ที่มาของโครงการ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนหนึ่งที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่าย โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการ
ถ่ายทอดเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ประชาชนได้รับรู้และรับทราบ ภายใต้การจับตามองและเรียกร้องความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเสนอข่าวการเมืองผ่านทาง สื่อโทรทัศน์ จึงได้
ทำการศึกษาวิจัยรูปแบบการนำเสนอข่าวการเมือง รวมทั้งเนื้อหาที่นำเสนอทั้งหมดผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง โดยใช้กระบวน
การสังเกตและวิธีการจดนับภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจรูปแบบการนำเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
2. เพื่อสำรวจเนื้อหาข่าวการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “โครงการบันทึกและนับจดนาทีเสนอข่าวการเมืองของฟรีทีวีในช่วง
โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ส.ส.” ได้ทำการสังเกตและเก็บบันทึกข้อมูล ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2549 เวลา 00.01 น. ถึง วันพุธที่ 29
มีนาคม 2549 เวลา 24.00 น. รวมทั้งสิ้น 5 วันเต็ม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต (Observation Method) และนับจดลง
แบบบันทึกการสังเกตที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยข้อมูลที่ทำการสังเกตและนับจด คือ ข่าวการเมือง (ไม่นับรวมข้อความข่าวที่วิ่งทางด้านล่างของหน้าจอ
โทรทัศน์) ที่ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง ITV
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการวิจัย เรื่อง “โครงการบันทึก
และนับจดนาทีเสนอข่าวการเมืองของฟรีทีวีในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ส.ส.” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข่าวการเมือง (ไม่นับรวมข้อ
ความข่าวที่วิ่งทางด้านล่างของหน้าจอโทรทัศน์) ที่ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง ITV ตั้งแต่
วันที่ 25 มีนาคม 2549 เวลา 00.01 น. ถึง วันที่ 29 มีนาคม 2549 เวลา 24.00 น. ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสังเกตมีดังนี้
จากการสังเกตการนำเสนอข่าวการเมืองทางโทรทัศน์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง พบว่ากลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร มีความถี่ในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด คือ 516 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 35.2 รองลงมาได้แก่ พรรคไทยรักไทย มีความถี่ 242
ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.5 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีความถี่ 186 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 12.7 ตามลำดับ
ขณะเดียวกันกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังคงมีจำนวนชั่วโมงในการนำเสนอข่าวมากที่สุดคือ 10 ชั่วโมง 28 นาที คิดเป็น
ร้อยละ 29.0 รองลงมาได้แก่พรรคไทยรักไทย จำนวน 5 ชั่วโมง 2 นาที คิดเป็นร้อยละ 13.9 และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กก
ต.) จำนวน 3 ชั่วโมง 50 นาที คิดเป็นร้อยละ 10.6 ตามลำดับ
และจากการจัดอันดับเนื้อหาข่าวการเมืองที่มีความถี่ในการนำเสนอทางสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ได้แก่ ข่าวการปราศรัย ขับไล่ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร โดยมีความถี่ในการนำเสนอ 138 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 9.4 รองลงมาได้แก่ข่าวรายละเอียด การนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร มีความถี่ 116 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 7.9 และข่าวบรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า คิดเป็นร้อยละ 5.5 ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาระยะเวลาในการนำเสนอข่าวพบว่า ข่าวการปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังคงเป็นอันดับแรก โดยมี
ระยะเวลาในการนำเสนอรวม 2 ชั่วโมง 51 นาที รองลงมาได้แก่ ข่าวรายละเอียดการนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีการ
