ที่มาของโครงการ
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาคุณภาพเยาวชนไทยกำลังอยู่ในภาวะที่เรียกได้ว่า “วิกฤต” การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการขายบริการ
ทางเพศในกลุ่มวัยรุ่น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอจนแทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ยังพบว่าตัวเลขรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ
โรคเอดส์ในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นนักเรียน/นักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องต่างตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและได้มีการดำเนินการแก้ไข
ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอให้มีการตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยแบบ
หยอดเหรียญในสถานศึกษาเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งข่าวนี้ได้รับความสนใจและติดตามจากประชาชนทั่วไป ตลอดจนสถาบันการศึกษาและสื่อ
มวลชนอย่างอย่างแพร่หลาย โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ในด้านความเหมาะสมที่หลาย ฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าการตั้งตู้ขายถุงยางอนามัย
แบบหยอดเหรียญในสถานศึกษาจะสามารถแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนได้มากน้อยเพียงใด และในทางกลับกันอาจเป็นการยั่วยุ/ส่งเสริมให้
นักเรียน นักศึกษามีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากขึ้นได้หรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อกรณีข่าวการตั้งตู้ขายถุงยางในสถานศึกษา ตลอดจนผลกระทบต่อแนวโน้มการมี
เพศสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่นที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในทรรศนะของประชาชน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บข้อมูล ลงพื้นที่ ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการตั้งตู้ขายถุงยางหยอดเหรียญในสถาบันการศึกษา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่นที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งตู้ขายถุงยาง
หยอดเหรียญในสถาบันการศึกษา
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีข่าวการ
ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยในสถานศึกษา : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 3-4
กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,453 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 15.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 3.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีข่าวการตั้งตู้ขายถุง
ยางอนามัยในสถานศึกษา : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,453 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวการตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยในสถานศึกษา พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ
64.9 ระบุติดตามข่าวกรณี นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสนอให้ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 35.1 ไม่ได้ติดตามข่าวดังกล่าว
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความยากง่ายในการซื้อถุงยางอนามัย พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 89.6 ระบุความคิด
เห็นว่าถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ง่าย มีเพียงร้อยละ 4.7 ระบุความคิดเห็นว่าถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ยาก ในขณะที่ร้อยละ 5.7 ระบุไม่
มีความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความรู้สึกของประชาชนหากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเองตามร้านค้า/ร้านขายยาทั่วไป
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.5 ระบุไม่รู้สึกลำบากใจหากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเอง ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ระบุว่ารู้สึกลำบาก
ใจ และร้อยละ 18.4 ระบุไม่มีความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ของ
ประชาชนทั่วไป พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาไม่สามารถทำให้วัยรุ่น
ตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องได้ ในขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุว่าสามารถทำให้วัยรุ่นตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องได้ และ
ร้อยละ 16.2 ระบุไม่มีความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม
วัยรุ่น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.2 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาสามารถช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัย
รุ่นได้ ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาไม่สามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ และร้อยละ 10.9 ระบุไม่
มีความคิดเห็น
นอกจากนี้จากผลการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับมุมมองของวัยรุ่นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
63.4 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีผลทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ร้อยละ
24.6 ระบุไม่มีผล และร้อยละ 12.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น และอีกประเด็นที่ได้ค้นพบจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
70.8 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์ มีเพียงร้อยละ 19.1 ระบุการตั้งขายถุง
ยางอนามัยฯ ไม่มีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 10.1 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา ซึ่งพบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 62.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 11.5 ระบุไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้
ทำการวิเคราะห์จำแนกเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา พบว่า ตัวอย่างที่มีอายุ
มากกว่า จะมีสัดส่วนของคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวสูงกว่าตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้โดยภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่
ติดตามข่าวการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา ในจำนวนที่ติดตามส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญ
ในสถานศึกษาครั้งนี้ ของนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และยิ่งไปกว่านั้นประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่า 1 ใน 4 คิดว่า
การตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษานั้นจะมีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์
แนวทางแก้ไขที่สำคัญคือ รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนชุมชน และสถาบันครอบครัว ต้องร่วมกันแก้ไข
ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนที่ต้นเหตุ การสร้างการรับรู้ ---เ ความเข้าใจ--เ ความตระหนัก --เ การยอมรับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย
และการปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนต้องแสดงบทบาทในการส่งข้อมูลข่าวสารหรือข้อคิดไปยังเด็กและเยาวชน
เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันเอชไวอีที่ดี การควบคุมการเผยแพร่สื่อลามก และการดำเนินการควรเน้นร่วมมือเชิง
บูรณาการระหว่างสื่อ สถาบันการศึกษา สถานประกอบการและชุมชน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สาธารณสุข เสนอให้ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา
ลำดับที่ การติดตามข่าว “ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 64.9
2 ไม่ได้ติดตาม 35.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับความยากง่ายในการซื้อถุงยางอนามัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ความยากง่ายในการซื้อถุงยางอนามัย” ค่าร้อยละ
1 ง่าย 89.6
2 ยาก 4.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึก หากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเองตามร้านค้า/
ร้านขายยาทั่วไป
ลำดับที่ ความรู้สึก “หากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเองตามร้านค้า/ร้านขายยาทั่วไป” ค่าร้อยละ
1 ลำบากใจ 23.1
2 ไม่ลำบากใจ 58.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษาจะทำให้วัยรุ่นตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาทำให้วัยรุ่นตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ค่าร้อยละ
1 ได้ 34.8
2 ไม่ได้ 49.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษาจะช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
1 ช่วยลดได้ 46.2
2 ไม่ช่วย 42.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษาจะมีผลทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีผลทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ ค่าร้อยละ
1 มีผล 63.4
2 ไม่มีผล 24.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษามีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 มีส่วนกระตุ้น 70.8
2 ไม่มีส่วนกระตุ้น 19.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา ภาพรวม ช่วงอายุ
น้อยกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40 ปีขึ้นไป
1 เห็นด้วย 26.1 43.0 29.0 26.6 20.2
2 ไม่เห็นด้วย 62.4 41.8 57.6 62.7 70.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.5 15.2 13.3 10.7 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาคุณภาพเยาวชนไทยกำลังอยู่ในภาวะที่เรียกได้ว่า “วิกฤต” การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการขายบริการ
ทางเพศในกลุ่มวัยรุ่น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอจนแทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ยังพบว่าตัวเลขรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ
โรคเอดส์ในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นนักเรียน/นักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องต่างตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและได้มีการดำเนินการแก้ไข
ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอให้มีการตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยแบบ
หยอดเหรียญในสถานศึกษาเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งข่าวนี้ได้รับความสนใจและติดตามจากประชาชนทั่วไป ตลอดจนสถาบันการศึกษาและสื่อ
มวลชนอย่างอย่างแพร่หลาย โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ในด้านความเหมาะสมที่หลาย ฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าการตั้งตู้ขายถุงยางอนามัย
แบบหยอดเหรียญในสถานศึกษาจะสามารถแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนได้มากน้อยเพียงใด และในทางกลับกันอาจเป็นการยั่วยุ/ส่งเสริมให้
นักเรียน นักศึกษามีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากขึ้นได้หรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อกรณีข่าวการตั้งตู้ขายถุงยางในสถานศึกษา ตลอดจนผลกระทบต่อแนวโน้มการมี
เพศสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่นที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในทรรศนะของประชาชน ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บข้อมูล ลงพื้นที่ ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการตั้งตู้ขายถุงยางหยอดเหรียญในสถาบันการศึกษา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่นที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งตู้ขายถุงยาง
หยอดเหรียญในสถาบันการศึกษา
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีข่าวการ
ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยในสถานศึกษา : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 3-4
กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,453 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 15.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 3.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีข่าวการตั้งตู้ขายถุง
ยางอนามัยในสถานศึกษา : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,453 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวการตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยในสถานศึกษา พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ
64.9 ระบุติดตามข่าวกรณี นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสนอให้ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 35.1 ไม่ได้ติดตามข่าวดังกล่าว
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความยากง่ายในการซื้อถุงยางอนามัย พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 89.6 ระบุความคิด
เห็นว่าถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ง่าย มีเพียงร้อยละ 4.7 ระบุความคิดเห็นว่าถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ยาก ในขณะที่ร้อยละ 5.7 ระบุไม่
มีความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความรู้สึกของประชาชนหากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเองตามร้านค้า/ร้านขายยาทั่วไป
นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.5 ระบุไม่รู้สึกลำบากใจหากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเอง ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ระบุว่ารู้สึกลำบาก
ใจ และร้อยละ 18.4 ระบุไม่มีความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ของ
ประชาชนทั่วไป พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาไม่สามารถทำให้วัยรุ่น
ตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องได้ ในขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุว่าสามารถทำให้วัยรุ่นตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องได้ และ
ร้อยละ 16.2 ระบุไม่มีความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม
วัยรุ่น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.2 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาสามารถช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัย
รุ่นได้ ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาไม่สามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ และร้อยละ 10.9 ระบุไม่
มีความคิดเห็น
นอกจากนี้จากผลการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับมุมมองของวัยรุ่นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
63.4 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีผลทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ร้อยละ
24.6 ระบุไม่มีผล และร้อยละ 12.0 ระบุไม่มีความคิดเห็น และอีกประเด็นที่ได้ค้นพบจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
70.8 ระบุการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์ มีเพียงร้อยละ 19.1 ระบุการตั้งขายถุง
ยางอนามัยฯ ไม่มีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 10.1 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา ซึ่งพบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 62.4 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 11.5 ระบุไม่มีความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้
ทำการวิเคราะห์จำแนกเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา พบว่า ตัวอย่างที่มีอายุ
มากกว่า จะมีสัดส่วนของคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวสูงกว่าตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้โดยภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่
ติดตามข่าวการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา ในจำนวนที่ติดตามส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญ
ในสถานศึกษาครั้งนี้ ของนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และยิ่งไปกว่านั้นประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่า 1 ใน 4 คิดว่า
การตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษานั้นจะมีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์
แนวทางแก้ไขที่สำคัญคือ รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนชุมชน และสถาบันครอบครัว ต้องร่วมกันแก้ไข
ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนที่ต้นเหตุ การสร้างการรับรู้ ---เ ความเข้าใจ--เ ความตระหนัก --เ การยอมรับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย
และการปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันสื่อมวลชนต้องแสดงบทบาทในการส่งข้อมูลข่าวสารหรือข้อคิดไปยังเด็กและเยาวชน
เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันเอชไวอีที่ดี การควบคุมการเผยแพร่สื่อลามก และการดำเนินการควรเน้นร่วมมือเชิง
บูรณาการระหว่างสื่อ สถาบันการศึกษา สถานประกอบการและชุมชน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สาธารณสุข เสนอให้ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา
ลำดับที่ การติดตามข่าว “ตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา” ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 64.9
2 ไม่ได้ติดตาม 35.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับความยากง่ายในการซื้อถุงยางอนามัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ความยากง่ายในการซื้อถุงยางอนามัย” ค่าร้อยละ
1 ง่าย 89.6
2 ยาก 4.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึก หากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเองตามร้านค้า/
ร้านขายยาทั่วไป
ลำดับที่ ความรู้สึก “หากต้องเข้าไปซื้อถุงยางอนามัยด้วยตนเองตามร้านค้า/ร้านขายยาทั่วไป” ค่าร้อยละ
1 ลำบากใจ 23.1
2 ไม่ลำบากใจ 58.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษาจะทำให้วัยรุ่นตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาทำให้วัยรุ่นตระหนักถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ค่าร้อยละ
1 ได้ 34.8
2 ไม่ได้ 49.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษาจะช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษาช่วยลดปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น ค่าร้อยละ
1 ช่วยลดได้ 46.2
2 ไม่ช่วย 42.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษาจะมีผลทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีผลทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ ค่าร้อยละ
1 มีผล 63.4
2 ไม่มีผล 24.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญใน
สถานศึกษามีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ คิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษามีส่วนกระตุ้นให้วัยรุ่นอยากมีเพศสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 มีส่วนกระตุ้น 70.8
2 ไม่มีส่วนกระตุ้น 19.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งขายถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในสถานศึกษา ภาพรวม ช่วงอายุ
น้อยกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40 ปีขึ้นไป
1 เห็นด้วย 26.1 43.0 29.0 26.6 20.2
2 ไม่เห็นด้วย 62.4 41.8 57.6 62.7 70.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.5 15.2 13.3 10.7 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-