ที่มาของโครงการ
โทรทัศน์ถือได้ว่าเป็นสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงเยาวชนได้มากที่สุด เนื่องจากมีภาพ แสง สี และเสียง ประกอบ
ชัดเจน และสามารถรับชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัจจุบันสื่อโทรทัศน์มี
อิทธิพลต่อผู้ชมมากขึ้น แต่ภาพที่ปรากฏออกมาหลายๆ ครั้งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบผ่านทาง ละคร การ์ตูน ภาพยนตร์
ภาพข่าว และอื่นๆ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเสนอความรุนแรงผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ จึงทำการ
ศึกษาวิจัยเพื่อสะท้อนระดับความรุนแรงของการนำเสนอภาพผ่านทางโทรทัศน์ รวมทั้งระดับความถี่พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตา
ไมตรีจิต การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและความรุนแรงของนักเรียน/นักศึกษา เพื่อนำเสนอต่อสังคมโดยรวม โดยทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิง
สถิติศาสตร์ จากนักเรียน/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการ
จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของนักเรียน/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อสำรวจประโยชน์ที่เด็กและเยาวชนได้รับจากการติดตามชมรายการโทรทัศน์
3. เพื่อสำรวจความถี่ที่เด็กและเยาวชนเห็น/ดูภาพการใช้ความรุนแรงผ่านทางโทรทัศน์ในปัจจุบัน
4. เพื่อสำรวจระดับการใช้ความรุนแรงในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา
5. เพื่อสำรวจระดับพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตา ไมตรีจิต และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สื่อโทรทัศน์กับการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน:
กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 5 — 21 มิถุนายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดม
ศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-
stage Sampling) และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
1,569 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.4 เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.6 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ
38.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 11.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับอาชีวศึกษา และร้อยละ 50.5 กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา โดย
ร้อยละ 65.4 กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาสังกัดรัฐบาล ในขณะที่อีกร้อยละ 34.6 กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาสังกัดเอกชน
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สื่อโทรทัศน์กับการ
ใช้ความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน: กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน/ นักศึกษาที่มีอายุ
ระหว่าง 14-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,569
ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 5 — 21 มิถุนายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจล่าสุดพบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ตัวอย่างเกือบ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 72.1 ระบุนิยมดูโทรทัศน์ ทุกวัน และ
ตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39.8 ใช้เวลาเฉลี่ยในการดูโทรทัศน์แต่ละครั้งประมาณ 3-5 ชั่วโมง เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเวลาที่ตัวอย่างนิยม
ดูโทรทัศน์เป็นประจำ เป็นช่วงเวลาหลังเลิกเรียนเป็นหลัก คือ ตั้งแต่หลัง 17.00 น. เป็นต้นไป เรื่อยไปจนถึง 24.00 น. ไม่ว่าจะเป็น วันจันทร์-
ศุกร์ หรือ วันเสาร์-อาทิตย์ นั้น ตัวอย่างนิยมดู โทรทัศน์ตั้งแต่ช่วงเวลา 20.01-22.00 น. มากที่สุด รองลงมาเป็นช่วงเวลา 17.01-20.00 น.