นำเสนอ 2 ชั่วโมง 27 นาที และ ข่าวการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร มีการนำเสนอ 2 ชั่วโมง 20 นาที
นอกจากนี้ ยังพบว่าข่าวการเมืองที่นำเสนอส่วนใหญ่ อยู่ในรูปแบบที่ผู้ประกาศข่าวเป็นผู้ประกาศ โดยมีความถี่ 1,191 ครั้ง คิดเป็นร้อย
ละ 97.6 รองลงมา มีภาพประกอบข่าว มีความถี่ 1,142 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 93.6 และมีผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุ มีความถี่ 235
ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.3 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า โครงการวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90 ขึ้นไปติดตามข่าวสารผ่านทางสื่อโทรทัศน์ ผลการ
บันทึกและนับจดนาทีการเสนอข่าวการเมืองของฟรีทีวีช่อง 3 5 7 9 11 และ ITV ออกมาแสดงให้เห็นว่า การนำเสนอข่าวการเมืองในช่วงโค้งสุด
ท้ายไม่มีการเน้นข่าวหรือให้เวลาข่าวการหาเสียงเลือกตั้งเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นปรากฎการณ์ผิดปกติพิเศษ เพราะ
จำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอข่าวการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ส่งผลทำให้ ผลสำรวจความพึงพอใจของ
ประชาชนต่อกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ จึงสะท้อนออกมาให้เห็นได้ชัดเจนว่า ประชาชนพอใจต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีน้อย
กว่ากลุ่มบุคคลฝ่ายอื่นๆ โดยตำรวจได้รับความพอใจจากประชาชนมากที่สุด รองลงมาคือทหาร และสื่อมวลชน
“การที่สื่อโทรทัศน์นำเสนอข่าวของกลุ่มพันธมิตรฯ มากที่สุด จึงไม่ใช่สาเหตุที่จะทำให้เกิดความพอใจของประชาชนต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ดังนั้น
กลุ่มผู้ชุมนุมควรปรับรูปแบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและดึงดูดให้น่าสนใจต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของความสงบเรียบร้อยของสังคม
ที่สอดคล้องกับเสียงสะท้อนจากประชาชนว่าต้องการให้สถานการณ์การเมืองขณะนี้เข้าอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็ว ดังนั้นรูปแบบควรปรับเปลี่ยนแต่เนื้อหา
และเป้าหมายได้รับการตอบรับจากสาธารณชนมากพอสมควรแล้ว ในขณะที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลควรใช้แนวทางสันติวิธีที่จะดึงพลังจากประชาชนทุก
ฝ่ายเข้ามาแก้วิกฤตการเมืองขณะนี้ ภายใต้นโยบายแห่งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยและการแก้ไขปัญหาความเดือด
ร้อนของประชาชนเรื่องปากท้องที่กำลังเผชิญในชีวิตประจำวันอยู่ในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และค่าร้อยละในการเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
(จำแนกตามกลุ่ม)
กลุ่ม ความถี่ในการนำเสนอข่าว
จำนวนครั้ง ค่าร้อยละ
1. กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 516 35.2
2. พรรคไทยรักไทย 242 16.5
3. กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร 186 12.7
4. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 161 11.0
5. พรรคประชาธิปัตย์ 111 7.6
6. กลุ่มตำรวจ / ทหาร ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อย 77 5.3
7. กลุ่มผู้เรียกร้องความสงบสุขและความสามัคคีภายในประเทศ 30 2.0
8. อื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย / พรรคมหาชน / พรรคแผ่นดินไทย / ประชาชนทั่วไป 143 9.7
รวมทั้งสิ้น 1,466 100.0
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาและค่าร้อยละในการเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงเวลาสัปดาห์สุดท้าย
ก่อนการเลือกตั้ง (จำแนกตามกลุ่ม)
กลุ่ม ระยะเวลาในการนำเสนอข่าว
ชั่วโมง ค่าร้อยละ
1. กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 10 ชั่วโมง 28 นาที 29.0
2. พรรคไทยรักไทย 5 ชั่วโมง 2 นาที 13.9
3. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 ชั่วโมง 50 นาที 10.6
4. กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 3 ชั่วโมง 42 นาที 10.2
5. พรรคประชาธิปัตย์ 2 ชั่วโมง 27 นาที 6.8
6. กลุ่มตำรวจ / ทหาร ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อย 2 ชั่วโมง 20 นาที 6.5
