ที่มาของโครงการ
ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงและรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุด
ใหม่ ส่งผลให้ความร้อนแรงทางการเมืองคลี่คลายได้ในระยะสั้น แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นในสังคมโดยเฉพาะเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เริ่มสั่น
คลอน โดยดูจาก ภาวะราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มจะชะลอตัว ย่อมส่งผลทำให้การเมืองที่ดูเหมือนจะคลี่คลาย
ไปกลับมาได้รับผลกระทบในทางลบตามไปด้วย
ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองขณะนี้จึงตกเป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนให้ความสนใจติดตามเพราะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของ
ประชาชนโดยตรง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
ข่าวเศรษฐกิจ ภาวะราคาสินค้า / บริการ และบุคคลที่น่าจะเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายเศรษฐกิจ และภาวะราคาสินค้า / บริการ
2. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับราคาสินค้า / บริการต่างๆ
4. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความสนใจติดตามข่าวเศรษฐกิจ ราคาสินค้า/
บริการ และบุคคลที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในสายตาของสาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 20 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,614 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +/-ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.6อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.5 ระบุเกษตรกร
และร้อยละ 0.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “ความสนใจติดตามข่าวเศรษฐกิจ ราคาสินค้า/
บริการ และบุคคลที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในสายตาของสาธารณชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,614 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 17 - 20 เมษายน
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.4 ติดตามข่าวเศรษฐกิจบ่อยๆ ตั้งแต่ 3 — 4 วันต่อสัปดาห์จนถึงติดตามทุกวัน ซึ่งข่าวที่
ประชาชนให้ความสนใจติดตาม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ติดตามข่าวการขึ้นราคาน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 65.8 ติดตามข่าวการขึ้นราคาค่า
โดยสาร ขสมก. ร้อยละ 57.4 ติดตามข่าวการขึ้นราคาค่าโดยสาร บขส. ร้อยละ 52.1 ติดตามข่าวราคาทองคำ ร้อยละ 46.1 ติดตามข่าวภาวะ
ขาดแคลนน้ำตาลทราย ร้อยละ 37.6 ติดตามข่าวค่าเงินบาท ร้อยละ 35.2 ติดตามข่าวราคาน้ำอัดลม ร้อยละ 34.7 ติดตามข่าวค่าเทอมโรงเรียน
เอกชน ร้อยละ 34.5 ติดตามข่าวดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้ และร้อยละ 30.7 ติดตามข่าวเศรษฐกิจถดถอย-รัฐบาลถังแตก ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงนโยบายนำสินค้าเกษตรของไทยไปแลกซื้อสิ้นค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ผลสำรวจพบว่า เกินกว่าครึ่ง
หนึ่งหรือร้อยละ 54.7 สนับสนุนนโยบายดังกล่าวในขณะที่ร้อยละ 19.9 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับการรณรงค์ให้คนไทยลดการไปเที่ยวต่างประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.9 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ
11.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการจัด 10 อันดับประเภทสินค้าและบริการที่ประชาชนเห็นว่า “ควรขึ้นราคา” ซึ่งเรียงอันดับดังนี้
อันดับที่ 1 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (น้ำเมา)ทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ คิดเป็นร้อยละ 76.3
อันดับที่ 2 บุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 75.3
อันดับที่ 3 ค่าบริการสถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ อาบอบนวด คิดเป็นร้อยละ 57.5
อันดับที่ 4 ขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 39.9
อันดับที่ 5 ราคาอาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟูด) เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ คิดเป็นร้อยละ 37.7
อันดับที่ 6 ราคาเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ กำไล คิดเป็นร้อยละ 25.5
อันดับที่ 7 ราคาน้ำอัดลม คิดเป็นร้อยละ 21.7
อันดับที่ 8 ราคาเครื่องสำอาง คิดเป็นร้อยละ 18.7
อันดับที่ 9 ราคาโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 17.9
