แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
การเคลื่อนไหวของสังคมไทยที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สะท้อนภาพความตื่นตัวทางการเมืองของ
ประชาชนชาวไทย ซึ่งถ้ามองในแง่ดีแล้ว บทบาททางการเมืองของภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้นนับได้ว่าเป็น “พลังขับเคลื่อนทาง
สังคม” ที่สำคัญยิ่งที่จะช่วยผลักดันให้ประชาธิปไตยของไทยมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ในกระแสความก้าวหน้าทางการเมืองที่
กำลังเกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ก็มี “จุดเปราะบางทางการเมือง” ที่ทุกภาคส่วนควรต้องช่วยกันประคับประคองอย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน
การที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรประชาชน พรรคร่วมฝ่ายค้าน และรัฐบาลได้ออกมาเสนอทางออกให้กับการเมืองไทยใน
ขณะนี้ ทั้งข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก หรือยุติบทบาททางการเมือง การเรียกร้องให้ฝ่ายค้านส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง หรือแนวคิดที่จะให้มีคน
กลางเจรจาไกล่เกลี่ย เหล่านี้ นับได้ว่าเป็นความพยายามในการแสดงออกซึ่งหนทางที่จะช่วยลดความรุนแรงของสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่หากว่า
ต่างฝ่ายต่างเสนอ ต่างยึดถือ และต่างมุ่งมั่นวิถีทางของตนเองโดยไม่ยอมลดราวาศอกไม่มีความจริงใจให้แก่กันอย่างแท้จริง ก็น่าเป็นห่วงว่าการเมือง
ไทยจะพบกับจุดจบของปัญหาอย่างไร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
กรณีสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปราศรัยของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการยุติความร้อนแรงทางการเมืองไทย
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อ
ความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “จุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันในสายตา
ประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 4 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,284 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.4 เป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 5.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.4 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “จุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันในสายตา
ประชาชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,284 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 4 มีนาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันส่งผลให้เห็นว่าประชาชนมีพฤติกรรมติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดโดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ
93.9 ติดตามข่าวผ่านทางโทรทัศน์ และที่น่าสนใจคือร้อยละ 60.0 ติดตามข่าวผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่ามีประมาณร้อยละ
40-50 เท่านั้น และร้อยละ 35.8 ติดตามผ่านวิทยุ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.4 มีการติดตามสถานการณ์การ
เมืองผ่านการสนทนาพูดคุยกันปากต่อปาก ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ติดตามข่าวสารประจำวันทุกวัน/เกือบทุกวันต่อสัปดาห์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ติดตามเฉลี่ย 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.7 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ และมีเพียงร้อยละ 3.2 เท่านั้นที่ระบุบางสัปดาห์ไม่
ได้ติดตามเลย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ระบุว่าความร้อนแรงของวิกฤตการณ์ทาง
การเมืองขณะนี้อยู่ในระดับที่มากคือให้คะแนนตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 7.2 เท่านั้นที่ให้คะแนนความร้อนแรงทางการเมืองต่ำกว่า 50
คะแนนจากคะแนนเต็ม 100
“เมื่อถามว่ารู้สึกกังวลใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.7 รู้สึกกังวลใจโดย
สิ่งที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นได้แก่ กลัวเศรษฐกิจของประเทศจะตกต่ำ กลัวการปฏิบัติ กลัวการแทรกแซงของกลุ่มก่อการร้าย และกลัวคนไทยจะทำร้ายกัน
เอง ในขณะที่ร้อยละ 29.7 ไม่กังวลใจ และร้อยละ 19.6 ไม่มีความเห็นเพราะยังบอกไม่ได้ว่ารู้สึกกังวลใจหรือไม่” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาสำหรับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรคือ การขึ้นปราศรัยชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปของ
นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า กลุ่มคนที่เห็นว่าชี้แจงชัดเจนแล้วกับค่อนข้างชัดเจนมีจำนวนก้ำกึ่งกันกับกลุ่มคนที่เห็นว่าชี้แจง
ไม่ค่อยชัดเจนกับไม่ชัดเจนเลย คือร้อยละ 37.7 ต่อร้อยละ 36.0 ที่เหลือร้อยละ 26.3 ไม่มีความเห็นต่อประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม คนกรุงเทพฯ และ
ปริมณฑลเกินครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.3 ยังคงเห็นว่าคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรจำเป็นต้องเสียภาษีจากการขายหุ้นชินฯ ทั้งๆ ที่เป็นความ
คิดเห็นหลังการชี้แจงวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 15.0 เห็นว่าไม่จำเป็นและร้อยละ 31.7 ไม่มีความเห็น ส่วนเรื่องความจริงใจของ พ.
ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการปฏิรูปการเมือง ผลสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 38.1 เท่านั้นที่เห็นว่ามีความจริงใจ ในขณะที่ร้อยละ 28.4 ยังเห็นว่าไม่จริง
ใจและร้อยละ 33.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.5 เห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ควรยุติบทบาททางการ
เมืองขณะนี้ ในขณะที่เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 28.9 เห็นว่าควร และร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น
“เมื่อสอบถามว่า ควรเปลี่ยนหัวหน้าพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 54.5 คิดว่าไม่ควรเปลี่ยน ในขณะที่ร้อยละ 14.4
เห็นว่าควรเปลี่ยน โดยคนที่ควรมารับตำแหน่งได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่
เหลือร้อยละ 31.1 ไม่มีความเห็น และเมื่อถามว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมืองขึ้นมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรไปทำอะไร ผล
สำรวจพบว่า ร้อยละ 43.1 บอกว่าควรกลับไปทำธุรกิจ ร้อยละ 34.3 บอกว่ากลับไปมีความสุขกับครอบครัว ร้อยละ 25.4 อยากให้เป็นประธานมูลนิธิ
การกุศลบริจาคเพื่อสังคม ร้อยละ 11.8 ระบุว่าควรไปพักอาศัยในต่างประเทศ ร้อยละ 9.8 บอกว่าควรไปท่องเที่ยวทั่วไทยและต่างประเทศ และร้อย
ละ 9.2 บอกว่าควรเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวถึงผลสำรวจต่อว่า ประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.7 เห็นด้วยที่จะให้มีคนกลางเจราจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติความขัด
แย้งระหว่างกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ในขณะนี้ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายอานันท์ ปันยารชุน และพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.8 ไม่มีความเห็น
“เมื่อสอบถามว่า แล้วคิดว่าจุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้จะจบลงอย่างไร โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ผลสำรวจพบว่า ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 34.6 ยังมองโลกในแง่ดีโดยคิดว่าจะจบลงด้วยดี ทุกฝ่าย
หันหน้าเจรจากันด้วยสันติวิธี ร้อยละ 25.8 คิดว่าจะมีการเลือกตั้งและทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง ร้อยละ 20.4 คิดว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก ร้อย
ละ 9.8 คิดว่าจะเกิดความแตกแยกรุนแรง มีการปะทะกัน ร้อยละ 5.5 คิดว่าจะเกิดปฏิวัติ รัฐประหาร และร้อยละ 5.3 คิดว่าทุกฝ่ายจะยอมรับฟัง
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ตามลำดับ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าววิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในพื้นที่สีแดงซึ่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดเหตุรุนแรงบานปลายทาง
การเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกไม่แน่ใจและกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ร้อน
แรง อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ดีก็คือ บนพื้นฐานของสันติวิธี สถานการณ์การเมืองขณะนี้กำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ทำให้ประชาชน
ค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น ส่งผลให้อารมณ์และความรู้สึกของสาธารณชนจะค่อยๆ ยอมรับกับการเปลี่ยน
แปลงได้ แม้แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้ผู้นำที่ตนเองนิยมศรัทธาไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ เพราะสังคมไทยคงจะมีกลไกสร้างคนดีและผู้นำคน
ใหม่ขึ้นมาได้เสมอ
“แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผู้นำของแต่ละฝ่ายเร่งเร้าด้านอารมณ์ของฝูงชนให้มีแต่การเกลียดชังต่อกัน ผลที่ตามมาก็คือ อารมณ์และความรู้สึก
ของสาธารณชนจะเปลี่ยนไปสู่อคติที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายความสามัคคีปรองดองของคนในชาติและไม่เป็นผลดีต่อใครเลยเพราะจะไม่มีผู้ชนะที่น่า
ยกย่องบนซากปรักหักพังและการสูญเสียชีวิตของประชาชน โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า น่าตำหนิคนที่เสนอให้มีการเปิดตู้ ปณ.888 และจัดปราศรัยของ
นายกรัฐมนตรีที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา เพราะทำให้เกิดการต่อสู้ในเชิงตัวเลขจำนวนผู้สนับสนุนและผู้ชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรี
ซึ่งดูเหมือนว่า ฝ่ายรัฐบาลจะชนะในเรื่องของจำนวนตัวเลขผู้สนับสนุน เพราะมีการอ้างว่า มีคนส่งไปรษณียบัตรมาเป็นจำนวนถึง 5.3 ล้านฉบับ และ
ประกาศในวันที่ 3 มีนาคม ที่มีคนมาสนับสนุนร่วม 2 แสนคน แต่ในความเป็นจริง ในกลุ่มคนที่ส่งไปรษณียบัตรมานั้น มีการส่งซ้ำๆ มาจากกลุ่มคนคนเดียว
กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ส่งมาเพื่อตำหนิการทำงานของนายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้ลาออกด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะทำให้จำนวนผู้ที่สนับสนุนและผู้
ชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรีมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ที่มีอำนาจรัฐ ทำให้ประชาชนคนไทยกลัวต่อการใช้อำนาจ
รัฐ จึงไม่กล้าแสดงออก และจากภาพที่ออกมานั้น มีกลุ่มผู้ชุมนุมของฝ่ายพันธมิตรน้อยกว่าฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรี จึงเป็นผลให้พันธมิตรไม่ใช้ตัวเลขมา
อ้างอิงเพียงอย่างเดียว แต่จะมีวิธีการที่แสดงออกถึงการใช้อารมณ์และความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา และวิธีการเช่นนี้ เคยมี
การทำกันในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว แล้วประธานาธิบดีผู้นั้น ก็แพ้ต่อการเลือกตั้ง ผลกระทบอีกประการหนึ่ง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถึงแม้ว่าจุดจบของสถานการณ์การเมืองขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดตอนนี้คือ วันนี้ยังมีเวลาพอที่จะ
กล่าวว่าจุดจบของสถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในมือของประชาชนทุกคนที่จะช่วยกันสร้างกันขึ้นมา ในระยะสั้นก็คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรเริ่มมีความ
กล้าหาญด้วยการเปิดกว้างวันนี้เลยให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางและอิสระเข้ามาตรวจสอบการทำงานที่ผ่านมาของตนเองและพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้
อำนาจเอื้อประโยชน์คนใกล้ชิดว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ที่ต้องเป็นวิธีนี้เพราะตอนนี้องค์กรอิสระต่างๆ กำลังถูกตั้งข้อสงสัยในความรู้สึกของประชาชนหมู่
มากว่ายังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ส่วนในระยะยาวก็คือ เรื่องของการปฏิรูปการเมืองและปรับปรุงระบบที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการตรวจสอบ
ข้อพิรุธสงสัยต่างๆ ของมวลชนต่อพฤติกรรมของผู้นำประเทศและคนรอบข้าง องค์กรอิสระต่างๆ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และ
ปปช. เป็นต้น ต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่าเชื่อถือได้ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองหรือไม่มีพฤติการณ์ฝักใฝ่เอาใจ
ฝ่ายการเมือง ผลที่ตามมาน่าจะทำให้ความร้อนแรงของวิกฤตการณ์เมืองไทยขณะนี้น่าจะลดลงไปได้ และจุดจบของสถานการณ์การเมืองก็น่าจะกลายเป็น
ความแข็งแกร่งที่รากฐานทางการเมืองและเสถียรภาพของสังคมประเทศต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 93.9
2 หนังสือพิมพ์ 60.0
3 วิทยุ 35.8
4 สนทนาพูดคุย 25.4
5 อินเทอร์เนต 11.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารประจำวัน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารประจำวัน ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 69.6
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 18.5
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.7
4 บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตามเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คะแนนความร้อนแรงของวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ลำดับที่ คะแนนความร้อนแรงของวิกฤตการณ์ทางการเมือง ร้อยละ
1 ต่ำกว่า 50 คะแนน 7.2
2 50-59 คะแนน 20.4
3 60-69 คะแนน 9.7
4 70-79 คะแนน 20.0
5 ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในขณะนี้
ลำดับที่ ความกังวลใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทย ร้อยละ
1 กังวลใจ โดยสิ่งที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นได้แก่......กลัวเศรษฐกิจของประเทศจะตกต่ำ /
กลัวการปฏิวัติ/ กลัวการแทรกแซงของกลุ่มก่อการร้าย /กลัวคนไทยทำร้ายกันเอง 50.7
2 ไม่กังวลใจ 29.7
3 ไม่มีความเห็น 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ชี้แจงชัดเจนแล้ว 17.8
2 ค่อนข้างชัดเจน 19.9
3 ไม่ค่อยชัดเจน 21.7
4 ไม่ชัดเจน 14.3