และ ช่วงเวลา 22.01-24.00 น. ตามลำดับ
“ข้อสังเกต คือ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลา “ละครหลังข่าว” และช่วงเวลา “รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าว” เป็นหลัก ดังนั้น ผู้จัด
ละคร ดารา นักแสดง บรรณาธิการข่าว และผู้ประกาศข่าว ควรระมัดระวังซึ่งการนำเสนอภาพความรุนแรง พฤติกรรมที่แสดงออก กิริยามารยาท คำ
พูดคำจา ความถูกต้องของภาษาไทยที่ใช้ รวมทั้งเนื้อหาละครหรือรายการที่เลือกนำเสนอแก่เยาวชนด้วย เพราะปัจจัยต่างๆ ข้างต้นอาจส่งผลต่อการซึม
ซับและเลียนแบบพฤติกรรมของเยาวชนได้ง่าย” ดร.นพดล กล่าว
เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงประเภทรายการที่ตัวอย่างนิยมดูมากที่สุดในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สอดคล้องกับ ข้อความดังกล่าวข้างต้น ที่
ตัวอย่างมากกว่าครึ่งระบุว่านิยมดูละคร ร้อยละ 67.4 และนิยมดูรายการข่าว/วิเคราะห์ข่าว ร้อยละ 54.9 และร้อยละ 52.7 ดูรายการเพลง ตาม
ลำดับ
เมื่อสอบถามถึงประโยชน์จากการติดตามชมรายการโทรทัศน์ ผลสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ระบุว่าได้รับ
ประโยชน์ ในขณะที่ร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่บอกว่าไม่ได้ประโยชน์ และร้อยละ 23.3 ที่ยังไม่แน่ใจ เมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มที่บอกว่าได้ประโยชน์ถึง
ประเภทของประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.8 ระบุว่าได้เห็นพลังความจงรักภักดีของคนไทยทั้งประเทศ รองลงมาคือร้อยละ 92.1
ได้เห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 86.4 ได้รับประโยชน์ด้านความบันเทิง ร้อยละ 80.2 ได้รับประโยชน์ด้านข้อมูลข่าว
สาร ร้อยละ 74.4 ได้รับประโยชน์ด้านความรู้ และร้อยละ 63.5 ได้หลักในการใช้ชีวิต
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.6 ระบุว่าบ่อยครั้งที่เคยเห็น/ดูโทรทัศน์ที่มีภาพการใช้ความรุนแรงผ่าน
ทางละคร การ์ตูน ภาพยนตร์ ภาพข่าวและโฆษณา ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่เพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่บ่อยหรือไม่เคยเห็นเลย
เมื่อสอบถามถึงระดับความรุนแรงและภาพที่ปรากฏในโทรทัศน์ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.8 พบเห็นพฤติกรรม
ขว้างปาสิ่งของ ทำลายข้าวของทรัพย์สินให้เสียหายในระดับค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 11.8 เห็นว่ารุนแรงมาก และร้อยละ 22.4 เห็นว่าไม่ค่อย
รุนแรง/ไม่รุนแรงเลย นอกจากนี้ ร้อยละ 54.0 เห็นพฤติกรรมการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกันค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 16.6 เห็นว่ารุนแรงมาก และร้อย
ละ 29.4 ไม่ค่อยรุนแรง/ไม่รุนแรงเลย นอกจากนี้ ร้อยละ 53.2 เห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ หรือไม่ให้เกียรติคู่สนทนาที่ค่อนข้าง
รุนแรง ร้อยละ 20.4 เห็นว่ารุนแรงมาก และร้อยละ 26.4 เห็นว่าไม่ค่อยรุนแรง/ไม่รุนแรงเลย
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 48.6 หรือเกือบครึ่งเห็นภาพการใช้อาวุทำร้ายกันค่อนข้างรุนแรง เช่น อาวุธปืน ร้อยละ 30.5 หรือเกือบ 1
ใน 3 เห็นภาพที่รุนแรงมาก ในขณะที่ร้อยละ 20.9 เห็นภาพไม่ค่อยรุนแรง/ไม่รุนแรงเลย
นอกจากนี้ ประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.2 เห็นภาพของสงครามและการฆาตรกรรมที่รุนแรงมาก ร้อยละ 47.3 เห็นภาพเหล่านี้ที่
ค่อนข้างรุนแรง และร้อยละ 27.5 เห็นภาพที่ไม่ค่อยรุนแรง/ไม่รุนแรงเลย
เอแบคโพลล์จึงได้สอบถามถึงความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนถึงความเหมาะสมในการกระทำที่รุนแรงตอบโต้กลับคืน ถ้าถูกรังแก หรือถูก
ทำร้าย ผลสำรวจพบว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.0 เห็นสมควรตอบโต้กลับคืน ร้อยละ 21.5 ไม่สมควรตอบโต้ และร้อยละ 26.5 ไม่มีความ
เห็น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนไทยในพื้นที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 ระบุว่าน้อยครั้งหรือไม่เคยเลยที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
