ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุข
มวลรวม (Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนสิงหาคม: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 25 จังหวัดของ
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,864 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม — 12 กันยายายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดังนี้
ผลวิจัยพบว่า ความสุขของคนไทยยังคงมีอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีต่อปัจจัยสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ ความสุขต่อวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม
ประเพณีไทยและความจงรักภักดี ได้คะแนนความสุขเฉลี่ยเท่ากับ 8.07 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อันดับที่สองได้แก่ สายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
ได้ 8.02 คะแนน อันดับที่สามได้แก่ สุขภาพกาย ได้ 7.71 คะแนน อันดับที่สี่ ได้แก่ ความพึงพอใจในการทำงาน ได้ 7.16 คะแนน อันดับที่ห้า
ได้แก่ ธรรมชาติและการจัดสรรทรัพยากร ได้ 6.88 คะแนน อันดับที่หก ได้แก่ สุขภาพใจ ได้ 6.72 คะแนน อันดับที่เจ็ดได้แก่ ความสัมพันธ์ของคนใน
ชุมชน ได้ 6.58 คะแนน อันดับที่แปด ได้แก่ ระบบการศึกษาของประเทศ ได้ 6.54 คะแนน อันดับที่เก้า ได้แก่ หลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้ 6.33
คะแนน และเรื่องของความยุติธรรมทางสังคมผ่านกระบวนการยุติธรรม ได้ 6.33 เท่ากัน
ดร.นพดล กล่าวว่า รายละเอียดของปัจจัยสำคัญอันดับแรกด้านวัฒนธรรมประเพณีไทยคือเรื่องของ เอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่มีพื้นฐาน
มาจากวิถีชีวิตและความดีความงามตามหลักธรรมของศาสนาต่างๆ เช่น การยึดทางสายกลางในการดำเนินชีวิต ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือแบ่งปัน
กัน ความรักความสามัคคี ความมีไมตรีจิตต่อกัน การรักความสงบ และความสันโดษ นอกจากนี้ยังได้รวมถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวไทยต่อ
สถาบันพระมหากษัตริย์ตามขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
“อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์หาค่าความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ของคนไทยประจำเดือนสิงหาคม
พบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยในเดือนสิงหาคมลดลงจากเดือนกรกฎาคมจาก 7.29 มาอยู่ที่ 6.34 กล่าวคือลดลงจากระดับ “ดี” มาอยู่ที่ “ค่อน
ข้างดี” เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชนที่พักอาศัยลดลง เช่น เรื่องการช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชนลดลงจากร้อย
ละ 68.9 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 49.9 ในเดือนสิงหาคม เรื่องของการช่วยกันรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมในชุมชน ลดลงจากร้อยละ 61.3
ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่
ร้อยละ 50.3 ในเดือนสิงหาคม เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน แม่น้ำลำคลอง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ป้ายหยุดรถประจำทางและศาลาที่พัก เป็น
ต้น ซึ่งทรัพย์สินสาธารณะเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับการช่วยกันรักษา เรื่องการช่วยกันสอดส่องดูแลชุมชนลดลงจากร้อยละ 66.1 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่
ร้อยละ 49.5 ในเดือนสิงหาคม และที่น่าพิจารณาคือ เรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนลดลงจากร้อยละ 67.8 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ร้อยละ
53.7 ในเดือนสิงหาคม” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ส่วนสาเหตุที่อาจทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนลดลงน่าจะมีปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างน้อยสองประการคือ การพัฒนา
ตามแนวระบบทุนนิยมที่ฉุดลากคนไทยให้ต่างคนต่างอยู่และแสวงหาความสุขส่วนตัวแบบบริโภคนิยมและวัตถุนิยมจนละเลยความดีความสุขของชุมชน ส่วน
ปัจจัยที่อาจเป็นตัวเร่งทำให้สายสัมพันธ์ของคนไทยในชุมชนขาดสะบั้นไปคือความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มที่ต้องการสนับสนุนและกลุ่มที่ไม่ต้องการ
สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีการใช้ชื่อกันว่า กลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ และกลุ่มสนับสนุนนั่นเอง เพราะจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบหลายชุมชนที่มีการขึ้น
ป้ายต่อต้านและสนับสนุนในลักษณะบ้านต่อบ้าน และปากซอยกับท้ายซอย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในทางบวกที่ทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดีประจำเดือนสิงหาคมคือ สายสัมพันธ์ของคนใน
ครอบครัวอันเนื่องมาจากในเดือนนี้เองมีวันแม่แห่งชาติที่น่าจะเป็นช่วงเวลาสำคัญทำให้สถาบันครอบครัวอยู่ในสถานะของปัจจัยบวกต่อความสุขคนไทยได้
เช่นเรื่องของการทำกิจกรรมร่วมกัน การรับฟังและแก้ปัญหาของกันและกัน มีเวลาอยู่ร่วมกัน และร่วมทุกข์ร่วมสุขกันของคนในครอบครัว เป็นต้น
เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของคนไทยตามภูมิภาคต่างๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 พบว่า คนกรุงเทพมหานครมีความสุขมวลรวมน้อยที่สุดคือได้
