ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจประเมินสถานการณ์การเลือกตั้ง โค้ง
แรกของการแข่งขันในทรรศนะของสาธารณชน โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง 32 จังหวัดทุกภาคของประเทศทั้งในเขตเทศบาลและ
นอกเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 8,647 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1- 17 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่า
เมื่อสอบถามถึงการติดตามข่าวการเมืองช่วง 30 วันที่ผ่านมาก่อนวันสำรวจ พบว่า ร้อยละ 51.9 ติดตามเป็นประจำอย่างน้อย 3 วันขึ้น
ไปต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 29.9 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 12.7 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์หรือบางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม และร้อย
ละ 5.5 ที่ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็น กรณีเหตุการณ์ที่ลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชนต่อรัฐบาล เมื่อถามและเปิดกว้างให้ประชาชนตอบ
เองนั้น ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 35.6 ระบุเป็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและความแตกแยกของคนในสังคม อันดับสองหรือร้อย
ละ 31.4 เป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น ร้อยละ 29.3 ระบุเป็นเรื่องการทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 27.4 ระบุข่าวการแทรกแซง
วุฒิสภาในการเลือก กกต. และ ปปช. ร้อยละ 23.8 ระบุเป็นเรื่องการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 20.9 เป็นเรื่องการไม่ได้ทำ
ตามนโยบายปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 18.5 ระบุปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 17.2 ระบุปัญหาความสงสัย
คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
51.7 ระบุการแก้ไขปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 34.0 ระบุการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 19.2 ระบุการแก้ปัญหาความยากจน ร้อย
ละ 14.6 ระบุการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และร้อยละ 11.9 ระบุโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในทุกประเด็น เมื่อเปรียบ
เทียบกับผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกต
ว่า ข่าวการแทรกแซงวุฒิสภาในการเลือก กกต.และ ปปช. เป็นข่าวที่ประชาชนระบุเป็นเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ที่มีสัดส่วนมาก
เป็นอันดับ 4 รองจาก ความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ตามลำดับ ในขณะที่ผลงานที่ได้รับความศรัทธาจาก
ประชาชนนั้น พบว่ามีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกับครั้งที่แล้วมากนัก โดยพบว่าผลงานที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นมีเฉพาะผลงานในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด
และการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อความตั้งใจไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ พบว่าสัดส่วนประชาชนผู้
ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 79.6 ในขณะที่ร้อยละ 12.5 ระบุไม่ไป และร้อยละ 7.9 ระบุไม่แน่ใจ
สำหรับพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก หากมีการเลือกตั้งในวันนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.7 ระบุจะเลือกพรรคไทยรักไทย ใน
ขณะที่ร้อยละ 24.4 ระบุ ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 9.7 ระบุ เลือกพรรคชาติไทย ร้อยละ 6.0 ระบุเลือกพรรคอื่นๆ
อย่างไรก็ตามผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.7 ระบุ ไม่เลือกพรรคใดเลย (NO Vote) และร้อยละ 14.5 ยังไม่ตัดสินใจ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของประชาชนจากผลสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ กับผลสำรวจในครั้งนี้
ของเอแบคโพลล์ พบข้อมูลที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า คนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดหรือไม่ และเมื่อพิจารณาดูสถานการณ์
ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยและผลกระทบ พบว่า สัดส่วนของประชาชนที่นึกถึงผลกระทบในทางลบต่อความ
ศรัทธาเชื่อถือต่อรัฐบาลในเกือบทุกเรื่อง เช่น ปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ข่าวการแทรกแซงการเลือก
สรร กกต. และปปช. ในวุฒิสภา เป็นต้น สถานการณ์เช่นนี้หากยืดเยื้อต่อไปเชื่อว่าจะกระทบต่อความเชื่อถือและไว้วางใจของประชาชนต่อพรรคไทยรัก
ไทยลงไปอีก แนวทางที่น่าจะกระทำได้คือการเสนอให้คนอื่นขึ้นมาแทน พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ยังคงได้รับการสนับสนุนจาก
คนในเมืองอยู่ในขณะนี้ ก็จะเป็นการซ่อมแซมจุดอ่อนของพรรคไทยรักไทยได้ โดยพรรคไทยรักไทยครองใจคนนอกเขตเทศบาลด้วยนโยบายและ ส.ส.
