โพลล์ระบุสาธารณชนวิตกกังวลต่อปัญหาการเมือง เรียกร้องทุกฝ่ายใช้สันติวิธี ชี้ควรตัดสิทธิทางการเมืองรายบุคคลมากกว่ายุบพรรค จี้
นายกทักษิณฯ เร่งชี้แจงข้อสงสัย ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมทุกกลุ่มการเมืองหวั่นสร้างความแตกแยกในสังคม
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สาธารณชนรู้สึกอย่างไรต่อ
วิกฤตการเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14 จังหวัดทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ
เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น
2,418 คน ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 — 13 กรกฎาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 65 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 19.0 ติดตามบ้างและร้อย
ละ 16.4 ไม่ได้ติดตามเลย แต่เมื่อสอบถามทุกคนถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์
การเมืองขณะนี้ เกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 23.5 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.1 เบื่อหน่ายเรื่องการ
เมืองและร้อยละ 97.9 เรียกร้องทุกฝ่ายแก้ปัญหาการเมืองด้วยสันติวิธี
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองกับเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคลกรณีทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ผล
สำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.2 คิดว่าควรตัดสิทธิการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่าการยุบพรรค โดยระบุเหตผลว่า ใครทำผิดควร
ลงโทษคนนั้น/ พรรคการเมืองไม่ได้ทำผิดอะไร/ คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด และมีปัญหาตามมาน้อยที่สุด เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 25.6 คิดว่าควรยุบ
พรรคการเมืองมากกว่า เพราะจะได้เริ่มต้นกันใหม่หมด/ พรรคปัดความรับผิดชอบไม่ได้ /เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพรรค และคิด
ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 20.2 คิดว่าไม่ควรลงโทษใครเลย เพราะมีผลกระทบสร้างความขัดแย้ง/ ควรหันหน้าเจรจาแก้
ปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่า/ ควรเริ่มต้นกันใหม่/ ควรให้อภัยกัน เป็นต้น และร้อยละ 11.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ในหลักวิเคราะห์ตัวเลขผลสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนนั้น ถ้าตัวเลขที่ค้นพบต่ำว่าร้อยละ 50 มักจะตกเป็นที่
วิพากษ์วิจารณ์ได้ทั้งนั้น เมื่อสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 43.2 คิดว่าควรตัดสิทธิการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่ายุบพรรคการเมือง ก็ถือว่าความคิด
เห็นของสาธารณชนในเรื่องดังกล่าวยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประเด็นสำคัญนี้จึงยังเป็นปมทางการเมืองที่แก้ยากของประเทศไทยอยู่
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มคนที่ระบุว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่ายุบพรรคนั้น พบว่า ประชาชน
จำนวนมากหรือร้อยละ 42.8 คิดว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิดเท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 26.5 คิดว่าควรตัดสิทธิทาง
การเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิด ร้อยละ 9.7 คิดว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคน
ร้อยละ 5.8 คิดว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคเท่านั้น และร้อยละ 15.2 ไม่มีความเห็น
สำหรับความเห็นต่อพรรคการเมืองที่ควรถูกยุบเมื่อสอบถามเฉพาะคนที่คิดว่าควรยุบพรรคการเมือง พบว่า ร้อยละ 28.3 คิดว่าควรยุบทั้ง
สองพรรค ร้อยละ 23.5 คิดว่าควรยุบพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 20.1 คิดว่าควรยุบพรรคเล็ก ร้อยละ 16.7 คิดว่าควรยุบพรรคไทยรักไทย และร้อย
ละ 11.4 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความเห็นต่อการยอมรับต่อการตัดสินวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 คิดว่าทุกฝ่าย
ควรยอมรับ เพราะ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม/ เป็นทางออกที่ดีที่สุด/ เป็นวิธีแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี / เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในขณะที่
ร้อยละ 19.2 คิดว่าไม่ควรยอมรับ เพราะยังไม่มีความโปร่งใสเพียงพอ/ มีความสงสัยการทำงานของตุลาการบางท่าน / คิดว่ามีการเมืองอยู่เบื้อง
หลัง เป็นต้น และร้อยละ 17.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้ว่าผลสำรวจที่พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะยอมรับการตัดสินวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่มีค่าร้อยละเกือบ 1
