ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ นางสาวมนิสา นวลเต็ม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในบรรยากาศสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน: กรณี
ศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีรายได้ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,526 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม — 5 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ประชาชนผู้บริโภคที่ถูกศึกษาระบุประเภทสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายไป ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา อันดับแรก ได้แก่ ของใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ร้อยละ 75.5 รองลงมา ได้แก่ อาหารสด / อาหารแห้ง ร้อยละ 65.3 และเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า
ร้อยละ 53.4 เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.0 ยังคงมีค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระหนี้หรือผ่อนสินค้าอยู่
เมื่อสอบถามถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของตัวอย่าง ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ถึงร้อยละ 95.3 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย คือ เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย แล้วซื้อเฉพาะของจำเป็น (ร้อยละ 81.4) เปรียบเทียบ
ราคาและปริมาณของสินค้าก่อนซื้อ (ร้อยละ 58.8) ประหยัดการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา (ร้อยละ 49.0) เปลี่ยนโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ
34.7) ซื้อของเฉพาะช่วงลดราคา (ร้อยละ 30.9) ซื้อของเป็นแพ็ค เพื่อให้ได้ราคาถูกลง (ร้อยละ 27.4) เลิกกินอาหารตามห้างสรรพสินค้าหรือ
สวนอาหาร แล้วทำกินเอง ที่บ้าน (ร้อยละ 27.4) เลิกใช้รถส่วนตัวหรือขึ้นรถแท็กซี่ แล้วหันมาขึ้นรถโดยสารประจำทางแทน (ร้อยละ 17.7) ซื้อ
ของที่ได้ของแถม (ร้อยละ 16.4) อื่นๆ อาทิ เปลี่ยนจากน้ำมันเบนซินและดีเซลมาใช้ LPG หรือ NGV เดินห้างสรรพสินค้าให้น้อยลง (ร้อยละ 4.4)
ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงแค่ร้อยละ 4.7 เท่านั้น ที่ระบุว่าไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย และยังคงใช้เงินเหมือนเดิม ในช่วงสภาวะ
เศรษฐกิจปัจจุบัน
เมื่อสอบถามถึงสถานที่ที่ซื้อสินค้าบริการ พบว่า คนที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการมากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้สูง นั่น
คือ คนที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนจะเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการร้อยละ 55.3 คนที่มีรายได้ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ
45.8 คนรายได้ 20,001 — 40,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 35.5 คนรายได้ 40,001 — 60,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 32.8 และคนรายได้เกิน
60,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 32.2 ระบุว่าเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการ โดยพบว่าในกลุ่มคนที่เปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3
เปลี่ยนจากการเดินห้างสรรพสินค้าที่ เซ็นทรัล เดอะมอลล์ มาเป็นสถานที่ห้างสรรพสินค้าลดราคา เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโคร มากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ
25.3 เปลี่ยนจากเดินห้าง เซ็นทรัล บิ๊กซี โลตัส มาเป็นตลาดนัด ตลาดเปิดท้าย เป็นต้น
นางสาวมนิสา กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไปมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในสภาวะเศรษฐกิจและ
การเมืองปัจจุบัน โดยผู้มีรายได้น้อยเกินกว่าครึ่งหนึ่งเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการจากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เดอะมอลล์ มาเป็นที่ บิ๊กซี โลตัส แมค
โคร มากขึ้น นอกจากนี้ คนที่มีรายได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ก็เปลี่ยนจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำไปยังสถานที่ซื้อสินค้าบริการที่มีลักษณะของการลดแลกแจก