5 ไม่มีความเห็น 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบุคคลใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการเสียภาษีจากการขายหุ้นชินคอร์ป
(ภายหลังการชี้แจงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 จำเป็นต้องเสียภาษี 53.3
2 ไม่จำเป็น 15.0
3 ไม่มีความเห็น 31.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความจริงใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการปฏิรูปการเมือง
(ภายหลังการชี้แจงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความจริงใจของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ
1 จริงใจ 38.1
2 ไม่จริงใจ 28.4
3 ไม่มีความเห็น 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการยุติบทบาททางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ควรยุติบทบาททางการเมือง 28.9
2 ไม่ควรยุติบทบาททางการเมือง 47.5
3 ไม่มีความเห็น 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ควรเปลี่ยน และคนที่ควรมารับตำแหน่ง ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ /คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ /
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นต้น 14.4
2 ไม่ควรเปลี่ยน 54.5
3 ไม่มีความเห็น 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทที่ควรจะเป็น ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ภายหลังหากมีการยุติบทบาททางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทที่ควรจะเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังหากมีการยุติบทบาททางการเมือง ค่าร้อยละ
1 กลับไปทำธุรกิจ 43.1
2 มีความสุขกับครอบครัว 34.3
3 ประธานมูลนิธิการกุศลบริจาคเพื่อสังคม 25.4
4 ไปพักอาศัยในต่างประเทศ 11.8
5 ท่องเที่ยวพักผ่อนทั่วไทยและต่างประเทศ 9.8
6 เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 9.2
7 ละทางโลก ใฝ่ในธรรมะ 7.8
8 จาริกแสวงบุญ ทำงานเพื่อองค์กรศาสนา 5.8
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่จะให้มีคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติ
ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นที่จะให้มีคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย โดยคนกลางที่อยากให้มาเจรจาไกล่เกลี่ย ได้แก่..... 47.7
- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์/นายอานันท์ ปันยารชุน/
- พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น
2 ไม่เห็นด้วย 18.5
3 ไม่มีความเห็น 33.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดจบของสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะจบลงด้วยดี โดยทุกฝ่ายหันหน้าเจรจากันด้วยสันติวิธี 34.6
2 มีการเลือกตั้งและทุกฝ่ายให้การยอมรับผลการเลือกตั้ง 25.8
3 นายกรัฐมนตรีลาออก 20.4
4 เกิดความแตกแยกรุนแรง /มีการปะทะกัน 9.8
5 เกิดรัฐประหาร/ปฏิว้ติ 5.5
6 ทุกฝ่ายยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน 5.3
7 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4.6
8 มีการชุมนุมยืดเยื้อต่อไป 3.9
9 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป 3.5
10 อื่นๆ อาทิ นายกรัฐมนตรีเดินทางออกนอกประเทศ/มีคนกลางเป็น
ผู้ไกล่เกลี่ย/มีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เป็นต้น 4.6
11 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร 61.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การเคลื่อนไหวของสังคมไทยที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สะท้อนภาพความตื่นตัวทางการเมืองของ
ประชาชนชาวไทย ซึ่งถ้ามองในแง่ดีแล้ว บทบาททางการเมืองของภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้นนับได้ว่าเป็น “พลังขับเคลื่อนทาง
สังคม” ที่สำคัญยิ่งที่จะช่วยผลักดันให้ประชาธิปไตยของไทยมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ในกระแสความก้าวหน้าทางการเมืองที่
กำลังเกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ก็มี “จุดเปราะบางทางการเมือง” ที่ทุกภาคส่วนควรต้องช่วยกันประคับประคองอย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน
การที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรประชาชน พรรคร่วมฝ่ายค้าน และรัฐบาลได้ออกมาเสนอทางออกให้กับการเมืองไทยใน
ขณะนี้ ทั้งข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก หรือยุติบทบาททางการเมือง การเรียกร้องให้ฝ่ายค้านส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง หรือแนวคิดที่จะให้มีคน