เขต ในขณะที่คนในเมืองกำลังขยายวงต่อต้านพรรคมากขึ้นเรื่อยๆ การนำเสนอนายสมคิด อาจทำให้ผลการเลือกตั้งชนะแบบถล่มทลายหรืออาจถูกลด
จำนวนที่นั่งลง แต่ก็จะดีกว่าปล่อยไว้แบบนี้ที่อาจทำให้พรรคไทยรักไทยกลายเป็นแชม์ปที่ถูกโค่นได้
“ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ คงต้องทำงานหนักเพื่อเสนอแนวนโยบายพร้อมกับกิจกรรมบางอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อแย่งพื้นที่
ฐานเสียงนอกเขตเทศบาล เพราะในเขตเมืองน่าจะได้รับการสนับสนุนเพียงพอระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้น พรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่พรรคไทยรักไทยควร
ทำงานรณรงค์มุมกว้างด้วยนโยบาย และมุมแคบลึกด้วยผู้สมัคร ส.ส.เขต บนพื้นฐานการต่อสู้ทางการเมืองด้วยสันติวิธีตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์เป็นพระประมุข” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมือง และความตั้งใจไปเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคลในสถาบันการเมืองใช้ดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการเมืองและแก้ไข
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประเมินสถานการณ์การเลือกตั้ง โค้งแรกของการ
แข่งขันในทรรศนะของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ” โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่
1 - 17 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน จาก 32 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สระแก้ว ชลบุรี
สุรินทร์ มหาสารคาม นครราชสีมา มุกดาหาร เลย หนองคาย ขอนแก่น อุบลราชธานี สกลนคร แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง
พิจิตร นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี อ่างทอง ราชบุรี กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง
และ สงขลา
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 8,647 อย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 17.8 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.1 ระบุ อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน นอกจากนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 อยู่นอกเขตเทศบาล และร้อยละ 28.2 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 10.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 29.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 12.7
5 ไม่ได้ติดตาม 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชนต่อ
รัฐบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชนต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ความขัดแย้งทางการเมือง ความแตกแยกของคนในสังคม 35.6
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น 31.4
3 การทุจริต คอรัปชั่น 29.3
4 ข่าวการแทรกแซงวุฒิสภาในการเลือก กกต.และ ปปช. 27.4
5 ปัญหาการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี 23.8
6 การไม่ทำตามนโยบายเรื่องการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 20.9
7 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 18.5
8 ปัญหาความสงสัยต่อคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 17.2
9 ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากนโยบายรัฐบาล เช่น นโยบายสามสิบบาท
ปัญหาความยากจน กองทุนหมู่บ้าน และหนี้สินภาคประชาชน 12.2
10 ปัญหาอาชญากรรม 11.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน
(ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุติดตามข่าวและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 51.7
2 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล 34.0
3 การแก้ปัญหาความยากจน 19.2
4 การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ 14.6
5 โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 11.9
6 การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี 10.3
7 การส่งเสริมคุณภาพเยาวชนไทย 7.2
8 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 6.1
9 ผลงานด้านการศึกษา 4.8
10 การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 3.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ไป 79.6
2 ไม่ไป 12.5
3 ไม่แนใจ 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
(เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 36.7
2 พรรคประชาธิปัตย์ 24.4
3 พรรคชาติไทย 9.7
4 เลือกพรรคอื่นๆ เช่น พรรคประชาราช พรรคมหาชน สันติภาพไทย ฯลฯ 6.0
5 ไม่เลือกพรรคใดเลย (No vote) 8.7
6 ยังไม่ตัดสินใจ 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
(เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง) จำแนกตามรายภาค
พรรคการเมือง กทม. เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้
พรรคไทยรักไทย 20.7 33.7 26.9 62.4 4.3
พรรคประชาธิปัตย์ 25.8 19.3 17.7 11.6 76.2
พรรคชาติไทย 6.1 5.2 19.2 8.6 3.0
พรรคอื่นๆ 3.8 4.6 7.9 5.8 6.6
ไม่เลือกพรรคใด 24.7 16.8 10.2 2.1 0.7
