โพลล์ชี้ความสุขมวลรวมคนไทยเดือนมิถุนายนพุ่งสูงสุด เหตุความปลื้มปิติงานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ ความรักความสามัคคีของคน
ในชาติ คนที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้มข้นกว่าร้อยละ 90 มีความสุข แต่ปัญหาจริยธรรมทางการเมือง ประชาชนเข้าไม่ถึงความซื่อสัตย์สุจริต
ความโปร่งใสของนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระปัญหาสภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมทำความสุขคนไทยลด แนะคนไทยอย่าตกเป็นหมากตัวหนึ่งของเกมการ
เมืองวอนนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระควรยอมทำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของสังคมขณะที่คนไทยทั่วไปควรใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ
สุขยั่งยืน
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ต่างจังหวัด จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 3,892 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดัง
นี้
ผลสำรวจความสุขมวลรวมประจำเดือนมิถุนายนนี้ ชี้ให้เห็นว่า ดัชนีความสุขความพอใจหลายตัวลดต่ำลง เมื่อเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือน
พฤษภาคม เช่น ความพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง สิ่งแวดล้อมเช่นน้ำ อากาศ ดิน การบริการด้านไฟฟ้าและน้ำปะปา ได้ลดลงใน
เกือบทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 76.3 เคยพอใจต่อถนนหนทาง ลดลงเหลือร้อยละ 54.2 ในขณะที่ร้อยละ 45.7 เคยพอใจเรื่องน้ำปะปา แหล่งน้ำกินน้ำ
ใช้ ลดลงเหลือร้อยละ 34.3 เท่านั้น ซึ่งคะแนนความสุขมวลรวมของคนไทยด้านสภาพแวดล้อมจาก -5 ถึง +5 นั้น คะแนนเฉลี่ยได้เพียง +1 ซึ่งถือว่า
ไม่ค่อยดี
ที่น่าพิจารณาคือ ดัชนีด้านสภาพชุมชนที่พักอาศัย พบว่า ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คนตอบแบบสอบถามเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.9 เป็นร้อย
ละ 74.6 ที่เห็นการช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน อย่างไรก็ตามตัวอย่าง
คนตอบแบบสอบถามลดลงจากร้อยละ 52.4 เป็นร้อยละ 50.8 ที่เห็นการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่นเดียวกัน จำนวนคนลดลงจาก
ร้อยละ 54.9 เป็นร้อยละ 46.3 ที่เห็นการแก้ปัญหาอาชญากรรม เช่น ลักทรัพย์ จี้ ปล้น วิ่งราวทำร้ายร่างกายกัน เป็นต้น ในขณะที่ ความรู้สึกร่วม
ของคนในชุมชนเรื่องการรักษาทรัพย์สินส่วนรวม ความสะอาดและ
บทบาทของผู้นำชุมชนในพื้นที่มีค่าร้อยละของประชาชนที่มีความสุขในด้านต่างๆ เหล่านี้ไม่แตกต่างไปจากการสำรวจ ช่วงเดือนพฤษภาคม
คือร้อยละ 61.3 ต่อร้อยละ 60.8 (เรื่องการรักษาทรัพย์สินส่วนรวม) ร้อยละ 59.2 ต่อร้อยละ 62.5 (เรื่องความสะอาดของชุมชน) และร้อยละ
67.8 ต่อร้อยละ 66.0 (เรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน) ตามลำดับ สำหรับคะแนนความสุขมวลรวมด้านสภาพชุมชน พบว่าอยู่ในแดนบวกคือ +3 ซึ่ง
ถือว่าค่อนข้างดี
ที่น่าเป็นห่วงคือ การวัดดัชนีความสุขมวลรวมด้านสภาวะเศรษฐกิจทุนนิยม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 มีภาระหนี้สิน ร้อย
ละ 62.4 เดือดร้อนกับภาระการจับจ่ายใช้สอยปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 15.3 พอใจต่อราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง ร้อยละ 44.8 พอใจต่อราคาสินค้า และ
ร้อยละ 40.5 มีการเก็บออม สำหรับคะแนนความสุขมวลรวมด้านสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในแดนลบคือ -2 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ฉุดความสุขของ
คนไทยลงไป
เมื่อพิจารณาการใช้ชีวิตของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อทันทีและ
ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ46.5 ระบุหลังซื้อสินค้ามากลับพบว่าไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์
อย่างเต็มที่ร้อยละ 71.9 คิดว่าการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นคนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 63.8 ยังคงคิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 เช่นกันที่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย
คนไทยจำนวนมากหรือร้อยละ 47.7 ระบุว่าถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้จะเดือดร้อนต้อง พึ่งพาผู้อื่น สำหรับคะแนนระดับการใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของคน
ไทยจาก -5 ถึง +5 คะแนนเฉลี่ยได้ +1 ซึ่งถือว่าไม่ค่อยดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์แยกกลุ่มคนไทยที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงออกเป็น 3 แบบคือแบบเข้มข้น แบบปานกลาง และแบบใช้ชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงเล็กน้อย ซึ่งพบว่า ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้มข้นกว่าร้อยละ 90 ระบุว่ามีความสุขมากถึงมากที่สุด ซึ่งค่าสัดส่วนจะ
ลดลงไปตามระดับความเข้มข้นของการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ จากร้อยละ 92.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 59.3 ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงแบบปานกลาง และร้อยละ 34.5 ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเล็กน้อยหรือน้อยจนถึงไม่ได้ใช้เลย
สำหรับดัชนีด้านการศึกษา ด้านธรรมชาติและด้านกระบวนการยุติธรรม ผลสำรวจไม่พบความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจใน
ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขออกมาค่อนข้างดี
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ดัชนีด้านการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ ซึ่งพบว่า คะแนนความสุขมวลรวมด้านการเมือง-รัฐบาลและองค์กรอิสระ ค่า
เฉลี่ยอยู่ที่ -4 ซึ่งถือว่าอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากปัญหาด้านจริยธรรม ประชาชนเข้าไม่ถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใสของนักการเมือง-
รัฐบาล-องค์กรอิสระ
สำหรับดัชนีความสุขด้านสุขภาพกาย พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ +3 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี คือ การบริการด้านระบบสาธารณสุข
ในขณะที่ดัชนีความสุขด้านสุขภาพใจ พบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ +4 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องมาจากรากฐานจิตใจคนไทยตั้งมั่นอยู่บนหลักศีลธรรม และ
ความเอื้ออาทรทางสังคมต่อกันและกัน
ที่สำคัญคือ เมื่อพิจารณาผลสำรวจดัชนีความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณี พบว่า ประชาชนเกือบร้อยละ 100 ที่มีความสุขกับงานเฉลิมฉลอง
การครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ความปลื้มปิติโครงการพระราชดำริต่างๆ เทศกาลงานรื่นเริง งานบุญงานบวช ซึ่งส่งผลทำให้ความสุข
มวลรวมของคนไทยได้คะแนนเฉลี่ยที่ +5 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90.1 มีความสุขกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยร้อย
ละ 84.5 รับรู้ถึงการช่วยเหลือแบ่งปันกันเมื่อประสบภัยพิบัติ ร้อยละ 72.3 เห็นและรับรู้ถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติ
เมื่อสอบถามความสุขมวลรวมของประชาชนแต่ละคนที่ถูกศึกษา จากนั้นหาค่าความสุขมวลรวมระดับครัวเรือน ชุมชนหรือหมู่บ้าน อำเภอ
จังหวัด ภาคและประเทศ พบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนมิถุนายนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 9.21 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งถือว่าอยู่ใน
เกณฑ์ดีมาก เพราะคนไทยมีความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย งานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ และความรักความสามัคคีของคนในชาติที่แสดงออก
ให้ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศและนานาชาติทั่วโลกได้ประจักษ์
ดร.นพดล ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า การรายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายนนี้ชี้ให้เห็นว่า
วัฒนธรรมประเพณีไทย ความจงรักภักดี การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและความรักความสามัคคีของคนในชาติ เป็นรากฐานสำคัญยิ่งของความสุข
มวลรวมของคนไทย ในขณะที่ปัญหาจริยธรรมทางการเมือง การที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใสของนักการเมือง รัฐบาล
และองค์กรอิสระ กำลังบั่นทอนความสุขของคนไทย ประชาชนอย่ายอมตกเป็นหมากตัวหนึ่งของเกมการเมือง อยากให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศของช่วงงาน
เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงที่ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก บรรดานักการเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม
กำลังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำลายหรือรักษาบรรยากาศที่ดีของ “ปีมหามงคล” ที่คนไทยทุกคนควรเปลี่ยนเป็น “ชีวิตมหามงคล” คือ ไม่ใช่แค่เดือน
มิถุนายนหรือปีนี้เท่านั้น แต่คนไทยทุกคนควรทำชีวิตที่เกิดมานี้ทั้งชีวิตให้เป็นชีวิตมหามงคลถวายแด่สถาบันอันสูงสุดในจิตใจของพวกเราทุกคน ทั้งนี้เพื่อ