อันดับที่ 10 ราคาคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์ไอที คิดเป็นร้อยละ 7.2
สำหรับ ผลการจัด 10 อันดับประเภทสินค้าและบริการที่ประชาชนเห็นว่า “ไม่ควรขึ้นราคา” เรียงอันดับดังนี้
อันดับที่ 1 ค่าไฟฟ้า ร้อยละ 77.2
อันดับที่ 2 วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น หมู ไก่ เนื้อ น้ำตาล เป็นต้น ร้อยละ 76.9
อันดับที่ 3 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 75.1
อันดับที่ 4 ค่าเทอม ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ร้อยละ 71.2
อันดับที่ 5 ค่าน้ำประปา ร้อยละ 70.4
อันดับที่ 6 ค่าอาหารข้าวแกง ร้อยละ 67.1
อันดับที่ 7 ค่าโดยสารรถประจำทาง ขสมก. ร้อยละ 61.7
อันดับที่ 8 ค่าบริการโทรศัพท์ ร้อยละ 56.1
อันดับที่ 9 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ร้อยละ 42.1
อันดับที่ 10 ค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง ร้อยละ 40.0
“ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลยต่อความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยให้เหตุผลว่า เพราะราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น รายได้เท่าเดิม ราคาน้ำมันสูงขึ้น การ
เมืองไม่มีความชัดเจน และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นแบบเครือข่าย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 คิดว่าการตัดสินใจลงทุนในโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่หรือเมกกะโปรเจคควรรอรัฐบาลใหม่หลังปฏิรูปการเมืองเสร็จแล้วเป็นผู้ตัดสินใจ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่คือร้อยละ 87.3 เห็นด้วย
ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.8 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.7 เห็นว่าบรรดานักการ
เมืองยังไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพราะยังมีการออกไปเที่ยวต่างประเทศ ใช้รถยนต์ราคาสูงๆ และของฟุ่มเฟือยอื่นๆ อีก
มากมาย ในขณะที่ร้อยละ 26.8 เห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว และร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น เมื่อทำการสอบถามถึงบุคคลที่ประชาชนเห็นว่าเป็น
แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลการจัดอันดับ พบว่า
อันดับที่ 1 ได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คิดเป็นร้อยละ 65.3
อันดับที่ 2 ได้แก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล คิดเป็นร้อยละ 58.2
อันดับที่ 3 ได้แก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คิดเป็นร้อยละ 54.7
อันดับที่ 4 ได้แก่ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 44.9
อันดับที่ 5 ได้แก่ นายชวน หลีกภัย คิดเป็นร้อยละ 38.0
อันดับที่ 6 ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน คิดเป็นร้อยละ 32.8
อันดับที่ 7 ได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร คิดเป็นร้อยละ 28.8
อันดับที่ 8 ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คิดเป็นร้อยละ 18.2
อันดับที่ 9 ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดเป็นร้อยละ 15.3
อันดับที่ 10 ได้แก่ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ คิดเป็นร้อยละ 14.2
ดร.นพดล กล่าวว่า ข้อมูลผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายต่างๆ อย่างน้อยสามฝ่าย คือ กลุ่มคนชั้นนำของสังคม กลุ่มข้าราชการ
หน่วยงานที่เกี่ยวกับค่าครองชีพของประชาชน และกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งกลุ่มคนชนชั้นนำของสังคมมักจะมีโอกาสที่จะปรากฎตัวในสื่อมวลชน แสดงให้
สาธารณชนเห็นมากกว่าคนทั่วไป การแสดงตนให้สาธารณชนแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดการรับรู้ และประชาชนบางกลุ่มอาจจะรับเอารูปแบบการใช้ชีวิตของ
คนชั้นนำในสังคมมาเป็นแนวทางปฏิบัติลอกเลียนแบบได้ง่าย พฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัวจึงมักปรากฎให้เห็นอยู่เป็นประจำ ในผลวิจัยวิถีชีวิตของคน
ไทยหลายครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน
“ถึงแม้ว่าประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่จะเห็นว่า แนวทางการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะช่วยป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจาก
สภาวะเศรษฐกิจผันผวนและไม่มั่นคงเช่นนี้ได้ แต่เมื่อมองแบบอย่างของกลุ่มนักการเมืองและแนวทางในการใช้ชีวิตของพวกเขาแล้ว ประชาชนเห็นว่า
ยังไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการใช้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และการ
ใช้รถยนต์ที่ราคาสูงเกินความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า บุคคลสำคัญที่ประชาชนเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอ
เพียงอันดับต้นๆ ได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และ
นายชวน หลีกภัย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายว่า ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการขึ้นราคาสินค้าและบริการนั้น พบว่ามีสินค้าและบริการหลายอย่างที่
ประชาชนไม่อยากให้ขึ้นราคา อาทิ ค่าไฟฟ้า วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น หมู ไก่ เนื้อ ไข่ ข้าวสาร น้ำตาล ราคาน้ำมัน ค่าเทอมและอุปกรณ์
การเรียน ค่าน้ำประปา และอาหารข้าวแกง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า มีสินค้าและบริการหลายรายการเช่นกัน ที่ประชาชนอยากให้ขึ้น
ราคา อาทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำเมา บุหรี่ ค่าบริการของสถานบริการเช่น ผับ บาร์ อาบอบนวดต่างๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 43.4
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 23.0
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 19.3
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 3.6
5 ไม่ได้ติดตาม 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของข่าวเศรษฐกิจที่สนใจติดตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของข่าวเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
1 ข่าวการขึ้นราคาน้ำมัน 87.1
2 ข่าวการขึ้นราคารถโดยสาร ขสมก. 65.8
3 ข่าวการขึ้นราคารถโดยสาร บขส. 57.4
4 ข่าวความเคลื่อนไหวของราคาทองคำ 52.1
5 ข่าวภาวะขาดแคลนน้ำตาล 46.1
6 ข่าวค่าเงินบาท 37.6
7 ข่าวการขึ้นราคาน้ำอัดลม 35.2
8 ข่าวการขึ้นค่าเทอมโรงเรียนเอกชน 34.7
9 ข่าวอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก — เงินกู้ 34.5
10 ข่าวเศรษฐกิจถดถอย — รัฐบาลถังแตก 30.7
11 ข่าวภาวะเงินเฟ้อ 24.5
12 ข่าวโครงการเมกกะโปรเจค 22.2
13 ข่าวความเคลื่อนไหวเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ 21.9
14 ข่าวภาวะตลาดหุ้น 15.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการสนับสนุนนโยบาย “นำสินค้าเกษตรของ
ไทยไปแลกซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ”
ลำดับที่ การสนับสนุนนโยบาย ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 54.7
2 ไม่สนับสนุน 19.9
3 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการรณรงค์ให้ “คนไทยลดการไปเที่ยว
ต่างประเทศ”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.9
2 ไม่เห็นด้วย 11.2
3 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสินค้า / บริการที่ควรขึ้นราคา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสินค้า / บริการที่ควรขึ้นราคา ค่าร้อยละ
1 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ 76.3
2 บุหรี่ 75.3
3 ค่าบริการตามสถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ อาบอบนวด 57.5
4 ขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ 39.9
5 ราคาอาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟูด) เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ 37.7
6 ราคาเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ กำไล 25.5
7 ราคาน้ำอัดลม 21.7
8 ราคาเครื่องสำอาง 18.7
9 ราคาโทรศัพท์มือถือ 17.9
10 คอมพิวเตอร์ / ไอที 7.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสินค้า / บริการที่ไม่ควรขึ้นราคา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสินค้า / บริการที่ไม่ควรขึ้นราคา ค่าร้อยละ
1 ค่าไฟฟ้า 77.2
2 วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น หมู ไก่ เนื้อ ไข่ ข้าวสาร น้ำตาล เป็นต้น 76.9
3 ราคาน้ำมัน 75.1
4 ค่าเทอม หนังสือและอุปกรณ์การเรียน 71.2
5 ค่าน้ำประปา 70.4
6 อาหารข้าวแกง 67.1
7 ค่าโดยสารรถประจำทาง ขสมก. 61.7
8 ค่าบริการโทรศัพท์ 56.1
9 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 42.1
10 ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง 40.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6
เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 10.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 14.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 44.1
