เอแบคโพลล์: อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยกับการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9

ข่าวผลสำรวจ Monday March 27, 2006 08:25 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่ามีข่าวสารที่ปรากฏผ่านทางสื่อมวลชนและกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนหลาย
ประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะข่าวสารทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ดังนั้นการออกมาเคลื่อนไหวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยว
ข้องกับการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนจึงมักจะเป็นที่จับตามอง ของประชาชนผู้นิยมบริโภคข่าวสารทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายรัฐบาล หรือกลุ่ม
คนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรัฐบาล เพราะนั่นอาจจะหมายถึงการส่งสัญญาณบางอย่างไปยังการนำเสนอข่าวของสื่อ จึงทำให้การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
ต่างๆ ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่กำลังตึงเครียดอยู่ในขณะนี้ มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นกลาง และถูกมองว่ามีการแทรกแซงจาก
ฝ่ายการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น ตลอดจนอารมณ์
และความรู้สึกของประชาชนต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ตลอดจนสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
5. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
สถานการณ์การเมืองไทยกับการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9 : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 24-25 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,494 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 19.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 1.4 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณ
ชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยกับการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9 : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,494
ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 24-25 มีนาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 4 เล็กน้อยทราบข่าวเรื่องการโยกย้ายบรรณาธิการข่าวเช้า
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดในทางลบต่อรัฐบาลและสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 หลายด้านด้วยกัน เช่น เชื่อว่ารัฐบาลแทรกแซงสื่อ
มวลชนจริง และคนที่ต้องรับผิดชอบมีอยู่สามส่วนคือผู้บริหารระดับสูงของช่อง 9 รัฐมนตรีกำกับดูแลสื่อมวลชน และรัฐบาล โดยเรียกร้องให้สมาคมนักข่าว
แห่งประเทศไทย ประชาชนที่ติดตามข่าวช่อง 9 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าตรวจสอบ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประชาชนเปลี่ยนไปดูข่าวของ
โทรทัศน์ช่องอื่นๆ นั้นได้แก่ ดู ITV เป็นอันดับแรก ตามด้วย ช่อง 3 และช่อง 7
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อปัญหาสถานการณ์การเมืองในขณะนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.2 ระบุว่าอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะ
ที่ร้อยละ 37.0 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 16.8 ไม่ระบุความเห็น
จากผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่าภายใต้สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ตัวอย่างพบว่าร้อยละ 27.2 ระบุนายกรัฐมนตรีควรลาออก ในขณะที่
ร้อยละ 41.6 ระบุไม่ควรลาออก และร้อยละ 31.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ พบว่าประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจใน
ครั้งนี้ได้แก่ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการสนับสนุนให้รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้พบว่าร้อยละ 24.0 สนับสนุนอย่างยิ่ง/สนับสนุน ในขณะที่
ร้อยละ 50.6 ไม่สนับสนุน/ไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น
ส่วนแนวคิดในการพระราชทานนายกรัฐมนตรีพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.2 เห็นด้วยต่อแนวคิดดังกล่าวในขณะที่ร้อยละ 34.3 ระบุไม่เห็น
ด้วย และร้อยละ 38.5 ระบุไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้สูงถึงร้อยละ 97.3 ในขณะเดียว
กัน ความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจที่ผ่านมา (ร้อยละ 75.3 รู้วิตกกังวล /