ความสุขของคนไทยแต่ละคนและความสุขมวลรวมที่ค้นพบจะได้อยู่ในระดับที่สูงสุดตลอดไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross
Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,892 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 24.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.6 ระบุอาชีพเกษตรกร
รองลงมาคือร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 เป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 4.8 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.2 ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 95.1
2 ไม่ได้ติดตาม 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การคมนาคม ถนนหนทาง 76.3 54.2
2 ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน 38.9 40.4
3 สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 73.1 63.1
4 การบริการด้านไฟฟ้า 60.8 57.1
5 น้ำปะปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 45.7 34.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพชุมชนที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีสภาพชุมชนที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน 68.9 74.6
2 การแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน 52.4 50.8
3 การแก้ปัญหาอาชญากรรม เช่น ลักทรัพย์ จี้ ปล้น วิ่งราว ทำร้ายร่างกาย 54.9 46.3
4 การรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมของคนในชุมชน เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน
แม่น้ำลำคลอง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ป้ายหยุดรถประจำทาง 61.3 60.8
5 การสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 66.1 72.1
6 การช่วยกันทำความสะอาดของคนในชุมชน 59.2 62.5
7 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน 67.8 66.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาวะเศรษฐกิจของตนเอง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีสภาวะเศรษฐกิจของตนเอง เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ความพอใจต่อราคาสินค้าทั่วไป 43.2 44.8
2 ความพอใจต่อราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง 27.1 15.3
3 ความพึงพอใจต่อรายได้ปัจจุบัน 56.8 54.9
4 ความเดือดร้อนต่อภาระการจับจ่ายใช้สอยปัจจุบัน 60.2 62.4
5 การเก็บออม 38.0 40.5
6 ภาระหนี้สิน 63.5 67.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 63.8
2 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย 61.5
3 ถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้ จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่น 47.7
4 หลังซื้อสินค้ามา พบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ 46.5
5 ท่านเป็นคนที่มักวางแผน ดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 42.6
6 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อทันที 37.8
7 มีเงินเก็บออมขณะนี้เป็นจำนวนมูลค่ามากกว่ารายได้แต่ละเดือน 27.3
8 คิดว่า การแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา 71.9
9 ท่านเป็นคนที่ขยันมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่น เมื่อเทียบกับคนอื่นที่รู้จักอีกประมาณ 100 คน 52.9
10 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำงานหาข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินมากกว่าเงินทอง 45.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของความสุขมวลรวมภายในประเทศ (GDH) กับระดับการประพฤติปฏิบัติ
ของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ระดับความสุขภายในประเทศ ปฏิบัติมากที่สุด/มาก ร้อยละ ปฏิบัติปานกลางร้อยละ น้อย/ไม่ปฏิบัติเลยร้อยละ
1 มาก/มากที่สุด 92.1 59.3 34.5
2 ปานกลาง 6.8 27.9 38.1
3 น้อย/ไม่มีเลย 1.1 12.8 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อการศึกษาของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อการศึกษาของประเทศ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 74.9 73.8
2 โอกาสทางการศึกษา 66.2 64.9
3 การสนับสนุนด้านการศึกษาให้ผู้มีรายได้น้อย 51.8 47.3
4 มาตรฐานทดสอบทางการศึกษา 43.6 54.6
5 คุณภาพบุคลากรทางการศึกษา 50.7 55.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อธรรมชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อธรรมชาติ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ความหลากหลายทางธรรมชาติ 86.3 88.4