7. กลุ่มผู้เรียกร้องความสงบสุขและความสามัคคีภายในประเทศ 1 ชั่วโมง 2 นาที 2.9
8. อื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย, พรรคมหาชน, พรรคแผ่นดินไทย, ประชาชนทั่วไป 7 ชั่วโมง 17 นาที 20.1
รวมทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 8 นาที 100.0
ตารางที่ 3 จัดอันดับยอดนิยมเนื้อหาข่าวการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด 10 อันดับแรก
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง (พิจารณาจากความถี่ในการนำเสนอ)
เนื้อหาข่าวการเมือง ความถี่ในการนำเสนอข่าว
จำนวนครั้ง ค่าร้อยละ
1. การปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 138 9.4
2. รายละเอียดการนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 116 7.9
3. บรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้า 80 5.5
4. การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจ-ทหาร 77 5.3
5. การเดินขบวนขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 73 5.0
6. การชุมนุมให้กำลังใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 60 4.1
7. กิจกรรมในการชุมนุมให้กำลังใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 51 3.5
8. การปราศรัยหาเสียงของพรรคไทยรักไทย 50 3.4
9. ภารกิจส่วนตัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 50 3.4
10. แจ้งจับหนังสือพิมพ์คมชัดลึกและนายสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 48 3.3
11. อื่นๆ เช่น กิจกรรมการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร /
การขอนายก ฯ พระราชทาน / การเรียกร้องความสงบ สามัคคีภาย
ในประเทศ / แจ้งความ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณี กฟผ.,
การชี้แจงข้อกล่าวหาของพรรคไทยรักไทย 723 49.2
รวมทั้งสิ้น 1,466 100.0
ตารางที่ 4 จัดอันดับยอดนิยมเนื้อหาข่าวการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด 10 อันดับแรก
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง (พิจารณาจากระยะเวลารวมในการนำเสนอ)
เนื้อหาข่าวการเมือง ระยะเวลาในการนำเสนอข่าว
ชั่วโมง ค่าร้อยละ
1. การปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 2 ชั่วโมง 51 นาที 7.8
2. รายละเอียดการนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 2 ชั่วโมง 27 นาที 6.7
3. การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจ-ทหาร 2 ชั่วโมง 20 นาที 6.4
4. ความคิดเห็นของนักวิชาการ / บุคคลสำคัญต่างๆ 1 ชั่วโมง 58 นาที 5.3
5. บรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง 49 นาที 4.9
6. การชุมนุมให้กำลังใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 1 ชั่วโมง 49 นาที 4.9
7. การเดินขบวนขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 1 ชั่วโมง 10 นาที 3.2
8. การปิดห้างสรรพสินค้า / ร้านค้าบริเวณสยามสแควร์ 1 ชั่วโมง 7 นาที 3.1
9. แจ้งจับหนังสือพิมพ์คมชัดลึกและนายสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 1 ชั่วโมง 4 นาที 2.9
10. การปราศรัยหาเสียงของพรรคไทยรักไทย 1 ชั่วโมง 4 นาที 2.9
11. อื่นๆ เช่น การเรียกร้องความสงบ สามัคคีภายในประเทศ, ภารกิจส่วนตัว
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร, การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ส.,
ฝ่ายค้านประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลแห่งชาติ, การชี้แจงข้อกล่าวหาของพรรคไทยรักไทย 18 ชั่วโมง 29 นาที 51.9
รวมทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 8 นาที 100.0
ตารางที่ 5 แสดงความถี่และค่าร้อยละของรูปแบบการนำเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย
ก่อนการเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
รูปแบบการนำเสนอข่าว ความถี่ในการนำเสนอข่าว(ครั้ง / ค่าร้อยละ)
1. ผู้ประกาศข่าวรายงานข่าว 1,191 (97.6)
2. ภาพประกอบข่าว 1,142 (93.6)
3. ผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุ 235 (19.3)
4. สัมภาษณ์ 230 (18.9)
5. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 145 (11.9)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนหนึ่งที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่าย โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการ
ถ่ายทอดเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ประชาชนได้รับรู้และรับทราบ ภายใต้การจับตามองและเรียกร้องความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเสนอข่าวการเมืองผ่านทาง สื่อโทรทัศน์ จึงได้
ทำการศึกษาวิจัยรูปแบบการนำเสนอข่าวการเมือง รวมทั้งเนื้อหาที่นำเสนอทั้งหมดผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง โดยใช้กระบวน
การสังเกตและวิธีการจดนับภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจรูปแบบการนำเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
2. เพื่อสำรวจเนื้อหาข่าวการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการวิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “โครงการบันทึกและนับจดนาทีเสนอข่าวการเมืองของฟรีทีวีในช่วง
โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ส.ส.” ได้ทำการสังเกตและเก็บบันทึกข้อมูล ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2549 เวลา 00.01 น. ถึง วันพุธที่ 29
มีนาคม 2549 เวลา 24.00 น. รวมทั้งสิ้น 5 วันเต็ม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต (Observation Method) และนับจดลง
แบบบันทึกการสังเกตที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยข้อมูลที่ทำการสังเกตและนับจด คือ ข่าวการเมือง (ไม่นับรวมข้อความข่าวที่วิ่งทางด้านล่างของหน้าจอ
โทรทัศน์) ที่ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง ITV
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการวิจัย เรื่อง “โครงการบันทึก
และนับจดนาทีเสนอข่าวการเมืองของฟรีทีวีในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ส.ส.” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข่าวการเมือง (ไม่นับรวมข้อ
ความข่าวที่วิ่งทางด้านล่างของหน้าจอโทรทัศน์) ที่ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง ITV ตั้งแต่
วันที่ 25 มีนาคม 2549 เวลา 00.01 น. ถึง วันที่ 29 มีนาคม 2549 เวลา 24.00 น. ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสังเกตมีดังนี้
จากการสังเกตการนำเสนอข่าวการเมืองทางโทรทัศน์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง พบว่ากลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร มีความถี่ในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด คือ 516 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 35.2 รองลงมาได้แก่ พรรคไทยรักไทย มีความถี่ 242
ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.5 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีความถี่ 186 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 12.7 ตามลำดับ
ขณะเดียวกันกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังคงมีจำนวนชั่วโมงในการนำเสนอข่าวมากที่สุดคือ 10 ชั่วโมง 28 นาที คิดเป็น
ร้อยละ 29.0 รองลงมาได้แก่พรรคไทยรักไทย จำนวน 5 ชั่วโมง 2 นาที คิดเป็นร้อยละ 13.9 และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กก
ต.) จำนวน 3 ชั่วโมง 50 นาที คิดเป็นร้อยละ 10.6 ตามลำดับ
และจากการจัดอันดับเนื้อหาข่าวการเมืองที่มีความถี่ในการนำเสนอทางสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ได้แก่ ข่าวการปราศรัย ขับไล่ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร โดยมีความถี่ในการนำเสนอ 138 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 9.4 รองลงมาได้แก่ข่าวรายละเอียด การนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร มีความถี่ 116 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 7.9 และข่าวบรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า คิดเป็นร้อยละ 5.5 ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาระยะเวลาในการนำเสนอข่าวพบว่า ข่าวการปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังคงเป็นอันดับแรก โดยมี
ระยะเวลาในการนำเสนอรวม 2 ชั่วโมง 51 นาที รองลงมาได้แก่ ข่าวรายละเอียดการนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีการ
