร 31.7 18.4 49.9 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการแก้ไข เพราะ...จะได้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างสมบูรณ์/ทำให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย/
อยากให้การเมืองไทยพัฒนาขึ้น และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขโดยเร็ว 38.1
2 ไม่ควร เพราะ ของเดิมดีอยู่แล้ว/ยังไม่ถึงเวลา/อาจทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมาอีก 16.2
3 ไม่มีความเห็น 45.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการเมือง ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 21.7
2 สนับสนุน 37.2
3 ไม่สนับสนุน 11.8
4 ไม่สนับสนุนเลย 3.8
5 ไม่มีความเห็น 25.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-