ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นกรณีทีไอทีวี - พีทีวี : กรณีศึกษา
ประชาชนอายุ 18 - 60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 - 60 ปีใน
เขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาค รวม 9 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 2,258 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20
มีนาคม -2 เมษายน 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
1. พอใจการทำงานของ “ไอทีวี” สนับสนุนทีมเดิมทำงานต่อ
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีข่าว “รัฐบาลยึดคลื่นความถี่ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับคืน” นั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.5
ระบุติดตามข่าว และร้อยละ 27.5 ระบุไม่ได้ติดตามข่าว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้ พบว่า ร้อยละ 68.3 ระบุพึงพอใจต่อการทำงานของ
สถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ มีการนำเสนอข่าวได้ดี ฉับไว ทันต่อเหตุการณ์ นำเสนอเนื้อหาสาระที่ตรงประเด็น
และมีการช่วยเหลือชาวบ้าน/ทำเพื่อประชาชน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ระบุไม่พึงพอใจ โดยให้เหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ไม่มีความเป็น
กลาง สื่อมวลชนหาประโยชน์กับนักการเมือง ต้องการให้เป็นทีวีเสรีของประชาชน และมีการนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็น
ต้น และอีกร้อยละ 19.8 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ด้านความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับทีมงาน/พนักงานของไอทีวีภายหลังจากที่รัฐบาลยึดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีมาแล้ว พบว่า ร้อยละ
67.8 ระบุต้องการให้ทีมงานเดิมทำงานต่อ มีเพียงร้อยละ 9.4 ระบุเปลี่ยนทีมงานใหม่ และร้อยละ 22.8 ระบุไม่มีความคิดเห็น
2. เป็นห่วง “ทีไอทีวี” อยู่ในมือผู้มีอำนาจ เสนอทำเป็น “ทีวีสาธารณะ”
เมื่อสอบถามความรู้สึกเป็นห่วงของกลุ่มตัวอย่างว่า “สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี” มีโอกาสที่จะถูกครอบครองโดยกลุ่มผู้มีอำนาจบางกลุ่ม พบว่า
ร้อยละ 58.8 ระบุรู้สึกเป็นห่วง ร้อยละ 15.5 ระบุไม่น่าเป็นห่วง และร้อยละ 25.7 ระบุไม่มีความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นหากรัฐบาลจะ
ปฏิรูปสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีให้เป็น “สถานีโทรทัศน์สาธารณะ (อิสระ)” นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.5 ระบุเห็นด้วย ส่วนร้อยละ 11.0 ระบุไม่
เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุไม่มีความคิดเห็น
3. อยากเห็นองค์กรภาคประชาชนดูแล “ทีไอทีวี”
เกี่ยวกับความเหมาะสมหากจะให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเข้ามาบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีในระยะต่อไปพบว่า ร้อยละ
46.2 ระบุองค์กรภาคประชาชนเป็นองค์กรที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 36.4 ระบุองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่
ด้านความคิดเห็นหากจะเปิดโอกาสให้มี “สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี” (แบบช่อง 3, 5, 7, 9, 11 หรือไอทีวี) เพิ่มขึ้น พบว่า ร้อยละ
72.8 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 10.6 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 16.6 ระบุไม่มีความคิดเห็น
4. ความเห็นก้ำกึ่งกรณี “เปิด-ไม่เปิดโอกาส”ให้พีทีวีออกอากาศ
นอกจากนี้เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างต่อการติดตามข่าวที่คนของพรรคไทยรักไทยเคลื่อนไหวที่จะเผยแพร่รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทาง
สถานี PTV พบว่า ร้อยละ 64.3 ระบุไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 35.7 ระบุติดตาม อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้ พบ
ว่า ร้อยละ 41.0 ระบุสนับสนุนให้มีการออกอากาศของสถานีแห่งนี้ โดยให้เหตุผลว่าประชาชนควรจะได้รับรู้ข่าวทั้ง 2 ด้าน ประชาชนได้รับรู้ความ
เคลื่อนไหว และเป็นผลดีต่อประชาชน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 38.2 ระบุไม่สนับสนุน โดยให้เหตุผลว่า สร้างความแตกแยกให้กับสังคม ไม่มี
