ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเชิงประเมินผลของ
ประชาชนต่อสังคมไทยและคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,550 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 —23 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมี
ดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมานั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อย
ละ 98.8 ระบุติดตามข่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้นที่ระบุไม่ได้ติดตาม
เมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนเวลาเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ หลังการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อน โดยผู้ตอบระบุ
ได้มากกว่า 1 ความรู้สึก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.1 รู้สึกว่าทหารเป็นที่พึ่งได้ รองลงมาคือร้อยละ 89.1 รู้สึกปลอดภัย ร้อยละ 87.0 รู้สึก
ทหารเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 82.6 รู้สึกอบอุ่น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 24.9 รู้สึกกังวล ร้อยละ 20.5 รู้สึกไม่สะดวก ร้อยละ 19.7
รู้สึกตกใจ ร้อยละ 7.6 รู้สึกไม่ชอบ และร้อยละ 6.5 รู้สึกกลัว
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นเชิงประเมินผลของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้านต่างๆ ภายหลังคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อน พบว่า
ด้านความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 57.5 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 25.6 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 12.4 คิดว่าจะแย่หมือ
นเดิม และร้อยละ 4.5 เท่านั้นคิดว่าจะแย่ลง
ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร้อยละ 48.0 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 31.9 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 15.1 คิดว่าจะแย่เหมือนเดิม
และร้อยละ 5.0 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ (กฎแห่งกรรม) ร้อยละ 46.6 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 30.5 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 15.5 คิด
ว่าจะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 7.4 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความโปร่งใสทางการเมือง ร้อยละ 45.5 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 18.9 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 24.0 คิดว่าจะแย่เหมือน
เดิม และร้อยละ 11.6 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความมีอิสระเสรีของคนไทย ร้อยละ 42.3 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 39.2 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 12.1 คิดว่าจะแย่เหมือน
เดิม และร้อยละ 6.4 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความยุติธรรมทางสังคมไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 36.4 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 38.0 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 20.4 คิดว่าจะแย่
เหมือนเดิม และร้อยละ 5.2 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความซื่อสัตย์ของนักการเมือง ร้อยละ 34.5 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 20.4 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 30.3 คิดว่าจะแย่เหมือน
เดิม และร้อยละ 14.8 คิดว่าจะแย่ลง
เมื่อสอบถามถึงคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการ พบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 97.6 ต้องการคนที่
ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 97.1 ต้องการคนที่กล้าคิดกล้าตัดสินใจ ร้อยละ 97.0 ต้องการคนที่อดทน ร้อยละ 96.9 ต้องการคนที่เสียสละ ร้อยละ 96.6
ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถทุกด้านของประเทศ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และปัญหาสังคม เป็นต้น ร้อยละ 95.6 ต้องการคนที่ไม่
เบียดเบียนผู้อื่น ร้อยละ 92.5 ต้องการคนที่สุภาพอ่อนโยน ร้อยละ 91.2 ต้องการคนที่ทุ่มเททำงานหนัก ร้อยละ 91.0 ต้องการคนที่มีผลงานเด่น
ชัดเจน และร้อยละ 24.0 ต้องการคนที่สำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ภายหลังปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา
กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนใหญ่ประเมินว่าจะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงดีขึ้นและดีเหมือนเดิมหลายด้าน เช่น ความรัก
ความสามัคคีของคนในชาติ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษหรือกฎแห่งกรรม เป็นต้น การเข้ามาปฏิบัติการของคณะปฏิรูปฯ
ครั้งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการเข้ามาจัดบ้านให้น่าอยู่ขึ้น เป็นบ้านขวานทองหลังเดียวของคนไทยทุกคนที่เดิมมันไม่เป็นระเบียบแต่คณะปฏิรูปฯ ประกาศใช้
เวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ในการปูพื้นจัดระเบียบสังคมใหม่ให้เกิดขึ้นเพียงสองสัปดาห์ จึงเป็นสิ่งที่คน
ไทยน่าจะพิจารณาดูว่าในสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวายก่อนหน้านี้มีใครบ้างจะกล้าหาญเข้ามาจัดการให้สงบเรียบร้อยลงได้ แต่ความสงบเรียบร้อยแท้จริง