แถมด้วย อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้สูงเกินกว่า 60,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 ยังคงซื้อสินค้าบริการในห้างสรรพสินค้าเดิมๆ
ที่เคยจับจ่ายใช้สอยอยู่
เมื่อสอบถามแผนการจับจ่ายใช้สอยของตัวอย่างในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ตัวอย่างตั้งใจจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดมากที่สุด ร้อยละ
30.7 ซื้อที่พักอาศัย เช่น บ้าน คอนโด ร้อยละ 18.1 ซื้อรถยนต์ ร้อยละ 13.1 ศึกษาต่อ ร้อยละ 8.1 ท่องเที่ยวต่างประเทศ ร้อยละ 6.4 แต่ง
งาน มีบุตร ร้อยละ 5.0 และซื้อของใช้ต่างๆ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า โทรศัพท์ ร้อยละ 12.3 และร้อยละ 32.0 ระบุว่าไม่ได้วางแผนการจับจ่ายใช้
สอยในเรื่องใดเลย
เมื่อวิเคราะห์แผนการใช้จ่ายเงินในอีก 6 เดือนข้างหน้าจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า คนที่มีรายได้สูงคือเกินกว่า 40,000 บาทต่อ
เดือนขึ้นไปยังคงมีแผนในการท่องเที่ยวมากกว่าคนมีรายได้น้อยคือไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้น้อยมีแผนการในการศึกษา
ต่อ การซื้อบ้าน ซื้อยานพาหนะ ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนที่มีรายได้สูง
เมื่อสอบถามถึงรายรับ-รายจ่ายของประชาชนที่ถูกศึกษาและจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า ยิ่งคนมีรายได้สูง ยิ่งมีรายรับมากกว่าราย
จ่าย กล่าวคือ คนที่มีรายได้เกินกว่า 60,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุว่ามีรายรับมากกว่ารายจ่าย ในขณะที่คนที่มีรายได้ไม่เกิน
10,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 34.6 ระบุว่ามีรายรับมากกว่ารายจ่าย
เมื่อสอบถามถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” กับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุว่าซื้อเฉพาะของที่จำเป็น และใช้เงินตามความต้องการพื้นฐานของชีวิตเท่านั้น ร้อยละ 32.5 วางแผนการใช้เงิน และแบ่ง
เงินเป็นส่วนๆ สำหรับไว้ใช้และไว้เก็บ ร้อยละ 14.3 เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย และลดการใช้บางสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิตลง ร้อยละ 13.3 มีความสุขง่ายๆ
และพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ร้อยละ 12.0 เลิกทานอาหารนอกบ้าน แล้วหันมาทำอาหารทานเองที่บ้าน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนทั่วไปที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าบริการในสภาวะ
เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน โดยคนมีรายได้น้อยจะเปลี่ยนห้างสรรพสินค้าจากห้างชั้นนำ เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ เป็นห้างสรรพสินค้าที่ลดราคา
เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโคร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้สูงเกินกว่า 60,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่ยังคงซื้อสินค้าบริการที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
เช่นเดิม แต่มีประมาณ 1 ใน 3 ของคนกลุ่มนี้เริ่มหันไปซื้อสินค้าบริการในห้างสรรพสินค้าลดราคาบ้างแล้ว
ที่น่าเป็นห่วงคือ สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน ยังคงพบว่าคนรายได้สูงก็ยังคงมีรายรับมากกว่ารายจ่ายเหมือนเดิม แต่คนมีรายได้
น้อยก็กำลังประสบกับปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงเป็นข้อมูลที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมพิจารณาอย่างจริงจัง เพราะเมื่อสอบถามถึง
แผนการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนพบว่าคนมีรายได้น้อยกลับมีแผนการใช้จ่ายเงินที่น่าสนใจหลายเรื่องมากกว่าคนมีรายได้สูง เช่น เรื่องการศึกษา
การซื้อที่พักอาศัย และยานพาหนะ ในขณะที่คนมีรายได้สูงกลับมีแผนการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวมากเป็นอันดับแรก แต่เรื่องการศึกษากลับอยู่ในอันดับ
ท้ายๆ เลยทีเดียว
ด้าน นางสาวพรพรรณ จ.รักตระกูล นักวิจัยประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากผลการสำรวจว่า ประชาชนมีแนวโน้ม
ที่จะใส่ใจและใช้สติในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตเป็นหลักก่อน เช่น อาหาร ของใช้ใน
ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ประชาชนยังเริ่มหันกลับมาหาความสุขภายในตัวเองและครอบครัวมากขึ้น เรียนรู้ที่จะไม่ยึดติดกับความสุขที่ได้จากการครอบ