ใน 5 ที่คิดว่าไม่ควรจะยอมรับ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญทางสถิติมากพอที่จะแสดงให้เห็นพลังเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ดังนั้นศาลรัฐ
ธรรมนูญต้องเร่งชี้แจงและแสดงความโปร่งใสในกระบวนการวินิจฉัยโดยเร็วเพื่อลดทอนความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ ของกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นหรือ
รู้สึกแตกต่างไปจากกระแสหลักของสังคม
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามสาธารณชนถึงการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายต่างๆ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1
ไม่เห็นด้วยเพราะเกรงจะสร้างความแตกแยกในสังคม/ จะมีการเผชิญหน้ากัน / ไม่เกิดผลดีต่อประเทศ/ ควรรอและเคารพการตัดสินตามกระบวนการ
ยุติธรรม เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 15.6 เห็นด้วยและร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นของสาธารณชนต่อความชัดเจนในการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีในการไขข้อข้องใจของประชาชนเรื่องต่างๆนั้น ผล
สำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.8 คิดว่ายังไม่ชัดเจนเพียงพอ เช่นเรื่องการซื้อขายหุ้น การเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกและกลุ่มทุนต่างชาติ และ
การกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 32.4 คิดว่าชี้แจงชัดเจนแล้ว และร้อยละ 16.8 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามถึงผลงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ระบุเห็นผลงานของ
รัฐบาลชัดเจนแล้วในเรื่องการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 23.5 ยังไม่เห็นผลงานชัดเจน และร้อยละ 14.2 ไม่มีความ
เห็น ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกเดิมๆ ของสาธารณชนต่อปัญหาการเมืองกำลังกลับมา ไม่ว่าจะเป็นความวิตก
กังวล ความเบื่อหน่ายและความขัดแย้งกับผู้อื่นในสังคม แต่ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และให้การยอมรับการวินิจฉัยตัดสิน
ของศาลรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจเคลือบแคลงสงสัยต่อการทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน แต่ขึ้นอยู่กับการชี้แจงและแสดงผลงาน
ของศาลฯ ที่จะสร้างการยอมรับจากสาธารณชนให้มากขึ้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อดูผลสำรวจหลายโครงการและปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง พบว่า ประเทศไทยและรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
สร้างระบบที่อาจจะดีแต่สลับซับซ้อนมากเกินไป ทำให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจยาก ตามไม่ทัน จึงเป็นช่องว่างทำให้ประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงและ
เกิดช่องโหว่ให้ฝ่ายการเมืองที่เข้มแข็งเข้าแทรกแซงส่ง “เครือข่ายคนการเมือง” เข้าสู่การมีอำนาจจัดการกลไกของรัฐได้อย่างแยบยล ส่งผลให้เกิด
ปรากฎการณ์ทางการเมืองในลักษณะที่ว่าระบบดีแต่ปัญหาอยู่ที่ “คน” จึงทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ไม่รู้จักจบสิ้น ความเคลือบแคลง
สงสัยถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะฝ่ายรัฐบาลมั่นใจมากเกินไปใน “ทุนทางการเมือง” ที่ตนเองมีอยู่เพราะประเมินว่าไร้คู่แข่ง ชนะใจ
ประชาชนในระดับรากฐานของสังคมที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ จนอาจจะไม่สนใจว่าสาธารณชนบางส่วนรู้สึกอย่างไร
“ประเทศไทยควรมีระบบที่เรียบง่ายในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป และควร
ลดช่องว่างระหว่างระบบกลไกต่างๆ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญกับความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชน เช่น ถ้ามีเพียงพฤติการณ์ที่ไม่โปร่งใส ไม่ต้องรอให้มีใบ
เสร็จ ก็น่าจะใช้ระบบกลไกของรัฐแยกคนเหล่านี้ออกไปจากอำนาจได้ง่าย เพราะสังคมไทยย่อมมีคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถอีกเป็นจำนวน
มากที่จะมาสานงานบริหารประเทศต่อ” ดร.นพดล กล่าว
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สาธารณชนรู้สึกอย่างไรต่อวิกฤตการเมือง
ขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14 จังหวัดทุกภาคของประเทศ” รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,418 คน ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 5 — 13 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 14 จังหวัดทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี
สมุทรปราการ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,418 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 14.7 อายุ 50-59 ปี
