ที่มาของโครงการ
เพื่อให้ประเทศชาติสามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ไปได้นั้น ทุกฝ่ายต่างร่วมแรงร่วมใจ และมีความจริงใจ
ในการที่จะหาทางออกเพื่อยุติความร้อนแรงที่กำลังเกิดขึ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถหันหน้ามาเจรจากันได้นั้น
น่าจะเนื่องมาจากการที่ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในสิทธิหน้าที่ และมีแนวคิดตลอดจนจุดยืนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าหากว่าต่างคนต่างมุ่งไปตามสิ่งที่ตัวเอง
เชื่อมั่นแล้ว ก็เป็นไปได้ยากที่จะมีการหันหน้ามาเจรจาด้วยสันติวิธีอย่างที่สังคมต้องการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
บทบาทหน้าที่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของการเมืองไทยที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ
พนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความจริงใจในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของบุคคลต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสิ่งที่ฝ่ายต่างๆ ควรทำเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองไทย
4 . เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ที่รายการถึงลูกถึงคน และการร่วมมือร่วมใจแก้วิกฤตการเมืองไทยขณะนี้ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 11 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,618 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.5 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 1.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่
รายการถึงลูกถึงคน และการร่วมมือร่วมใจแก้วิกฤตการเมืองไทยขณะนี้” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่
พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,618 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 11 มีนาคม 2549
คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เมื่อทำการเปรียบเทียบในวันที่ 6 มีนาคม
2549 กับ วันที่ 12 มีนาคม 2549 พบว่า ตัวอย่างได้ติดตามข่าวสารสถานการณ์การเมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน จากการทำสำรวจในครั้งนี้ลดลงจากวัน
ที่ 6 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา คือ จากร้อยละ 76.1 ลดลงเหลือ ร้อยละ 58.1 และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการติดตามการชี้แจงตอบข้อซักถามของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในรายการถึงลูกถึงคน พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.1 ได้ติดตามการชี้แจง และร้อยละ 37.9 ไม่ได้ติดตาม
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการชี้แจง/ตอบข้อซักถามของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรใน
รายการถึงลูกถึงคน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความชัดเจนในการชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 45.8 ระ
บุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ตอบข้อซักถามและชี้แจงในเรื่องการขายหุ้นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 41.8 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 12.4
ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการชี้แจงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในเรื่องการลาออกนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.0 ระบุชัดเจน
ในขณะที่ร้อยละ 39.4 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคำชี้แจง
เกี่ยวกับการยึดทรัพย์หลังการลาออกนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุชี้แจงได้ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 39.0 ไม่
ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.4 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ชี้แจงเรื่องการตั้งคนกลางเพื่อตรวจสอบตน
เองได้ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 32.8 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นกรณีการชี้แจงในเรื่องการแทรกแซงสื่อนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ37.4 ระบุชี้แจงได้ชัดเจน ในขณะ
ที่ร้อยละ 37.9 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 24.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการชี้แจงในเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ
68.1 ระบุชี้แจงได้ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 21.6 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 10.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความชัดเจนของคำชี้
แจงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเรื่องการประกาศรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งหากได้รับคะแนนเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธินั้น พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 63.2 ระบุชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 21.8 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 15.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
และนอกจากนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง เกี่ยวกับความชัดเจนในการชี้แจงเรื่องการประกาศภาวะฉุกเฉิน นั้นพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 31.1 ระบุชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 36.1 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 32.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจและกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายก็คือ การตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเกี่ยว
กับแนวทางการเจรจากับฝ่ายต่างๆ เพื่อยุติปัญหาการเมืองที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.1 ระบุการตอบข้อซักถามดังกล่าว
มีความชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 41.0ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 15.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเหมาะสมของการดำเนินรายการถึงลูกถึงคน โดยคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา โดยผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.6 ระบุทำหน้าที่ได้เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 10.5 ระบุไม่เหมาะสม และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ย
ที่ประชาชนโหวตให้ พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร และคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา นั้นพบว่า ในส่วนของการดำเนินรายการและการตั้งคำถามของคุณสรยุทธ
นั้น ได้คะแนนเฉลี่ย 8.04 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในขณะที่การชี้แจงและตอบคำถามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้คะแนนเฉลี่ย 7.18 จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงสิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรหันหน้าเจรจากันกับทุก
ฝ่ายอย่างสันติวิธี (ร้อยละ 41.9) ควรส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง (ร้อยละ 24.1) และหยุดการโจมตีรัฐบาล (ร้อยละ 24.1) ตามลำดับ
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างอยากให้กลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก
ได้แก่ ยุติการประท้วง/ยุติการชุมนุม (ร้อยละ 50.6) ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี (ร้อยละ 31.7) และทำตามระบอบ
ประชาธิปไตย (ร้อยละ 14.6) ตามลำดับ
สิ่งที่ตัวอย่างอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่าง
สันติวิธี (ร้อยละ 30.6) ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป (ร้อยละ 28.6) และลาออก (ร้อยละ 16.9) ตามลำดับ
สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความมั่นคงควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ วางตัวเป็นกลาง (ร้อยละ 43.8)
ดูแลความสงบเรียบร้อย/รักษาความปลอดภัยของประชาชน (ร้อยละ 30.5) และเป็นคนกลางเชื่อมโยงทุกฝ่ายให้หันหน้าเจรจากันด้วยสันติวิธี (ร้อย
ละ 11.9) ตามลำดับ
สิ่งที่สื่อมวลชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา/ไม่บิดเบือนข่าว/ไม่เสนอข่าว
เกินจริง (ร้อยละ 62.5) นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางและยุติธรรม (ร้อยละ 36.9) และไม่ใส่ร้ายบุคคลอื่น (ร้อยละ 10.2) ตามลำดับ
และสำหรับประชาชนนั้น ควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายน 2549 (ร้อยละ 32.1) เลิกสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง/ไม่เข้าร่วมการชุมนุม (ร้อยละ 15.4) และใช้สติในการตัดสินใจและรับฟังข้อมูล
ข่าวสารต่างๆ อย่างมีสติ/รอบคอบ (ร้อยละ 15.4) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างเกี่ยวกับการลาออกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายนนี้ พบว่า ประชาชนจำนวนมากแต่ยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 44.5 มีความเห็นว่าไม่ควรลาออกทันที ร้อยละ 24.4 เห็น
ว่าควรลาออกทันที และร้อยละ 31.1 ไม่ระบุความคิดเห็น เป็นที่น่าสังเกตว่า มีประชาชนเกือบ 1 ใน 3 ที่ยังต้องการข้อมูลและความชัดเจนของ
สถานการณ์ทางการเมืองก่อนตัดสินใจแสดงความคิดเห็นในประเด็นการลาออกทันทีของนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มประชาชน
ที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ความเข้มข้นในพฤติกรรมการติดตาม
ข่าวการเมืองของประชาชนเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 76.1 เหลือร้อยละ 58.1 คือลดลงประมาณร้อยละ 18 แต่เมื่อสอบถาม
เฉพาะกลุ่มคนที่ติดตามการชี้แจงและตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในรายการถึงลูกถึงคน พบว่า ประชาชนจำนวนมากระบุนายกรัฐมนตรีชี้แจง
หลายประเด็นยังไม่ชัดเจน เช่น การแทรกแซงสื่อมวลชน การประกาศสภาวะฉุกเฉิน การยึดทรัพย์ถ้าลาออก รวมไปถึงการซื้อขายหุ้นและการหันหน้า