ครองวัตถุสิ่งของ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน
รายละเอียดผลวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน: กรณี
ศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม — 5 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) จำแนกตามระดับรายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,526 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.0 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 59.0 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.6 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 32.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 9.2 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 49.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 41.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 9.3 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.7 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 1.1 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.0 ระบุอาชีพอื่นๆ นอกจากนี้
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.6 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือน 10,000 บาทหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 35.9 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท
ร้อยละ 22.2 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001-40,000 บาท
ร้อยละ 8.3 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 40,001-60,000 บาท
และร้อยละ 6.0 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายไปในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายไปในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม 75.5
2 อาหารสด / อาหารแห้ง 65.3
3 เครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า 53.4
4 ขนมขบเคี้ยว 36.9
5 น้ำหวาน / น้ำอัดลม 36.1
6 ผ่อนชำระหนี้ / ผ่อนสินค้า 35.0
7 อาหารฟาสต์ฟู้ด 32.0
8 เครื่องสำอาง / ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว 31.8
9 ดูหนัง / ดูภาพยนตร์ 20.6
10 เครื่องประดับ 13.4
11 ร้องคาราโอเกะ 5.7
12 เล่นโบว์ลิ่ง / สนุ้กเกอร์ 2.8
13 อื่นๆ อาทิ ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าหนังสือ เที่ยวสถานบันเทิง เป็นต้น 5.5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ในช่วงสภาวะ
เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยในช่วงสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ปรับเปลี่ยน โดย ... 95.3
- เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย แล้วซื้อเฉพาะของจำเป็น ร้อยละ 81.4
- เปรียบเทียบราคาและปริมาณของสินค้าก่อนซื้อ ร้อยละ 58.8
- ประหยัดการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา ร้อยละ 49.0
- เปลี่ยนโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 34.7
- ซื้อของเฉพาะช่วงลดราคา ร้อยละ 30.9
- ซื้อของเป็นแพ็ค เพื่อให้ได้ราคาถูกลง ร้อยละ 27.4
- เลิกกินอาหารตามห้างสรรพสินค้าหรือสวนอาหาร ร้อยละ 27.4
แล้วทำกินเองที่บ้าน
- เลิกใช้รถส่วนตัวหรือขึ้นรถแท็กซี่ แล้วหันมาขึ้น ร้อยละ 17.7
รถโดยสารประจำทางแทน
- ซื้อของที่ได้ของแถม ร้อยละ 16.4
- อื่นๆ อาทิ เปลี่ยนจากน้ำมันเบนซินและดีเซล ร้อยละ 4.4
มาใช้ LPG หรือ NGV, เดินห้างสรรพสินค้าให้น้อยลง
2 ไม่ได้ปรับเปลี่ยน ยังคงใช้เงินเหมือนเดิม 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนสถานที่การจับจ่ายใช้สอย ในช่วงสภาวะ
เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
พฤติกรรมการปรับเปลี่ยนสถานที่การจับจ่ายใช้สอย รายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน
ไม่เกิน 10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001—40,000 บาท 40,001—60,000 บาท สูงกว่า 60,000 บาท
1. เปลี่ยนสถานที่จับจ่ายใช้สอย 55.3 45.8 35.5 32.8 32.2
2. ไม่ได้เปลี่ยนสถานที่จับจ่ายใช้สอย ยังคงไปซื้อของที่เดิม 44.7 54.2 64.5 67.2 67.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่าเปลี่ยนสถานที่จับจ่ายใช้สอย ระบุสถานที่ที่เปลี่ยนไปจับจ่ายใช้สอย 3 อันดับแรก คือ