ร้อยละ 50.8 รู้สึกเครียด ) ส่วนความต้องการของประชาชนที่มากขึ้นเรื่อยๆ คือการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี และการเรียกร้อง
ให้ยุติการชุมนุม คิดเป็นร้อยละ 90.5 และร้อยละ 81.3 ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว เพื่อน
บ้าน และคนที่ทำงานพบว่า ส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ได้มีความขัดแย้งแต่อย่างใด
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่จะมาถึงนี้ตัวอย่างร้อยละ 15.0 ระบุไปเลือกตั้งแน่นอน ใน
ขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุไม่ไปแน่นอน และ ร้อยละ 43.6 ระบุไม่แน่ใจ จากนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงวิธีการลงคะแนน หากไปเลือกตั้งวันที่ 2
เมษายน พบว่าตัวอย่างเกือบครึ่งคือร้อยละ 46.0 ระบุจะเลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ในขณะที่มีประมาณ 1 ใน 4 คือ ร้อยละ 25.6 ที่ระบุจะไปเลือก
ตั้งแต่งดลงคะแนน และร้อยละ 28.4 ระบุยังไม่ได้ตัดสินใจ นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งในวันที่
2 เมษายน ผ่านพ้นไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.8 ระบุคิดว่าดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 28.4 ระบุแย่ลง
จากนั้นได้สอบถามถึงความคาดหวังของกลุ่มตัวอย่างต่อความคาดหวังต่อการเจรจาด้วยสันติวิธี และความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังคาดหวังน้อยและไม่คาดหวังเลยเลยว่าทุกฝ่ายจะเจรจาด้วยสันติวิธี หรือจะมีความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ โดยคิด
เป็นร้อยละ 58.9 และ ร้อยละ 54.8 ตามลำดับ
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือความคิดเห็นของตัวอย่างนายกรัฐมนตรีต่อการยินยอมให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระเรื่องปัญหาในการ
ขายหุ้นชินคอร์ป พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 56.6 เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรยอมให้มีการตรวจสอบ ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ระบุไม่ควรมีการตรวจ
สอบ และร้อยละ 35.1 ระบุไม่มีความเห็น
“สำหรับประเด็นวิกฤตการเมืองในกระแสอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนนั้น ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือ
ร้อยละ 46.2 คิดว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว แต่เมื่อถามถึงแนวคิดการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แนวคิดนายกรัฐมนตรีพระ
ราชทาน กลับพบว่า แนวคิดทั้งสองเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างเด่นชัดนักเพราะแนวโน้มของประชาชนที่ไม่ต้องการแสดงความเห็นกลับ
สูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดทั้งสองลดต่ำลง แต่ที่น่าพิจารณาคือสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้ว ถ้ามี
การเลือกตั้งวันนี้จะไม่มีพรรคใดได้รับคะแนนเกินกว่าร้อยละ 50 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลสำรวจครั้งนี้ยังค้นพบอีก
ด้วยว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งสูงถึงร้อยละ 42” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้อึมครึมมากสร้างความวิตกกังวลและความเครียดกระจายไปยังกลุ่มประชาชนทุกชนชั้นใน
สังคม เป็นที่น่าสงสารคนไทยในขณะนี้ที่กำลังเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในช่วงแรกๆ ของสถานการณ์ผลสำรวจค่อนข้างจะชี้ให้
เห็นว่าเป็นการพัฒนาการของคุณภาพประชาชนคนไทยทั้งประเทศตามระบอบประชาธิปไตยแต่เมื่อสำรวจหลากหลายครั้งกลับพบว่าภายใต้ภาพที่มีความสงบ
เรียบร้อยกำลังมีความร้อนแรงคุกรุ่นอยู่แบบน่ากลัวมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
“สถานการณ์ในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมา น่าจะกล่าวได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรคือกุญแจสำคัญที่สุดในการ
แก้ไขและป้องกันสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ เป็นผู้ที่สามารถบอกกับคนไทยที่รักและศรัทธากระจายอยู่ทั่วประเทศได้ว่าต่อไปนี้พรรคไทยรักไทยคือ
พรรคที่ยืนเคียงข้างประชาชนระดับรากฐานของสังคมถึงแม้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะไปเป็นผู้ผลักดันเบื้องหลังของพรรคแทน เพราะได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน
พรรคเพื่อประชาชนมาเหนื่อยมากแล้ว ผลงานทั้งในเชิงนโยบายสาธารณะและภาพลักษณ์ส่วนตัวปรากฏเป็นที่รักใคร่ของประชาชนระดับรากฐานของ