และร้อยละ 11.1 อายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 14.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 ระบุเป็นเกษตรกร
ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.5 อาชีพค้าขายส่วนตัว/อิสระ
ร้อยละ 11.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.1 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน
ในขณะที่ ร้อยละ 74.1 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 25.9 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 33.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 19.0
5 ไม่ได้ติดตาม 16.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 98.2
2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 97.9
3 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 85.1
4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.6
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 53.2
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 23.5
7 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 15.6
8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 12.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองใหญ่กับเรื่องตัดสิทธิ
ทางการเมืองเป็นรายบุคคล
ลำดับที่ ความคิดเห็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองใหญ่กับการตัดสิทธิรายบุคคล ค่าร้อยละ
1 ควรตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่า เพราะใครทำผิดควรลงโทษคนนั้น /
พรรคไม่ได้ทำผิดอะไร / เป็นทางออกที่ดีที่สุด/ มีปัญหาตามมาน้อยสุด เป็นต้น 43.2
2 ควรยุบพรรคการเมืองมากกว่า เพราะจะได้เริ่มต้นกันใหม่หมด / พรรคปัดความรับผิดชอบไม่ได้/
เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพรรค/ เป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นต้น 25.6
3 ไม่ควรลงโทษใครเลย เพราะมีผลกระทบสร้างความขัดแย้ง/ ควรหันหน้าเจรจาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่า/
ควรเริ่มต้นกันใหม่/ ควรให้อภัยกัน เป็นต้น 20.2
4 ไม่มีความเห็น 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าตัดสิทธิทางการเมืองควรตัดสินใคร
(เฉพาะคนที่ระบุควรตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคล)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคเท่านั้น 5.8
2 ควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคน 9.7
3 ควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิด 26.5
4 ควรตัดสิทธิทางการเมืองเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิดเท่านั้น 42.8
5 ไม่มีความเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ควรถูกยุบ
(เฉพาะคนที่ระบุควรยุบพรรคการเมือง)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยุบพรรคไทยรักไทย 16.7
2 ยุบพรรคประชาธิปัตย์ 23.5
3 ยุบทั้งสองพรรค 28.3
4 ยุบเฉพาะพรรคเล็ก 20.1
5 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับต่อการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการยอมรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายควรยอมรับ เพราะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม/ เป็นทางออกที่ดีที่สุด/
เป็นวิธีแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี / เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 63.8
2 คิดว่าไม่ควรยอมรับเพราะ ยังไม่มีความโปร่งใสเพียงพอ/
มีความสงสัยการทำงานของตุลาการบางท่าน / คิดว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลัง เป็นต้น 19.2
3 ไม่มีความเห็น 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 15.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะสร้างความแตกแยกในสังคม/ จะมีการเผชิญหน้ากัน /
ไม่เกิดผลดีต่อประเทศ/ ควรรอและเคารพการตัดสินตามกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น 72.1
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีในการไขข้อข้องใจ
ของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ชี้แจงชัดเจนแล้ว 32.4
2 ยังไม่ชัดเจน เช่น การซื้อขายหุ้น การเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกและกลุ่มทุนต่างชาติ
และการกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 50.8
3 ไม่มีความเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความชัดเจนของผลงานรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในการแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนประชาชนจนเป็นที่ประจักษ์
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นผลงานชัดเจนแล้ว 62.3
2 ยังไม่เห็นผลงานชัดเจน 23.5
3 ไม่มีความเห็น 14.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