5.54 คะแนน และรองอันดับท้ายคือกลุ่มประชาชนในภาคกลางได้ 6.08 คะแนน ที่น่าสนใจคือประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มักจะถูกมองว่าอยู่
ท่ามกลางความยากจนด้านข้าวของเงินทองแต่กลับมีคะแนนความสุขมวลรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือได้ 6.69 ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีคะแนนความสุข
มวลรวมสูงกว่าทุกภาคในการสำรวจวิจัยทุกครั้งที่ผ่านมา โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ ปัจจัยด้าน
วัฒนธรรมประเพณีไทย รองลงมาคือ สายสัมพันธ์ของคนภายในครอบครัว สุขภาพกาย และความพึงพอใจในการทำงาน นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่ม
ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตมากกว่ากลุ่มประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ คนกรุงเทพมหานครที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งธุรกิจและมีความเจริญเติบโตทางวัตถุมากที่สุดของประเทศ
แต่กลับมีความสุขมวลรวมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ และยังพบอีกว่าความสุขต่อปัจจัยสำคัญต่างๆ ทุกตัวมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเช่นกัน เช่น
เรื่อง สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับ ถนนหนทาง น้ำ อากาศ เรื่องของปัญหาการเมือง สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่เกี่ยวข้อง
กันการช่วยเหลือกันและกันภายในชุมชน การช่วยกันสอดส่องดูแลชุมชน การช่วยกันดูแลรักษาสมบัติสาธารณะส่วนร่วม และบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน
เป็นต้น
“สิ่งที่ค้นพบเช่นนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งเมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า กลุ่มคนที่มีรายได้ต่อหัวน้อยหรือไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
กลับมีความสุขมวลรวมมากเกินกว่าสองเท่าของกลุ่มคนที่มีรายได้ต่อหัวสูงหรือมากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน คือร้อยละ 18.6 ต่อร้อยละ 8.1” ดร.
นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ยิ่งทำการวิเคราะห์ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยจำแนกตามระดับความเคร่งครัดของการใช้หลัก
เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิต พบว่า กลุ่มประชาชนที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตแบบเคร่งครัดมีความสุขมวลรวมสูงเกือบสองเท่าตัวของกลุ่ม
ประชาชนที่ไม่เคร่งครัดกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง คือร้อยละ 44.6 ต่อร้อยละ 27.5
เมื่อพิจารณภาพรวมของการวิจัยความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศประจำเดือนสิงหาคมครั้งนี้ พบว่า แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้
สำหรับการรักษาระดับความสุขมวลรวมของประชาชนให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ
ประการแรก พรรคการเมืองทุกพรรคควรมีนโยบายชัดเจนในการสร้างเสริมความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศหรือ Gross
Domestic Happiness, GDH มากกว่าการเน้นพัฒนาประเทศตามระบบทุนนิยมเพียงอย่างเดียว
ประการที่สอง กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชนอย่างใกล้ชิดควรมียุทธศาสตร์ในการรักษาปัจจัยที่สนับสนุนความสุขมวล
รวมของประชาชน เช่น วัฒนธรรมประเพณีไทย สายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และบรรยากาศที่ดีในชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชนเขต
เมืองใหญ่ควรใช้ห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันของคนในชุมชน เช่น นิทรรศการอุทยานการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย การละ
เล่นและแสดงดนตรี ศิลปวัฒนะธรรมไทย และการรวมตัวกันสนทนาแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหาสำคัญในชุมชน เป็นต้น ในขณะที่ชุมชนนอกเขตเมือง
อาจใช้ลานอเนกประสงค์ หรือวัด โรงเรียนเป็นสถานที่พบกันเพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ เป็นต้น
ประการที่สาม ทุกภาคส่วนของสังคมควรรณรงค์อย่างต่อเนื่องจนถึงระดับปัจเจกบุคคลในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิต
ประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะ การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึง การมีส่วนร่วมและการนำไปปฏิบัติจริง เช่น การวางแผนการใช้จ่าย
และหารายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน การทำงานหาข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินมากกว่าเงินทอง และเลิกการใช้จ่ายเงินซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือการ
พนันทุกชนิดเพราะเป็นหมวดค่าใช้จ่ายที่มีความเสี่ยงสูงในการสูญเสียเงินไปโดยง่าย เป็นต้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนสิงหาคม
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross
Domestic Happiness Index) ของคนไทยประจำเดือนสิงหาคม: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดของประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม - 12 กันยายน 2549 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ
ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่อนสอน นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี หนองคาย
ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มุกดาหาร นครพนม สุราษฎร์ธานี ระนอง พัทลุง และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาด
ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,864 ตัวอย่างช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.4 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อย
ละ 11.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40—
49 ปี และ ร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 75.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 21.0 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ
21.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 21.5 ระบุ
อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 3.4 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน นอกจากนี้
ตัวอย่างร้อยละ 33.8 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 29.8 ระบุ 5,001 — 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 16.0 ระบุ
10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 8.1 ระบุ 20,001 — 30,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 12.3 ระบุ มากกกว่า 30,00 บาทต่อ
เดือน เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่พักอาศัยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 อยู่นอกเขตเทศบาล ในขณะที่ร้อยละ 38.5 พักอาศัยในเขตเทศบาลหรือ
เขตเมือง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารประจำวันในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 97.9
2 ไม่ได้ติดตาม 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของคนไทยต่อปัจจัยสำคัญด้านต่างๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 หมายถึงมีความสุข
มากที่สุด และ 0 หมายถึงไม่มีความสุขเลย
ลำดับที่ ปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อความสุขของคนไทย คะแนนเฉลี่ยความสุขเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
1 วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และความจงรักภักดี 8.07
2 สายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 8.02
3 สุขภาพกาย 7.71
4 ความพึงพอใจในการทำงาน 7.16
5 ธรรมชาติและการจัดสรรทรัพยากร 6.88
6 สุขภาพใจ 6.72
7 ความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน 6.58
8 การศึกษาของประเทศ 6.54
9 หลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.33
10 ความยุติธรรมทางสังคมผ่านกระบวนการยุติธรรม 6.33
11 สถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
ความรักความสามัคคีของคนในประเทศ 5.53
12 สภาพแวดล้อมชุมชน เช่น ถนนหนทาง น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์บ้าน 5.34
13 สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน 5.00
14 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 5.00
ตารางที่ 3 แสดงความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนสิงหาคม เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ คะแนนเต็ม 10 ความหมาย
ประจำเดือนสิงหาคม (Gross Domestic Happiness, GDH) 6.34 ค่อนข้างดี
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนสิงหาคมเปรียบเทียบกับ
ช่วง 3 เดือนแรกของปี(มกราคม-มีนาคม) เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม
เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21 7.29 6.34
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของคนไทยต่อปัจจัยสำคัญด้านต่างๆ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค
ปัจจัยสำคัญ/ภูมิภาค เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น
1. สภาพแวดล้อม 5.68 5.14 5.87 4.7 4.1 5.34
2. ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 6.8 6.59 6.96 6.15 5.21 6.58
3. ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 8.13 7.86 8.29 7.79 7.62 8.02
4. สุขภาพกาย 7.74 7.73 7.89 7.54 7.08 7.71
5. สุขภาพใจ 6.66 6.65 6.99 6.67 6.03 6.72
6. ความพึงพอใจในการทำงาน 7.02 7.14 7.42 7.15 6.52 7.16
7. สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน 5.19 5.23 5.37 4.07 3.86 5
8. สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 4.82 5.19 5.05 4.92 4.64 5
9. หลักเศรษฐกิจพอเพียง 6.32 6.23 6.65 6.03 5.95 6.33
10. ระบบการศึกษาของประเทศ 6.49 6.57 7.03 6.12 5.25 6.54
11. ธรรมชาติและการจัดสรรทรัพยากร 7.19 7.11 7.08 6.27 5.62 6.88
12. วัฒนธรรมประเพณีไทย 7.94 8.06 8.49 7.67 7.4 8.07
13. ความยุติธรรมทางสังคม 6.34 6.31 6.71 6.02 5.36 6.33
14. สถานการณ์ปัจจุบัน 5.17 5.46 6.28 5 4.53 5.53
ความสุขมวลรวม 6.49 6.08 6.69 6.23 5.54 6.34
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขมวลรวมจำแนกตามระดับรายได้
ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ไม่เกิน 5000 บาท 5001-10,000 10,001—20,000 20,001—30,000 มากกว่า 30,000