ความเป็นกลาง นำเสนอแต่ข่าวสารของตนเอง/หาประโยชน์ใส่ตนเอง ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ที่เหลือร้อยละ 20.8 ระบุไม่มี
ความคิดเห็น
ด้านความสนใจของกลุ่มตัวอย่างที่จะชมรายการทางช่อง PTV (หากมีการออกอากาศ) พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุสนใจที่จะชม ร้อยละ
30.1 ระบุไม่สนใจ และร้อยละ 26.6 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความคิดเห็น
5. อยากพัฒนา “โทรทัศน์” ให้เสนอข่าวสารตรงไปตรงมา
สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์สังคมใน 3 อันดับแรกนั้น พบว่า ร้อยละ 20.7 ระบุควร
เสนอข่าวแบบตรงไปตรงมา มีความโปร่งใส ไม่ปิดกั้นความรู้ข่าวสารของประชาชน เสนอข่าวตามความเป็นจริงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ
19.4 ระบุควรเน้นเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อเด็ก/เยาวชน และร้อยละ 14.3 ระบุอยากให้มีรายการดี ๆ มีสาระมากขึ้น ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นกรณีทีไอทีวี — พีทีวี :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - 2 เมษายน
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตหัวเมือง 9 จังหวัดคือกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี
สมุทรปราการ นครราชสีมา อุดรธานี สงขลา และสุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,258 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นชาย
สำหรับระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 28.5 ระบุมีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 25.0 ไม่ระบุ
ร้อยละ 22.2 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 9.0 ระบุมีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 8.9 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
ร้อยละ 6.4 ระบุมีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวกรณี “รัฐบาลยึดความถี่ของสถานี
โทรทัศน์ทีไอทีวี(ไอทีวี) กลับคืน”
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าว 72.5
2 ไม่ได้ติดตามข่าว 27.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงาน ค่าร้อยละ
1 พึงพอใจ 68.3
2 ไม่พึงพอใจ 11.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นภายหลังจากที่รัฐบาลยึดสถานีโทรทัศน์
ทีไอทีวีมาแล้ว “ควรให้ทีมงานไอทีวีชุดเดิมทำงานต่อหรือควรเปลี่ยนทีมงานชุดใหม่”
(เฉพาะคนที่ติดตามข่าวนี้)
ลำดับที่ การเปลี่ยนทีมงานไอทีวี ค่าร้อยละ
1 ให้ทีมงานเดิมทำต่อ 67.8
2 เปลี่ยนทีมงานใหม่ 9.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเป็นห่วงว่าสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีมีโอกาสที่จะถูก
ครอบครองโดยกลุ่มผู้มีอำนาจบางกลุ่ม
ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ
1 เป็นห่วง 58.8
2 ไม่น่าเป็นห่วง 15.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นหากรัฐบาลจะปฏิรูปสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวีให้เป็น
“สถานีโทรทัศน์สาธารณะ (อิสระ)”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 49.5
2 ไม่เห็นด้วย 11.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 39.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมหากจะให้หน่วยงานต่าง ๆ มาบริหาร จัดการสถานีโทรทัศน์
ทีไอทีวีในระยะยาวต่อไป
หน่วยงานต่าง ๆ ความคิดเห็น
เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความคิดเห็น
1) องค์กรภาคประชาชน 46.2 14.6 39.2
2) องค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่ 36.4 20.9 42.7
3) บริษัทธุรกิจเอกชน 33.2 28.3 38.5
4) หน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่ราชการ (เช่น องค์การมหาชน) 32.0 26.7 41.3
5) สถานี อ.ส.ม.ท. (ช่อง 9) 27.3 29.2 43.5
6) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 24.2 30.3 45.5
7) สำนักนายกรัฐมนตรี 22.6 37.2 40.2
8) รัฐสภา 18.0 35.8 46.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหากจะเปิดโอกาสให้มี “สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี” เพิ่มขึ้น
(คล้ายกับช่อง 3, 5, 7, 9, 11 หรือทีไอทีวี)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.8