นำเสนอ 2 ชั่วโมง 27 นาที และ ข่าวการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร มีการนำเสนอ 2 ชั่วโมง 20 นาที
นอกจากนี้ ยังพบว่าข่าวการเมืองที่นำเสนอส่วนใหญ่ อยู่ในรูปแบบที่ผู้ประกาศข่าวเป็นผู้ประกาศ โดยมีความถี่ 1,191 ครั้ง คิดเป็นร้อย
ละ 97.6 รองลงมา มีภาพประกอบข่าว มีความถี่ 1,142 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 93.6 และมีผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุ มีความถี่ 235
ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.3 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า โครงการวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90 ขึ้นไปติดตามข่าวสารผ่านทางสื่อโทรทัศน์ ผลการ
บันทึกและนับจดนาทีการเสนอข่าวการเมืองของฟรีทีวีช่อง 3 5 7 9 11 และ ITV ออกมาแสดงให้เห็นว่า การนำเสนอข่าวการเมืองในช่วงโค้งสุด
ท้ายไม่มีการเน้นข่าวหรือให้เวลาข่าวการหาเสียงเลือกตั้งเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นปรากฎการณ์ผิดปกติพิเศษ เพราะ
จำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอข่าวการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ส่งผลทำให้ ผลสำรวจความพึงพอใจของ
ประชาชนต่อกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ จึงสะท้อนออกมาให้เห็นได้ชัดเจนว่า ประชาชนพอใจต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีน้อย
กว่ากลุ่มบุคคลฝ่ายอื่นๆ โดยตำรวจได้รับความพอใจจากประชาชนมากที่สุด รองลงมาคือทหาร และสื่อมวลชน
“การที่สื่อโทรทัศน์นำเสนอข่าวของกลุ่มพันธมิตรฯ มากที่สุด จึงไม่ใช่สาเหตุที่จะทำให้เกิดความพอใจของประชาชนต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ดังนั้น
กลุ่มผู้ชุมนุมควรปรับรูปแบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและดึงดูดให้น่าสนใจต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของความสงบเรียบร้อยของสังคม
ที่สอดคล้องกับเสียงสะท้อนจากประชาชนว่าต้องการให้สถานการณ์การเมืองขณะนี้เข้าอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็ว ดังนั้นรูปแบบควรปรับเปลี่ยนแต่เนื้อหา
และเป้าหมายได้รับการตอบรับจากสาธารณชนมากพอสมควรแล้ว ในขณะที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลควรใช้แนวทางสันติวิธีที่จะดึงพลังจากประชาชนทุก
ฝ่ายเข้ามาแก้วิกฤตการเมืองขณะนี้ ภายใต้นโยบายแห่งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยและการแก้ไขปัญหาความเดือด
ร้อนของประชาชนเรื่องปากท้องที่กำลังเผชิญในชีวิตประจำวันอยู่ในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และค่าร้อยละในการเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
(จำแนกตามกลุ่ม)
กลุ่ม ความถี่ในการนำเสนอข่าว
จำนวนครั้ง ค่าร้อยละ
1. กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 516 35.2
2. พรรคไทยรักไทย 242 16.5
3. กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร 186 12.7
4. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 161 11.0
5. พรรคประชาธิปัตย์ 111 7.6
6. กลุ่มตำรวจ / ทหาร ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อย 77 5.3
7. กลุ่มผู้เรียกร้องความสงบสุขและความสามัคคีภายในประเทศ 30 2.0
8. อื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย / พรรคมหาชน / พรรคแผ่นดินไทย / ประชาชนทั่วไป 143 9.7
รวมทั้งสิ้น 1,466 100.0
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาและค่าร้อยละในการเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงเวลาสัปดาห์สุดท้าย
ก่อนการเลือกตั้ง (จำแนกตามกลุ่ม)
กลุ่ม ระยะเวลาในการนำเสนอข่าว
ชั่วโมง ค่าร้อยละ
1. กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 10 ชั่วโมง 28 นาที 29.0
2. พรรคไทยรักไทย 5 ชั่วโมง 2 นาที 13.9
3. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 ชั่วโมง 50 นาที 10.6
4. กลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 3 ชั่วโมง 42 นาที 10.2
5. พรรคประชาธิปัตย์ 2 ชั่วโมง 27 นาที 6.8
6. กลุ่มตำรวจ / ทหาร ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อย 2 ชั่วโมง 20 นาที 6.5