สังคม ซึ่งผลวิจัยหลายครั้งพบว่า ถ้าไม่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ประชาชนก็ยังนิยมศรัทธาต่อพรรคและนโยบายสาธารณของพรรค เช่น นโยบายแก้ปัญหายา
เสพติด นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งยังไม่มีพรรคการเมืองใดจะสามารถครองใจคนไทยได้มากเท่า”
ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้าจะอยู่ต่อไปสถานการณ์คงไม่ดีขึ้นแน่ และคะแนนนิยมของประชาชนหลังการเลือกตั้งจะไม่สูงเท่ากับการเลือกตั้ง
สองครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลก็จะทำงานต่อไปลำบากเพราะการทำงานได้อย่างดีหลังการเลือกตั้งรัฐบาลจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
ของประเทศตัวเลขคะแนนนิยมน่าจะเกินร้อยละ 70 ขึ้นไปเพื่อผลักดันนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลให้สำเร็จภายใต้การร่วมมือจากประชาชนทุกหมู่เหล่า
ไม่ใช่ประชาชนบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นปรามจารย์ด้านธุรกิจและเคยเป็นอาจารย์สอนวิจัยมาก่อนน่าจะมองดูสถานการณ์ตัวเลข
ต่างๆ ที่มาจากการสนับสนุนของประชาชนได้อย่างดี
“อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากระแสอารมณ์ความคิดเห็นของสาธารณชนในผลสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาและกระแสข่าวความรู้สึกของนายก
รัฐมนตรีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะกล่าวได้ว่าถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ รอได้จนถึงวันที่ 2 เมษายน คือรอผลการเลือกตั้งออกมา เชื่อว่า พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ จะตัดสินใจที่สร้างความโล่งใจคลี่คลายความตึงเครียดให้กับประชาชนทั้งประเทศ เพราะวันที่ 2 เมษายนจะทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับชัย
ชนะและการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ไม่สนับสนุนทักษิณก็จะได้รับชัยชนะเช่นกัน นั่นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณจะชนะใจประชาชนทั้งประเทศด้วยสปิริต
ของผู้นำประเทศ ไม่แพ้ต่อทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยที่ว่าคนชนบทเลือกรัฐบาลและคนกรุงล้มรัฐบาล เพราะไม่ได้ลาออกจากแรงกดดันของประชาชน
คนกรุงเทพฯ แต่ลาออกเพราะยอมรับผลการเลือกตั้ง และนั่นคือความสำเร็จของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่สามารถสร้างกระแสทำให้ประชาชนแสดงเจตนารมย์ที่
จะไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณกระจายไปทั่วประเทศเช่นกัน ดังนั้นภายใต้สถานการณ์ตัวแปรต่างๆ ในปัจจุบัน อาจสรุปได้ว่า อีก 7 วันข้างหน้า
ประเทศไทยจะเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยความสงบเรียบร้อยอย่างแท้จริง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายความมั่นคงคงต้องทำงานหนักอย่างยิ่งควบคุม
สถานการณ์ต่อไปให้ได้อีกอย่างน้อย 7 วันเช่นกัน” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 65.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 17.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.6
4 ไม่ได้ติดตามเลย 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวเกี่ยวกับบรรณาธิการข่าวเช้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 9
ถูกสั่งย้าย
ลำดับที่ การทราบข่าวเกี่ยวกับบรรณาธิการข่าวเช้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 9ถูกสั่งย้าย ร้อยละ
1 ทราบข่าวนี้มาก่อน 26.2
2 ไม่ทราบข่าวมาก่อน 73.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9
เป็นการแทรกแซงจากรัฐบาล (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุทราบข่าว)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 คิดว่าเป็นการแทรกแซงจากรัฐบาลจริง 46.9
2 คิดว่าไม่จริง 16.5
3 ไม่มีความเห็น 36.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ที่ต้องออกมารับผิดชอบกรณีการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุทราบข่าว และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผู้ที่ต้องออกมารับผิดชอบกรณีการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9 ร้อยละ
1 ผู้บริหารระดับสูงของช่อง 9 47.4
2 รัฐมนตรีที่กำกับดูแลสื่อมวลชน 33.5
3 รัฐบาล 31.2
4 นายกรัฐมนตรี 19.8
5 กองบรรณาธิการข่าวช่อง 9 17.8
6 ประชาชนทุกคน 5.2
7 นักข่าวช่อง 9 4.9
8 พนักงานของช่อง 9 ทุกคน 4.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุองค์กรหรือกลุ่มคนที่ควรต้องเข้ามาตรวจสอบการย้าย
บรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9 (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุทราบข่าว และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ องค์กรหรือกลุ่มคนที่ควรต้องเข้ามาตรวจสอบการย้ายบรรณาธิการข่าวช่อง 9 ร้อยละ
1 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย 48.2
2 ประชาชนผู้ติดตามข่าวสารจาก อ.ส.ม.ท. 23.2
3 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน 22.9
4 กรมประชาสัมพันธ์ 21.6
5 สภาทนายความ 18.3
6 พันธมิตรประชาชนฯ 12.6
7 มูลนิธิ/องค์กร/สมาคมด้านผู้บริโภค 12.6
8 นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ 10.8
9 พรรคร่วมฝ่ายค้าน 10.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานีโทรทัศน์ที่จะติตตามข่าว ถ้าหากว่าไม่ได้ดูข่าว
จากสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุทราบข่าว และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานีโทรทัศน์ที่จะติดตามข่าว หากว่าไม่ได้ดูข่าวช่อง 9 ร้อยละ
1 ITV 58.8
2 ช่อง 3 54.9
3 ช่อง 7 54.9
4 ช่อง 5 28.9
5 ช่อง 11 27.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว 46.2
2 ยังไม่วิกฤต 37.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลาออกของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้
ความคิดเห็น 2 ก.พ.49 4 ก.พ.49 8 ก.พ.49 1 มี.ค.49 6 มี.ค.49 14มี.ค.49 20 มี.ค.49 22 มี.ค.49 25 มี.ค. 49
1.ควรลาออก 15.5 14.6 14.2 39.1 48.2 36.4 31.7 28.1 27.2
2.ไม่ควรลาออก 49.2 47.0 66.2 42.8 35.5 40.5 45.9 47.2 41.6
3.ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 19.6 18.1 16.3 23.1 22.4 24.7 31.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นถ้ารัฐบาลจะประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 7.8
2 สนับสนุน 16.2
3 ไม่สนับสนุน 30.3
4 ไม่สนับสนุนเลย 20.3
5 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี
ความเห็นของตัวอย่าง 1 มี.ค.49ร้อยละ 6 มี.ค. 49ร้อยละ 20 มี.ค.49ร้อยละ 22 มี.ค.49ร้อยละ 25 มี.ค.49ร้อยละ
1.เห็นด้วย 38.5 46.1 37.0 30.3 27.2
2.ไม่เห็นด้วย 24.2 20.2 26.0 23.2 34.3
3.ไม่มีความเห็น 37.3 33.7 37.0 46.5 38.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้
การให้ความสำคัญ 9 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองขณะนี้ 94.8 96.6 95.5 97.3
ไม่ให้ความสำคัญ 5.2 3.4 4.5 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
ความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง 4 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
รู้สึกวิตกกังวล 50.7 72.6 74.7 75.3
ไม่รู้สึกวิตกกังวล/ไม่มีความเห็น 49.3 27.4 25.3 24.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดต่อเรื่องการเมือง
ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 12 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
รู้สึกเครียด 44.9 44.6 45.0 50.8
ไม่รู้สึกเครียด 55.1 55.4 55.0 49.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว 6 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
มีความขัดแย้ง 27.7 11.0 12.5 12.2
ไม่มีความขัดแย้ง 72.3 89.0 87.5 87.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับเพื่อนบ้าน 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
มีความขัดแย้ง 15.0 14.9 18.6
ไม่มีความขัดแย้ง 85.0 85.1 81.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความขัดแย้งกับคนอื่นในที่ทำงาน
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนอื่นในที่ทำงาน 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
มีความขัดแย้ง 15.2 15.1 18.7
ไม่มีความขัดแย้ง 84.8 84.9 81.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
รู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 12 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
เบื่อหน่าย 79.8 73.1 76.0 75.9
ไม่เบื่อหน่าย 20.2 26.9 24.0 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม
การเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 14 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม 69.4 76.9 78.6 81.3
ไม่เรียกร้อง 30.6 23.1 21.4 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด
ความต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 14 มีนาคม 49 20 มีนาคม 49 22 มีนาคม 49 25 มีนาคม 49
ต้องการให้มีการชุมนุมจนกว่าจะเอาชนะถึงที่สุด 8.4 20.7 19.2 20.4
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