4 ไม่เชื่อมั่น 14.6
5 ไม่มีความเห็น 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ: สำหรับเหตุผลที่ทำให้ไม่เชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเพราะ
- ราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น แต่รายได้เท่าเดิม
- ราคาน้ำมันสูงขึ้น
- การใช้จ่ายเกินตัวของคนไทย
- การเมืองไม่มีความชัดเจน
- การลงทุนชะลอตัว และ
- ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นแบบเครือข่าย
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตัดสินใจลงทุนในโครงการเมกกะโปรเจค
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลรักษาการควรตัดสินใจลงทุน 17.4
2 ควรรอรัฐบาลใหม่หลังปฏิรูปการเมืองเสร็จแล้วเป็นผู้ตัดสินใจ 82.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 87.3
2 ไม่เห็นด้วย 3.9
3 ไม่มีความเห็น 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของ
บรรดานักการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว 26.8
2 ยังไม่เป็นแบบอย่างที่ดี เพราะยังมีการออกไปเที่ยวต่างประเทศ
ใช้รถยนต์ราคาแพงๆ และของฟุ่มเฟือยอื่นๆ อีกมาก 57.7
3 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ประชาชนเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง (ตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ ผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละ
1 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 65.3
2 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล 58.2
3 พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ 54.7
4 ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 44.9
5 นายชวน หลีกภัย 38.0
6 นายอานันท์ ปันยารชุน 32.8
7 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 28.8
8 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 18.2
9 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 15.3
10 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 14.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงและรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุด
ใหม่ ส่งผลให้ความร้อนแรงทางการเมืองคลี่คลายได้ในระยะสั้น แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นในสังคมโดยเฉพาะเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เริ่มสั่น
คลอน โดยดูจาก ภาวะราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มจะชะลอตัว ย่อมส่งผลทำให้การเมืองที่ดูเหมือนจะคลี่คลาย
ไปกลับมาได้รับผลกระทบในทางลบตามไปด้วย
ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองขณะนี้จึงตกเป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนให้ความสนใจติดตามเพราะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของ
ประชาชนโดยตรง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
ข่าวเศรษฐกิจ ภาวะราคาสินค้า / บริการ และบุคคลที่น่าจะเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายเศรษฐกิจ และภาวะราคาสินค้า / บริการ
2. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับราคาสินค้า / บริการต่างๆ
4. เพื่อสำรวจและทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความสนใจติดตามข่าวเศรษฐกิจ ราคาสินค้า/
บริการ และบุคคลที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในสายตาของสาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 20 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,614 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +/-ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 22.6อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.4 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.5 ระบุเกษตรกร
และร้อยละ 0.3 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “ความสนใจติดตามข่าวเศรษฐกิจ ราคาสินค้า/
บริการ และบุคคลที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในสายตาของสาธารณชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,614 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 17 - 20 เมษายน
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เป็นดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.4 ติดตามข่าวเศรษฐกิจบ่อยๆ ตั้งแต่ 3 — 4 วันต่อสัปดาห์จนถึงติดตามทุกวัน ซึ่งข่าวที่