กลางเจรจาไกล่เกลี่ย เหล่านี้ นับได้ว่าเป็นความพยายามในการแสดงออกซึ่งหนทางที่จะช่วยลดความรุนแรงของสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่หากว่า
ต่างฝ่ายต่างเสนอ ต่างยึดถือ และต่างมุ่งมั่นวิถีทางของตนเองโดยไม่ยอมลดราวาศอกไม่มีความจริงใจให้แก่กันอย่างแท้จริง ก็น่าเป็นห่วงว่าการเมือง
ไทยจะพบกับจุดจบของปัญหาอย่างไร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
กรณีสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรี
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปราศรัยของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางในการยุติความร้อนแรงทางการเมืองไทย
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อ
ความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศ
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “จุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันในสายตา
ประชาชน: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 4 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,284 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.4 เป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 5.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.4 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 23.2 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 20.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “จุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันในสายตา
ประชาชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,284 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 4 มีนาคม 2549
ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันส่งผลให้เห็นว่าประชาชนมีพฤติกรรมติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดโดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ
93.9 ติดตามข่าวผ่านทางโทรทัศน์ และที่น่าสนใจคือร้อยละ 60.0 ติดตามข่าวผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่ามีประมาณร้อยละ
40-50 เท่านั้น และร้อยละ 35.8 ติดตามผ่านวิทยุ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.4 มีการติดตามสถานการณ์การ
เมืองผ่านการสนทนาพูดคุยกันปากต่อปาก ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ติดตามข่าวสารประจำวันทุกวัน/เกือบทุกวันต่อสัปดาห์ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ติดตามเฉลี่ย 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.7 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ และมีเพียงร้อยละ 3.2 เท่านั้นที่ระบุบางสัปดาห์ไม่
ได้ติดตามเลย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ระบุว่าความร้อนแรงของวิกฤตการณ์ทาง
การเมืองขณะนี้อยู่ในระดับที่มากคือให้คะแนนตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 7.2 เท่านั้นที่ให้คะแนนความร้อนแรงทางการเมืองต่ำกว่า 50
คะแนนจากคะแนนเต็ม 100
“เมื่อถามว่ารู้สึกกังวลใจต่อสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.7 รู้สึกกังวลใจโดย
สิ่งที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นได้แก่ กลัวเศรษฐกิจของประเทศจะตกต่ำ กลัวการปฏิบัติ กลัวการแทรกแซงของกลุ่มก่อการร้าย และกลัวคนไทยจะทำร้ายกัน
เอง ในขณะที่ร้อยละ 29.7 ไม่กังวลใจ และร้อยละ 19.6 ไม่มีความเห็นเพราะยังบอกไม่ได้ว่ารู้สึกกังวลใจหรือไม่” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาสำหรับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรคือ การขึ้นปราศรัยชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปของ
นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า กลุ่มคนที่เห็นว่าชี้แจงชัดเจนแล้วกับค่อนข้างชัดเจนมีจำนวนก้ำกึ่งกันกับกลุ่มคนที่เห็นว่าชี้แจง
ไม่ค่อยชัดเจนกับไม่ชัดเจนเลย คือร้อยละ 37.7 ต่อร้อยละ 36.0 ที่เหลือร้อยละ 26.3 ไม่มีความเห็นต่อประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม คนกรุงเทพฯ และ
ปริมณฑลเกินครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 53.3 ยังคงเห็นว่าคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรจำเป็นต้องเสียภาษีจากการขายหุ้นชินฯ ทั้งๆ ที่เป็นความ
คิดเห็นหลังการชี้แจงวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 15.0 เห็นว่าไม่จำเป็นและร้อยละ 31.7 ไม่มีความเห็น ส่วนเรื่องความจริงใจของ พ.
ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการปฏิรูปการเมือง ผลสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 38.1 เท่านั้นที่เห็นว่ามีความจริงใจ ในขณะที่ร้อยละ 28.4 ยังเห็นว่าไม่จริง
ใจและร้อยละ 33.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.5 เห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ควรยุติบทบาททางการ
เมืองขณะนี้ ในขณะที่เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 28.9 เห็นว่าควร และร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น
“เมื่อสอบถามว่า ควรเปลี่ยนหัวหน้าพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 54.5 คิดว่าไม่ควรเปลี่ยน ในขณะที่ร้อยละ 14.4
เห็นว่าควรเปลี่ยน โดยคนที่ควรมารับตำแหน่งได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ที่
เหลือร้อยละ 31.1 ไม่มีความเห็น และเมื่อถามว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมืองขึ้นมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรไปทำอะไร ผล
สำรวจพบว่า ร้อยละ 43.1 บอกว่าควรกลับไปทำธุรกิจ ร้อยละ 34.3 บอกว่ากลับไปมีความสุขกับครอบครัว ร้อยละ 25.4 อยากให้เป็นประธานมูลนิธิ
การกุศลบริจาคเพื่อสังคม ร้อยละ 11.8 ระบุว่าควรไปพักอาศัยในต่างประเทศ ร้อยละ 9.8 บอกว่าควรไปท่องเที่ยวทั่วไทยและต่างประเทศ และร้อย
ละ 9.2 บอกว่าควรเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวถึงผลสำรวจต่อว่า ประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.7 เห็นด้วยที่จะให้มีคนกลางเจราจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติความขัด
แย้งระหว่างกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ในขณะนี้ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายอานันท์ ปันยารชุน และพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.8 ไม่มีความเห็น
“เมื่อสอบถามว่า แล้วคิดว่าจุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้จะจบลงอย่างไร โดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ผลสำรวจพบว่า ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 61.8 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 34.6 ยังมองโลกในแง่ดีโดยคิดว่าจะจบลงด้วยดี ทุกฝ่าย
หันหน้าเจรจากันด้วยสันติวิธี ร้อยละ 25.8 คิดว่าจะมีการเลือกตั้งและทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง ร้อยละ 20.4 คิดว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก ร้อย
ละ 9.8 คิดว่าจะเกิดความแตกแยกรุนแรง มีการปะทะกัน ร้อยละ 5.5 คิดว่าจะเกิดปฏิวัติ รัฐประหาร และร้อยละ 5.3 คิดว่าทุกฝ่ายจะยอมรับฟัง
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ตามลำดับ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าววิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในพื้นที่สีแดงซึ่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดเหตุรุนแรงบานปลายทาง
การเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกไม่แน่ใจและกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ร้อน
แรง อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ดีก็คือ บนพื้นฐานของสันติวิธี สถานการณ์การเมืองขณะนี้กำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ทำให้ประชาชน
ค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น ส่งผลให้อารมณ์และความรู้สึกของสาธารณชนจะค่อยๆ ยอมรับกับการเปลี่ยน
แปลงได้ แม้แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้ผู้นำที่ตนเองนิยมศรัทธาไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ เพราะสังคมไทยคงจะมีกลไกสร้างคนดีและผู้นำคน
ใหม่ขึ้นมาได้เสมอ
“แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผู้นำของแต่ละฝ่ายเร่งเร้าด้านอารมณ์ของฝูงชนให้มีแต่การเกลียดชังต่อกัน ผลที่ตามมาก็คือ อารมณ์และความรู้สึก
ของสาธารณชนจะเปลี่ยนไปสู่อคติที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายความสามัคคีปรองดองของคนในชาติและไม่เป็นผลดีต่อใครเลยเพราะจะไม่มีผู้ชนะที่น่า
