ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจการสนับสนุนของสาธารณ
ชนต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,509 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนของประชาชนต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 สนับ
สนุน ร้อยละ 16.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.2 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 12.4 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าสนใจคือเมื่อจำแนกออกเป็นช่วงเวลาของการ
สำรวจก่อนวันประกาศแต่งตั้งเพียงช่วงเวลาไม่กี่วัน พบว่า แนวโน้มของประชาชนที่สนับสนุนกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากร้อยละ 20.3 ในวันที่
28 กันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 36.6 ในวันที่ 30 กันยายน และร้อยละ 64.1 หลังวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ดร.นพดล กล่าวว่า การที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนสูงถึงกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไปตามหลักการสำรวจความ
คิดเห็นของสาธารณชนนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดีแต่ยังไม่ถือว่าดีมากคืออยู่ในโซนบีที่มีช่วง ร้อยละ 50 ถึง 74 ดังนั้นในช่วงเวลานี้จะพูดอะไร
จะทำอะไรก็จะได้รับการสนับสนุนพอสมควร อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานี้คือช่วงฮันนีมูน แต่เชื่อมั่นว่าพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จะไม่มีเวลาสำหรับการ
ฮันนีมูนอย่างแน่นอน การสนับสนุนของสาธารณชนนับจากนี้ไปจะเพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับผลแห่งการกระทำของนายกรัฐมนตรีและบรรดา
รัฐมนตรีที่เข้าร่วมรัฐบาลเป็นสำคัญ เพราะการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนของประชาชนในทางการเมืองเป็นสิ่งไม่เที่ยงมักมีลักษณะแกว่งตัวขึ้นลงตลอด
เวลา
เมื่อสอบถามถึงความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 62.5 ต้อง
การให้แก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายราคาสินค้าบริการ ค่าครองชีพ ราคาพลังงานที่สูงเกินไป รองลงมาคือร้อยละ 56.3 ปัญหาความไม่สงบและการสร้าง
สถานการณ์ในประเทศ เช่น ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 54.8 ปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ร้อยละ 52.1 ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ร้อยละ 50.9 ปัญหาคุณภาพเยาวชนและการจัดระเบียบสังคม รองๆ ลงไปคือ ปัญหาความยากจน ปัญหาด้านจราจร ปัญหายาเสพติด การ
สร้างความเชื่อมั่นทางการเมือง ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ และอื่นๆ เช่น คุณภาพทางการศึกษา ปัญหาว่างงาน ปัญหาคนไทยห่างวัดและ
วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยมุ่งเน้นที่ความผาสุก
ของประชาชนมากกว่าการเน้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 เห็นด้วย ร้อยละ 17.9 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 เห็นว่าควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินบูรณาการทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อส่ง
เสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.2 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 6.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติในฐานข้อมูลงานวิจัยเครือข่ายขับเคลื่อนความสุขมวลรวม (GDH networks) พบว่า
ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างเคร่งครัดจนถึงเคร่งครัดเป็นกลุ่มประชาชนที่พบกับความสุขในชีวิตมากกว่าเกือบสองเท่าของจำนวน
คนที่ไม่ค่อยเคร่งครัดและไม่เคร่งครัดเลย คือประชาชนจำนวนมากหรือ ร้อยละ 44.6 ของคนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดและร้อย
ละ 12.0 ของคนที่ค่อนข้างเคร่งครัดบอกว่ามีความสุข ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ของคนที่ไม่เคร่งครัดเลยและเพียงร้อยละ 6.2 เท่านั้นของคนที่ไม่ค่อย
เคร่งครัดบอกว่ามีความสุขในชีวิต
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ลักษณะการใช้ชีวิตของคนที่เคร่งครัดต่อการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการวิจัยความสุขมวลรวมของ
ประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย มีตัวชี้วัดหลายประการน่าสนใจของประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ
ประการแรก มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่นึกอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ ประการที่สอง เมื่อซื้อสินค้ามาแล้วก็ใช้อย่างเต็มที่ ประการ
ที่สาม มีทัศนคติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ประการที่สี่ ไม่เน้นการแข่งขันเอาชนะกันแบบสุดโต่ง ประการที่ห้า ใช้ชีวิตอยู่บนทางสายกลางและ
ความสมดุลของชีวิต ประการที่หก มีภูมิคุ้มกันด้วยการเก็บออมทรัพย์สิน วิถีชีวิตไม่ขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลก และประการสุดท้าย ไม่ตัดสินใจบน
ความเสี่ยงที่สูงเกินไป เช่น การพนัน การเล่นหวย และการลงทุนที่มีความเป็นไปได้เท่ากับศูนย์ของจุดคุ้มทุน เป็นต้น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อว่าที่นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนใช้
ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจการสนับสนุนของสาธารณชนต่อตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ :กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่าง
วันที่ 1-2 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับ
ลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,509 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 15.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง 28 ก.ย.ค่าร้อยละ 30 ก.ย.ค่าร้อยละ 2 ต.ค.ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 20.3 36.6 64.1
2 ไม่แน่ใจ 48.4 39.8 16.3
3 ไม่สนับสนุน 17.6 12.8 7.2
4 ไม่มีความเห็น 13.7 10.8 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ค่าร้อยละ
1 ปัญหาค่าใช้จ่ายราคาสินค้าบริการ /ค่าครองชีพ/ ราคาพลังงานที่สูงเกินไป 62.5
2 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 56.3
3 ปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ/ผู้ประสบภัยต่างๆ 54.8
4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 52.1
5 ปัญหาคุณภาพเยาวชนและการจัดระเบียบสังคม 50.9
6 ปัญหาความยากจนของประชาชน 47.8
7 ปัญหาด้านการจราจร 46.0
8 ปัญหายาเสพติด 43.5
9 สร้างความเชื่อมั่นทางการเมือง 39.2
10 ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ 37.8
11 อื่นๆ อาทิ คุณภาพการศึกษา /ปัญหาการว่างงาน/คนไทยห่างไกลวัด
และวัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น 12.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้น
ที่ความผาสุกของประชาชน มากกว่าการเน้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียวของ
พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 71.0
2 ไม่เห็นด้วย 17.9
3 ไม่มีความเห็น 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง 88.6
2 ไม่ควร 5.2
3 ไม่มีความเห็น 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขมวลรวมจำแนกตามระดับการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมา
ใช้ในการดำเนินชีวิต
ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ไม่เคร่งครัดเลย ไม่ค่อยเคร่งครัด ปานกลาง ค่อนข้างเคร่งครัด เคร่งครัด
ไม่มีความสุขเลย 17.5 5.0 1.8 0.5 1.0
ไม่ค่อยมีความสุข 25.0 23.6 7.8 2.9 1.0
มีความสุขระดับปานกลาง 20.0 32.6 40.0 18.1 11.5
ค่อนข้างมีความสุข 10.0 32.6 40.7 66.5 41.8
มีความสุข 27.5 6.2 9.7 12.0 44.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ที่มา: ฐานข้อมูลเครือข่ายขับเคลื่อนความสุขมวลรวมชาวสยาม www.gdhnetworks.com หรือ www.siamgdh.com
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com หรือ www.abacpoll.au.edu
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ชนต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,509 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนของประชาชนต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 สนับ
สนุน ร้อยละ 16.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.2 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 12.4 ไม่มีความเห็น ประเด็นที่น่าสนใจคือเมื่อจำแนกออกเป็นช่วงเวลาของการ
สำรวจก่อนวันประกาศแต่งตั้งเพียงช่วงเวลาไม่กี่วัน พบว่า แนวโน้มของประชาชนที่สนับสนุนกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากร้อยละ 20.3 ในวันที่
28 กันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 36.6 ในวันที่ 30 กันยายน และร้อยละ 64.1 หลังวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ดร.นพดล กล่าวว่า การที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนสูงถึงกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไปตามหลักการสำรวจความ
คิดเห็นของสาธารณชนนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดีแต่ยังไม่ถือว่าดีมากคืออยู่ในโซนบีที่มีช่วง ร้อยละ 50 ถึง 74 ดังนั้นในช่วงเวลานี้จะพูดอะไร
จะทำอะไรก็จะได้รับการสนับสนุนพอสมควร อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานี้คือช่วงฮันนีมูน แต่เชื่อมั่นว่าพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จะไม่มีเวลาสำหรับการ
ฮันนีมูนอย่างแน่นอน การสนับสนุนของสาธารณชนนับจากนี้ไปจะเพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับผลแห่งการกระทำของนายกรัฐมนตรีและบรรดา
รัฐมนตรีที่เข้าร่วมรัฐบาลเป็นสำคัญ เพราะการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนของประชาชนในทางการเมืองเป็นสิ่งไม่เที่ยงมักมีลักษณะแกว่งตัวขึ้นลงตลอด
เวลา
เมื่อสอบถามถึงความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 62.5 ต้อง
การให้แก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายราคาสินค้าบริการ ค่าครองชีพ ราคาพลังงานที่สูงเกินไป รองลงมาคือร้อยละ 56.3 ปัญหาความไม่สงบและการสร้าง
สถานการณ์ในประเทศ เช่น ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 54.8 ปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ร้อยละ 52.1 ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น ร้อยละ 50.9 ปัญหาคุณภาพเยาวชนและการจัดระเบียบสังคม รองๆ ลงไปคือ ปัญหาความยากจน ปัญหาด้านจราจร ปัญหายาเสพติด การ
สร้างความเชื่อมั่นทางการเมือง ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ และอื่นๆ เช่น คุณภาพทางการศึกษา ปัญหาว่างงาน ปัญหาคนไทยห่างวัดและ
วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยมุ่งเน้นที่ความผาสุก
ของประชาชนมากกว่าการเน้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 เห็นด้วย ร้อยละ 17.9 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 เห็นว่าควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินบูรณาการทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อส่ง
เสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.2 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 6.2 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติในฐานข้อมูลงานวิจัยเครือข่ายขับเคลื่อนความสุขมวลรวม (GDH networks) พบว่า
ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างเคร่งครัดจนถึงเคร่งครัดเป็นกลุ่มประชาชนที่พบกับความสุขในชีวิตมากกว่าเกือบสองเท่าของจำนวน
คนที่ไม่ค่อยเคร่งครัดและไม่เคร่งครัดเลย คือประชาชนจำนวนมากหรือ ร้อยละ 44.6 ของคนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดและร้อย
ละ 12.0 ของคนที่ค่อนข้างเคร่งครัดบอกว่ามีความสุข ในขณะที่ร้อยละ 27.5 ของคนที่ไม่เคร่งครัดเลยและเพียงร้อยละ 6.2 เท่านั้นของคนที่ไม่ค่อย
เคร่งครัดบอกว่ามีความสุขในชีวิต
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ลักษณะการใช้ชีวิตของคนที่เคร่งครัดต่อการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการวิจัยความสุขมวลรวมของ
ประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย มีตัวชี้วัดหลายประการน่าสนใจของประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ
ประการแรก มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่นึกอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ ประการที่สอง เมื่อซื้อสินค้ามาแล้วก็ใช้อย่างเต็มที่ ประการ
ที่สาม มีทัศนคติต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ประการที่สี่ ไม่เน้นการแข่งขันเอาชนะกันแบบสุดโต่ง ประการที่ห้า ใช้ชีวิตอยู่บนทางสายกลางและ
ความสมดุลของชีวิต ประการที่หก มีภูมิคุ้มกันด้วยการเก็บออมทรัพย์สิน วิถีชีวิตไม่ขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลก และประการสุดท้าย ไม่ตัดสินใจบน
ความเสี่ยงที่สูงเกินไป เช่น การพนัน การเล่นหวย และการลงทุนที่มีความเป็นไปได้เท่ากับศูนย์ของจุดคุ้มทุน เป็นต้น
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อว่าที่นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนใช้
ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจการสนับสนุนของสาธารณชนต่อตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ :กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการในระหว่าง
วันที่ 1-2 ตุลาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับ
ลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 1,509 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของ มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 17.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 15.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง 28 ก.ย.ค่าร้อยละ 30 ก.ย.ค่าร้อยละ 2 ต.ค.ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 20.3 36.6 64.1
2 ไม่แน่ใจ 48.4 39.8 16.3
3 ไม่สนับสนุน 17.6 12.8 7.2
4 ไม่มีความเห็น 13.7 10.8 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ค่าร้อยละ
1 ปัญหาค่าใช้จ่ายราคาสินค้าบริการ /ค่าครองชีพ/ ราคาพลังงานที่สูงเกินไป 62.5
2 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 56.3
3 ปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ/ผู้ประสบภัยต่างๆ 54.8
4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 52.1
5 ปัญหาคุณภาพเยาวชนและการจัดระเบียบสังคม 50.9
6 ปัญหาความยากจนของประชาชน 47.8
7 ปัญหาด้านการจราจร 46.0
8 ปัญหายาเสพติด 43.5
9 สร้างความเชื่อมั่นทางการเมือง 39.2
10 ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ 37.8
11 อื่นๆ อาทิ คุณภาพการศึกษา /ปัญหาการว่างงาน/คนไทยห่างไกลวัด
และวัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น 12.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้น
ที่ความผาสุกของประชาชน มากกว่าการเน้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียวของ
พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 71.0
2 ไม่เห็นด้วย 17.9
3 ไม่มีความเห็น 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง 88.6
2 ไม่ควร 5.2
3 ไม่มีความเห็น 6.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขมวลรวมจำแนกตามระดับการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมา
ใช้ในการดำเนินชีวิต
ระดับความสุขมวลรวมของประชาชน ไม่เคร่งครัดเลย ไม่ค่อยเคร่งครัด ปานกลาง ค่อนข้างเคร่งครัด เคร่งครัด
ไม่มีความสุขเลย 17.5 5.0 1.8 0.5 1.0
ไม่ค่อยมีความสุข 25.0 23.6 7.8 2.9 1.0
มีความสุขระดับปานกลาง 20.0 32.6 40.0 18.1 11.5
ค่อนข้างมีความสุข 10.0 32.6 40.7 66.5 41.8
มีความสุข 27.5 6.2 9.7 12.0 44.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ที่มา: ฐานข้อมูลเครือข่ายขับเคลื่อนความสุขมวลรวมชาวสยาม www.gdhnetworks.com หรือ www.siamgdh.com
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com หรือ www.abacpoll.au.edu
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-