นายกทักษิณฯ เร่งชี้แจงข้อสงสัย ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมทุกกลุ่มการเมืองหวั่นสร้างความแตกแยกในสังคม
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สาธารณชนรู้สึกอย่างไรต่อ
วิกฤตการเมืองขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14 จังหวัดทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ
เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น
2,418 คน ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 — 13 กรกฎาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 65 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 19.0 ติดตามบ้างและร้อย
ละ 16.4 ไม่ได้ติดตามเลย แต่เมื่อสอบถามทุกคนถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์
การเมืองขณะนี้ เกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 23.5 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.1 เบื่อหน่ายเรื่องการ
เมืองและร้อยละ 97.9 เรียกร้องทุกฝ่ายแก้ปัญหาการเมืองด้วยสันติวิธี
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองกับเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคลกรณีทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ผล
สำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.2 คิดว่าควรตัดสิทธิการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่าการยุบพรรค โดยระบุเหตผลว่า ใครทำผิดควร
ลงโทษคนนั้น/ พรรคการเมืองไม่ได้ทำผิดอะไร/ คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด และมีปัญหาตามมาน้อยที่สุด เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 25.6 คิดว่าควรยุบ
พรรคการเมืองมากกว่า เพราะจะได้เริ่มต้นกันใหม่หมด/ พรรคปัดความรับผิดชอบไม่ได้ /เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพรรค และคิด
ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 20.2 คิดว่าไม่ควรลงโทษใครเลย เพราะมีผลกระทบสร้างความขัดแย้ง/ ควรหันหน้าเจรจาแก้
ปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่า/ ควรเริ่มต้นกันใหม่/ ควรให้อภัยกัน เป็นต้น และร้อยละ 11.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ในหลักวิเคราะห์ตัวเลขผลสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนนั้น ถ้าตัวเลขที่ค้นพบต่ำว่าร้อยละ 50 มักจะตกเป็นที่
วิพากษ์วิจารณ์ได้ทั้งนั้น เมื่อสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 43.2 คิดว่าควรตัดสิทธิการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่ายุบพรรคการเมือง ก็ถือว่าความคิด
เห็นของสาธารณชนในเรื่องดังกล่าวยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประเด็นสำคัญนี้จึงยังเป็นปมทางการเมืองที่แก้ยากของประเทศไทยอยู่
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มคนที่ระบุว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่ายุบพรรคนั้น พบว่า ประชาชน
จำนวนมากหรือร้อยละ 42.8 คิดว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิดเท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 26.5 คิดว่าควรตัดสิทธิทาง
การเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิด ร้อยละ 9.7 คิดว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคน
ร้อยละ 5.8 คิดว่าควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคเท่านั้น และร้อยละ 15.2 ไม่มีความเห็น
สำหรับความเห็นต่อพรรคการเมืองที่ควรถูกยุบเมื่อสอบถามเฉพาะคนที่คิดว่าควรยุบพรรคการเมือง พบว่า ร้อยละ 28.3 คิดว่าควรยุบทั้ง
สองพรรค ร้อยละ 23.5 คิดว่าควรยุบพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 20.1 คิดว่าควรยุบพรรคเล็ก ร้อยละ 16.7 คิดว่าควรยุบพรรคไทยรักไทย และร้อย
ละ 11.4 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความเห็นต่อการยอมรับต่อการตัดสินวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 คิดว่าทุกฝ่าย
ควรยอมรับ เพราะ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม/ เป็นทางออกที่ดีที่สุด/ เป็นวิธีแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี / เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในขณะที่
ร้อยละ 19.2 คิดว่าไม่ควรยอมรับ เพราะยังไม่มีความโปร่งใสเพียงพอ/ มีความสงสัยการทำงานของตุลาการบางท่าน / คิดว่ามีการเมืองอยู่เบื้อง
หลัง เป็นต้น และร้อยละ 17.0 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้ว่าผลสำรวจที่พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะยอมรับการตัดสินวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่มีค่าร้อยละเกือบ 1
