เอแบคโพลล์: ผ่าทางตันวิกฤตการเมืองในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Friday March 10, 2006 13:15 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
จากแนวคิด-แนวปฏิบัติต่างๆ ที่มีการนำเสนอผ่านสื่อสารมวลชนถึงทางออกของวิกฤตการณ์ปัญหาการเมืองในขณะนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้เอาแนวคิด-แนวปฏิบัติดังกล่าวเหล่านั้น ไปสอบถามการสนับสนุนจากประชาชน โดยการทำวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิง
สถิติศาสตร์ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการเมือง
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างสันติวิธีแก้วิกฤตการเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผ่าทางตันวิกฤตการเมืองในสายตาประชาชน: กรณี
ศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 - 9 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,565 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 72.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 20.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 3.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.8 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 46.8 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 9.8 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 7.1 ระบุ 15,001-20,000 บาท
ร้อยละ 1.2 ระบุ 20,001 — 25,000
ร้อยละ 3.9 ระบุ 25,001-30,000
และร้อยละ 6.4 ระบุมากกว่า 30,000 บาท
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัย
อัสสัมชัญ เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ผ่าทางตันวิกฤตการเมืองในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนอายุ 18
ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,565 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 - 9 มีนาคม 2549
โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบ
ว่า ในประเด็นประเภทของสื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 91.4 ระบุติดตามข่าวสารประจำวันจากโทรทัศน์ รองลง
มา คือ ร้อยละ 47.5 ระบุติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 25.2 ระบุติดตามจากการพูดคุยกับคนอื่น ร้อยละ 24.9 ระบุติดตามข่าวจากวิทยุ
และร้อยละ 6.6 ระบุอินเทอร์เนต ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือ ร้อยละ 76.3 ระบุติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมืองโดยเฉลี่ยทุกวันหรือ
เกือบทุกวัน รองลงมา คือ ร้อยละ 14.1 ติดตามข่าว 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.3 ติดตามข่าว 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ ส่วนที่ไม่ได้ติดตามข่าว
เลย มีร้อยละ 1.3
ในประเด็นความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 94.8 ระบุเหตุการณ์ทาง
การเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เหลืออีกเพียงร้อยละ 5.2 ระบุเป็นเรื่องไม่สำคัญ
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการสนับสนุนแนวคิดการสร้างสันติวิธีแก้วิกฤตการเมืองขณะนี้ พบว่า แนวคิดที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม
ตัวอย่างเรียงตามลำดับ ได้แก่ การให้แต่ละฝ่ายควรรับฟังเหตุผลของกันและกัน (ร้อยละ 94.9 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) รองลงมา คือ การ
ไม่ใส่ร้ายโจมตีต่อกันและกัน (ร้อยละ 93.6 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) การให้มีการเจรจาร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง (ร้อย
ละ 92.5 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) การให้มีคนกลางตรวจสอบ พิจารณาและนำเสนอข้อเท็จจริง (ร้อยละ 88.5 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่าง
ยิ่ง) การให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวอย่างรอบด้านและเท่าเทียมกัน (ร้อยละ 84.3 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) การชุมนุมกันด้วยความอดทนอด
กลั้น ไม่ใช้ความรุนแรง (ร้อยละ 83.6 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) การยุติการยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธแค้นกัน (ร้อยละ 72.8 ระบุสนับสนุน-
สนับสนุนอย่างยิ่ง) การเปิดไฟหน้ารถแสดงจุดยืนรักสงบ (ร้อยละ 71.8 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) การไม่เคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุม (ร้อย
ละ 66.0 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง) และการไม่เผชิญหน้ากัน (ร้อยละ 53.7 ระบุสนับสนุน-สนับสนุนอย่างยิ่ง)
จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุทำให้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 76.2 ระบุทิศทางการแก้ปัญหาทางการเมืองโดยใช้สันติ
วิธี รองลงมา คือ ร้อยละ 75.1 ระบุให้รักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ ร้อยละ 70.0 ระบุให้มีความโปร่งใส ร้อยละ 66.0 ระบุให้มีการหันหน้า
ปรองดองกันทุกฝ่าย ร้อยละ 64.5 ระบุให้มีความยุติธรรม