2 ความเพียงพอของธรรมชาติ 74.4 69.4
3 ความสวยงาม 92.3 90.1
4 ความอุดมสมบูรณ์ 75.1 70.9
5 โอกาสที่ได้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ 44.8 46.5
6 ความรู้สึกปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ 42.1 41.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึก การรับรู้ที่มีต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 รับรู้ด้านจริยธรรมของนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 32.7 30.3
2 ไว้วางใจ 42.8 41.7
3 รับรู้ด้านความโปร่งใส ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน 46.9 35.9
4 รับรู้ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 29.1 27.8
5 รับรู้ด้านการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 55.9 54.0
6 รับรู้ด้านความละอายแก่ใจจากการวางตัวไม่เหมาะสม 37.0 30.9
7 รับรู้ด้านความเป็นอิสระ (ไม่ยอมให้มีการแทรกแซง) 43.6 44.8
8 รับรู้ด้านการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ 41.2 39.2
9 ความสุขด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง 52.8 55.6
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อสุขภาพกาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อสุขภาพกาย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ความเพียงพอของอาหาร 73.7 74.2
2 ที่อยู่อาศัย 67.9 64.8
3 เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า 69.2 71.3
4 ความมีอยู่ของยารักษาโรคประจำบ้าน 55.7 53.5
5 ความแข็งแรงด้านร่างกาย (นึกถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย) 57.9 52.9
6 การบริการของรัฐด้านระบบสาธารณสุข 78.2 70.7
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อสุขภาพใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อสุขภาพใจ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ศีลธรรม พึ่งพาหลักคำสอนทางศาสนา 93.1 94.8
2 ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้รับ 56.8 63.4
3 ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้ให้ผู้อื่น 69.9 71.9
4 ความขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 18.2 10.6
5 ความเครียด 40.5 31.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขด้านวัฒนธรรม ประเพณี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อวัฒนธรรม ประเพณี เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 เทศกาลรื่นเริง 75.2 80.3
2 การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของในหลวง 98.2 99.4
3 ความปลื้มปิติโครงการพระราชดำริของในหลวง 97.5 98.0
4 งานบุญ งานบวช 78.8 82.6
5 วัฒนธรรม ค่านิยม ประเพณีไทยโดยรวม 84.9 91.7
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 54.1 56.8
2 การทำงานของทนายความ 44.2 46.5
3 การทำงานของอัยการ 67.8 70.3
4 ศาลสถิตย์ยุติธรรม 71.4 74.6
5 คุมประพฤติ 62.5 58.9
6 ราชทัณฑ์ 54.9 49.2
7 กฎหมาย 75.1 73.1
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขด้านสถานการณ์และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ภาพลักษณ์ของประเทศไทย 82.4 90.1
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 68.9 72.3
3 ความสงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.1 32.6
4 การช่วยเหลือแบ่งบันกันเมื่อเกิดภัยพิบัติ 87.3 84.5
5 การแข่งขันฟุตบอลโลก 40.6 42.7
ตารางที่ 15 แสดงความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ
ประจำเดือนมิถุนายน (Gross Domestic Happiness, GDH)
อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เพราะคนไทยมีความสุขกับวัฒนธรรม ประเพณีไทย 9.21
งานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัตรครบ 60 ปีของในหลวง
และความรักความสามัคคีของคนในชาติในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ตารางที่ 16 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนมิถุนายน
เปรียบเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปี เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.—มี.ค. เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในชาติ คนที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้มข้นกว่าร้อยละ 90 มีความสุข แต่ปัญหาจริยธรรมทางการเมือง ประชาชนเข้าไม่ถึงความซื่อสัตย์สุจริต