ยังไม่ตัดสินใจ 18.9 20.4 18.1 9.5 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงจำนวนที่นั่ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง
พรรคการเมือง ผลการเลือกตั้งแบบเลือกพรรค ปี พ.ศ.2548 ผลการเลือกตั้งแบบเลือกพรรค ถ้าเลือกตั้งวันนี้ ส่วนต่าง
1. พรรคไทยรักไทย 67 53 -14
2. พรรคประชาธิปัตย์ 26 36 +10
3. พรรคชาติไทย 7 11 +4
รวมทั้งสิ้น 100 100
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
แรกของการแข่งขันในทรรศนะของสาธารณชน โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง 32 จังหวัดทุกภาคของประเทศทั้งในเขตเทศบาลและ
นอกเขตเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 8,647 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1- 17 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่า
เมื่อสอบถามถึงการติดตามข่าวการเมืองช่วง 30 วันที่ผ่านมาก่อนวันสำรวจ พบว่า ร้อยละ 51.9 ติดตามเป็นประจำอย่างน้อย 3 วันขึ้น
ไปต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 29.9 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 12.7 ติดตามน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์หรือบางสัปดาห์ไม่ได้ติดตาม และร้อย
ละ 5.5 ที่ไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็น กรณีเหตุการณ์ที่ลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชนต่อรัฐบาล เมื่อถามและเปิดกว้างให้ประชาชนตอบ
เองนั้น ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 35.6 ระบุเป็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและความแตกแยกของคนในสังคม อันดับสองหรือร้อย
ละ 31.4 เป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น ร้อยละ 29.3 ระบุเป็นเรื่องการทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 27.4 ระบุข่าวการแทรกแซง
วุฒิสภาในการเลือก กกต. และ ปปช. ร้อยละ 23.8 ระบุเป็นเรื่องการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 20.9 เป็นเรื่องการไม่ได้ทำ
ตามนโยบายปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 18.5 ระบุปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 17.2 ระบุปัญหาความสงสัย
คนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
51.7 ระบุการแก้ไขปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 34.0 ระบุการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 19.2 ระบุการแก้ปัญหาความยากจน ร้อย
ละ 14.6 ระบุการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และร้อยละ 11.9 ระบุโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในทุกประเด็น เมื่อเปรียบ
เทียบกับผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกต
ว่า ข่าวการแทรกแซงวุฒิสภาในการเลือก กกต.และ ปปช. เป็นข่าวที่ประชาชนระบุเป็นเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ที่มีสัดส่วนมาก
เป็นอันดับ 4 รองจาก ความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ตามลำดับ ในขณะที่ผลงานที่ได้รับความศรัทธาจาก
ประชาชนนั้น พบว่ามีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกับครั้งที่แล้วมากนัก โดยพบว่าผลงานที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นมีเฉพาะผลงานในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด
และการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อความตั้งใจไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ พบว่าสัดส่วนประชาชนผู้
ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 79.6 ในขณะที่ร้อยละ 12.5 ระบุไม่ไป และร้อยละ 7.9 ระบุไม่แน่ใจ
สำหรับพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก หากมีการเลือกตั้งในวันนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 36.7 ระบุจะเลือกพรรคไทยรักไทย ใน
ขณะที่ร้อยละ 24.4 ระบุ ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 9.7 ระบุ เลือกพรรคชาติไทย ร้อยละ 6.0 ระบุเลือกพรรคอื่นๆ
อย่างไรก็ตามผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.7 ระบุ ไม่เลือกพรรคใดเลย (NO Vote) และร้อยละ 14.5 ยังไม่ตัดสินใจ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของประชาชนจากผลสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ กับผลสำรวจในครั้งนี้
ของเอแบคโพลล์ พบข้อมูลที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า คนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดหรือไม่ และเมื่อพิจารณาดูสถานการณ์
ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยและผลกระทบ พบว่า สัดส่วนของประชาชนที่นึกถึงผลกระทบในทางลบต่อความ
ศรัทธาเชื่อถือต่อรัฐบาลในเกือบทุกเรื่อง เช่น ปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ข่าวการแทรกแซงการเลือก
สรร กกต. และปปช. ในวุฒิสภา เป็นต้น สถานการณ์เช่นนี้หากยืดเยื้อต่อไปเชื่อว่าจะกระทบต่อความเชื่อถือและไว้วางใจของประชาชนต่อพรรคไทยรัก
ไทยลงไปอีก แนวทางที่น่าจะกระทำได้คือการเสนอให้คนอื่นขึ้นมาแทน พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ยังคงได้รับการสนับสนุนจาก
คนในเมืองอยู่ในขณะนี้ ก็จะเป็นการซ่อมแซมจุดอ่อนของพรรคไทยรักไทยได้ โดยพรรคไทยรักไทยครองใจคนนอกเขตเทศบาลด้วยนโยบายและ ส.ส.