จะต้องมาจากความร่วมมือร่วมแรงใจของคนไทยทุกคน ถ้าประเทศไทยผ่านวิกฤตต่างๆ และกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ความดี
ความงามยังคงมีอยู่ในจิตสำนึกของคนไทย
“อย่างไรก็ตาม สังคมไทยต้องติดตามกันต่อไปว่า การสนับสนุนของสาธารณชนจนทำให้คณะปฏิรูปฯ ประสบความสำเร็จได้อำนาจชอบธรรม
มาในการบริหารจัดการประเทศแล้ว คณะปฏิรูปฯ จะทนพลังเย้ายวนของอำนาจเบ็ดเสร็จได้หรือไม่ ถ้าทนได้ก็เป็นบุญร่วมกันของชาวไทยทุกคนที่มีผู้ใหญ่ที่
ดีแท้จริงในสังคมเข้ามาช่วยดูแลจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ดังนั้น คณะปฏิรูปฯ ควรอยู่กับอำนาจเบ็ดเสร็จตามเวลาที่กำหนด เพราะถ้าอยู่นานเกิน
กว่าที่เคยบอกไว้อาจเกิดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อคณะปฏิรูปว่ามีกิเลสความโลภหลงเข้ามาครอบงำหรือไม่” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อสอบถามประชาชนถึงคุณลักษณะนายกรัฐมนตรีที่ต้องการพบว่าเกือบร้อยละร้อยต้องการคนที่ซื่อ
สัตย์สุจริต กล้าคิดกล้าตัดสินใจ อดทน เสียสละ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีความรู้ความสามารถรอบด้าน เช่น เรื่องเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมายและ
ปัญหาสังคม ที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ซึ่งถ้าได้คนที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเช่นนี้ การรับช่วงต่อจากคณะ
ปฏิรูปฯ ย่อมได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนมากพอส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของประเทศย่อมไม่สะดุด ที่น่าสังเกตอีกเล็ก
น้อยจากการสำรวจคือประชาชนกลับให้ความสำคัญเรื่องความสำเร็จทางธุรกิจและความร่ำรวยของคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอันดับสุดท้าย
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความรู้สึกของประชาชนเมื่อพบเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้เข้ามาแก้ไขปัญหาการเมืองและความขัดแย้งทางสังคม
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเชิงประเมินผลของประชาชนต่อสังคมไทย
และคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนต้องการ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” รวมจำนวนตัวอย่างทั้ง
สิ้น 1,550 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 —23 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,550 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 52.6 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 27.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.9 อายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งร้อยละ 29.1 ระบุอาชีพค้าขาย/กิจการส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.5 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.7 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน
ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.2 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
เมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.6 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 9.4 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.1 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 30.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 98.8
2 ไม่ได้ติดตาม 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกเมื่อเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกเมื่อเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ทหารเป็นที่พึ่งได้ 92.1
2 รู้สึกปลอดภัย 89.1
3 เป็นทหารของประชาชนอย่างแท้จริง 87.0
4 รู้สึกอบอุ่น 82.6
5 กังวล 24.9
6 ไม่สะดวก 20.5
7 ตกใจ 19.7
8 ไม่ชอบ 7.6
9 กลัว 6.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเชิงประเมินผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ภายหลังจาก
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ความคิดต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในด้านต่างๆ ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง รวมทั้งสิ้น
1. ด้านความรักความสามัคคีของคนในชาติ 57.5 25.6 12.4 4.5 100.0
2. ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 48.0 31.9 15.1 5.0 100.0
3. ความเชื่อของคนเรื่องบาปบุญคุณโทษ (กฎแห่งกรรม) 46.6 30.5 15.5 7.4 100.0
4. ความโปร่งใสทางการเมือง 45.5 18.9 24.0 11.6 100.0
5. ความมีอิสระเสรีของประชาชน 42.3 39.2 12.1 6.4 100.0
6. ความยุติธรรมทางสังคมไม่เลือกปฏิบัติ 36.4 38.0 20.4 5.2 100.0
7. ความซื่อสัตย์ของนักการเมือง 34.5 20.4 30.3 14.8 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณลักษณะและสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณลักษณะ ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์สุจริต 97.6
2 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 97.1
3 ความอดทน 97.0
4 ความเสียสละ 96.9
5 ความรู้ความสามารถทุกด้านของประเทศ เช่น เศรษฐกิจ
การเมือง กฎหมายและปัญหาสังคม เป็นต้น 96.6
6 ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น 95.6
7 ความสุภาพอ่อนโยน 92.5
8 ทุ่มเททำงานหนัก 91.2
9 มีผลงานเด่นชัดเจน 91.0
