ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง คอรัปชั่น รัฐธรรมนูญ และ
ความนิยมศรัทธาของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 21 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,219 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 1 — 13 ธันวาคม 2549
ผลสำรวจการติดตามข่าวการเมืองของตัวอย่างในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 95.1 ระบุติดตามข่าวการ
เมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 4.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการรับรู้รับทราบกรณีรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกำลังถูกตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้นผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 92.1 ระบุรับทราบต่อกรณีดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงความเชื่อ
กรณีการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมานั้น ผลการสำรวจพบว่ารัฐบาลที่เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นรุนแรงมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้
ร้อยละ 46.7 ระบุรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 22.1 ระบุรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 18.3 ระบุรัฐบาลพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ ร้อยละ 10.7 ระบุรัฐบาลนายชวย หลีกภัย และร้อยละ 2.2 ระบุรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีที่ว่าคนรวยแล้วจะไม่โกงนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างมากกว่า
2 ใน 3 คือร้อยละ 69.2 ระบุไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น ในขณะที่ร้อยละ 16.1 ระบุเชื่อ และร้อยละ 14.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีประเด็นสำคัญทางการเมืองต่างๆ ที่อยากให้เห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้นั้น ผลการสำวรจพบว่า
ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 95.2 ระบุการมีกฎหมายเอาผิดยึดทรัพย์ ขบวนการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 94.5 ระบุมีกฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่า
หลังร่วมมือกับรัฐ คลี่คลายคดีสำคัญและความมั่นคงของประเทศในกระบวนการยุติธรรมร้อยละ 91.4 ระบุมีกฎหมายเอาผิดการล็อบบี้เอื้อประโยชน์ให้
พวกพ้องและนายทุน ร้อยละ 87.1 ระบุมีกฎหมายเอาผิดการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการ จัดซื้อจัดจ้าง ร้อยละ 86.0 ระบุมีกฎหมายคุ้มครองข้า
ราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่ต่อสู้กับขบวนการกลุ่มอิทธิพลอำนาจมืดหลังเกษียณราชการ และร้อยละ 80.2 ระบุห้ามนักการเมืองท้องถิ่นอยู่เกิน 8 ปี
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญอีกหลายประการที่ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 ระบุอยากเห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้แก่ ห้ามนายกรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี
(ร้อยละ 78.9) ห้ามรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี (ร้อยละ 77.4) และห้าม ส.ส. อยู่เกิน 8 ปี (ร้อยละ 73.6) ตามลำดับ
สำหรับความนิยมของตัวอย่างที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ ภายหลังการปฏิรูปการปกครองนั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 24.7
ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์จำแนกตามรายภาคนั้นพบว่าได้รับความนิยมจากภาคใต้สูงที่สุด รองลงมาคือ
ร้อยละ 17.2 ระบุพรรคไทยรักไทย ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ ร้อยละ 10.9 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ
2.3 ระบุพรรคการเมืองอื่นๆ อาทิ พรรคมหาชน ประชาราช สันติภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ
44.9 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่นิยมเพราะไม่ชอบนักการเมือง/ยังบอกไม่ได้/ยังไม่ถึงเวลาบอก/ เบื่อการเมือง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสาธารณชนเริ่มเห็นแล้วว่ารัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาปล่อยให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นกลายเป็น
มะเร็งร้ายที่ทำให้สังคมเจ็บป่วย แต่ประชาชนจำนวนมากอาจยังมองไม่เห็นว่าผลกระทบของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา
อย่างไร รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐในขณะนี้ควรเร่งทำให้สังคมเข้าใจและตระหนักเห็นภาพชัดเจนว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นกระทบต่อชีวิตประจำวัน
ของพวกเขาอย่างแท้จริง ต่อไปประชาชนจะได้เข้มแข็งและลุกขึ้นออกมาต่อต้านความเลวร้ายในระบบราชการและการเมือง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เวลานี้ฟ้าเมืองไทยกำลังเปิด ประชาชนควรใช้โอกาสนี้ออกมาตามช่องทางที่ฟ้าเปิดช่วยกันจัดระบบระเบียบของ