ยกย่องบนซากปรักหักพังและการสูญเสียชีวิตของประชาชน โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า น่าตำหนิคนที่เสนอให้มีการเปิดตู้ ปณ.888 และจัดปราศรัยของ
นายกรัฐมนตรีที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา เพราะทำให้เกิดการต่อสู้ในเชิงตัวเลขจำนวนผู้สนับสนุนและผู้ชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรี
ซึ่งดูเหมือนว่า ฝ่ายรัฐบาลจะชนะในเรื่องของจำนวนตัวเลขผู้สนับสนุน เพราะมีการอ้างว่า มีคนส่งไปรษณียบัตรมาเป็นจำนวนถึง 5.3 ล้านฉบับ และ
ประกาศในวันที่ 3 มีนาคม ที่มีคนมาสนับสนุนร่วม 2 แสนคน แต่ในความเป็นจริง ในกลุ่มคนที่ส่งไปรษณียบัตรมานั้น มีการส่งซ้ำๆ มาจากกลุ่มคนคนเดียว
กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ส่งมาเพื่อตำหนิการทำงานของนายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้ลาออกด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะทำให้จำนวนผู้ที่สนับสนุนและผู้
ชุมนุมประท้วงนายกรัฐมนตรีมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ที่มีอำนาจรัฐ ทำให้ประชาชนคนไทยกลัวต่อการใช้อำนาจ
รัฐ จึงไม่กล้าแสดงออก และจากภาพที่ออกมานั้น มีกลุ่มผู้ชุมนุมของฝ่ายพันธมิตรน้อยกว่าฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรี จึงเป็นผลให้พันธมิตรไม่ใช้ตัวเลขมา
อ้างอิงเพียงอย่างเดียว แต่จะมีวิธีการที่แสดงออกถึงการใช้อารมณ์และความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา และวิธีการเช่นนี้ เคยมี
การทำกันในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว แล้วประธานาธิบดีผู้นั้น ก็แพ้ต่อการเลือกตั้ง ผลกระทบอีกประการหนึ่ง” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถึงแม้ว่าจุดจบของสถานการณ์การเมืองขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดตอนนี้คือ วันนี้ยังมีเวลาพอที่จะ
กล่าวว่าจุดจบของสถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในมือของประชาชนทุกคนที่จะช่วยกันสร้างกันขึ้นมา ในระยะสั้นก็คือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรเริ่มมีความ
กล้าหาญด้วยการเปิดกว้างวันนี้เลยให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางและอิสระเข้ามาตรวจสอบการทำงานที่ผ่านมาของตนเองและพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้
อำนาจเอื้อประโยชน์คนใกล้ชิดว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ที่ต้องเป็นวิธีนี้เพราะตอนนี้องค์กรอิสระต่างๆ กำลังถูกตั้งข้อสงสัยในความรู้สึกของประชาชนหมู่
มากว่ายังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ส่วนในระยะยาวก็คือ เรื่องของการปฏิรูปการเมืองและปรับปรุงระบบที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการตรวจสอบ
ข้อพิรุธสงสัยต่างๆ ของมวลชนต่อพฤติกรรมของผู้นำประเทศและคนรอบข้าง องค์กรอิสระต่างๆ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และ
ปปช. เป็นต้น ต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนว่าเชื่อถือได้ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองหรือไม่มีพฤติการณ์ฝักใฝ่เอาใจ
ฝ่ายการเมือง ผลที่ตามมาน่าจะทำให้ความร้อนแรงของวิกฤตการณ์เมืองไทยขณะนี้น่าจะลดลงไปได้ และจุดจบของสถานการณ์การเมืองก็น่าจะกลายเป็น
ความแข็งแกร่งที่รากฐานทางการเมืองและเสถียรภาพของสังคมประเทศต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 93.9
2 หนังสือพิมพ์ 60.0
3 วิทยุ 35.8
4 สนทนาพูดคุย 25.4
5 อินเทอร์เนต 11.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารประจำวัน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารประจำวัน ร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 69.6
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 18.5
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.7
4 บางสัปดาห์ไม่ได้ติดตามเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คะแนนความร้อนแรงของวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ลำดับที่ คะแนนความร้อนแรงของวิกฤตการณ์ทางการเมือง ร้อยละ
1 ต่ำกว่า 50 คะแนน 7.2
2 50-59 คะแนน 20.4
3 60-69 คะแนน 9.7