1. เปลี่ยนจากการเดินที่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ มาเป็นที่ บิ๊กซี, โลตัส, แมคโคร ร้อยละ 72.3
2. เปลี่ยนจากการเดินที่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ มาเป็น ตลาดนัด เปิดท้าย ร้อยละ 25.3
3. เปลี่ยนจากการเดินที่ เอ็มโพเรี่ยม, สยามพารากอน มาเป็นที่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ ร้อยละ 13.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การซื้อของเพราะอยากได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์การซื้อของเพราะอยากได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เคย 31.0
2 ไม่เคย 69.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการจับจ่ายใช้สอย ในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แผนการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 ท่องเที่ยวต่างจังหวัด 30.7
2 ซื้อที่พักอาศัย เช่น บ้าน คอนโด 18.1
3 ซื้อยานพาหนะ 13.1
4 ศึกษาต่อ 8.1
5 ท่องเที่ยวต่างประเทศ 6.4
6 แต่งงาน / มีบุตร 5.0
7 อื่นๆ อาทิ ซื้อเสื้อผ้า / รองเท้า / โทรศัพท์ เป็นต้น 12.3
8 ไม่ได้วางแผนการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องใดเลย 32.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการจับจ่ายใช้สอย ในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่ แผนการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า รายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ไม่เกิน 10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001—40,000 บาท 40,001—60,000 บาท สูงกว่า 60,000 บาท
1 ท่องเที่ยวต่างจังหวัด 24 32 34 34 36
2 ซื้อที่พักอาศัย เช่นบ้าน / คอนโด 20 19 19 9.9 13
3 ซื้อรถยนต์ 15 17 9.1 5 10
4 ศึกษาต่อ 16 6.8 4 3.3 1.1
5 ท่องเที่ยวต่างประเทศ 4.5 4.5 7.9 12 11
6 แต่งงาน / มีบุตร 5.7 5.7 4 5 3.3
7 อื่นๆ อาทิ ซื้อเสื้อผ้า/รองเท้า/โทรศัพท์ เป็นต้น 13 12 13 12 8.9
8 ไม่ได้วางแผนในเรื่องใดเลย 32 31 32 35 37
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบรายรับรายจ่าย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
การเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา รายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ไม่เกิน 10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001—40,000 บาท 40,001—60,000 บาท สูงกว่า 60,000 บาท
1. รายรับมากกว่ารายจ่าย 34.6 47.4 57.9 59.1 76.7
2. รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 35.8 24.9 20.9 14.2 13.3
3. รายรับเท่ากับรายจ่าย 29.6 27.7 21.2 26.7 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
กับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริ ค่าร้อยละ
เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”กับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน
1 ซื้อเฉพาะของที่จำเป็น และใช้เงินตามความต้องการพื้นฐานของชีวิต 49.1
2 วางแผนการใช้เงิน และแบ่งเงินเป็นส่วนๆ สำหรับไว้ใช้และไว้เก็บ 32.5
3 เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย และลดการใช้บางสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิตลง 14.3
4 มีความสุขง่ายๆ และพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ 13.3
5 เลิกทานอาหารนอกบ้าน แล้วหันมาทำอาหารทานเองที่บ้าน 12.0
6 เก็บออม และเลือกฝากเงินกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง 11.2
7 ไม่ใช้เงินเกินฐานะของตนเอง มีเท่าไรใช้เท่านั้น 9.5
8 ใช้ของให้คุ้มค่าที่สุด อะไรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ก็นำกลับมาใช้อีก 6.1
9 ใช้สติในการใช้เงิน คิดก่อนซื้อ และมีเหตุผลในการซื้อ 4.8
10 เลิกเที่ยวหรือสังสรรค์นอกบ้าน แล้วหันมาหาความสุขภายในบ้านแทน 4.2
11 เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง จากรถส่วนตัวเป็นขนส่งมวลชน หรือขับรถให้ช้าลง เพื่อประหยัดน้ำมัน 3.7
12 เลิกทำตัวตามแฟชั่นสมัยนิยม โดยการไม่นิยมของมีราคาแพง หรือของมียี่ห้อ 3.3
13 อื่นๆ อาทิ ไม่สร้างหนี้, ไม่กู้หนี้ยืมสิน, หารายได้เสริม 9.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