บ้านเมืองไทยหลังนี้ให้น่าอยู่ผ่านกลไกสำคัญคือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ต้องการกฎหมายลูกหลายฉบับเพื่อขจัดสิ้นปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและรากเหง้าของมันออก
ไปจากสังคมไทยด้วยการเอาผิดขบวนการล็อบบี้ของพวกนายทุน ข้าราชการและนักการเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องโดยไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จ
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทรรศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในรัฐบาลต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ ภายหลังการปฏิรูปการปกครอง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คอรัปชั่น รัฐธรรมนูญ และความนิยมศรัทธาของ
สาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 21 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 1 — 13 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,219 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 21—30 ปี ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 62.5 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 30.8 ระบุสถานภาพโสด และร้อยละ
6.7 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่างร้อยละ 29.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไปร้อยละ 19.2 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่
บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 15.9
4 ไม่ได้ติดตามเลย 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบว่า รัฐบาลทักษิณกำลังถูกตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบ 92.1
2 ไม่ทราบ 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรัฐบาลที่เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นรุนแรงมากที่สุด
ลำดับที่ รัฐบาลที่ตัวอย่างเชื่อว่ามีคอรัปชั่นมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 46.7
2 รัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา 22.1
3 รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 18.3
4 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย 10.7
5 รัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อกรณีที่ว่าคนรวยแล้วจะไม่โกง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 16.1
2 ไม่เชื่อ 69.2
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองที่อยากเห็นในรัฐธรรมนูญ
ประเด็นสำคัญทางการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ห้ามนายกรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี 78.9 15.3 5.8 100.0
2. ห้ามรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี 77.4 14.7 7.9 100.0
3. ห้าม ส.ส. อยู่เกิน 8 ปี 73.6 18.6 7.8 100.0
4. ห้ามนักการเมืองท้องถิ่นอยู่เกิน 8 ปี 80.2 11.5 8.3 100.0
5. มีกฎหมายเอาผิดการเลี้ยงดูปูเสื่อ
คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง 87.1 8.5 4.4 100.0
6. มีกฎหมายเอาผิดการล็อบบี้เอื้อประโยชน์
ให้พวกพ้องและนายทุน 91.4 6.6 2.0 100.0
7. มีกฎหมายเอาผิดยึดทรัพย์ขบวนการ
ทุจริตคอรัปชั่น 95.2 3.4 1.4 100.0
8. มีกฎหมายคุ้มครองข้าราชการและเจ้าหน้าที่
รัฐที่ต่อสู้กับขบวนการกลุ่มอิทธิพลอำนาจมืดหลังเกษียณราชการ 86.0 10.1 3.9 100.0
9. มีกฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่าหลังร่วมมือกับรัฐคลี่คลาย
คดีสำคัญและความมั่นคงของประเทศในกระบวนการยุติธรรม 94.5 2.9 2.6 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่นิยมศรัทธาหลังปฏิรูปการปกครอง
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตัวอย่างนิยมศรัทธาหลังปฏิรูปการปกครอง ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 17.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 24.7
3 พรรคชาติไทย 10.9
4 พรรคอื่นๆ เช่น มหาชน ประชาราช สันติภาพ เป็นต้น 2.3
5 ไม่ระบุ เพราะไม่ชอบนักการเมือง / ยังบอกไม่ได้/ ยังไม่ถึงเวลาบอก/ เบื่อการเมือง 44.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่นิยมศรัทธาหลังการปฎิรูปการปกครอง จำแนกตามภูมิภาค
พรรคการเมือง เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. พรรคไทยรักไทย 11.8 13.4 24.9 2.8 18.2
2. พรรคประชาธิปัตย์ 10.6 19.3 10.9 73.7 27.5
3. พรรคชาติไทย 6.2 20.1 5.1 4.4 13.3
4. อื่นๆ เช่น มหาชน ประชาราช สันติภาพ เป็นต้น 4.2 2.5 1.0 1.7 2.6
5. ไม่ระบุ เพราะไม่ชอบนักการเมือง / ยังบอกไม่ได้/ ยังไม่ถึงเวลาบอก/ เบื่อการเมือง 67.2 44.7 58.1 17.4 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ความนิยมศรัทธาของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 21 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,219 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 1 — 13 ธันวาคม 2549