เขต ในขณะที่คนในเมืองกำลังขยายวงต่อต้านพรรคมากขึ้นเรื่อยๆ การนำเสนอนายสมคิด อาจทำให้ผลการเลือกตั้งชนะแบบถล่มทลายหรืออาจถูกลด
จำนวนที่นั่งลง แต่ก็จะดีกว่าปล่อยไว้แบบนี้ที่อาจทำให้พรรคไทยรักไทยกลายเป็นแชม์ปที่ถูกโค่นได้
“ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ คงต้องทำงานหนักเพื่อเสนอแนวนโยบายพร้อมกับกิจกรรมบางอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อแย่งพื้นที่
ฐานเสียงนอกเขตเทศบาล เพราะในเขตเมืองน่าจะได้รับการสนับสนุนเพียงพอระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้น พรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่พรรคไทยรักไทยควร
ทำงานรณรงค์มุมกว้างด้วยนโยบาย และมุมแคบลึกด้วยผู้สมัคร ส.ส.เขต บนพื้นฐานการต่อสู้ทางการเมืองด้วยสันติวิธีตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์เป็นพระประมุข” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมือง และความตั้งใจไปเลือกตั้ง
4. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของบุคคลในสถาบันการเมืองใช้ดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการเมืองและแก้ไข
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประเมินสถานการณ์การเลือกตั้ง โค้งแรกของการ
แข่งขันในทรรศนะของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ” โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่
1 - 17 สิงหาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน จาก 32 จังหวัดทุกภาคของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สระแก้ว ชลบุรี
สุรินทร์ มหาสารคาม นครราชสีมา มุกดาหาร เลย หนองคาย ขอนแก่น อุบลราชธานี สกลนคร แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง
พิจิตร นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี อ่างทอง ราชบุรี กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง
และ สงขลา
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 8,647 อย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 26.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 อาชีพเกษตรกร
ร้อยละ 17.8 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.1 ระบุ อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน นอกจากนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 อยู่นอกเขตเทศบาล และร้อยละ 28.2 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.1
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 10.8
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 29.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 12.7
5 ไม่ได้ติดตาม 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชนต่อ
รัฐบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่เป็นการลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชนต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ความขัดแย้งทางการเมือง ความแตกแยกของคนในสังคม 35.6
2 ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น 31.4
3 การทุจริต คอรัปชั่น 29.3
4 ข่าวการแทรกแซงวุฒิสภาในการเลือก กกต.และ ปปช. 27.4
5 ปัญหาการไม่ระมัดระวังคำพูดของนายกรัฐมนตรี 23.8
6 การไม่ทำตามนโยบายเรื่องการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 20.9
7 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 18.5
8 ปัญหาความสงสัยต่อคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี 17.2
9 ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากนโยบายรัฐบาล เช่น นโยบายสามสิบบาท
ปัญหาความยากจน กองทุนหมู่บ้าน และหนี้สินภาคประชาชน 12.2
10 ปัญหาอาชญากรรม 11.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน
(ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุติดตามข่าวและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ได้รับความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชน ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 51.7
2 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล 34.0
3 การแก้ปัญหาความยากจน 19.2
4 การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ 14.6
5 โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 11.9
6 การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี 10.3
7 การส่งเสริมคุณภาพเยาวชนไทย 7.2
8 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 6.1
9 ผลงานด้านการศึกษา 4.8
10 การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 3.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ไป 79.6
2 ไม่ไป 12.5
3 ไม่แนใจ 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
(เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 36.7
2 พรรคประชาธิปัตย์ 24.4
3 พรรคชาติไทย 9.7
4 เลือกพรรคอื่นๆ เช่น พรรคประชาราช พรรคมหาชน สันติภาพไทย ฯลฯ 6.0
5 ไม่เลือกพรรคใดเลย (No vote) 8.7
6 ยังไม่ตัดสินใจ 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
(เฉพาะคนที่ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง) จำแนกตามรายภาค
พรรคการเมือง กทม. เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้
พรรคไทยรักไทย 20.7 33.7 26.9 62.4 4.3
พรรคประชาธิปัตย์ 25.8 19.3 17.7 11.6 76.2
พรรคชาติไทย 6.1 5.2 19.2 8.6 3.0
พรรคอื่นๆ 3.8 4.6 7.9 5.8 6.6
ไม่เลือกพรรคใด 24.7 16.8 10.2 2.1 0.7
ยังไม่ตัดสินใจ 18.9 20.4 18.1 9.5 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงจำนวนที่นั่ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง
พรรคการเมือง ผลการเลือกตั้งแบบเลือกพรรค ปี พ.ศ.2548 ผลการเลือกตั้งแบบเลือกพรรค ถ้าเลือกตั้งวันนี้ ส่วนต่าง
1. พรรคไทยรักไทย 67 53 -14
2. พรรคประชาธิปัตย์ 26 36 +10
3. พรรคชาติไทย 7 11 +4
รวมทั้งสิ้น 100 100
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-