วลัยลักษณ์ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในบรรยากาศสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน: กรณี
ศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีรายได้ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,526 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม — 5 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ประชาชนผู้บริโภคที่ถูกศึกษาระบุประเภทสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายไป ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา อันดับแรก ได้แก่ ของใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ร้อยละ 75.5 รองลงมา ได้แก่ อาหารสด / อาหารแห้ง ร้อยละ 65.3 และเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า
ร้อยละ 53.4 เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.0 ยังคงมีค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระหนี้หรือผ่อนสินค้าอยู่
เมื่อสอบถามถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของตัวอย่าง ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่ถึงร้อยละ 95.3 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย คือ เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย แล้วซื้อเฉพาะของจำเป็น (ร้อยละ 81.4) เปรียบเทียบ
ราคาและปริมาณของสินค้าก่อนซื้อ (ร้อยละ 58.8) ประหยัดการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา (ร้อยละ 49.0) เปลี่ยนโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ
34.7) ซื้อของเฉพาะช่วงลดราคา (ร้อยละ 30.9) ซื้อของเป็นแพ็ค เพื่อให้ได้ราคาถูกลง (ร้อยละ 27.4) เลิกกินอาหารตามห้างสรรพสินค้าหรือ
สวนอาหาร แล้วทำกินเอง ที่บ้าน (ร้อยละ 27.4) เลิกใช้รถส่วนตัวหรือขึ้นรถแท็กซี่ แล้วหันมาขึ้นรถโดยสารประจำทางแทน (ร้อยละ 17.7) ซื้อ
ของที่ได้ของแถม (ร้อยละ 16.4) อื่นๆ อาทิ เปลี่ยนจากน้ำมันเบนซินและดีเซลมาใช้ LPG หรือ NGV เดินห้างสรรพสินค้าให้น้อยลง (ร้อยละ 4.4)
ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงแค่ร้อยละ 4.7 เท่านั้น ที่ระบุว่าไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย และยังคงใช้เงินเหมือนเดิม ในช่วงสภาวะ
เศรษฐกิจปัจจุบัน
เมื่อสอบถามถึงสถานที่ที่ซื้อสินค้าบริการ พบว่า คนที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการมากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้สูง นั่น
คือ คนที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนจะเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการร้อยละ 55.3 คนที่มีรายได้ 10,001 — 20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ
45.8 คนรายได้ 20,001 — 40,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 35.5 คนรายได้ 40,001 — 60,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 32.8 และคนรายได้เกิน
60,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 32.2 ระบุว่าเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการ โดยพบว่าในกลุ่มคนที่เปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3
เปลี่ยนจากการเดินห้างสรรพสินค้าที่ เซ็นทรัล เดอะมอลล์ มาเป็นสถานที่ห้างสรรพสินค้าลดราคา เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโคร มากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ
25.3 เปลี่ยนจากเดินห้าง เซ็นทรัล บิ๊กซี โลตัส มาเป็นตลาดนัด ตลาดเปิดท้าย เป็นต้น
นางสาวมนิสา กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไปมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในสภาวะเศรษฐกิจและ
การเมืองปัจจุบัน โดยผู้มีรายได้น้อยเกินกว่าครึ่งหนึ่งเปลี่ยนสถานที่ซื้อสินค้าบริการจากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เดอะมอลล์ มาเป็นที่ บิ๊กซี โลตัส แมค
โคร มากขึ้น นอกจากนี้ คนที่มีรายได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ก็เปลี่ยนจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำไปยังสถานที่ซื้อสินค้าบริการที่มีลักษณะของการลดแลกแจก
แถมด้วย อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้สูงเกินกว่า 60,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 ยังคงซื้อสินค้าบริการในห้างสรรพสินค้าเดิมๆ