ผลสำรวจการติดตามข่าวการเมืองของตัวอย่างในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 95.1 ระบุติดตามข่าวการ
เมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 4.9 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการรับรู้รับทราบกรณีรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกำลังถูกตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้นผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 92.1 ระบุรับทราบต่อกรณีดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบ ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงความเชื่อ
กรณีการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมานั้น ผลการสำรวจพบว่ารัฐบาลที่เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นรุนแรงมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้
ร้อยละ 46.7 ระบุรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 22.1 ระบุรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 18.3 ระบุรัฐบาลพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ ร้อยละ 10.7 ระบุรัฐบาลนายชวย หลีกภัย และร้อยละ 2.2 ระบุรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีที่ว่าคนรวยแล้วจะไม่โกงนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างมากกว่า
2 ใน 3 คือร้อยละ 69.2 ระบุไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น ในขณะที่ร้อยละ 16.1 ระบุเชื่อ และร้อยละ 14.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีประเด็นสำคัญทางการเมืองต่างๆ ที่อยากให้เห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้นั้น ผลการสำวรจพบว่า
ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 95.2 ระบุการมีกฎหมายเอาผิดยึดทรัพย์ ขบวนการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 94.5 ระบุมีกฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่า
หลังร่วมมือกับรัฐ คลี่คลายคดีสำคัญและความมั่นคงของประเทศในกระบวนการยุติธรรมร้อยละ 91.4 ระบุมีกฎหมายเอาผิดการล็อบบี้เอื้อประโยชน์ให้
พวกพ้องและนายทุน ร้อยละ 87.1 ระบุมีกฎหมายเอาผิดการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการ จัดซื้อจัดจ้าง ร้อยละ 86.0 ระบุมีกฎหมายคุ้มครองข้า
ราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่ต่อสู้กับขบวนการกลุ่มอิทธิพลอำนาจมืดหลังเกษียณราชการ และร้อยละ 80.2 ระบุห้ามนักการเมืองท้องถิ่นอยู่เกิน 8 ปี
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญอีกหลายประการที่ตัวอย่างมากกว่า 2 ใน 3 ระบุอยากเห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้แก่ ห้ามนายกรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี
(ร้อยละ 78.9) ห้ามรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี (ร้อยละ 77.4) และห้าม ส.ส. อยู่เกิน 8 ปี (ร้อยละ 73.6) ตามลำดับ
สำหรับความนิยมของตัวอย่างที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ ภายหลังการปฏิรูปการปกครองนั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 24.7
ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์จำแนกตามรายภาคนั้นพบว่าได้รับความนิยมจากภาคใต้สูงที่สุด รองลงมาคือ
ร้อยละ 17.2 ระบุพรรคไทยรักไทย ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ ร้อยละ 10.9 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ
2.3 ระบุพรรคการเมืองอื่นๆ อาทิ พรรคมหาชน ประชาราช สันติภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ
44.9 ไม่ระบุพรรคการเมืองที่นิยมเพราะไม่ชอบนักการเมือง/ยังบอกไม่ได้/ยังไม่ถึงเวลาบอก/ เบื่อการเมือง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสาธารณชนเริ่มเห็นแล้วว่ารัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาปล่อยให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นกลายเป็น
มะเร็งร้ายที่ทำให้สังคมเจ็บป่วย แต่ประชาชนจำนวนมากอาจยังมองไม่เห็นว่าผลกระทบของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา
อย่างไร รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐในขณะนี้ควรเร่งทำให้สังคมเข้าใจและตระหนักเห็นภาพชัดเจนว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นกระทบต่อชีวิตประจำวัน
ของพวกเขาอย่างแท้จริง ต่อไปประชาชนจะได้เข้มแข็งและลุกขึ้นออกมาต่อต้านความเลวร้ายในระบบราชการและการเมือง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เวลานี้ฟ้าเมืองไทยกำลังเปิด ประชาชนควรใช้โอกาสนี้ออกมาตามช่องทางที่ฟ้าเปิดช่วยกันจัดระบบระเบียบของ