ความโปร่งใสของนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระปัญหาสภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมทำความสุขคนไทยลด แนะคนไทยอย่าตกเป็นหมากตัวหนึ่งของเกมการ
เมืองวอนนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระควรยอมทำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของสังคมขณะที่คนไทยทั่วไปควรใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ
สุขยั่งยืน
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม
(Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ต่างจังหวัด จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 3,892 คน ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบมีดัง
นี้
ผลสำรวจความสุขมวลรวมประจำเดือนมิถุนายนนี้ ชี้ให้เห็นว่า ดัชนีความสุขความพอใจหลายตัวลดต่ำลง เมื่อเทียบกับผลสำรวจช่วงเดือน
พฤษภาคม เช่น ความพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนนหนทาง สิ่งแวดล้อมเช่นน้ำ อากาศ ดิน การบริการด้านไฟฟ้าและน้ำปะปา ได้ลดลงใน
เกือบทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 76.3 เคยพอใจต่อถนนหนทาง ลดลงเหลือร้อยละ 54.2 ในขณะที่ร้อยละ 45.7 เคยพอใจเรื่องน้ำปะปา แหล่งน้ำกินน้ำ
ใช้ ลดลงเหลือร้อยละ 34.3 เท่านั้น ซึ่งคะแนนความสุขมวลรวมของคนไทยด้านสภาพแวดล้อมจาก -5 ถึง +5 นั้น คะแนนเฉลี่ยได้เพียง +1 ซึ่งถือว่า
ไม่ค่อยดี
ที่น่าพิจารณาคือ ดัชนีด้านสภาพชุมชนที่พักอาศัย พบว่า ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คนตอบแบบสอบถามเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.9 เป็นร้อย
ละ 74.6 ที่เห็นการช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน อย่างไรก็ตามตัวอย่าง
คนตอบแบบสอบถามลดลงจากร้อยละ 52.4 เป็นร้อยละ 50.8 ที่เห็นการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่นเดียวกัน จำนวนคนลดลงจาก
ร้อยละ 54.9 เป็นร้อยละ 46.3 ที่เห็นการแก้ปัญหาอาชญากรรม เช่น ลักทรัพย์ จี้ ปล้น วิ่งราวทำร้ายร่างกายกัน เป็นต้น ในขณะที่ ความรู้สึกร่วม
ของคนในชุมชนเรื่องการรักษาทรัพย์สินส่วนรวม ความสะอาดและ
บทบาทของผู้นำชุมชนในพื้นที่มีค่าร้อยละของประชาชนที่มีความสุขในด้านต่างๆ เหล่านี้ไม่แตกต่างไปจากการสำรวจ ช่วงเดือนพฤษภาคม
คือร้อยละ 61.3 ต่อร้อยละ 60.8 (เรื่องการรักษาทรัพย์สินส่วนรวม) ร้อยละ 59.2 ต่อร้อยละ 62.5 (เรื่องความสะอาดของชุมชน) และร้อยละ
67.8 ต่อร้อยละ 66.0 (เรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน) ตามลำดับ สำหรับคะแนนความสุขมวลรวมด้านสภาพชุมชน พบว่าอยู่ในแดนบวกคือ +3 ซึ่ง
ถือว่าค่อนข้างดี
ที่น่าเป็นห่วงคือ การวัดดัชนีความสุขมวลรวมด้านสภาวะเศรษฐกิจทุนนิยม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 มีภาระหนี้สิน ร้อย
ละ 62.4 เดือดร้อนกับภาระการจับจ่ายใช้สอยปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 15.3 พอใจต่อราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง ร้อยละ 44.8 พอใจต่อราคาสินค้า และ
ร้อยละ 40.5 มีการเก็บออม สำหรับคะแนนความสุขมวลรวมด้านสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในแดนลบคือ -2 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ฉุดความสุขของ
คนไทยลงไป
เมื่อพิจารณาการใช้ชีวิตของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อทันทีและ
ตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ46.5 ระบุหลังซื้อสินค้ามากลับพบว่าไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์
อย่างเต็มที่ร้อยละ 71.9 คิดว่าการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นคนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 63.8 ยังคงคิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.5 เช่นกันที่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย
คนไทยจำนวนมากหรือร้อยละ 47.7 ระบุว่าถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้จะเดือดร้อนต้อง พึ่งพาผู้อื่น สำหรับคะแนนระดับการใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของคน
ไทยจาก -5 ถึง +5 คะแนนเฉลี่ยได้ +1 ซึ่งถือว่าไม่ค่อยดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์แยกกลุ่มคนไทยที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงออกเป็น 3 แบบคือแบบเข้มข้น แบบปานกลาง และแบบใช้ชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงเล็กน้อย ซึ่งพบว่า ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้มข้นกว่าร้อยละ 90 ระบุว่ามีความสุขมากถึงมากที่สุด ซึ่งค่าสัดส่วนจะ