ที่เคยจับจ่ายใช้สอยอยู่
เมื่อสอบถามแผนการจับจ่ายใช้สอยของตัวอย่างในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ตัวอย่างตั้งใจจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดมากที่สุด ร้อยละ
30.7 ซื้อที่พักอาศัย เช่น บ้าน คอนโด ร้อยละ 18.1 ซื้อรถยนต์ ร้อยละ 13.1 ศึกษาต่อ ร้อยละ 8.1 ท่องเที่ยวต่างประเทศ ร้อยละ 6.4 แต่ง
งาน มีบุตร ร้อยละ 5.0 และซื้อของใช้ต่างๆ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า โทรศัพท์ ร้อยละ 12.3 และร้อยละ 32.0 ระบุว่าไม่ได้วางแผนการจับจ่ายใช้
สอยในเรื่องใดเลย
เมื่อวิเคราะห์แผนการใช้จ่ายเงินในอีก 6 เดือนข้างหน้าจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า คนที่มีรายได้สูงคือเกินกว่า 40,000 บาทต่อ
เดือนขึ้นไปยังคงมีแผนในการท่องเที่ยวมากกว่าคนมีรายได้น้อยคือไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้น้อยมีแผนการในการศึกษา
ต่อ การซื้อบ้าน ซื้อยานพาหนะ ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนที่มีรายได้สูง
เมื่อสอบถามถึงรายรับ-รายจ่ายของประชาชนที่ถูกศึกษาและจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า ยิ่งคนมีรายได้สูง ยิ่งมีรายรับมากกว่าราย
จ่าย กล่าวคือ คนที่มีรายได้เกินกว่า 60,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุว่ามีรายรับมากกว่ารายจ่าย ในขณะที่คนที่มีรายได้ไม่เกิน
10,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 34.6 ระบุว่ามีรายรับมากกว่ารายจ่าย
เมื่อสอบถามถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” กับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุว่าซื้อเฉพาะของที่จำเป็น และใช้เงินตามความต้องการพื้นฐานของชีวิตเท่านั้น ร้อยละ 32.5 วางแผนการใช้เงิน และแบ่ง
เงินเป็นส่วนๆ สำหรับไว้ใช้และไว้เก็บ ร้อยละ 14.3 เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย และลดการใช้บางสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิตลง ร้อยละ 13.3 มีความสุขง่ายๆ
และพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ร้อยละ 12.0 เลิกทานอาหารนอกบ้าน แล้วหันมาทำอาหารทานเองที่บ้าน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนทั่วไปที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าบริการในสภาวะ
เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน โดยคนมีรายได้น้อยจะเปลี่ยนห้างสรรพสินค้าจากห้างชั้นนำ เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ เป็นห้างสรรพสินค้าที่ลดราคา
เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโคร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้สูงเกินกว่า 60,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่ยังคงซื้อสินค้าบริการที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
เช่นเดิม แต่มีประมาณ 1 ใน 3 ของคนกลุ่มนี้เริ่มหันไปซื้อสินค้าบริการในห้างสรรพสินค้าลดราคาบ้างแล้ว
ที่น่าเป็นห่วงคือ สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน ยังคงพบว่าคนรายได้สูงก็ยังคงมีรายรับมากกว่ารายจ่ายเหมือนเดิม แต่คนมีรายได้
น้อยก็กำลังประสบกับปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงเป็นข้อมูลที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมพิจารณาอย่างจริงจัง เพราะเมื่อสอบถามถึง
แผนการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนพบว่าคนมีรายได้น้อยกลับมีแผนการใช้จ่ายเงินที่น่าสนใจหลายเรื่องมากกว่าคนมีรายได้สูง เช่น เรื่องการศึกษา
การซื้อที่พักอาศัย และยานพาหนะ ในขณะที่คนมีรายได้สูงกลับมีแผนการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวมากเป็นอันดับแรก แต่เรื่องการศึกษากลับอยู่ในอันดับ
ท้ายๆ เลยทีเดียว
ด้าน นางสาวพรพรรณ จ.รักตระกูล นักวิจัยประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากผลการสำรวจว่า ประชาชนมีแนวโน้ม
ที่จะใส่ใจและใช้สติในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตเป็นหลักก่อน เช่น อาหาร ของใช้ใน
ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ประชาชนยังเริ่มหันกลับมาหาความสุขภายในตัวเองและครอบครัวมากขึ้น เรียนรู้ที่จะไม่ยึดติดกับความสุขที่ได้จากการครอบ