เจรจากับทุกฝ่ายด้วยสันติวิธี
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์ทางการเมืองที่อึมครึมขณะนี้ น่าจะมีนักคิดของสังคมไทยเสนอโรดแมป (road map) เพื่อผ่าทางตัน
วิกฤตการเมืองให้กับประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายแบบครบวงจรหรือมีจุดจบที่ทุกๆ ฝ่ายยอมรับได้
“วิกฤตการเมืองขณะนี้เป็นเหมือนการทดสอบคนไทยทั้งประเทศว่าจะสอบผ่านเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เป็นการทดสอบที่มีกลุ่มคน
สำคัญหลายกลุ่มควรช่วยกันสอบให้ผ่าน เช่น นายกรัฐมนตรีและฝ่ายสนับสนุน พรรคร่วมฝ่ายค้านและกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตย เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่าย
ความมั่นคง สถาบันสื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป โดยระยะสั้น โรดแมปควรเริ่มจาก การเปิดใจกว้างรับความแตกต่างและหลากหลายทางความคิด
การเจรจาของทุกกลุ่มเพื่อยุติความขัดแย้งและชี้แจงความเคลือบแคลงสงสัย และการยุติปลุกระดมมวลชนให้โกรธแค้นกัน” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หลังจากใช้วิธีการระยะสั้นแล้ว ต้องมีแนวคิดแนวปฏิบัติให้ฝ่ายการเมืองต่อว่า จะเจอกับอะไรหลังจากการเจรจา
เพราะถ้าฝ่ายการเมืองประเมินว่าได้น้อยกว่าเสียก็คงจะไม่เกิดการเจรจาในลักษณะที่คนกลุ่มหนึ่งของสังคมกำลังเรียกร้อง ฝ่ายการเมืองคงต้อง
ประเมินว่าถ้าจะมีการเจรจาควรจะเกิดก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เปรียบทางการเมืองด้วย การใช้วิธีการแบบไม่รุนแรงจึงอาจไม่ได้รับการ
ตอบสนองจากฝ่ายการเมืองได้เพราะเป็นการเสนอมาแบบ “ไม่จบ” คือไม่มีจุดจบที่ชัดเจนว่าถ้าเดินตามแผนนี้แล้วจะเจออะไร
“กลุ่มนักคิดควรช่วยกันเขียนโรดแมปขึ้นมาให้ฝ่ายการเมืองพิจารณาหาทางออกหลายๆ โมเดล เพื่อให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจเลือกโมเดลที่
ดีที่สุดต่อทุกกลุ่มในสังคม ยกตัวอย่างเช่น อาจมีโรดแมปที่เสนอว่า เจรจาช่วงใกล้วันเลือกตั้งเพื่อให้ได้เสียงของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลบางส่วนกลับ
คืนมาเพราะคิดว่าทุกอย่างจะดีขึ้น เป็นการเริ่มต้นที่ดี จากนั้นก็มีการเสนอว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านควรกลับมาสู่สนามแข่งขันการเลือกตั้งในครั้งต่อไปเพื่อ
เข้ามาช่วยกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีประกาศลาออกแต่ไม่รู้สึกว่าพ่ายแพ้ต่อทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยตรงกันข้ามกลับจะชนะใจทั้งคนในกลุ่ม
พันธมิตรและประชาชนทั่วไปที่เป็นรากฐานส่วนใหญ่ของสังคมที่ประทับใจในนโยบายของพรรคไทยรักไทย จากนั้นกลุ่มประชาชนอีกส่วนหนึ่งยอมให้มีการ
นิรโทษกรรมเชิงจริยธรรมให้กับผู้นำประเทศ เพื่อเริ่มต้นชีวิตกันใหม่ในสังคมบนสนามการเมือง ซึ่งโมเดลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ
ประเทศแต่ไม่สูญเสียเลือดเนื้อบนซากปรักหักพังของสังคม แตกต่างไปจากวิกฤตการณ์ในช่วงตุลาเลือด 16 หรือ 19 และพฤษภาทมิฬ 35” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง 6 มีนาคม 12 มีนาคม เพิ่มขึ้น/ ลดลง
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 76.1 58.1 -18.0
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 13.7 25.0 + 11.3
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.4 13.7 + 5.3
4 ไม่ได้ติดตามเลย 1.8 3.2 + 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามการชี้แจงตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในรายการถึงลูกถึงคน
ลำดับที่ การติดตาม ร้อยละ
1 ติดตาม 62.1
2 ไม่ได้ติดตาม 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในรายการถึงลูกถึงคน
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 49 ที่ผ่านมา (เฉพาะประชาชนที่ติดตามชมรายการถึงลูกถึงคน)
ประเด็นต่างๆ ชัดเจน ไม่ชัดเจน ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ชี้แจงการขายหุ้น 45.8 41.8 12.4 100.0
2. ชี้แจงประเด็นการลาออก 45.0 39.4 15.6 100.0
3. แนวทางการเจรจากับฝ่ายต่างๆ 43.1 41.0 15.9 100.0
4. การยึดทรัพย์หลังการลาออก 28.7 32.3 39.0 100.0
5. การประกาศรับตำแหน่งหลังเลือกตั้ง
หากได้รับคะแนนมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ 63.2 21.8 15.0 100.0
6. การกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 2549 68.1 21.6 10.3 100.0
7. การประกาศภาวะฉุกเฉิน 31.1 36.1 32.8 100.0
8. การตั้งคนกลางเพื่อตรวจสอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 44.4 32.8 22.8 100.0
9. การแทรกแซงสื่อ 37.4 37.9 24.7 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมของการดำเนินรายการถึงลูกถึงคนโดย
คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ผ่านมา (เฉพาะประชาชนที่ติดตามชมรายการถึงลูกถึงคน)
ลำดับที่ ความเหมาะสมของการดำเนินรายการถึงลูกถึงคนโดยคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ร้อยละ