ประชาชนให้ความสนใจติดตาม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ติดตามข่าวการขึ้นราคาน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 65.8 ติดตามข่าวการขึ้นราคาค่า
โดยสาร ขสมก. ร้อยละ 57.4 ติดตามข่าวการขึ้นราคาค่าโดยสาร บขส. ร้อยละ 52.1 ติดตามข่าวราคาทองคำ ร้อยละ 46.1 ติดตามข่าวภาวะ
ขาดแคลนน้ำตาลทราย ร้อยละ 37.6 ติดตามข่าวค่าเงินบาท ร้อยละ 35.2 ติดตามข่าวราคาน้ำอัดลม ร้อยละ 34.7 ติดตามข่าวค่าเทอมโรงเรียน
เอกชน ร้อยละ 34.5 ติดตามข่าวดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้ และร้อยละ 30.7 ติดตามข่าวเศรษฐกิจถดถอย-รัฐบาลถังแตก ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงนโยบายนำสินค้าเกษตรของไทยไปแลกซื้อสิ้นค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ผลสำรวจพบว่า เกินกว่าครึ่ง
หนึ่งหรือร้อยละ 54.7 สนับสนุนนโยบายดังกล่าวในขณะที่ร้อยละ 19.9 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น
สำหรับการรณรงค์ให้คนไทยลดการไปเที่ยวต่างประเทศ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.9 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ
11.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการจัด 10 อันดับประเภทสินค้าและบริการที่ประชาชนเห็นว่า “ควรขึ้นราคา” ซึ่งเรียงอันดับดังนี้
อันดับที่ 1 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (น้ำเมา)ทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ คิดเป็นร้อยละ 76.3
อันดับที่ 2 บุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 75.3
อันดับที่ 3 ค่าบริการสถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ อาบอบนวด คิดเป็นร้อยละ 57.5
อันดับที่ 4 ขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 39.9
อันดับที่ 5 ราคาอาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟูด) เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ คิดเป็นร้อยละ 37.7
อันดับที่ 6 ราคาเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ กำไล คิดเป็นร้อยละ 25.5
อันดับที่ 7 ราคาน้ำอัดลม คิดเป็นร้อยละ 21.7
อันดับที่ 8 ราคาเครื่องสำอาง คิดเป็นร้อยละ 18.7
อันดับที่ 9 ราคาโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 17.9
อันดับที่ 10 ราคาคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์ไอที คิดเป็นร้อยละ 7.2
สำหรับ ผลการจัด 10 อันดับประเภทสินค้าและบริการที่ประชาชนเห็นว่า “ไม่ควรขึ้นราคา” เรียงอันดับดังนี้
อันดับที่ 1 ค่าไฟฟ้า ร้อยละ 77.2
อันดับที่ 2 วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น หมู ไก่ เนื้อ น้ำตาล เป็นต้น ร้อยละ 76.9
อันดับที่ 3 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 75.1
อันดับที่ 4 ค่าเทอม ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ร้อยละ 71.2
อันดับที่ 5 ค่าน้ำประปา ร้อยละ 70.4
อันดับที่ 6 ค่าอาหารข้าวแกง ร้อยละ 67.1
อันดับที่ 7 ค่าโดยสารรถประจำทาง ขสมก. ร้อยละ 61.7
อันดับที่ 8 ค่าบริการโทรศัพท์ ร้อยละ 56.1
อันดับที่ 9 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ร้อยละ 42.1
อันดับที่ 10 ค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง ร้อยละ 40.0
“ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.7 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลยต่อความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยให้เหตุผลว่า เพราะราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น รายได้เท่าเดิม ราคาน้ำมันสูงขึ้น การ
เมืองไม่มีความชัดเจน และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นแบบเครือข่าย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 คิดว่าการตัดสินใจลงทุนในโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่หรือเมกกะโปรเจคควรรอรัฐบาลใหม่หลังปฏิรูปการเมืองเสร็จแล้วเป็นผู้ตัดสินใจ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่คือร้อยละ 87.3 เห็นด้วย
ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.8 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.7 เห็นว่าบรรดานักการ
เมืองยังไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพราะยังมีการออกไปเที่ยวต่างประเทศ ใช้รถยนต์ราคาสูงๆ และของฟุ่มเฟือยอื่นๆ อีก
มากมาย ในขณะที่ร้อยละ 26.8 เห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว และร้อยละ 15.5 ไม่มีความเห็น เมื่อทำการสอบถามถึงบุคคลที่ประชาชนเห็นว่าเป็น
แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผลการจัดอันดับ พบว่า
อันดับที่ 1 ได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คิดเป็นร้อยละ 65.3
อันดับที่ 2 ได้แก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล คิดเป็นร้อยละ 58.2
อันดับที่ 3 ได้แก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คิดเป็นร้อยละ 54.7
อันดับที่ 4 ได้แก่ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 44.9
อันดับที่ 5 ได้แก่ นายชวน หลีกภัย คิดเป็นร้อยละ 38.0
อันดับที่ 6 ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน คิดเป็นร้อยละ 32.8
อันดับที่ 7 ได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร คิดเป็นร้อยละ 28.8
อันดับที่ 8 ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คิดเป็นร้อยละ 18.2
อันดับที่ 9 ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดเป็นร้อยละ 15.3
อันดับที่ 10 ได้แก่ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ คิดเป็นร้อยละ 14.2
ดร.นพดล กล่าวว่า ข้อมูลผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายต่างๆ อย่างน้อยสามฝ่าย คือ กลุ่มคนชั้นนำของสังคม กลุ่มข้าราชการ
หน่วยงานที่เกี่ยวกับค่าครองชีพของประชาชน และกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งกลุ่มคนชนชั้นนำของสังคมมักจะมีโอกาสที่จะปรากฎตัวในสื่อมวลชน แสดงให้
สาธารณชนเห็นมากกว่าคนทั่วไป การแสดงตนให้สาธารณชนแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดการรับรู้ และประชาชนบางกลุ่มอาจจะรับเอารูปแบบการใช้ชีวิตของ
คนชั้นนำในสังคมมาเป็นแนวทางปฏิบัติลอกเลียนแบบได้ง่าย พฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัวจึงมักปรากฎให้เห็นอยู่เป็นประจำ ในผลวิจัยวิถีชีวิตของคน
ไทยหลายครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน
“ถึงแม้ว่าประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่จะเห็นว่า แนวทางการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะช่วยป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจาก
สภาวะเศรษฐกิจผันผวนและไม่มั่นคงเช่นนี้ได้ แต่เมื่อมองแบบอย่างของกลุ่มนักการเมืองและแนวทางในการใช้ชีวิตของพวกเขาแล้ว ประชาชนเห็นว่า
ยังไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการใช้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และการ
ใช้รถยนต์ที่ราคาสูงเกินความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า บุคคลสำคัญที่ประชาชนเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอ
เพียงอันดับต้นๆ ได้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และ
นายชวน หลีกภัย” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวปิดท้ายว่า ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการขึ้นราคาสินค้าและบริการนั้น พบว่ามีสินค้าและบริการหลายอย่างที่
ประชาชนไม่อยากให้ขึ้นราคา อาทิ ค่าไฟฟ้า วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น หมู ไก่ เนื้อ ไข่ ข้าวสาร น้ำตาล ราคาน้ำมัน ค่าเทอมและอุปกรณ์
การเรียน ค่าน้ำประปา และอาหารข้าวแกง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า มีสินค้าและบริการหลายรายการเช่นกัน ที่ประชาชนอยากให้ขึ้น
ราคา อาทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำเมา บุหรี่ ค่าบริการของสถานบริการเช่น ผับ บาร์ อาบอบนวดต่างๆ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 43.4
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 23.0
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 19.3
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 3.6
5 ไม่ได้ติดตาม 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของข่าวเศรษฐกิจที่สนใจติดตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของข่าวเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
1 ข่าวการขึ้นราคาน้ำมัน 87.1
2 ข่าวการขึ้นราคารถโดยสาร ขสมก. 65.8
3 ข่าวการขึ้นราคารถโดยสาร บขส. 57.4
4 ข่าวความเคลื่อนไหวของราคาทองคำ 52.1
5 ข่าวภาวะขาดแคลนน้ำตาล 46.1
6 ข่าวค่าเงินบาท 37.6
7 ข่าวการขึ้นราคาน้ำอัดลม 35.2
8 ข่าวการขึ้นค่าเทอมโรงเรียนเอกชน 34.7
9 ข่าวอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก — เงินกู้ 34.5
10 ข่าวเศรษฐกิจถดถอย — รัฐบาลถังแตก 30.7
11 ข่าวภาวะเงินเฟ้อ 24.5