ลดลงไปตามระดับความเข้มข้นของการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ จากร้อยละ 92.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 59.3 ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงแบบปานกลาง และร้อยละ 34.5 ในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเล็กน้อยหรือน้อยจนถึงไม่ได้ใช้เลย
สำหรับดัชนีด้านการศึกษา ด้านธรรมชาติและด้านกระบวนการยุติธรรม ผลสำรวจไม่พบความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจใน
ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขออกมาค่อนข้างดี
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ดัชนีด้านการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ ซึ่งพบว่า คะแนนความสุขมวลรวมด้านการเมือง-รัฐบาลและองค์กรอิสระ ค่า
เฉลี่ยอยู่ที่ -4 ซึ่งถือว่าอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากปัญหาด้านจริยธรรม ประชาชนเข้าไม่ถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใสของนักการเมือง-
รัฐบาล-องค์กรอิสระ
สำหรับดัชนีความสุขด้านสุขภาพกาย พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ +3 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี คือ การบริการด้านระบบสาธารณสุข
ในขณะที่ดัชนีความสุขด้านสุขภาพใจ พบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ +4 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องมาจากรากฐานจิตใจคนไทยตั้งมั่นอยู่บนหลักศีลธรรม และ
ความเอื้ออาทรทางสังคมต่อกันและกัน
ที่สำคัญคือ เมื่อพิจารณาผลสำรวจดัชนีความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณี พบว่า ประชาชนเกือบร้อยละ 100 ที่มีความสุขกับงานเฉลิมฉลอง
การครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวง ความปลื้มปิติโครงการพระราชดำริต่างๆ เทศกาลงานรื่นเริง งานบุญงานบวช ซึ่งส่งผลทำให้ความสุข
มวลรวมของคนไทยได้คะแนนเฉลี่ยที่ +5 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90.1 มีความสุขกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยร้อย
ละ 84.5 รับรู้ถึงการช่วยเหลือแบ่งปันกันเมื่อประสบภัยพิบัติ ร้อยละ 72.3 เห็นและรับรู้ถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติ
เมื่อสอบถามความสุขมวลรวมของประชาชนแต่ละคนที่ถูกศึกษา จากนั้นหาค่าความสุขมวลรวมระดับครัวเรือน ชุมชนหรือหมู่บ้าน อำเภอ
จังหวัด ภาคและประเทศ พบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนมิถุนายนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 9.21 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งถือว่าอยู่ใน
เกณฑ์ดีมาก เพราะคนไทยมีความสุขกับวัฒนธรรมประเพณีไทย งานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ และความรักความสามัคคีของคนในชาติที่แสดงออก
ให้ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศและนานาชาติทั่วโลกได้ประจักษ์
ดร.นพดล ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า การรายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายนนี้ชี้ให้เห็นว่า
วัฒนธรรมประเพณีไทย ความจงรักภักดี การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและความรักความสามัคคีของคนในชาติ เป็นรากฐานสำคัญยิ่งของความสุข
มวลรวมของคนไทย ในขณะที่ปัญหาจริยธรรมทางการเมือง การที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใสของนักการเมือง รัฐบาล
และองค์กรอิสระ กำลังบั่นทอนความสุขของคนไทย ประชาชนอย่ายอมตกเป็นหมากตัวหนึ่งของเกมการเมือง อยากให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศของช่วงงาน
เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงที่ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก บรรดานักการเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม
กำลังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำลายหรือรักษาบรรยากาศที่ดีของ “ปีมหามงคล” ที่คนไทยทุกคนควรเปลี่ยนเป็น “ชีวิตมหามงคล” คือ ไม่ใช่แค่เดือน
มิถุนายนหรือปีนี้เท่านั้น แต่คนไทยทุกคนควรทำชีวิตที่เกิดมานี้ทั้งชีวิตให้เป็นชีวิตมหามงคลถวายแด่สถาบันอันสูงสุดในจิตใจของพวกเราทุกคน ทั้งนี้เพื่อ
ความสุขของคนไทยแต่ละคนและความสุขมวลรวมที่ค้นพบจะได้อยู่ในระดับที่สูงสุดตลอดไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน
2. เพื่อค้นหาศึกษาปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กระทบต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross
Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
ซึ่งดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,892 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 24.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.6 ระบุอาชีพเกษตรกร
รองลงมาคือร้อยละ 17.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 เป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 4.8 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.2 ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 95.1
2 ไม่ได้ติดตาม 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การคมนาคม ถนนหนทาง 76.3 54.2
2 ความสะดวกในการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน 38.9 40.4
3 สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ดิน 73.1 63.1
4 การบริการด้านไฟฟ้า 60.8 57.1
5 น้ำปะปา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ 45.7 34.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพชุมชนที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีสภาพชุมชนที่พักอาศัย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน 68.9 74.6
2 การแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน 52.4 50.8
3 การแก้ปัญหาอาชญากรรม เช่น ลักทรัพย์ จี้ ปล้น วิ่งราว ทำร้ายร่างกาย 54.9 46.3
4 การรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวมของคนในชุมชน เช่น ไฟฟ้าส่องทางเดิน
แม่น้ำลำคลอง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ป้ายหยุดรถประจำทาง 61.3 60.8
5 การสอดส่องดูแลของคนในชุมชน 66.1 72.1
6 การช่วยกันทำความสะอาดของคนในชุมชน 59.2 62.5
7 บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชน 67.8 66.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาวะเศรษฐกิจของตนเอง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีสภาวะเศรษฐกิจของตนเอง เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ความพอใจต่อราคาสินค้าทั่วไป 43.2 44.8
2 ความพอใจต่อราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง 27.1 15.3
3 ความพึงพอใจต่อรายได้ปัจจุบัน 56.8 54.9
4 ความเดือดร้อนต่อภาระการจับจ่ายใช้สอยปัจจุบัน 60.2 62.4
5 การเก็บออม 38.0 40.5
6 ภาระหนี้สิน 63.5 67.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ 63.8
2 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เคยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย 61.5
3 ถ้าไม่มีเงินเดือนตอนนี้ จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่น 47.7
4 หลังซื้อสินค้ามา พบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ 46.5
5 ท่านเป็นคนที่มักวางแผน ดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 42.6
6 คิดอยากซื้ออะไรก็ซื้อทันที 37.8
7 มีเงินเก็บออมขณะนี้เป็นจำนวนมูลค่ามากกว่ารายได้แต่ละเดือน 27.3
8 คิดว่า การแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา 71.9
9 ท่านเป็นคนที่ขยันมุมานะทำงานหนักมากกว่าคนอื่น เมื่อเทียบกับคนอื่นที่รู้จักอีกประมาณ 100 คน 52.9
10 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำงานหาข้าวปลาอาหารพออยู่พอกินมากกว่าเงินทอง 45.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของความสุขมวลรวมภายในประเทศ (GDH) กับระดับการประพฤติปฏิบัติ
ของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่ ระดับความสุขภายในประเทศ ปฏิบัติมากที่สุด/มาก ร้อยละ ปฏิบัติปานกลางร้อยละ น้อย/ไม่ปฏิบัติเลยร้อยละ
1 มาก/มากที่สุด 92.1 59.3 34.5
2 ปานกลาง 6.8 27.9 38.1
3 น้อย/ไม่มีเลย 1.1 12.8 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อการศึกษาของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อการศึกษาของประเทศ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 74.9 73.8
2 โอกาสทางการศึกษา 66.2 64.9
3 การสนับสนุนด้านการศึกษาให้ผู้มีรายได้น้อย 51.8 47.3
4 มาตรฐานทดสอบทางการศึกษา 43.6 54.6
5 คุณภาพบุคลากรทางการศึกษา 50.7 55.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อธรรมชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อธรรมชาติ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ความหลากหลายทางธรรมชาติ 86.3 88.4
2 ความเพียงพอของธรรมชาติ 74.4 69.4
3 ความสวยงาม 92.3 90.1
4 ความอุดมสมบูรณ์ 75.1 70.9