ครองวัตถุสิ่งของ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน
รายละเอียดผลวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน: กรณี
ศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม — 5 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) จำแนกตามระดับรายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,526 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.0 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 59.0 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.6 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 32.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 9.2 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 44.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 49.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 41.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว
ร้อยละ 9.3 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.7 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 1.1 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.0 ระบุอาชีพอื่นๆ นอกจากนี้
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.6 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือน 10,000 บาทหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 35.9 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท
ร้อยละ 22.2 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001-40,000 บาท
ร้อยละ 8.3 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 40,001-60,000 บาท
และร้อยละ 6.0 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายไปในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายไปในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม 75.5
2 อาหารสด / อาหารแห้ง 65.3
3 เครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า 53.4
4 ขนมขบเคี้ยว 36.9
5 น้ำหวาน / น้ำอัดลม 36.1
6 ผ่อนชำระหนี้ / ผ่อนสินค้า 35.0
7 อาหารฟาสต์ฟู้ด 32.0
8 เครื่องสำอาง / ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว 31.8
9 ดูหนัง / ดูภาพยนตร์ 20.6
10 เครื่องประดับ 13.4
11 ร้องคาราโอเกะ 5.7
12 เล่นโบว์ลิ่ง / สนุ้กเกอร์ 2.8
13 อื่นๆ อาทิ ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ค่าหนังสือ เที่ยวสถานบันเทิง เป็นต้น 5.5
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย ในช่วงสภาวะ
เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยในช่วงสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ปรับเปลี่ยน โดย ... 95.3
- เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย แล้วซื้อเฉพาะของจำเป็น ร้อยละ 81.4
- เปรียบเทียบราคาและปริมาณของสินค้าก่อนซื้อ ร้อยละ 58.8
- ประหยัดการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา ร้อยละ 49.0
- เปลี่ยนโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 34.7
- ซื้อของเฉพาะช่วงลดราคา ร้อยละ 30.9
- ซื้อของเป็นแพ็ค เพื่อให้ได้ราคาถูกลง ร้อยละ 27.4
- เลิกกินอาหารตามห้างสรรพสินค้าหรือสวนอาหาร ร้อยละ 27.4
แล้วทำกินเองที่บ้าน
- เลิกใช้รถส่วนตัวหรือขึ้นรถแท็กซี่ แล้วหันมาขึ้น ร้อยละ 17.7
รถโดยสารประจำทางแทน
- ซื้อของที่ได้ของแถม ร้อยละ 16.4
- อื่นๆ อาทิ เปลี่ยนจากน้ำมันเบนซินและดีเซล ร้อยละ 4.4
มาใช้ LPG หรือ NGV, เดินห้างสรรพสินค้าให้น้อยลง
2 ไม่ได้ปรับเปลี่ยน ยังคงใช้เงินเหมือนเดิม 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนสถานที่การจับจ่ายใช้สอย ในช่วงสภาวะ
เศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
พฤติกรรมการปรับเปลี่ยนสถานที่การจับจ่ายใช้สอย รายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบัน
ไม่เกิน 10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001—40,000 บาท 40,001—60,000 บาท สูงกว่า 60,000 บาท
1. เปลี่ยนสถานที่จับจ่ายใช้สอย 55.3 45.8 35.5 32.8 32.2
2. ไม่ได้เปลี่ยนสถานที่จับจ่ายใช้สอย ยังคงไปซื้อของที่เดิม 44.7 54.2 64.5 67.2 67.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่าเปลี่ยนสถานที่จับจ่ายใช้สอย ระบุสถานที่ที่เปลี่ยนไปจับจ่ายใช้สอย 3 อันดับแรก คือ