12 ข่าวโครงการเมกกะโปรเจค 22.2
13 ข่าวความเคลื่อนไหวเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ 21.9
14 ข่าวภาวะตลาดหุ้น 15.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการสนับสนุนนโยบาย “นำสินค้าเกษตรของ
ไทยไปแลกซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ”
ลำดับที่ การสนับสนุนนโยบาย ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 54.7
2 ไม่สนับสนุน 19.9
3 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการรณรงค์ให้ “คนไทยลดการไปเที่ยว
ต่างประเทศ”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.9
2 ไม่เห็นด้วย 11.2
3 ไม่มีความเห็น 15.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสินค้า / บริการที่ควรขึ้นราคา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสินค้า / บริการที่ควรขึ้นราคา ค่าร้อยละ
1 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ 76.3
2 บุหรี่ 75.3
3 ค่าบริการตามสถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ อาบอบนวด 57.5
4 ขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ 39.9
5 ราคาอาหารจานด่วน(ฟาสต์ฟูด) เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ 37.7
6 ราคาเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ กำไล 25.5
7 ราคาน้ำอัดลม 21.7
8 ราคาเครื่องสำอาง 18.7
9 ราคาโทรศัพท์มือถือ 17.9
10 คอมพิวเตอร์ / ไอที 7.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสินค้า / บริการที่ไม่ควรขึ้นราคา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสินค้า / บริการที่ไม่ควรขึ้นราคา ค่าร้อยละ
1 ค่าไฟฟ้า 77.2
2 วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น หมู ไก่ เนื้อ ไข่ ข้าวสาร น้ำตาล เป็นต้น 76.9
3 ราคาน้ำมัน 75.1
4 ค่าเทอม หนังสือและอุปกรณ์การเรียน 71.2
5 ค่าน้ำประปา 70.4
6 อาหารข้าวแกง 67.1
7 ค่าโดยสารรถประจำทาง ขสมก. 61.7
8 ค่าบริการโทรศัพท์ 56.1
9 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 42.1
10 ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง 40.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6
เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 10.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 14.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 44.1
4 ไม่เชื่อมั่น 14.6
5 ไม่มีความเห็น 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ: สำหรับเหตุผลที่ทำให้ไม่เชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเพราะ
- ราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น แต่รายได้เท่าเดิม
- ราคาน้ำมันสูงขึ้น
- การใช้จ่ายเกินตัวของคนไทย
- การเมืองไม่มีความชัดเจน
- การลงทุนชะลอตัว และ
- ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นแบบเครือข่าย
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตัดสินใจลงทุนในโครงการเมกกะโปรเจค
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลรักษาการควรตัดสินใจลงทุน 17.4
2 ควรรอรัฐบาลใหม่หลังปฏิรูปการเมืองเสร็จแล้วเป็นผู้ตัดสินใจ 82.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 87.3
2 ไม่เห็นด้วย 3.9
3 ไม่มีความเห็น 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของ
บรรดานักการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว 26.8
2 ยังไม่เป็นแบบอย่างที่ดี เพราะยังมีการออกไปเที่ยวต่างประเทศ
ใช้รถยนต์ราคาแพงๆ และของฟุ่มเฟือยอื่นๆ อีกมาก 57.7
3 ไม่มีความเห็น 15.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ประชาชนเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง (ตอบได้มากกว่า 1 คน)
ลำดับที่ ผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละ
1 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 65.3
2 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล 58.2
3 พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ 54.7
4 ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 44.9
5 นายชวน หลีกภัย 38.0
6 นายอานันท์ ปันยารชุน 32.8
7 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 28.8
8 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 18.2
9 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 15.3
10 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 14.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-