1 เหมาะสม 76.6
2 ไม่เหมาะสม 10.5
3 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยที่ประชาชนโหวตให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา
ในรายการถึงลูกถึงคนเมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา (เฉพาะประชาชนที่ติดตามชมรายการถึงลูกถึงคน)
ลำดับที่ บุคคลที่ประชาชนให้คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10
1 การดำเนินรายการและตั้งข้อคำถามของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา 8.04
2 การชี้แจงและตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 7.18
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี 41.9
2 ควรส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง 24.1
3 หยุดการโจมตีรัฐบาล 24.1
4 ทำตามรัฐธรรมนูญ/ทำตามกติกา 16.9
5 นำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ 10.5
6 อื่นๆ อาทิ ทำทุกวิถีทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก/ไม่ต้องทำอะไร/
เสนอรายชื่อบุคคลที่ความเหมาะสมต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 13.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่กลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
ควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่กลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี ควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ยุติการประท้วง/ยุติการชุมนุม 50.6
2 ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี 31.7
3 ทำตามระบอบประชาธิปไตย 14.6
4 แสดงจุดยืนของตัวเอง 12.6
5 ร่วมมือกับพรรคฝ่ายค้าน 3.0
6 อื่นๆ อาทิ เสนอรายชื่อบุคคลที่ความเหมาะสมต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรี /
ทำตัวเป็นกลาง/จัดการชุมนุมต่อไป เป็นต้น 5.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี 30.6
2 ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป 28.6
3 ลาออก 16.9
4 เดินหน้าชี้แจง/อธิบายความจริงให้ประชาชนทราบ 12.6
5 รับฟังความคิดเห็นของประชาชน 9.8
6 อื่นๆ อาทิ ไม่ต้องทำอะไร/ซื่อตรงต่อหน้าที่/แก้ไขรัฐธรรมนูญ/เว้นวรรคทางการเมือง เป็นต้น 18.3
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลความมั่นคงควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลความมั่นคงของประเทศควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 วางตัวเป็นกลาง 43.8
2 ดูแลความสงบเรียบร้อย/รักษาความปลอดภัยของประชาชน 30.5
3 เป็นคนกลางเชื่อมโยงทุกฝ่ายให้หันหน้ามาเจราจรกันด้วยสันติวิธี 11.9
4 ปฏิบัติตามกติกาของระบอบประชาธิปไตย 7.3
5 ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ 6.8
6 อื่นๆ อาทิ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง/ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงเรื่องที่เกิดขึ้น
ร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น เป็นต้น 11.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่สื่อมวลชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่สื่อมวลชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา/ไม่บิดเบือนข่าว/ไม่เสนอข่าวเกินจริง 62.5
2 นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางและยุติธรรม 36.9
3 ไม่ใส่ร้ายบุคคลอื่น 10.2
4 ลดการนำเสนอข่าวปัญหาการเมืองลงบ้าง 5.4
5 นำเสนอข่าวที่ส่งเสริมให้ทุกคนทำตามระบอบประชาชาธิปไตย
อาทิการสนับสนุนให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 1.7
6 เป็นตัวกลางในการเจรจาของทุกฝ่าย 0.4
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประชาชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 32.1
2 เลิกสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง/ไม่เข้าร่วมการชุมนุม 15.4
3 ใช้สติในการตัดสินใจและรับฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างมีสติ/รอบคอบ 15.4
4 เปิดไฟหน้ารถเพื่อแสดงจุดยืนรักสงบ 14.5
5 อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร 10.8
6 อื่นๆ อาทิ ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด/ให้โอกาส พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตรทำงานต่อไป /ทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด /เข้าร่วมการชุมนุม เป็นต้น 23.1
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการ เลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย.ทันทีหรือไม่
ลำดับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. ทันทีหรือไม่ ร้อยละ
1 ควรลาออกทันที 24.4
2 ไม่ควรลาออกทันที 44.5
3 ไม่มีความเห็น 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เพื่อให้ประเทศชาติสามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ไปได้นั้น ทุกฝ่ายต่างร่วมแรงร่วมใจ และมีความจริงใจ
ในการที่จะหาทางออกเพื่อยุติความร้อนแรงที่กำลังเกิดขึ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถหันหน้ามาเจรจากันได้นั้น
