เอแบคโพลล์: สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันกับความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้

ข่าวผลสำรวจ Wednesday March 10, 2010 08:57 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สถานการณ์ บ้านเมืองปัจจุบันกับความสุขมวลรวมของคนไทยวันนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,962 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-9 มีนาคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์

ข้อมูลที่น่าพิจารณาคือ การวัดความสุขช่วงหลังคดียึดทรัพย์และประชาชนเห็นว่าไม่มีความวุ่นวาย ไม่มีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคม ไทย พบว่า ความสุขของคนไทยวันนี้อยู่ที่ 7.15 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาความสุขของคนไทยในด้านต่างๆ พบว่า ความสุข ต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.05 ในขณะที่ความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัวอยู่ที่ 8.31 คะแนน ความสุขต่อสุขภาพกายอยู่ที่ 7.98 และความ สุขต่อสุขภาพใจอยู่ที่ 7.96 ความสุขต่อหน้าที่การงานและอาชีพอยู่ที่ 7.73 ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ที่ 7.52 ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พัก อาศัย อาทิ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา อยู่ที่ 7.50 ความสุขต่อการได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดีอยู่ที่ 7.41 ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชนที่พักอาศัยอยู่ที่ 7.11 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน 7.08 ความสุขต่อระบบการศึกษาของประเทศอยู่ที่ 6.95 ความสุขต่อภาพลักษณ์ ของประเทศไทย คนไทย และเด็กไทยในสายตาคนต่างชาติอยู่ที่ 6.18 ความสุขต่อความเป็นธรรม/ไม่เป็นทางสังคมที่ได้รับอยู่ที่ 6.02 ในขณะที่ความ สุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ที่ 5.65 อย่างไรก็ตาม พบว่าความสุขของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ความสุขด้านอื่นๆ โดยอยู่ที่ 4.95 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดังกล่าวชี้ชัดว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ดัชนีความสุขมวลรวมของคนในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา น่าจะมาจากการที่คนไทยเป็นหนึ่งเดียวกันแสดงความ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความรักความเอื้ออาทรของคนในครอบครัว โดยผลการสำรวจพบว่าประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขา อาชีพ ต่างมีค่าคะแนนความสุขในด้านความจงรักภักดี และบรรยากาศความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากกว่า 8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในขณะที่ ค่าคะแนนความสุขต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้กลับอยู่ที่เพียงระดับ 4-5 คะแนน

ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงในสังคมไทยขณะนี้คือ สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ที่อาจทำให้ความสุขของคนไทยลดลง มากไปกว่าที่เป็น อยู่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาความเครียด และวิตกกังวลว่าจะได้รับความเดือดร้อน หากเกิดเหตุรุนแรงบานปลายจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่ กำลังจะมีขึ้น โดยผลการสำรวจพบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 90 เห็นว่าประชาชนทุกกลุ่มจะได้รับความเดือดร้อนหากสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ทางการเมืองเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย นอกจากนี้ปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล และฝ่ายค้านในการ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อสร้างความรักความสามัคคี มากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง รวมไปถึงการสร้างความเป็นธรรม ในสังคมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้ความสุขของคนไทยลดลงเช่นเดียวกัน

ผ.อ. ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวด้วยว่า ในสภาวะที่สังคมกำลังเกิดความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ประชาชนทุกคนควรตั้งสติ ยืนอยู่บน พื้นฐานของความถูกต้องเป็นจริง ใช้การประนีประนอม มีน้ำใจไมตรีต่อกัน หันหน้าเจราจากัน และไม่ใช้ความรุนแรง พร้อมกันนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่า ในช่วงที่จะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช. ในวันที่ 14 มีนาคมนี้ สิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้คือ การติดตามข้อมูลข่าวสารใช้วิจารณญาณในการวิ เคราะห์ ข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบของกฏหมายและความถูกต้อง รู้จักยับยั้งชั่งใจ ใช้เหตุและผล อย่าใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ และเคารพ กฏกติกาของบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเห็นความรักความสามัคคี และให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง โดยเฉพาะกลุ่มการ เมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และผู้มีอำนาจในบ้านเมืองควรยึดประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยเสนอให้ทุกฝ่ายช่วยกันผลักดันให้ “ความ เป็นธรรมในสังคม ด้วยมาตรฐานเดียวกัน” เป็นวาระสำคัญของชาติ เพื่อยึดโยงให้ประชาชนที่มีความหลากหลายทางอุดมการณ์การเมืองและฐานะทาง สังคมให้เป็นเอกภาพในสังคมไทย

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 41.5 เป็นชาย

ร้อยละ 58.5 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 24.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 76.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 20.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน

ร้อยละ 9.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง        ค่าร้อยละ
1          ทุกวันเกือบทุกวัน                              42.2
2          3 — 4 วัน / สัปดาห์                          21.6
3          1 — 2 วัน / สัปดาห์                          17.1
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                          12.0
5          ไม่ได้ติดตามเลย                               7.1
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0

ตารางที่  2  แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2552 จนถึงปัจจุบัน  เมื่อคะแนนเต็ม 10

ก.พ.52 มี.ค.52 เม.ย.52 ต้นมิ.ย.52 ก.ค.52 ส.ค.52 ต้นต.ค.52 พ.ย.52 ปลายธ.ค.52 ม.ค.53 ต้นมี.ค.53 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข มวลรวมของคนไทยภายในประเทศ

(Gross Domestic Happiness) 5.78    6.18    7.17       7.15    5.92    7.18      6.83    7.52       7.26     6.52     7.15


ตารางที่ 3  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                        ค่า GDH
1          ความจงรักภักดีของคนไทย                                     9.05
2          บรรยากาศความสัมพันธ์ภายในครอบครัว                           8.31
3          สุขภาพกาย                                                7.98
4          สุขภาพใจ                                                 7.96
5          หน้าที่การงาน อาชีพ                                         7.73
6          วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน                                 7.52
7          สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย อาทิ  ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์          7.50
8          การได้รับบริการทางการแพทย์ที่ดี                                7.41
9          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน                            7.11
10          สภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว                         7.08
11          ระบบการศึกษาของประเทศ                                   6.95
12          ภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทย เด็กไทยในสายตาต่างชาติ          6.18
13          ความเป็นธรรม/ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับ                  6.02
14          สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ                                  5.65
15          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                               4.95
          ความสุขมวลรวม ของคนไทย ณ ต้นเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2553           7.15

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มคนที่จะได้รับความเดือดร้อนหากสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดเหตุการณ์
รุนแรงบานปลาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          กลุ่มคนที่คิดว่าจะได้รับความเดือดร้อน              ค่าร้อยละ
1          ประชาชนทั่วไปทุกกลุ่ม                              91.2
2          พ่อค้า/แม่ค้ารายย่อย                               86.7
3          นักธุรกิจ                                        84.1
4          รัฐบาล                                         79.9
5          กลุ่มประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาล                        77.9
6          กลุ่มประชาชนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล                      77.0
7          นักการเมืองฝ่ายค้าน                               72.5

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