ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวและประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความหวัง กับ ความกลัวของสาธารณชนคนไทย ภายหลังคดียึดทรัพย์ ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,308 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ได้ติดตามข่าวการพิพากษาคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ โดยร้อยละ 58.7 ได้ติดตามบ้าง ร้อยละ 18.9 ได้ติดตามเป็นส่วนใหญ่ และร้อยละ 7.9 ได้ติดตามตลอดทุกประเด็นผ่านสื่อมวลชน
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 56.7 มองว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรยอมรับผลการพิพากษา เพราะ การตัดสินของศาลถือว่าถูกต้อง และยุติธรรมแล้ว คำพิพากษาชัดเจนทุกกรณี ทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง และไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 32.6 มองว่าควรยื่นอุทธรณ์ เพราะ เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ถ้าคิดว่าไม่ผิดจริงควรยื่นอุทธรณ์ และอยากให้ต่อสู้ต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามว่า ถ้าประชาชนที่ถูกศึกษาเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะใช้เงินกว่า 3 หมื่นล้านบาทที่มีอยู่ทำอะไรบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 จะทำประโยชน์ที่ยั่งยืนด้านการศึกษา เช่น สร้างแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน รองลงมาคือ ร้อยละ 75.1 แจกจ่าย บริจาคให้ทุนคนยากจน ร้อยละ 74.7 พัฒนาชุมชน สร้างเมืองต้นแบบให้น่าอยู่กับชาวบ้าน ร้อยละ 74.0 ลงทุนทำธุรกิจต่อ และร้อยละ 61.1 แก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ทำงานแข่งกับรัฐบาล เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาปากท้อง เป็นต้น
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลการพิพากษาคดียึดทรัพย์ของนักการเมืองที่ผ่านๆ มา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 มองว่าจะทำให้พฤติกรรมของนักการเมืองที่ใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเองลดลง ร้อยละ 68.7 มองว่าจะทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศดีขึ้น และร้อยละ 61.4 จะทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นลดลง
นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐควรเร่งรณรงค์ให้คนไทยทำ ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ พบว่า ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 คือ ร้อยละ 94.0 อยากให้คนไทยรักและให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 92.0 ให้คนไทยมีน้ำใจเกื้อกูลต่อกัน ร้อยละ 89.4 ช่วยกันดูแลพัฒนาชุมชนของตนเอง ร้อยละ 88.8 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 86.9 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต และรองๆ ลงไปคือ ช่วยกันต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และให้เป็นเดือนแห่งคุณธรรม เตรียมเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 51.7 ยังคงมีความกลัวและกังวลต่อเหตุการณ์วุ่นวายที่จะเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย ในขณะที่ร้อยละ 48.3 เลือกที่จะมีความหวังก้าวต่อไปข้างหน้าในชีวิต
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นได้ว่า ประชาชนคนไทยเกือบร้อยละร้อยต้องการการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สร้างสรรค์อยากให้คนไทยรักและให้อภัยต่อกัน แสดงว่าประชาชนคนไทยทุกกลุ่มทุกสีต้องการเช่นนั้น ดังนั้น กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่แสดง “ความเสียสละ” และทำให้ประชาชนมีความหวังว่าประเทศไทยต้องก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยความสงบสุข น่าจะสามารถพลิกสถานการณ์การเมืองในเวลานี้ เพื่อที่จะชนะใจและได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.9 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุ 20 — 29 ปี
ร้อยละ 20.2 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 26.1 อายุ 40 — 49 ปี
และร้อยละ 24.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 32.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ ร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ ร้อยละ 75.9 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการพิพากษาคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ 1 ติดตามตลอดทุกประเด็น 7.9 2 ติดตามเป็นส่วนใหญ่ 18.9 3 ติดตามบ้าง 58.7 4 ไม่ได้ติดตามเลย เพราะต้องทำงาน/ติดธุระ/ไม่มีเวลา/ไม่อยากทราบ 14.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังมีคำพิพากษายึดทรัพย์บางส่วน ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังมีคำพิพากษายึดทรัพย์บางส่วน ค่าร้อยละ 1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรยอมรับผลการพิพากษา เพราะ การตัดสินของศาลถือว่าถูกต้องและยุติธรรมแล้ว/
คำพิพากษาชัดเจนทุกกรณีแล้ว/ทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น/เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง/ไม่อยากให้เกิด
ความวุ่นวายอีกต่อไป 56.7 2 ควรยื่นอุทธรณ์ เพราะ เป็นสิทธิที่สามารถทำได้/ถ้าคิดว่าไม่ผิดจริงก็ควรยื่นอุทธรณ์/อยากให้สู้ต่อไป 32.6 3 ไม่มีความเห็น 10.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้เงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาทที่มีอยู่ ถ้าหากเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ การใช้เงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาทที่มีอยู่ ถ้าหากเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ 1 ทำประโยชน์ที่ยั่งยืนด้านการศึกษา เช่น สร้างแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน 81.5 2 แจกจ่าย บริจาค ให้ทุนคนยากจน 75.1 3 พัฒนาชุมชน สร้างเมืองต้นแบบให้น่าอยู่กับชาวบ้าน 74.7 4 ลงทุนทำธุรกิจต่อ 74.0 5 แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ทำงานแข่งกับรัฐบาล เช่นปัญหายาเสพติด ปัญหาปากท้อง 61.1 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อผลของการพิพากษาคดียึดทรัพย์ของนักการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อผลของการพิพากษาคดียึดทรัพย์ของนักการเมือง ค่าร้อยละ 1 ทำให้พฤติกรรมของนักการเมืองที่ใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเองลดลง 69.3 2 ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น 68.7 3 ทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นลดลง 61.4 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐควรเร่งรณรงค์ให้คนไทยทำในช่วงเดือนมีนาคมนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐควรเร่งรณรงค์ให้คนไทยทำในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ค่าร้อยละ 1 ให้คนไทยรักและให้อภัยต่อกัน 94.0 2 มีน้ำใจเกื้อกูลต่อกัน 92.0 3 ช่วยกันดูแลพัฒนาชุมชนของตนเอง 89.4 4 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ 88.8 5 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต 86.9 6 ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น 83.0 7 ให้เป็นเดือนแห่งคุณธรรม เตรียมเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน 82.9 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากการพิพากษาคดียึดทรัพย์ในครั้งนี้ ลำดับที่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากการพิพากษาคดียึดทรัพย์ในครั้งนี้ ค่าร้อยละ 1 เลือกที่จะมีความหวังก้าวต่อไปข้างหน้าในชีวิต 48.3 2 ยังคงมีความกลัวและกังวลต่อเหตุการณ์วุ่นวายที่จะเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย 51.7 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--