น่าจะเนื่องมาจากการที่ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในสิทธิหน้าที่ และมีแนวคิดตลอดจนจุดยืนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าหากว่าต่างคนต่างมุ่งไปตามสิ่งที่ตัวเอง
เชื่อมั่นแล้ว ก็เป็นไปได้ยากที่จะมีการหันหน้ามาเจรจาด้วยสันติวิธีอย่างที่สังคมต้องการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ
บทบาทหน้าที่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของการเมืองไทยที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ
พนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความจริงใจในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของบุคคลต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสิ่งที่ฝ่ายต่างๆ ควรทำเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองไทย
4 . เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการ
ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ที่รายการถึงลูกถึงคน และการร่วมมือร่วมใจแก้วิกฤตการเมืองไทยขณะนี้ : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 11 มีนาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,618 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.5 อายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุ 40-49 ปี
และร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 1.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่
รายการถึงลูกถึงคน และการร่วมมือร่วมใจแก้วิกฤตการเมืองไทยขณะนี้” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่
พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,618 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 11 มีนาคม 2549
คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เมื่อทำการเปรียบเทียบในวันที่ 6 มีนาคม
2549 กับ วันที่ 12 มีนาคม 2549 พบว่า ตัวอย่างได้ติดตามข่าวสารสถานการณ์การเมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน จากการทำสำรวจในครั้งนี้ลดลงจากวัน
ที่ 6 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา คือ จากร้อยละ 76.1 ลดลงเหลือ ร้อยละ 58.1 และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการติดตามการชี้แจงตอบข้อซักถามของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในรายการถึงลูกถึงคน พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.1 ได้ติดตามการชี้แจง และร้อยละ 37.9 ไม่ได้ติดตาม
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการชี้แจง/ตอบข้อซักถามของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรใน
รายการถึงลูกถึงคน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความชัดเจนในการชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 45.8 ระ
บุพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ตอบข้อซักถามและชี้แจงในเรื่องการขายหุ้นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 41.8 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 12.4
ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการชี้แจงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในเรื่องการลาออกนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.0 ระบุชัดเจน
ในขณะที่ร้อยละ 39.4 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 15.6 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคำชี้แจง
เกี่ยวกับการยึดทรัพย์หลังการลาออกนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุชี้แจงได้ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 39.0 ไม่
ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าตัวอย่างร้อยละ 44.4 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ชี้แจงเรื่องการตั้งคนกลางเพื่อตรวจสอบตน
เองได้ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 32.8 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นกรณีการชี้แจงในเรื่องการแทรกแซงสื่อนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ37.4 ระบุชี้แจงได้ชัดเจน ในขณะ
ที่ร้อยละ 37.9 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 24.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการชี้แจงในเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ
68.1 ระบุชี้แจงได้ชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 21.6 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 10.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความชัดเจนของคำชี้
แจงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเรื่องการประกาศรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งหากได้รับคะแนนเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธินั้น พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 63.2 ระบุชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 21.8 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 15.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
และนอกจากนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง เกี่ยวกับความชัดเจนในการชี้แจงเรื่องการประกาศภาวะฉุกเฉิน นั้นพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 31.1 ระบุชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 36.1 ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 32.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจและกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายก็คือ การตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเกี่ยว
กับแนวทางการเจรจากับฝ่ายต่างๆ เพื่อยุติปัญหาการเมืองที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.1 ระบุการตอบข้อซักถามดังกล่าว
มีความชัดเจน ในขณะที่ร้อยละ 41.0ระบุไม่ชัดเจน และร้อยละ 15.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความเหมาะสมของการดำเนินรายการถึงลูกถึงคน โดยคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา โดยผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.6 ระบุทำหน้าที่ได้เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 10.5 ระบุไม่เหมาะสม และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ย
ที่ประชาชนโหวตให้ พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร และคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา นั้นพบว่า ในส่วนของการดำเนินรายการและการตั้งคำถามของคุณสรยุทธ
นั้น ได้คะแนนเฉลี่ย 8.04 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในขณะที่การชี้แจงและตอบคำถามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้คะแนนเฉลี่ย 7.18 จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงสิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรหันหน้าเจรจากันกับทุก
ฝ่ายอย่างสันติวิธี (ร้อยละ 41.9) ควรส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง (ร้อยละ 24.1) และหยุดการโจมตีรัฐบาล (ร้อยละ 24.1) ตามลำดับ
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างอยากให้กลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก
ได้แก่ ยุติการประท้วง/ยุติการชุมนุม (ร้อยละ 50.6) ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี (ร้อยละ 31.7) และทำตามระบอบ
ประชาธิปไตย (ร้อยละ 14.6) ตามลำดับ
สิ่งที่ตัวอย่างอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่าง
สันติวิธี (ร้อยละ 30.6) ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป (ร้อยละ 28.6) และลาออก (ร้อยละ 16.9) ตามลำดับ
สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความมั่นคงควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ วางตัวเป็นกลาง (ร้อยละ 43.8)
ดูแลความสงบเรียบร้อย/รักษาความปลอดภัยของประชาชน (ร้อยละ 30.5) และเป็นคนกลางเชื่อมโยงทุกฝ่ายให้หันหน้าเจรจากันด้วยสันติวิธี (ร้อย
ละ 11.9) ตามลำดับ
สิ่งที่สื่อมวลชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา/ไม่บิดเบือนข่าว/ไม่เสนอข่าว
เกินจริง (ร้อยละ 62.5) นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางและยุติธรรม (ร้อยละ 36.9) และไม่ใส่ร้ายบุคคลอื่น (ร้อยละ 10.2) ตามลำดับ
และสำหรับประชาชนนั้น ควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายน 2549 (ร้อยละ 32.1) เลิกสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง/ไม่เข้าร่วมการชุมนุม (ร้อยละ 15.4) และใช้สติในการตัดสินใจและรับฟังข้อมูล
ข่าวสารต่างๆ อย่างมีสติ/รอบคอบ (ร้อยละ 15.4) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างเกี่ยวกับการลาออกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายนนี้ พบว่า ประชาชนจำนวนมากแต่ยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 44.5 มีความเห็นว่าไม่ควรลาออกทันที ร้อยละ 24.4 เห็น
ว่าควรลาออกทันที และร้อยละ 31.1 ไม่ระบุความคิดเห็น เป็นที่น่าสังเกตว่า มีประชาชนเกือบ 1 ใน 3 ที่ยังต้องการข้อมูลและความชัดเจนของ
สถานการณ์ทางการเมืองก่อนตัดสินใจแสดงความคิดเห็นในประเด็นการลาออกทันทีของนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มประชาชน
ที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ความเข้มข้นในพฤติกรรมการติดตาม
ข่าวการเมืองของประชาชนเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 76.1 เหลือร้อยละ 58.1 คือลดลงประมาณร้อยละ 18 แต่เมื่อสอบถาม
เฉพาะกลุ่มคนที่ติดตามการชี้แจงและตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในรายการถึงลูกถึงคน พบว่า ประชาชนจำนวนมากระบุนายกรัฐมนตรีชี้แจง
หลายประเด็นยังไม่ชัดเจน เช่น การแทรกแซงสื่อมวลชน การประกาศสภาวะฉุกเฉิน การยึดทรัพย์ถ้าลาออก รวมไปถึงการซื้อขายหุ้นและการหันหน้า