ไม่มีความสุขเลย 1.2 1.4 2.3 1.5 2.6
ไม่ค่อยมีความสุข 3.6 4.4 7.8 7.5 6.8
มีความสุขระดับปานกลาง 19.7 24.1 30.1 22.0 32.2
ค่อนข้างมีความสุข 56.9 53.9 50.7 60.9 49.9
มีความสุข 18.6 16.2 9.1 8.1 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขมวลรวมจำแนกตามระดับการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต
ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ไม่เคร่งครัดเลย ไม่ค่อยเคร่งครัด ปานกลาง ค่อนข้างเคร่งครัด เคร่งครัด
ไม่มีความสุขเลย 1.2 1.4 2.3 1.5 2.6
ไม่ค่อยมีความสุข 3.6 4.4 7.8 7.5 6.8
มีความสุขระดับปานกลาง 19.7 24.1 30.1 22 32.2
ค่อนข้างมีความสุข 56.9 53.9 50.7 60.9 49.9
มีความสุข 18.6 16.2 9.1 8.1 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงปัจจัยสำคัญที่มีแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างอยู่ในลักษณะต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสุขมวลรวม
ของคนไทย
ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ เดือนสิงหาคมค่าร้อยละ
1.การคมนาคม ถนนหนทาง 76.3 54.2 47.6 25.7
2.ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์บ้านในครัวเรือน 38.9 40.4 38.6 32.0
3.สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 73.1 63.1 53.4 31.9
4.การบริการด้านไฟฟ้า 60.8 57.1 43.4 42.6
5.น้ำประปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 45.7 34.3 37.4 38.1
ดัชนีความสุขต่อสภาพชุมชนที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ เดือนสิงหาคมค่าร้อยละ
1.การช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน 68.9 74.6 66.2 49.9
2.การรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมของคนในชุมชน เช่น
ไฟฟ้าส่องทางเดิน แม่น้ำลำคลอง ตู้โทรศัพท์
สาธารณะ ป้ายหยุดรถประจำทาง 61.3 60.8 56.2 50.3
3.การสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 66.1 72.1 65.9 49.5
4.การช่วยกันทำความสะอาดของคนในชุมชน 59.2 62.5 55.9 49.6
5.บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน 67.8 66.0 60.5 53.7
ดัชนีความสุขต่อสุขภาพใจ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ เดือนสิงหาคมค่าร้อยละ
1. ศีลธรรม พึ่งพาหลักคำสอนทางศาสนา 93.1 94.8 88.4 73.8
2. ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้รับ 56.8 63.4 63.2 62.4
3. ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้ให้ผู้อื่น 69.9 71.9 70.6 66.1
4. ความขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 18.2 10.6 14.5 21.5
5. ความเครียด 40.5 31.2 26.2 35.3
ดัชนีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ เดือนสิงหาคมค่าร้อยละ
1. คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อทันที 37.8 40.8 46.8
2. หลังซื้อสินค้ามา พบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ 46.5 43.7 38.6
3. คิดว่าการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา 71.9 68.4 16.6
4. คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 63.8 59.6 27.9
5. ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย 61.5 60.7 49.2
6. ถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้ จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่น 47.7 44.7 35.5
7. เป็นคนที่ขยันมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่น
เมื่อเทียบกับคนอื่นที่รู้จัก อีกประมาณ 100 คน 52.9 60.9 70.3
8. เป็นคนที่มักวางแผน ดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 42.6 50.2 82.5
9. ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำงานหาข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินมากกว่าเงินทอง 45.3 56.9 68.1
10.มีเงินเก็บออมขณะนี้เป็นจำนวนมูลค่ามากกว่ารายได้แต่ละเดือน 27.3 20.6 12.6
ดัชนีความสุขต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ เดือนสิงหาคมค่าร้อยละ
1. รับรู้ด้านจริยธรรมของนักการเมือง-รัฐบาล- องค์กรอิสระ 32.7 30.3 34.6 42.3
2. ไว้วางใจ 42.8 41.7 48.8 39.9
3. รับรู้ด้านความโปร่งใส ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน 46.9 35.9 40.8 36.8
4. รับรู้ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 29.1 27.8 28.3 39
5. รับรู้ด้านการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 55.9 54 50.5 44.3
6. รับรู้ด้านความละอายแก่ใจจากการวางตัวไม่เหมาะสม 37 30.9 28.2 38.9
7. รับรู้ด้านความเป็นอิสระ (ไม่ยอมให้มีการแทรกแซง) 43.6 44.8 54.2 39.8
8. รับรู้ด้านการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ 41.2 39.2 47.9 39.1
9. ความสุขด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง 52.8 55.6 57.9 48.2
ดัชนีความสุขต่อวัฒนธรรม ประเพณี เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ เดือนกรกฎาคมค่าร้อยละ เดือนสิงหาคมค่าร้อยละ
1. เทศกาลรื่นเริง 75.2 80.3 70.2 64.8
2. การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของในหลวง 98.2 99.4 91.1 94.4
3. ความปลื้มปิติโครงการพระราชดำริของในหลวง 97.5 98 95.3 83.4
4. งานบุญ งานบวช 78.8 82.6 75.3 73
(ยังมีต่อ)