ใน 5 ที่คิดว่าไม่ควรจะยอมรับ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญทางสถิติมากพอที่จะแสดงให้เห็นพลังเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ดังนั้นศาลรัฐ
ธรรมนูญต้องเร่งชี้แจงและแสดงความโปร่งใสในกระบวนการวินิจฉัยโดยเร็วเพื่อลดทอนความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ ของกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นหรือ
รู้สึกแตกต่างไปจากกระแสหลักของสังคม
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามสาธารณชนถึงการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายต่างๆ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1
ไม่เห็นด้วยเพราะเกรงจะสร้างความแตกแยกในสังคม/ จะมีการเผชิญหน้ากัน / ไม่เกิดผลดีต่อประเทศ/ ควรรอและเคารพการตัดสินตามกระบวนการ
ยุติธรรม เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 15.6 เห็นด้วยและร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น
สำหรับความคิดเห็นของสาธารณชนต่อความชัดเจนในการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีในการไขข้อข้องใจของประชาชนเรื่องต่างๆนั้น ผล
สำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.8 คิดว่ายังไม่ชัดเจนเพียงพอ เช่นเรื่องการซื้อขายหุ้น การเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกและกลุ่มทุนต่างชาติ และ
การกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 32.4 คิดว่าชี้แจงชัดเจนแล้ว และร้อยละ 16.8 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามถึงผลงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ระบุเห็นผลงานของ
รัฐบาลชัดเจนแล้วในเรื่องการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 23.5 ยังไม่เห็นผลงานชัดเจน และร้อยละ 14.2 ไม่มีความ
เห็น ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกเดิมๆ ของสาธารณชนต่อปัญหาการเมืองกำลังกลับมา ไม่ว่าจะเป็นความวิตก
กังวล ความเบื่อหน่ายและความขัดแย้งกับผู้อื่นในสังคม แต่ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และให้การยอมรับการวินิจฉัยตัดสิน
ของศาลรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจเคลือบแคลงสงสัยต่อการทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน แต่ขึ้นอยู่กับการชี้แจงและแสดงผลงาน
ของศาลฯ ที่จะสร้างการยอมรับจากสาธารณชนให้มากขึ้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อดูผลสำรวจหลายโครงการและปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง พบว่า ประเทศไทยและรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
สร้างระบบที่อาจจะดีแต่สลับซับซ้อนมากเกินไป ทำให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจยาก ตามไม่ทัน จึงเป็นช่องว่างทำให้ประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงและ
เกิดช่องโหว่ให้ฝ่ายการเมืองที่เข้มแข็งเข้าแทรกแซงส่ง “เครือข่ายคนการเมือง” เข้าสู่การมีอำนาจจัดการกลไกของรัฐได้อย่างแยบยล ส่งผลให้เกิด
ปรากฎการณ์ทางการเมืองในลักษณะที่ว่าระบบดีแต่ปัญหาอยู่ที่ “คน” จึงทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ไม่รู้จักจบสิ้น ความเคลือบแคลง
สงสัยถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะฝ่ายรัฐบาลมั่นใจมากเกินไปใน “ทุนทางการเมือง” ที่ตนเองมีอยู่เพราะประเมินว่าไร้คู่แข่ง ชนะใจ
ประชาชนในระดับรากฐานของสังคมที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ จนอาจจะไม่สนใจว่าสาธารณชนบางส่วนรู้สึกอย่างไร
“ประเทศไทยควรมีระบบที่เรียบง่ายในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป และควร
ลดช่องว่างระหว่างระบบกลไกต่างๆ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญกับความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชน เช่น ถ้ามีเพียงพฤติการณ์ที่ไม่โปร่งใส ไม่ต้องรอให้มีใบ
เสร็จ ก็น่าจะใช้ระบบกลไกของรัฐแยกคนเหล่านี้ออกไปจากอำนาจได้ง่าย เพราะสังคมไทยย่อมมีคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถอีกเป็นจำนวน
มากที่จะมาสานงานบริหารประเทศต่อ” ดร.นพดล กล่าว
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สาธารณชนรู้สึกอย่างไรต่อวิกฤตการเมือง
ขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14 จังหวัดทุกภาคของประเทศ” รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,418 คน ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 5 — 13 กรกฎาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 14 จังหวัดทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี
สมุทรปราการ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,418 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 14.7 อายุ 50-59 ปี