5 โอกาสที่ได้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ 44.8 46.5
6 ความรู้สึกปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ 42.1 41.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึก การรับรู้ที่มีต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 รับรู้ด้านจริยธรรมของนักการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ 32.7 30.3
2 ไว้วางใจ 42.8 41.7
3 รับรู้ด้านความโปร่งใส ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน 46.9 35.9
4 รับรู้ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 29.1 27.8
5 รับรู้ด้านการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 55.9 54.0
6 รับรู้ด้านความละอายแก่ใจจากการวางตัวไม่เหมาะสม 37.0 30.9
7 รับรู้ด้านความเป็นอิสระ (ไม่ยอมให้มีการแทรกแซง) 43.6 44.8
8 รับรู้ด้านการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ 41.2 39.2
9 ความสุขด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง 52.8 55.6
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อสุขภาพกาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อสุขภาพกาย เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ความเพียงพอของอาหาร 73.7 74.2
2 ที่อยู่อาศัย 67.9 64.8
3 เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า 69.2 71.3
4 ความมีอยู่ของยารักษาโรคประจำบ้าน 55.7 53.5
5 ความแข็งแรงด้านร่างกาย (นึกถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย) 57.9 52.9
6 การบริการของรัฐด้านระบบสาธารณสุข 78.2 70.7
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อสุขภาพใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อสุขภาพใจ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ศีลธรรม พึ่งพาหลักคำสอนทางศาสนา 93.1 94.8
2 ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้รับ 56.8 63.4
3 ความเอื้ออาทรทางสังคมที่ได้ให้ผู้อื่น 69.9 71.9
4 ความขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 18.2 10.6
5 ความเครียด 40.5 31.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขด้านวัฒนธรรม ประเพณี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อวัฒนธรรม ประเพณี เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 เทศกาลรื่นเริง 75.2 80.3
2 การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของในหลวง 98.2 99.4
3 ความปลื้มปิติโครงการพระราชดำริของในหลวง 97.5 98.0
4 งานบุญ งานบวช 78.8 82.6
5 วัฒนธรรม ค่านิยม ประเพณีไทยโดยรวม 84.9 91.7
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขต่อกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดัชนีความสุขต่อกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 54.1 56.8
2 การทำงานของทนายความ 44.2 46.5
3 การทำงานของอัยการ 67.8 70.3
4 ศาลสถิตย์ยุติธรรม 71.4 74.6
5 คุมประพฤติ 62.5 58.9
6 ราชทัณฑ์ 54.9 49.2
7 กฎหมาย 75.1 73.1
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความสุขด้านสถานการณ์และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศ เดือนพฤษภาคมค่าร้อยละ เดือนมิถุนายนค่าร้อยละ
1 ภาพลักษณ์ของประเทศไทย 82.4 90.1
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 68.9 72.3
3 ความสงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 36.1 32.6
4 การช่วยเหลือแบ่งบันกันเมื่อเกิดภัยพิบัติ 87.3 84.5
5 การแข่งขันฟุตบอลโลก 40.6 42.7
ตารางที่ 15 แสดงความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมิถุนายน เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ
ประจำเดือนมิถุนายน (Gross Domestic Happiness, GDH)
อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เพราะคนไทยมีความสุขกับวัฒนธรรม ประเพณีไทย 9.21
งานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัตรครบ 60 ปีของในหลวง
และความรักความสามัคคีของคนในชาติในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ตารางที่ 16 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ ประจำเดือนมิถุนายน
เปรียบเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปี เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม เมื่อคะแนนเต็ม 10
ม.ค.—มี.ค. เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย
ภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) 5.47 6.08 6.59 9.21
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-