เจรจากับทุกฝ่ายด้วยสันติวิธี
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์ทางการเมืองที่อึมครึมขณะนี้ น่าจะมีนักคิดของสังคมไทยเสนอโรดแมป (road map) เพื่อผ่าทางตัน
วิกฤตการเมืองให้กับประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายแบบครบวงจรหรือมีจุดจบที่ทุกๆ ฝ่ายยอมรับได้
“วิกฤตการเมืองขณะนี้เป็นเหมือนการทดสอบคนไทยทั้งประเทศว่าจะสอบผ่านเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เป็นการทดสอบที่มีกลุ่มคน
สำคัญหลายกลุ่มควรช่วยกันสอบให้ผ่าน เช่น นายกรัฐมนตรีและฝ่ายสนับสนุน พรรคร่วมฝ่ายค้านและกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตย เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่าย
ความมั่นคง สถาบันสื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป โดยระยะสั้น โรดแมปควรเริ่มจาก การเปิดใจกว้างรับความแตกต่างและหลากหลายทางความคิด
การเจรจาของทุกกลุ่มเพื่อยุติความขัดแย้งและชี้แจงความเคลือบแคลงสงสัย และการยุติปลุกระดมมวลชนให้โกรธแค้นกัน” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หลังจากใช้วิธีการระยะสั้นแล้ว ต้องมีแนวคิดแนวปฏิบัติให้ฝ่ายการเมืองต่อว่า จะเจอกับอะไรหลังจากการเจรจา
เพราะถ้าฝ่ายการเมืองประเมินว่าได้น้อยกว่าเสียก็คงจะไม่เกิดการเจรจาในลักษณะที่คนกลุ่มหนึ่งของสังคมกำลังเรียกร้อง ฝ่ายการเมืองคงต้อง
ประเมินว่าถ้าจะมีการเจรจาควรจะเกิดก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เปรียบทางการเมืองด้วย การใช้วิธีการแบบไม่รุนแรงจึงอาจไม่ได้รับการ
ตอบสนองจากฝ่ายการเมืองได้เพราะเป็นการเสนอมาแบบ “ไม่จบ” คือไม่มีจุดจบที่ชัดเจนว่าถ้าเดินตามแผนนี้แล้วจะเจออะไร
“กลุ่มนักคิดควรช่วยกันเขียนโรดแมปขึ้นมาให้ฝ่ายการเมืองพิจารณาหาทางออกหลายๆ โมเดล เพื่อให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจเลือกโมเดลที่
ดีที่สุดต่อทุกกลุ่มในสังคม ยกตัวอย่างเช่น อาจมีโรดแมปที่เสนอว่า เจรจาช่วงใกล้วันเลือกตั้งเพื่อให้ได้เสียงของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลบางส่วนกลับ
คืนมาเพราะคิดว่าทุกอย่างจะดีขึ้น เป็นการเริ่มต้นที่ดี จากนั้นก็มีการเสนอว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านควรกลับมาสู่สนามแข่งขันการเลือกตั้งในครั้งต่อไปเพื่อ
เข้ามาช่วยกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีประกาศลาออกแต่ไม่รู้สึกว่าพ่ายแพ้ต่อทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยตรงกันข้ามกลับจะชนะใจทั้งคนในกลุ่ม
พันธมิตรและประชาชนทั่วไปที่เป็นรากฐานส่วนใหญ่ของสังคมที่ประทับใจในนโยบายของพรรคไทยรักไทย จากนั้นกลุ่มประชาชนอีกส่วนหนึ่งยอมให้มีการ
นิรโทษกรรมเชิงจริยธรรมให้กับผู้นำประเทศ เพื่อเริ่มต้นชีวิตกันใหม่ในสังคมบนสนามการเมือง ซึ่งโมเดลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ
ประเทศแต่ไม่สูญเสียเลือดเนื้อบนซากปรักหักพังของสังคม แตกต่างไปจากวิกฤตการณ์ในช่วงตุลาเลือด 16 หรือ 19 และพฤษภาทมิฬ 35” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง 6 มีนาคม 12 มีนาคม เพิ่มขึ้น/ ลดลง
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 76.1 58.1 -18.0
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 13.7 25.0 + 11.3
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 8.4 13.7 + 5.3
4 ไม่ได้ติดตามเลย 1.8 3.2 + 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามการชี้แจงตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในรายการถึงลูกถึงคน
ลำดับที่ การติดตาม ร้อยละ
1 ติดตาม 62.1
2 ไม่ได้ติดตาม 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในรายการถึงลูกถึงคน
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 49 ที่ผ่านมา (เฉพาะประชาชนที่ติดตามชมรายการถึงลูกถึงคน)
ประเด็นต่างๆ ชัดเจน ไม่ชัดเจน ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ชี้แจงการขายหุ้น 45.8 41.8 12.4 100.0
2. ชี้แจงประเด็นการลาออก 45.0 39.4 15.6 100.0
3. แนวทางการเจรจากับฝ่ายต่างๆ 43.1 41.0 15.9 100.0
4. การยึดทรัพย์หลังการลาออก 28.7 32.3 39.0 100.0
5. การประกาศรับตำแหน่งหลังเลือกตั้ง
หากได้รับคะแนนมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ 63.2 21.8 15.0 100.0
6. การกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 2549 68.1 21.6 10.3 100.0
7. การประกาศภาวะฉุกเฉิน 31.1 36.1 32.8 100.0
8. การตั้งคนกลางเพื่อตรวจสอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 44.4 32.8 22.8 100.0
9. การแทรกแซงสื่อ 37.4 37.9 24.7 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมของการดำเนินรายการถึงลูกถึงคนโดย
คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ผ่านมา (เฉพาะประชาชนที่ติดตามชมรายการถึงลูกถึงคน)
ลำดับที่ ความเหมาะสมของการดำเนินรายการถึงลูกถึงคนโดยคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ร้อยละ
1 เหมาะสม 76.6
2 ไม่เหมาะสม 10.5