10 ความสำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย 24.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนต่อสังคมไทยและคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,550 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 —23 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมี
ดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมานั้น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อย
ละ 98.8 ระบุติดตามข่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้นที่ระบุไม่ได้ติดตาม
เมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนเวลาเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ หลังการยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อน โดยผู้ตอบระบุ
ได้มากกว่า 1 ความรู้สึก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.1 รู้สึกว่าทหารเป็นที่พึ่งได้ รองลงมาคือร้อยละ 89.1 รู้สึกปลอดภัย ร้อยละ 87.0 รู้สึก
ทหารเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 82.6 รู้สึกอบอุ่น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 24.9 รู้สึกกังวล ร้อยละ 20.5 รู้สึกไม่สะดวก ร้อยละ 19.7
รู้สึกตกใจ ร้อยละ 7.6 รู้สึกไม่ชอบ และร้อยละ 6.5 รู้สึกกลัว
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นเชิงประเมินผลของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้านต่างๆ ภายหลังคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อน พบว่า
ด้านความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 57.5 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 25.6 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 12.4 คิดว่าจะแย่หมือ
นเดิม และร้อยละ 4.5 เท่านั้นคิดว่าจะแย่ลง
ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร้อยละ 48.0 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 31.9 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 15.1 คิดว่าจะแย่เหมือนเดิม
และร้อยละ 5.0 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ (กฎแห่งกรรม) ร้อยละ 46.6 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 30.5 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 15.5 คิด
ว่าจะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 7.4 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความโปร่งใสทางการเมือง ร้อยละ 45.5 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 18.9 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 24.0 คิดว่าจะแย่เหมือน
เดิม และร้อยละ 11.6 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความมีอิสระเสรีของคนไทย ร้อยละ 42.3 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 39.2 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 12.1 คิดว่าจะแย่เหมือน
เดิม และร้อยละ 6.4 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความยุติธรรมทางสังคมไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 36.4 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 38.0 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 20.4 คิดว่าจะแย่
เหมือนเดิม และร้อยละ 5.2 คิดว่าจะแย่ลง
ด้านความซื่อสัตย์ของนักการเมือง ร้อยละ 34.5 คิดว่าจะดีขึ้น ร้อยละ 20.4 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 30.3 คิดว่าจะแย่เหมือน
เดิม และร้อยละ 14.8 คิดว่าจะแย่ลง
เมื่อสอบถามถึงคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการ พบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 97.6 ต้องการคนที่
ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 97.1 ต้องการคนที่กล้าคิดกล้าตัดสินใจ ร้อยละ 97.0 ต้องการคนที่อดทน ร้อยละ 96.9 ต้องการคนที่เสียสละ ร้อยละ 96.6
ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถทุกด้านของประเทศ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และปัญหาสังคม เป็นต้น ร้อยละ 95.6 ต้องการคนที่ไม่
เบียดเบียนผู้อื่น ร้อยละ 92.5 ต้องการคนที่สุภาพอ่อนโยน ร้อยละ 91.2 ต้องการคนที่ทุ่มเททำงานหนัก ร้อยละ 91.0 ต้องการคนที่มีผลงานเด่น
ชัดเจน และร้อยละ 24.0 ต้องการคนที่สำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ภายหลังปฏิบัติการของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา
กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนใหญ่ประเมินว่าจะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงดีขึ้นและดีเหมือนเดิมหลายด้าน เช่น ความรัก
ความสามัคคีของคนในชาติ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษหรือกฎแห่งกรรม เป็นต้น การเข้ามาปฏิบัติการของคณะปฏิรูปฯ
ครั้งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการเข้ามาจัดบ้านให้น่าอยู่ขึ้น เป็นบ้านขวานทองหลังเดียวของคนไทยทุกคนที่เดิมมันไม่เป็นระเบียบแต่คณะปฏิรูปฯ ประกาศใช้
เวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ในการปูพื้นจัดระเบียบสังคมใหม่ให้เกิดขึ้นเพียงสองสัปดาห์ จึงเป็นสิ่งที่คน
ไทยน่าจะพิจารณาดูว่าในสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวายก่อนหน้านี้มีใครบ้างจะกล้าหาญเข้ามาจัดการให้สงบเรียบร้อยลงได้ แต่ความสงบเรียบร้อยแท้จริง
จะต้องมาจากความร่วมมือร่วมแรงใจของคนไทยทุกคน ถ้าประเทศไทยผ่านวิกฤตต่างๆ และกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ความดี
ความงามยังคงมีอยู่ในจิตสำนึกของคนไทย