7. กลุ่มผู้เรียกร้องความสงบสุขและความสามัคคีภายในประเทศ 1 ชั่วโมง 2 นาที 2.9
8. อื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย, พรรคมหาชน, พรรคแผ่นดินไทย, ประชาชนทั่วไป 7 ชั่วโมง 17 นาที 20.1
รวมทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 8 นาที 100.0
ตารางที่ 3 จัดอันดับยอดนิยมเนื้อหาข่าวการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด 10 อันดับแรก
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง (พิจารณาจากความถี่ในการนำเสนอ)
เนื้อหาข่าวการเมือง ความถี่ในการนำเสนอข่าว
จำนวนครั้ง ค่าร้อยละ
1. การปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 138 9.4
2. รายละเอียดการนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 116 7.9
3. บรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้า 80 5.5
4. การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจ-ทหาร 77 5.3
5. การเดินขบวนขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 73 5.0
6. การชุมนุมให้กำลังใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 60 4.1
7. กิจกรรมในการชุมนุมให้กำลังใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 51 3.5
8. การปราศรัยหาเสียงของพรรคไทยรักไทย 50 3.4
9. ภารกิจส่วนตัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 50 3.4
10. แจ้งจับหนังสือพิมพ์คมชัดลึกและนายสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 48 3.3
11. อื่นๆ เช่น กิจกรรมการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร /
การขอนายก ฯ พระราชทาน / การเรียกร้องความสงบ สามัคคีภาย
ในประเทศ / แจ้งความ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณี กฟผ.,
การชี้แจงข้อกล่าวหาของพรรคไทยรักไทย 723 49.2
รวมทั้งสิ้น 1,466 100.0
ตารางที่ 4 จัดอันดับยอดนิยมเนื้อหาข่าวการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด 10 อันดับแรก
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง (พิจารณาจากระยะเวลารวมในการนำเสนอ)
เนื้อหาข่าวการเมือง ระยะเวลาในการนำเสนอข่าว
ชั่วโมง ค่าร้อยละ
1. การปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 2 ชั่วโมง 51 นาที 7.8
2. รายละเอียดการนัดหมายชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 2 ชั่วโมง 27 นาที 6.7
3. การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจ-ทหาร 2 ชั่วโมง 20 นาที 6.4
4. ความคิดเห็นของนักวิชาการ / บุคคลสำคัญต่างๆ 1 ชั่วโมง 58 นาที 5.3
5. บรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง 49 นาที 4.9
6. การชุมนุมให้กำลังใจ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 1 ชั่วโมง 49 นาที 4.9
7. การเดินขบวนขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 1 ชั่วโมง 10 นาที 3.2
8. การปิดห้างสรรพสินค้า / ร้านค้าบริเวณสยามสแควร์ 1 ชั่วโมง 7 นาที 3.1
9. แจ้งจับหนังสือพิมพ์คมชัดลึกและนายสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง 1 ชั่วโมง 4 นาที 2.9
10. การปราศรัยหาเสียงของพรรคไทยรักไทย 1 ชั่วโมง 4 นาที 2.9
11. อื่นๆ เช่น การเรียกร้องความสงบ สามัคคีภายในประเทศ, ภารกิจส่วนตัว
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร, การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ส.,
ฝ่ายค้านประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลแห่งชาติ, การชี้แจงข้อกล่าวหาของพรรคไทยรักไทย 18 ชั่วโมง 29 นาที 51.9
รวมทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 8 นาที 100.0
ตารางที่ 5 แสดงความถี่และค่าร้อยละของรูปแบบการนำเสนอข่าวการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย
ก่อนการเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
รูปแบบการนำเสนอข่าว ความถี่ในการนำเสนอข่าว(ครั้ง / ค่าร้อยละ)
1. ผู้ประกาศข่าวรายงานข่าว 1,191 (97.6)
2. ภาพประกอบข่าว 1,142 (93.6)
3. ผู้สื่อข่าวรายงานจากสถานที่เกิดเหตุ 235 (19.3)
4. สัมภาษณ์ 230 (18.9)
5. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 145 (11.9)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-