ด้วยความเมตตา ไมตรีจิตและการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ทำในระดับปานกลาง และร้อยละ 21.9 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความ
เมตตา ไมตรีจิตและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมในระดับมากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 ทำบุญตักบาตร
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ไม่ได้ทำ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.8 ไม่ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ในขณะที่ร้อยละ 40.2 ฟัง
เทศน์ฟังธรรม แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.3 ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 18.7 ไม่ได้ทำ
เมื่อจำแนกกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิตและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมออกตามกลุ่มเด็กที่ทำบุญตักบาตรใน
ช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนที่ทำบุญตักบาตรช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิตและบำเพ็ญประโยชน์มากถึงมากที่สุดเปรียบเทียบกับเด็ก
และเยาวชนที่ไม่ได้ทำบุญเท่ากับร้อยละ 23.3 ต่อร้อยละ 14.7 ในทางตรงกันข้าม เด็กและเยาวชนที่ทำบุญตักบาตรร้อยละ 59.0 เทียบกับกลุ่มเด็ก
และเยาวชนที่ไม่ทำบุญตักบาตรร้อยละ 75.9 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิตและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมเพียงเล็กน้อยถึงไม่เคยทำเลย
“ทำนองเดียวกันกับเด็กและเยาวชนที่ฟังเทศน์ฟังธรรม และอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งผลสำรวจพบว่า เด็กที่ทำกิจกรรมเหล่านี้ใน
ช่วง 30 วันที่ผ่านมา จะมีจำนวนเด็กและเยาวชนที่ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิต และบำเพ็ญประโยชน์ระดับมากถึงมากที่สุดเป็นจำนวนที่มากกว่า
กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ไม่เคยฟังเทศน์ฟังธรรมและไม่เคยอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้วหรือถ้าเคยทำก็ทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.2 ระบุเคยใช้ความรุนแรงตอบโต้ผู้อื่นและแก้แค้นบ้าง
เล็กน้อยถึงไม่เคยเลย ในขณะที่ร้อยละ 22.1 ระบุเคยใช้ความรุนแรงมากถึงมากที่สุดตอบโต้ผู้อื่นและแก้แค้นผู้อื่น ที่เหลือร้อยละ 13.7 ใช้ความรุนแรง
ระดับปานกลาง แต่เมื่อจำแนกกลุ่มเด็กและเยาวชนเหล่านี้ออกตามความถี่ที่เคยเห็นภาพความรุนแรงในโทรทัศน์ผ่านละคร การ์ตูน ภาพยนตร์ ภาพข่าว
และการโฆษณา พบว่า เด็กและเยาวชนที่เคยเห็นภาพความรุนแรงในโทรทัศน์บ่อยๆ มีจำนวนเด็กที่นิยมการใช้ความรุนแรงตอบโต้ แก้แค้นผู้อื่นระดับมาก
ถึงมากที่สุดสูงกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ค่อยเห็นบ่อยหรือไม่เคยเห็นเลย คือร้อยละ 28.6 ต่อร้อยละ 19.0 ในทางตรงกันข้าม กลุ่มเด็กที่ไม่ค่อยเห็น
หรือไม่เคยเห็นภาพความรุนแรงในโทรทัศน์มีจำนวนคนที่ใช้ความรุนแรงตอบโต้แก้แค้นผู้อื่นเพียงเล็กน้อยหรือไม่ตอบโต้เลย เป็นจำนวนที่มากกว่าเด็กที่
เคยเห็นหรือดูการใช้ความรุนแรงในโทรทัศน์บ่อยๆ คือร้อยละ 70.5 ต่อร้อยละ 56.1 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยคือ การนิยมการใช้ความรุนแรงที่อาจ
เป็นผลมาจากการลอกเลียนแบบภาพความรุนแรงที่เคยเห็นในสื่อโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ผ่านทางละคร การ์ตูน ภาพยนตร์ ภาพข่าว และการโฆษณาสินค้า
บริการต่างๆ แต่จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และสุขภาวะทางอารมณ์ของบิดามารดาผู้
ปกครองและคนที่ทำหน้าที่เลี้ยงเด็กและเยาวชนเหล่านั้นด้วย เพราะถ้าภาวะทางอารมณ์ของคนใกล้ชิดชอบใช้ความรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมใช้ความ
รุนแรงให้เด็กและเยาวชนเห็นในชีวิตประจำวันแล้วย่อมจะมีอิทธิพลเกิดการลอกเลียนแบบมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ดังนั้น ทุกคนในครอบครัว ต้องหันมาให้