“อย่างไรก็ตาม สังคมไทยต้องติดตามกันต่อไปว่า การสนับสนุนของสาธารณชนจนทำให้คณะปฏิรูปฯ ประสบความสำเร็จได้อำนาจชอบธรรม
มาในการบริหารจัดการประเทศแล้ว คณะปฏิรูปฯ จะทนพลังเย้ายวนของอำนาจเบ็ดเสร็จได้หรือไม่ ถ้าทนได้ก็เป็นบุญร่วมกันของชาวไทยทุกคนที่มีผู้ใหญ่ที่
ดีแท้จริงในสังคมเข้ามาช่วยดูแลจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ดังนั้น คณะปฏิรูปฯ ควรอยู่กับอำนาจเบ็ดเสร็จตามเวลาที่กำหนด เพราะถ้าอยู่นานเกิน
กว่าที่เคยบอกไว้อาจเกิดความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อคณะปฏิรูปว่ามีกิเลสความโลภหลงเข้ามาครอบงำหรือไม่” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อสอบถามประชาชนถึงคุณลักษณะนายกรัฐมนตรีที่ต้องการพบว่าเกือบร้อยละร้อยต้องการคนที่ซื่อ
สัตย์สุจริต กล้าคิดกล้าตัดสินใจ อดทน เสียสละ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีความรู้ความสามารถรอบด้าน เช่น เรื่องเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมายและ
ปัญหาสังคม ที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ซึ่งถ้าได้คนที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเช่นนี้ การรับช่วงต่อจากคณะ
ปฏิรูปฯ ย่อมได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนมากพอส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของประเทศย่อมไม่สะดุด ที่น่าสังเกตอีกเล็ก
น้อยจากการสำรวจคือประชาชนกลับให้ความสำคัญเรื่องความสำเร็จทางธุรกิจและความร่ำรวยของคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอันดับสุดท้าย
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความรู้สึกของประชาชนเมื่อพบเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้เข้ามาแก้ไขปัญหาการเมืองและความขัดแย้งทางสังคม
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเชิงประเมินผลของประชาชนต่อสังคมไทย
และคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนต้องการ: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” รวมจำนวนตัวอย่างทั้ง
สิ้น 1,550 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 —23 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,550 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 47.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 52.6 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 27.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.9 อายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ซึ่งร้อยละ 29.1 ระบุอาชีพค้าขาย/กิจการส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.5 ระบุอาชีพรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.7 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน
ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 1.2 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
เมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.9 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.6 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 9.4 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 6.1 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 30.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสถานการณ์การเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 98.8
2 ไม่ได้ติดตาม 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกเมื่อเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกเมื่อเห็นทหารออกมาประจำการตามสถานที่ต่างๆ ค่าร้อยละ
1 ทหารเป็นที่พึ่งได้ 92.1
2 รู้สึกปลอดภัย 89.1
3 เป็นทหารของประชาชนอย่างแท้จริง 87.0
4 รู้สึกอบอุ่น 82.6
5 กังวล 24.9
6 ไม่สะดวก 20.5
7 ตกใจ 19.7
8 ไม่ชอบ 7.6
9 กลัว 6.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเชิงประเมินผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ภายหลังจาก
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ความคิดต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในด้านต่างๆ ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง รวมทั้งสิ้น
1. ด้านความรักความสามัคคีของคนในชาติ 57.5 25.6 12.4 4.5 100.0
2. ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 48.0 31.9 15.1 5.0 100.0
3. ความเชื่อของคนเรื่องบาปบุญคุณโทษ (กฎแห่งกรรม) 46.6 30.5 15.5 7.4 100.0
4. ความโปร่งใสทางการเมือง 45.5 18.9 24.0 11.6 100.0
5. ความมีอิสระเสรีของประชาชน 42.3 39.2 12.1 6.4 100.0
6. ความยุติธรรมทางสังคมไม่เลือกปฏิบัติ 36.4 38.0 20.4 5.2 100.0
7. ความซื่อสัตย์ของนักการเมือง 34.5 20.4 30.3 14.8 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณลักษณะและสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณลักษณะ ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์สุจริต 97.6
2 กล้าคิดกล้าตัดสินใจ 97.1
3 ความอดทน 97.0
4 ความเสียสละ 96.9
5 ความรู้ความสามารถทุกด้านของประเทศ เช่น เศรษฐกิจ
การเมือง กฎหมายและปัญหาสังคม เป็นต้น 96.6
6 ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น 95.6
7 ความสุภาพอ่อนโยน 92.5
8 ทุ่มเททำงานหนัก 91.2
9 มีผลงานเด่นชัดเจน 91.0
10 ความสำเร็จทางธุรกิจ ความร่ำรวย 24.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-