3 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยที่ประชาชนโหวตให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา
ในรายการถึงลูกถึงคนเมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา (เฉพาะประชาชนที่ติดตามชมรายการถึงลูกถึงคน)
ลำดับที่ บุคคลที่ประชาชนให้คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10
1 การดำเนินรายการและตั้งข้อคำถามของคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา 8.04
2 การชี้แจงและตอบข้อซักถามของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 7.18
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี 41.9
2 ควรส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง 24.1
3 หยุดการโจมตีรัฐบาล 24.1
4 ทำตามรัฐธรรมนูญ/ทำตามกติกา 16.9
5 นำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ 10.5
6 อื่นๆ อาทิ ทำทุกวิถีทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก/ไม่ต้องทำอะไร/
เสนอรายชื่อบุคคลที่ความเหมาะสมต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 13.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่กลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี
ควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่กลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี ควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ยุติการประท้วง/ยุติการชุมนุม 50.6
2 ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี 31.7
3 ทำตามระบอบประชาธิปไตย 14.6
4 แสดงจุดยืนของตัวเอง 12.6
5 ร่วมมือกับพรรคฝ่ายค้าน 3.0
6 อื่นๆ อาทิ เสนอรายชื่อบุคคลที่ความเหมาะสมต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรี /
ทำตัวเป็นกลาง/จัดการชุมนุมต่อไป เป็นต้น 5.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ควรหันหน้าเจรจากันกับทุกฝ่ายอย่างสันติวิธี 30.6
2 ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป 28.6
3 ลาออก 16.9
4 เดินหน้าชี้แจง/อธิบายความจริงให้ประชาชนทราบ 12.6
5 รับฟังความคิดเห็นของประชาชน 9.8
6 อื่นๆ อาทิ ไม่ต้องทำอะไร/ซื่อตรงต่อหน้าที่/แก้ไขรัฐธรรมนูญ/เว้นวรรคทางการเมือง เป็นต้น 18.3
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลความมั่นคงควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลความมั่นคงของประเทศควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 วางตัวเป็นกลาง 43.8
2 ดูแลความสงบเรียบร้อย/รักษาความปลอดภัยของประชาชน 30.5
3 เป็นคนกลางเชื่อมโยงทุกฝ่ายให้หันหน้ามาเจราจรกันด้วยสันติวิธี 11.9
4 ปฏิบัติตามกติกาของระบอบประชาธิปไตย 7.3
5 ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ 6.8
6 อื่นๆ อาทิ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง/ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงเรื่องที่เกิดขึ้น
ร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น เป็นต้น 11.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่สื่อมวลชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่สื่อมวลชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา/ไม่บิดเบือนข่าว/ไม่เสนอข่าวเกินจริง 62.5
2 นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางและยุติธรรม 36.9
3 ไม่ใส่ร้ายบุคคลอื่น 10.2
4 ลดการนำเสนอข่าวปัญหาการเมืองลงบ้าง 5.4
5 นำเสนอข่าวที่ส่งเสริมให้ทุกคนทำตามระบอบประชาชาธิปไตย
อาทิการสนับสนุนให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 1.7
6 เป็นตัวกลางในการเจรจาของทุกฝ่าย 0.4
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประชาชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนควรทำเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองไทย ร้อยละ
1 ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 32.1
2 เลิกสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง/ไม่เข้าร่วมการชุมนุม 15.4
3 ใช้สติในการตัดสินใจและรับฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างมีสติ/รอบคอบ 15.4
4 เปิดไฟหน้ารถเพื่อแสดงจุดยืนรักสงบ 14.5
5 อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร 10.8
6 อื่นๆ อาทิ ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด/ให้โอกาส พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตรทำงานต่อไป /ทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด /เข้าร่วมการชุมนุม เป็นต้น 23.1
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการ เลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย.ทันทีหรือไม่
ลำดับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร ควรลาออกหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. ทันทีหรือไม่ ร้อยละ
1 ควรลาออกทันที 24.4
2 ไม่ควรลาออกทันที 44.5
3 ไม่มีความเห็น 31.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-