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของสื่อที่ติดตามข่าวสารประจำวัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของสื่อ ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 91.4
2 หนังสือพิมพ์ 47.5
3 พูดคุยกับคนอื่น 25.2
4 วิทยุ 24.9
5 อินเทอร์เนต 6.6
6 สื่ออื่นๆ อาทิเช่น ใบปลิว อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น 0.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง
ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่โดยเฉลี่ยในการติดตามข่าวสถานการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 76.3
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 14.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.3
4 ไม่ได้ติดตามเลย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เป็นเรื่องที่สำคัญ 94.8
2 เป็นเรื่องไม่สำคัญ 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าทุกฝ่ายควรรับฟังเหตุผล
ของกันและกัน
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 51.1
2 สนับสนุน 43.8
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 1.1
4 ไม่สนับสนุนเลย 0.9
5 ไม่มีความเห็น 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าทุกฝ่ายไม่ใส่ร้ายโจมตี
ซึ่งกันและกัน
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 50.8
2 สนับสนุน 42.8
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 1.4
4 ไม่สนับสนุนเลย 0.9
5 ไม่มีความเห็น 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าควรมีการเจรจา
ร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 48.7
2 สนับสนุน 43.8
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 2.3
4 ไม่สนับสนุนเลย 1.8
5 ไม่มีความเห็น 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าควรมีคนกลาง
ตรวจสอบ พิจารณาและนำเสนอ ข้อมูล/ข้อเท็จจริง
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 42.3
2 สนับสนุน 46.2
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 3.5
4 ไม่สนับสนุนเลย 1.9
5 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าสื่อมวลชนนำเสนอ
ข่าวอย่างรอบด้านและเท่าเทียมกัน
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 35.7
2 สนับสนุน 48.6
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 5.9
4 ไม่สนับสนุนเลย 2.4
5 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าการชุมนุมของทุกฝ่าย
ควรยุติการยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธแค้น
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 35.3
2 สนับสนุน 37.5
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 8.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 14.4
5 ไม่มีความเห็น 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าให้ประชาชนเปิดไฟ
หน้ารถแสดงจุดยืนรักสงบ
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 31.1
2 สนับสนุน 40.7
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 8.8
4 ไม่สนับสนุนเลย 7.7
5 ไม่มีความเห็น 11.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ไม่มีการเผชิญหน้ากัน
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 25.4
2 สนับสนุน 28.3
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 17.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 16.2
5 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทิศทางการแก้ปัญหาทางการเมืองที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทิศทางการแก้ปัญหาทางการเมืองที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 ใช้สันติวิธี 76.2
2 รักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ 75.1
3 มีความโปร่งใส 70.0
4 การหันหน้าปรองดองกันของทุกฝ่าย 66.0
5 มีความยุติธรรม 64.5
6 มีความชอบธรรม 57.8
7 ยึดถือกฎกติกา 50.7
8 การให้อภัยต่อกัน 49.8
9 จริยธรรมทางการเมือง 44.7
10 เอาชนะให้ถึงที่สุด 7.5
บทวิเคราะห์ผลสำรวจจำแนกตามคุณลักษณะที่สนใจ
-การสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าการชุมนุมของทุกฝ่ายควรยุติการยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธแค้น
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าการชุมนุม
ของทุกฝ่ายควรยุติการยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธแค้น จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 36.6 33.7
2 สนับสนุน 34.2 40.9
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 7.6 8.4
4 ไม่สนับสนุนเลย 16.8 12.5
5 ไม่มีความเห็น 4.8 4.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าการชุมนุม
ของทุกฝ่ายควรยุติการยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธแค้น จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 34.2 40.2
2 สนับสนุน 37.2 41.0
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 8.7 5.1
4 ไม่สนับสนุนเลย 14.8 11.5
5 ไม่มีความเห็น 5.1 2.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าการชุมนุมของทุกฝ่าย
ควรยุติการยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธแค้น จำแนกตามการเลือกพรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อ
จากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เคยเลือกพรรคไทยรักไทยค่าร้อยละ เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 37.2 31.1
2 สนับสนุน 35.6 40.2
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 7.4 8.6
4 ไม่สนับสนุนเลย 16.3 13.1
5 ไม่มีความเห็น 3.5 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
-การสนับสนุน แนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าสื่อมวลชนนำเสนอข่าวอย่างรอบด้านและเท่าเทียมกัน
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าสื่อมวลชนนำเสนอ
ข่าวอย่างรอบด้านและเท่าเทียมกัน จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 39.9 31.0
2 สนับสนุน 43.9 53.8
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 5.6 6.3
4 ไม่สนับสนุนเลย 2.4 2.4
5 ไม่มีความเห็น 8.2 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าสื่อมวลชนนำเสนอ
ข่าวอย่างรอบด้านและเท่าเทียมกัน จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 34.7 38.9
2 สนับสนุน 49.3 47.4
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 5.9 7.3
4 ไม่สนับสนุนเลย 2.4 1.7
5 ไม่มีความเห็น 7.7 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าสื่อมวลชนนำเสนอ
ข่าวอย่างรอบด้านและเท่าเทียมกัน จำแนกตามการเลือกพรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อจาก
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เคยเลือกพรรคไทยรักไทยค่าร้อยละ เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 37.6 41.8
2 สนับสนุน 46.8 43.4
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 5.5 6.6
4 ไม่สนับสนุนเลย 2.0 3.3
5 ไม่มีความเห็น 8.1 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
-การสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าให้ประชาชนเปิดไฟหน้ารถแสดงจุดยืนรักสงบ
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าให้ประชาชนเปิดไฟ
หน้ารถแสดงจุดยืนรักสงบ จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 32.8 28.8
2 สนับสนุน 36.2 45.5
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 10.0 7.6
4 ไม่สนับสนุนเลย 9.3 6.3
5 ไม่มีความเห็น 11.7 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าให้ประชาชนเปิดไฟ
หน้ารถแสดงจุดยืนรักสงบ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 32.1 25.6
2 สนับสนุน 41.1 40.2
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 8.4 11.5
4 ไม่สนับสนุนเลย 6.7 14.1
5 ไม่มีความเห็น 11.7 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 21 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าให้ประชาชนเปิดไฟ
หน้ารถแสดงจุดยืนรักสงบ จำแนกตามการเลือกพรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อจากการ
เลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เคยเลือกพรรคไทยรักไทยค่าร้อยละ เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 35.7 25.0
2 สนับสนุน 44.3 30.7
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 6.7 15.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 4.5 17.2
5 ไม่มีความเห็น 8.8 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
-การสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าควรมีการเจรจาร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง
ตารางที่ 22 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าควรมีการเจรจา
ร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 52.7 44.6
2 สนับสนุน 39.4 48.1
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 3.3 1.4
4 ไม่สนับสนุนเลย 1.5 2.0
5 ไม่มีความเห็น 3.1 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 23 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าควรมีการเจรจา
ร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีขึ้นไปค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 47.7 53.0
2 สนับสนุน 44.6 41.0
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 2.3 2.6
4 ไม่สนับสนุนเลย 1.9 1.3
5 ไม่มีความเห็น 3.5 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 24 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิด-แนวปฏิบัติที่ว่าควรมีการเจรจาร่วมกันของทุก
ฝ่ายเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้ง จำแนกตามการเลือกพรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อจากการเลือกตั้งเมื่อ 6 ก.พ.48
ลำดับที่ การสนับสนุนของประชาชน เคยเลือกพรรคไทยรักไทยค่าร้อยละ เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนอย่างยิ่ง 50.8 44.3
2 สนับสนุน 43.0 47.1
3 ไม่ค่อยสนับสนุน 1.8 2.9
4 ไม่สนับสนุนเลย 1.2 1.6
5 ไม่มีความเห็น 3.2 4.1
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