บ้านเมืองไทยหลังนี้ให้น่าอยู่ผ่านกลไกสำคัญคือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ต้องการกฎหมายลูกหลายฉบับเพื่อขจัดสิ้นปัญหาทุจริตคอรัปชั่นและรากเหง้าของมันออก
ไปจากสังคมไทยด้วยการเอาผิดขบวนการล็อบบี้ของพวกนายทุน ข้าราชการและนักการเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องโดยไม่ต้องรอให้มีใบเสร็จ
รายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทรรศนะของประชาชนต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในรัฐบาลต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ ภายหลังการปฏิรูปการปกครอง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “คอรัปชั่น รัฐธรรมนูญ และความนิยมศรัทธาของ
สาธารณชน: กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 21 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 1 — 13 ธันวาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจาก 21 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครพนม ชัยภูมิ กระบี่ ตรัง และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,219 คน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 21—30 ปี ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 22.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 77.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 62.5 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 30.8 ระบุสถานภาพโสด และร้อยละ
6.7 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่างร้อยละ 29.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไปร้อยละ 19.2 ระบุอาชีพ
พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่
บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 15.9
4 ไม่ได้ติดตามเลย 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบว่า รัฐบาลทักษิณกำลังถูกตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบ 92.1
2 ไม่ทราบ 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรัฐบาลที่เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นรุนแรงมากที่สุด
ลำดับที่ รัฐบาลที่ตัวอย่างเชื่อว่ามีคอรัปชั่นมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 46.7
2 รัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา 22.1
3 รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 18.3
4 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย 10.7
5 รัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อกรณีที่ว่าคนรวยแล้วจะไม่โกง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 16.1
2 ไม่เชื่อ 69.2
3 ไม่มีความเห็น 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองที่อยากเห็นในรัฐธรรมนูญ
ประเด็นสำคัญทางการเมือง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ห้ามนายกรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี 78.9 15.3 5.8 100.0
2. ห้ามรัฐมนตรีอยู่เกิน 8 ปี 77.4 14.7 7.9 100.0
3. ห้าม ส.ส. อยู่เกิน 8 ปี 73.6 18.6 7.8 100.0
4. ห้ามนักการเมืองท้องถิ่นอยู่เกิน 8 ปี 80.2 11.5 8.3 100.0
5. มีกฎหมายเอาผิดการเลี้ยงดูปูเสื่อ
คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง 87.1 8.5 4.4 100.0
6. มีกฎหมายเอาผิดการล็อบบี้เอื้อประโยชน์
ให้พวกพ้องและนายทุน 91.4 6.6 2.0 100.0
7. มีกฎหมายเอาผิดยึดทรัพย์ขบวนการ
ทุจริตคอรัปชั่น 95.2 3.4 1.4 100.0
8. มีกฎหมายคุ้มครองข้าราชการและเจ้าหน้าที่
รัฐที่ต่อสู้กับขบวนการกลุ่มอิทธิพลอำนาจมืดหลังเกษียณราชการ 86.0 10.1 3.9 100.0
9. มีกฎหมายคุ้มครองพยานให้มีชีวิตที่ดีกว่าหลังร่วมมือกับรัฐคลี่คลาย
คดีสำคัญและความมั่นคงของประเทศในกระบวนการยุติธรรม 94.5 2.9 2.6 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่นิยมศรัทธาหลังปฏิรูปการปกครอง
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตัวอย่างนิยมศรัทธาหลังปฏิรูปการปกครอง ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 17.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 24.7
3 พรรคชาติไทย 10.9
4 พรรคอื่นๆ เช่น มหาชน ประชาราช สันติภาพ เป็นต้น 2.3
5 ไม่ระบุ เพราะไม่ชอบนักการเมือง / ยังบอกไม่ได้/ ยังไม่ถึงเวลาบอก/ เบื่อการเมือง 44.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่นิยมศรัทธาหลังการปฎิรูปการปกครอง จำแนกตามภูมิภาค
พรรคการเมือง เหนือ กลาง อีสาน ใต้ กทม.
1. พรรคไทยรักไทย 11.8 13.4 24.9 2.8 18.2
2. พรรคประชาธิปัตย์ 10.6 19.3 10.9 73.7 27.5
3. พรรคชาติไทย 6.2 20.1 5.1 4.4 13.3
4. อื่นๆ เช่น มหาชน ประชาราช สันติภาพ เป็นต้น 4.2 2.5 1.0 1.7 2.6
5. ไม่ระบุ เพราะไม่ชอบนักการเมือง / ยังบอกไม่ได้/ ยังไม่ถึงเวลาบอก/ เบื่อการเมือง 67.2 44.7 58.1 17.4 38.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-