ความสำคัญกับการบริหารจัดการอารมณ์และสุขภาวะทางจิต การจัดการกับการรับรู้รับเห็นสื่อที่มีภาพปรากฏในละคร การ์ตูน ภาพยนตร์ ภาพข่าวและการ
โฆษณาที่แสดงการใช้ความรุนแรงต่างๆ โดยผู้ประกอบการและผู้บริหารหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลสื่อควรตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาและพฤติกรรม
ลอกเลียนแบบของเด็กและเยาวชนไทยที่อาจกลายเป็นกลุ่มคนนิยมความรุนแรงจนทำลายหรือลดทอนวิถีชีวิตแห่งวัฒนธรรมประเพณีไทยที่เคยมีความ
เมตตา เอื้ออาทร และไมตรีจิตต่อกัน
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการดูโทรทัศน์ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการดูโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน 72.1
2 5 — 6 วัน / สัปดาห์ 6.7
3 3 — 4 วัน / สัปดาห์ 11.7
4 1 — 2 วัน / สัปดาห์ 6.5
5 น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเวลาเฉลี่ยในการดูโทรทัศน์ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ เวลาเฉลี่ยในการดูโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 6.1
2 1 — 2 ชั่วโมง 31.9
3 3 — 5 ชั่วโมง 39.8
4 มากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาประจำในการดูโทรทัศน์ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่วงเวลาที่ดูโทรทัศน์ประจำ วันจันทร์-ศุกร์(ค่าร้อยละ) วันเสาร์-อาทิตย์(ค่าร้อยละ)
1 05.01 — 09.00 น. 5.6 6.2
2 09.01 — 12.00 น. 9.1 35.8
3 12.01 — 13.00 น. 5.8 22.3
4 13.01 — 17.00 น. 7.5 26.6
5 17.01 — 20.00 น. 37.4 37.3
6 20.01 — 22.00 น. 62.2 48.8
7 22.01 — 24.00 น. 32.5 37.0
8 0.01 — 05.00 น. 4.5 8.0
9 ไม่ได้ดูโทรทัศน์ 2.6 3.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทรายการโทรทัศน์ที่นิยมดู ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทรายการโทรทัศน์ที่นิยมดู ค่าร้อยละ
1 ละคร 67.4
2 ข่าว / วิเคราะห์ข่าว 54.9
3 รายการเพลง 52.7
4 การ์ตูน 43.8
5 เกมส์โชว์ 43.1
6 สารคดี 32.4
7 กีฬา 29.1
8 ทอล์คโชว์ 26.9
9 อื่นๆ เช่น รายการตลก ภาพยนตร์ต่างประเทศ เป็นต้น 1.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตามชมโทรทัศน์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตามชมโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 เป็นประโยชน์ 72.5
2 ไม่เป็นประโยชน์ 4.2
3 ยังไม่แน่ใจ 23.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตามชมโทรทัศน์
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการชมโทรทัศน์)
ลำดับที่ ประเภทของประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตามชมโทรทัศน์ ค่าร้อยละ
1 ได้เห็นพลังความจงรักภักดีของคนไทยทั้งประเทศ 96.8
2 ได้เห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ 92.1
3 ได้รับความบันเทิง 86.4
4 ได้รับข้อมูลข่าวสาร 80.2
5 ได้รับความรู้ 74.4
6 ได้หลักในการใช้ชีวิต 63.5
7 ได้ประโยชน์ด้านการลงทุน 35.1
8 อื่นๆ เช่น กระตุ้นสังคมให้ตื่นตัวแก้ปัญหาร่วมกัน /ช่วยด้านการเรียน
และการทำการบ้าน/ ช่วยด้านสุขภาพ เป็นต้น 23.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการเห็น/ดูละคร การ์ตูน ภาพยนตร์ ภาพข่าวและ
โฆษณาทางโทรทัศน์ ที่มีการใช้ความรุนแรงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการดูละคร ภาพยนตร์ ภาพข่าวและโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีการใช้ความรุนแรง ค่าร้อยละ
1 บ่อย 94.6
2 ไม่บ่อย/ไม่เคยเลย 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรุนแรงของภาพที่ปรากฎทางโทรทัศน์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ภาพที่ปรากฏทางโทรทัศน์ รุนแรงมาก ค่อนข้างรุนแรง ไม่ค่อยรุนแรง/ไม่รุนแรงเลย รวมทั้งสิ้น
(ค่าร้อยละ) (ค่าร้อยละ) (ค่าร้อยละ) (ค่าร้อยละ)
1. ภาพพฤติกรรมการขว้างปาสิ่งของ / ทำลายข้าวของหรือทรัพย์สินให้เสียหาย 11.8 65.8 22.4 100.0
2. ภาพพฤติกรรมการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกัน 16.6 54.0 29.4 100.0
3. ภาพพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย / ด่าทอ / โต้เถียงกัน /
ตะคอก หรือไม่ให้เกียรติคู่สนทนา 20.4 53.2 26.4 100.0
4. ภาพการใช้อาวุธทำร้ายกัน เช่น อาวุธปืน 30.5 48.6 20.9 100.0
5. ภาพอุบัติเหตุ รถชนกัน รถชนคน 24.3 48.5 27.2 100.0
6. ภาพของสงครามและการฆาตรกรรม 25.2 47.3 27.5 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสมควรในการใช้การกระทำที่รุนแรง เช่น ทำลายทรัพย์สิน
ชกต่อย ทะเลาะวิวาท ตอบโต้กลับคืน ถ้าถูกรังแก หรือถูกทำร้ายให้ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย และจิตใจ
ลำดับที่ ความเหมาะสมในการใช้การกระทำที่รุนแรงตอบโต้กลับคืน ถ้าถูกรังแกหรือถูกทำร้าย ค่าร้อยละ
1 สมควรโต้ตอบกลับคืน 52.0
2 ไม่สมควรโต้ตอบกลับคืน 21.5
3 ไม่มีความเห็น 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตา ไมตรีจิตและ
การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
ลำดับที่ ระดับพฤติกรรมของเด็ก/เยาวชนที่ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตา ไมตรีจิตและการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ค่าร้อยละ
1 ช่วยเหลือผู้อื่นมาก/ มากที่สุด 21.9
2 ทำระดับปานกลาง 16.3
3 ทำบ้างเล็กน้อย/ไม่ทำเลย 61.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทำบุญตักบาตรในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทำบุญตักบาตรในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทำ 82.9
2 ไม่ได้ทำ 17.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การฟังเทศน์ฟังธรรมในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การฟังเทศน์ฟังธรรมในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทำ 40.2
2 ไม่ได้ทำ 59.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้วในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้วในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทำ 81.3
2 ไม่ได้ทำ 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิตและบำเพ็ญ
ประโยชน์เพื่อสังคม จำแนกตามพฤติกรรมการทำบุญตักบาตร
ลำดับที่ ระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิต ทำบุญตักบาตรค่าร้อยละ ไม่ทำบุญตักบาตร ค่าร้อยละ
1 ช่วยเหลือผู้อื่นมาก/ มากที่สุด 23.3 14.7
2 ทำระดับปานกลาง 17.7 9.4
3 ทำบ้างเล็กน้อย/ไม่ทำเลย 59.0 75.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิตและการบำเพ็ญ
ประโยชน์เพื่อสังคม จำแนกตามพฤติกรรมการฟังเทศน์ฟังธรรม
ลำดับที่ ระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิต ฟังเทศน์ ฟังธรรมค่าร้อยละ ไม่ฟังเทศน์ ไม่ฟังธรรม ค่าร้อยละ
1 ช่วยเหลือผู้อื่นมาก/ มากที่สุด 27.9 17.9
2 ทำระดับปานกลาง 17.0 15.8
3 ทำบ้างเล็กน้อย/ไม่ทำเลย 55.1 66.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตา ไมตรีจิตและบำเพ็ญ
ประโยชน์เพื่อสังคม จำแนกตามการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ลำดับที่ ระดับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตาไมตรีจิต อุทิศส่วนกุศลค่าร้อยละ ไม่อุทิศส่วนกุศลค่าร้อยละ
1 ช่วยเหลือผู้อื่นมาก/ มากที่สุด 23.8 13.0
2 ทำระดับปานกลาง 17.7 9.9
3 ทำบ้างเล็กน้อย/ไม่ทำเลย 58.5 77.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ตอบโต้ผู้อื่นและ
การแก้แค้นในกลุ่มเยาวชน
ลำดับที่ ระดับการใช้ความรุนแรง ตอบโต้ผู้อื่น และแก้แค้นในกลุ่มเยาวชน ค่าร้อยละ
1 ทำมาก/มากที่สุด 22.1
2 ทำระดับปานกลาง 13.7
3 ทำบ้างเล็กน้อย/ไม่ทำเลย 64.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับการใช้ความรุนแรง ตอบโต้และแก้แค้น จำแนกตามความถี่
ที่เคยเห็น/ดูสื่อโทรทัศน์ ที่มีภาพความรุนแรง ผ่านทาง ละคร การ์ตูน ภาพยนตร์ ภาพข่าวและอื่นๆ
ความถี่ที่เห็น/ดูทีวีที่มีภาพความรุนแรง
ลำดับที่ ระดับการใช้ความรุนแรง ตอบโต้และแก้แค้นในกลุ่มเยาวชน บ่อยค่าร้อยละ ไม่บ่อย ค่าร้อยละ
(ยังมีต่อ)