1. เปลี่ยนจากการเดินที่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ มาเป็นที่ บิ๊กซี, โลตัส, แมคโคร ร้อยละ 72.3
2. เปลี่ยนจากการเดินที่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ มาเป็น ตลาดนัด เปิดท้าย ร้อยละ 25.3
3. เปลี่ยนจากการเดินที่ เอ็มโพเรี่ยม, สยามพารากอน มาเป็นที่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ ร้อยละ 13.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การซื้อของเพราะอยากได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์การซื้อของเพราะอยากได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เคย 31.0
2 ไม่เคย 69.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการจับจ่ายใช้สอย ในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แผนการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 ท่องเที่ยวต่างจังหวัด 30.7
2 ซื้อที่พักอาศัย เช่น บ้าน คอนโด 18.1
3 ซื้อยานพาหนะ 13.1
4 ศึกษาต่อ 8.1
5 ท่องเที่ยวต่างประเทศ 6.4
6 แต่งงาน / มีบุตร 5.0
7 อื่นๆ อาทิ ซื้อเสื้อผ้า / รองเท้า / โทรศัพท์ เป็นต้น 12.3
8 ไม่ได้วางแผนการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องใดเลย 32.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการจับจ่ายใช้สอย ในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่ แผนการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า รายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ไม่เกิน 10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001—40,000 บาท 40,001—60,000 บาท สูงกว่า 60,000 บาท
1 ท่องเที่ยวต่างจังหวัด 24 32 34 34 36
2 ซื้อที่พักอาศัย เช่นบ้าน / คอนโด 20 19 19 9.9 13
3 ซื้อรถยนต์ 15 17 9.1 5 10
4 ศึกษาต่อ 16 6.8 4 3.3 1.1
5 ท่องเที่ยวต่างประเทศ 4.5 4.5 7.9 12 11
6 แต่งงาน / มีบุตร 5.7 5.7 4 5 3.3
7 อื่นๆ อาทิ ซื้อเสื้อผ้า/รองเท้า/โทรศัพท์ เป็นต้น 13 12 13 12 8.9
8 ไม่ได้วางแผนในเรื่องใดเลย 32 31 32 35 37
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเปรียบเทียบรายรับรายจ่าย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
การเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา รายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ไม่เกิน 10,000 บาท 10,001—20,000 บาท 20,001—40,000 บาท 40,001—60,000 บาท สูงกว่า 60,000 บาท
1. รายรับมากกว่ารายจ่าย 34.6 47.4 57.9 59.1 76.7
2. รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 35.8 24.9 20.9 14.2 13.3
3. รายรับเท่ากับรายจ่าย 29.6 27.7 21.2 26.7 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
กับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การประยุกต์ใช้แนวคิดตามกระแสพระราชดำริ ค่าร้อยละ
เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”กับการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน
1 ซื้อเฉพาะของที่จำเป็น และใช้เงินตามความต้องการพื้นฐานของชีวิต 49.1
2 วางแผนการใช้เงิน และแบ่งเงินเป็นส่วนๆ สำหรับไว้ใช้และไว้เก็บ 32.5
3 เลิกใช้ของฟุ่มเฟือย และลดการใช้บางสิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิตลง 14.3
4 มีความสุขง่ายๆ และพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ 13.3
5 เลิกทานอาหารนอกบ้าน แล้วหันมาทำอาหารทานเองที่บ้าน 12.0
6 เก็บออม และเลือกฝากเงินกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง 11.2
7 ไม่ใช้เงินเกินฐานะของตนเอง มีเท่าไรใช้เท่านั้น 9.5
8 ใช้ของให้คุ้มค่าที่สุด อะไรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ก็นำกลับมาใช้อีก 6.1
9 ใช้สติในการใช้เงิน คิดก่อนซื้อ และมีเหตุผลในการซื้อ 4.8
10 เลิกเที่ยวหรือสังสรรค์นอกบ้าน แล้วหันมาหาความสุขภายในบ้านแทน 4.2
11 เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง จากรถส่วนตัวเป็นขนส่งมวลชน หรือขับรถให้ช้าลง เพื่อประหยัดน้ำมัน 3.7
12 เลิกทำตัวตามแฟชั่นสมัยนิยม โดยการไม่นิยมของมีราคาแพง หรือของมียี่ห้อ 3.3
13 อื่นๆ อาทิ ไม่สร้างหนี้, ไม่กู้หนี้ยืมสิน, หารายได้เสริม 9.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-