และร้อยละ 11.1 อายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 14.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 ระบุเป็นเกษตรกร
ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.5 อาชีพค้าขายส่วนตัว/อิสระ
ร้อยละ 11.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.1 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.2 ระบุว่างงาน
ในขณะที่ ร้อยละ 74.1 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 25.9 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 33.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 19.0
5 ไม่ได้ติดตาม 16.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 98.2
2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 97.9
3 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 85.1
4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.6
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 53.2
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 23.5
7 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 15.6
8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 12.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองใหญ่กับเรื่องตัดสิทธิ
ทางการเมืองเป็นรายบุคคล
ลำดับที่ ความคิดเห็นเรื่องการยุบพรรคการเมืองใหญ่กับการตัดสิทธิรายบุคคล ค่าร้อยละ
1 ควรตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคลมากกว่า เพราะใครทำผิดควรลงโทษคนนั้น /
พรรคไม่ได้ทำผิดอะไร / เป็นทางออกที่ดีที่สุด/ มีปัญหาตามมาน้อยสุด เป็นต้น 43.2
2 ควรยุบพรรคการเมืองมากกว่า เพราะจะได้เริ่มต้นกันใหม่หมด / พรรคปัดความรับผิดชอบไม่ได้/
เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพรรค/ เป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นต้น 25.6
3 ไม่ควรลงโทษใครเลย เพราะมีผลกระทบสร้างความขัดแย้ง/ ควรหันหน้าเจรจาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่า/
ควรเริ่มต้นกันใหม่/ ควรให้อภัยกัน เป็นต้น 20.2
4 ไม่มีความเห็น 11.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าตัดสิทธิทางการเมืองควรตัดสินใคร
(เฉพาะคนที่ระบุควรตัดสิทธิทางการเมืองเป็นรายบุคคล)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคเท่านั้น 5.8
2 ควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคน 9.7
3 ควรตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิด 26.5
4 ควรตัดสิทธิทางการเมืองเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิดเท่านั้น 42.8
5 ไม่มีความเห็น 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ควรถูกยุบ
(เฉพาะคนที่ระบุควรยุบพรรคการเมือง)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยุบพรรคไทยรักไทย 16.7
2 ยุบพรรคประชาธิปัตย์ 23.5
3 ยุบทั้งสองพรรค 28.3
4 ยุบเฉพาะพรรคเล็ก 20.1
5 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับต่อการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการยอมรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทุกฝ่ายควรยอมรับ เพราะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม/ เป็นทางออกที่ดีที่สุด/
เป็นวิธีแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี / เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 63.8
2 คิดว่าไม่ควรยอมรับเพราะ ยังไม่มีความโปร่งใสเพียงพอ/
มีความสงสัยการทำงานของตุลาการบางท่าน / คิดว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลัง เป็นต้น 19.2
3 ไม่มีความเห็น 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 15.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะสร้างความแตกแยกในสังคม/ จะมีการเผชิญหน้ากัน /
ไม่เกิดผลดีต่อประเทศ/ ควรรอและเคารพการตัดสินตามกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น 72.1
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการชี้แจงของนายกรัฐมนตรีในการไขข้อข้องใจ
ของประชาชน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ชี้แจงชัดเจนแล้ว 32.4
2 ยังไม่ชัดเจน เช่น การซื้อขายหุ้น การเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกและกลุ่มทุนต่างชาติ
และการกล่าวพาดพิงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 50.8
3 ไม่มีความเห็น 16.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความชัดเจนของผลงานรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในการแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนประชาชนจนเป็นที่ประจักษ์
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นผลงานชัดเจนแล้ว 62.3
2 ยังไม่เห็นผลงานชัดเจน 23.5
3 ไม่มีความเห็น 14.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-