4 70-79 คะแนน 20.0
5 ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในขณะนี้
ลำดับที่ ความกังวลใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทย ร้อยละ
1 กังวลใจ โดยสิ่งที่กังวลว่าจะเกิดขึ้นได้แก่......กลัวเศรษฐกิจของประเทศจะตกต่ำ /
กลัวการปฏิวัติ/ กลัวการแทรกแซงของกลุ่มก่อการร้าย /กลัวคนไทยทำร้ายกันเอง 50.7
2 ไม่กังวลใจ 29.7
3 ไม่มีความเห็น 19.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ชี้แจงชัดเจนแล้ว 17.8
2 ค่อนข้างชัดเจน 19.9
3 ไม่ค่อยชัดเจน 21.7
4 ไม่ชัดเจน 14.3
5 ไม่มีความเห็น 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบุคคลใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการเสียภาษีจากการขายหุ้นชินคอร์ป
(ภายหลังการชี้แจงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 จำเป็นต้องเสียภาษี 53.3
2 ไม่จำเป็น 15.0
3 ไม่มีความเห็น 31.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความจริงใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการปฏิรูปการเมือง
(ภายหลังการชี้แจงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความจริงใจของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ
1 จริงใจ 38.1
2 ไม่จริงใจ 28.4
3 ไม่มีความเห็น 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการยุติบทบาททางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ควรยุติบทบาททางการเมือง 28.9
2 ไม่ควรยุติบทบาททางการเมือง 47.5
3 ไม่มีความเห็น 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ควรเปลี่ยน และคนที่ควรมารับตำแหน่ง ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ /คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ /
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นต้น 14.4
2 ไม่ควรเปลี่ยน 54.5
3 ไม่มีความเห็น 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทที่ควรจะเป็น ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ภายหลังหากมีการยุติบทบาททางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทที่ควรจะเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังหากมีการยุติบทบาททางการเมือง ค่าร้อยละ
1 กลับไปทำธุรกิจ 43.1
2 มีความสุขกับครอบครัว 34.3
3 ประธานมูลนิธิการกุศลบริจาคเพื่อสังคม 25.4
4 ไปพักอาศัยในต่างประเทศ 11.8
5 ท่องเที่ยวพักผ่อนทั่วไทยและต่างประเทศ 9.8
6 เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 9.2
7 ละทางโลก ใฝ่ในธรรมะ 7.8
8 จาริกแสวงบุญ ทำงานเพื่อองค์กรศาสนา 5.8
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่จะให้มีคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติ
ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นที่จะให้มีคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย โดยคนกลางที่อยากให้มาเจรจาไกล่เกลี่ย ได้แก่..... 47.7
- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์/นายอานันท์ ปันยารชุน/
- พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น
2 ไม่เห็นด้วย 18.5
3 ไม่มีความเห็น 33.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจุดจบของสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดจบของสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะจบลงด้วยดี โดยทุกฝ่ายหันหน้าเจรจากันด้วยสันติวิธี 34.6
2 มีการเลือกตั้งและทุกฝ่ายให้การยอมรับผลการเลือกตั้ง 25.8
3 นายกรัฐมนตรีลาออก 20.4
4 เกิดความแตกแยกรุนแรง /มีการปะทะกัน 9.8
5 เกิดรัฐประหาร/ปฏิว้ติ 5.5
6 ทุกฝ่ายยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน 5.3
7 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4.6
8 มีการชุมนุมยืดเยื้อต่อไป 3.9
9 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป 3.5
10 อื่นๆ อาทิ นายกรัฐมนตรีเดินทางออกนอกประเทศ/มีคนกลางเป็น
ผู้ไกล่เกลี่ย/มีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เป็นต้น 4.6
11 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร 61.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-