2 ไม่เห็นด้วย 10.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวที่คนของพรรคไทยรักไทยเคลื่อนไหว
ที่จะเผยแพร่รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทางสานี PTV
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 35.7
2 ไม่ติดตาม 64.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนให้มีการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ PTV
(เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนให้มีการออกอากาศ 41.0
2 ไม่สนับสนุน 38.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจที่จะชมรายการทางช่อง PTV หากมีการออกอากาศ
(เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สนใจที่จะชม 43.2
2 ไม่สนใจ 30.1
3 ไม่แน่ใจ/ไม่มีความคิดเห็น 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์สังคม
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 เสนอข่าวแบบตรงไปตรงมา/โปร่งใส/ไม่ปิดกั้นความรู้ข่าวสารของประชาชน/เสนอตามความเป็นจริง 20.7
2 ควรเน้นเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน 19.4
3 อยากให้มีรายการดีๆ มีสาระมากขึ้น 14.3
4 อยากให้เสนอข่าวแบบเป็นกลางและยุติธรรม 8.9
5 อยากให้เสนอข่าวที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ชาติมั่นคง 8.7
6 ควรเป็นสถานีที่มีความเป็นอิสระจากหลายๆ ฝ่าย 6.0
7 ควรเพิ่มเนื้อหาทางวิชาการมากขึ้น 3.1
8 ลดละครให้น้อยลง 3.1
9 สถานีโทรทัศน์ไม่ควรแสวงหาผลประโยชน์มากเกินไป 2.9
10 ควรมีรายการสารคดีให้มากขึ้น เช่น สัตว์ ป่า น้ำตก เป็นต้น 2.6
11 ให้มีโทรทัศน์หลายช่องแบบประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความหลากหลายในการเลือกชม 2.1
12 ควรตรวจสอบการถ่ายทอดเรื่องลามก คำหยาบ 1.9
13 ช่วยเหลือคนจนที่ด้อยโอกาส 1.9
14 ไม่ควรนำบุคคลที่ทำให้สังคมแตกแยกมาจัดทำรายการใดๆ ทั้งสิ้น 1.9
15 อื่น ๆ เช่น ควรมีการเผยแพร่กฏหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ที่ประชาชนควรรับรู้รับทราบ-
ส่งเสริมรายการด้านครอบครัว 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนอายุ 18 - 60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 - 60 ปีใน
เขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาค รวม 9 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 2,258 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20
มีนาคม -2 เมษายน 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
1. พอใจการทำงานของ “ไอทีวี” สนับสนุนทีมเดิมทำงานต่อ
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีข่าว “รัฐบาลยึดคลื่นความถี่ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับคืน” นั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.5
ระบุติดตามข่าว และร้อยละ 27.5 ระบุไม่ได้ติดตามข่าว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้ พบว่า ร้อยละ 68.3 ระบุพึงพอใจต่อการทำงานของ
สถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ มีการนำเสนอข่าวได้ดี ฉับไว ทันต่อเหตุการณ์ นำเสนอเนื้อหาสาระที่ตรงประเด็น
และมีการช่วยเหลือชาวบ้าน/ทำเพื่อประชาชน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ระบุไม่พึงพอใจ โดยให้เหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ไม่มีความเป็น
กลาง สื่อมวลชนหาประโยชน์กับนักการเมือง ต้องการให้เป็นทีวีเสรีของประชาชน และมีการนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็น
ต้น และอีกร้อยละ 19.8 ระบุไม่มีความคิดเห็น
ด้านความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับทีมงาน/พนักงานของไอทีวีภายหลังจากที่รัฐบาลยึดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีมาแล้ว พบว่า ร้อยละ
67.8 ระบุต้องการให้ทีมงานเดิมทำงานต่อ มีเพียงร้อยละ 9.4 ระบุเปลี่ยนทีมงานใหม่ และร้อยละ 22.8 ระบุไม่มีความคิดเห็น
2. เป็นห่วง “ทีไอทีวี” อยู่ในมือผู้มีอำนาจ เสนอทำเป็น “ทีวีสาธารณะ”
เมื่อสอบถามความรู้สึกเป็นห่วงของกลุ่มตัวอย่างว่า “สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี” มีโอกาสที่จะถูกครอบครองโดยกลุ่มผู้มีอำนาจบางกลุ่ม พบว่า
ร้อยละ 58.8 ระบุรู้สึกเป็นห่วง ร้อยละ 15.5 ระบุไม่น่าเป็นห่วง และร้อยละ 25.7 ระบุไม่มีความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นหากรัฐบาลจะ
ปฏิรูปสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีให้เป็น “สถานีโทรทัศน์สาธารณะ (อิสระ)” นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.5 ระบุเห็นด้วย ส่วนร้อยละ 11.0 ระบุไม่
เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุไม่มีความคิดเห็น
3. อยากเห็นองค์กรภาคประชาชนดูแล “ทีไอทีวี”
เกี่ยวกับความเหมาะสมหากจะให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเข้ามาบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีในระยะต่อไปพบว่า ร้อยละ
46.2 ระบุองค์กรภาคประชาชนเป็นองค์กรที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 36.4 ระบุองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่
ด้านความคิดเห็นหากจะเปิดโอกาสให้มี “สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี” (แบบช่อง 3, 5, 7, 9, 11 หรือไอทีวี) เพิ่มขึ้น พบว่า ร้อยละ
72.8 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 10.6 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 16.6 ระบุไม่มีความคิดเห็น
4. ความเห็นก้ำกึ่งกรณี “เปิด-ไม่เปิดโอกาส”ให้พีทีวีออกอากาศ
นอกจากนี้เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างต่อการติดตามข่าวที่คนของพรรคไทยรักไทยเคลื่อนไหวที่จะเผยแพร่รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทาง
สถานี PTV พบว่า ร้อยละ 64.3 ระบุไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 35.7 ระบุติดตาม อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้ พบ
ว่า ร้อยละ 41.0 ระบุสนับสนุนให้มีการออกอากาศของสถานีแห่งนี้ โดยให้เหตุผลว่าประชาชนควรจะได้รับรู้ข่าวทั้ง 2 ด้าน ประชาชนได้รับรู้ความ
เคลื่อนไหว และเป็นผลดีต่อประชาชน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 38.2 ระบุไม่สนับสนุน โดยให้เหตุผลว่า สร้างความแตกแยกให้กับสังคม ไม่มี
ความเป็นกลาง นำเสนอแต่ข่าวสารของตนเอง/หาประโยชน์ใส่ตนเอง ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ที่เหลือร้อยละ 20.8 ระบุไม่มี
ความคิดเห็น
ด้านความสนใจของกลุ่มตัวอย่างที่จะชมรายการทางช่อง PTV (หากมีการออกอากาศ) พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุสนใจที่จะชม ร้อยละ
30.1 ระบุไม่สนใจ และร้อยละ 26.6 ระบุไม่แน่ใจ/ไม่มีความคิดเห็น
5. อยากพัฒนา “โทรทัศน์” ให้เสนอข่าวสารตรงไปตรงมา
สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์สังคมใน 3 อันดับแรกนั้น พบว่า ร้อยละ 20.7 ระบุควร
เสนอข่าวแบบตรงไปตรงมา มีความโปร่งใส ไม่ปิดกั้นความรู้ข่าวสารของประชาชน เสนอข่าวตามความเป็นจริงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ
19.4 ระบุควรเน้นเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อเด็ก/เยาวชน และร้อยละ 14.3 ระบุอยากให้มีรายการดี ๆ มีสาระมากขึ้น ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นกรณีทีไอทีวี — พีทีวี :
กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - 2 เมษายน
2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18-60 ปีในเขตหัวเมือง 9 จังหวัดคือกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี
สมุทรปราการ นครราชสีมา อุดรธานี สงขลา และสุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,258 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นชาย
สำหรับระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 28.5 ระบุมีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 25.0 ไม่ระบุ
ร้อยละ 22.2 ระบุรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 9.0 ระบุมีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 8.9 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
ร้อยละ 6.4 ระบุมีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวกรณี “รัฐบาลยึดความถี่ของสถานี
โทรทัศน์ทีไอทีวี(ไอทีวี) กลับคืน”
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าว 72.5
2 ไม่ได้ติดตามข่าว 27.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงาน ค่าร้อยละ
1 พึงพอใจ 68.3
2 ไม่พึงพอใจ 11.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นภายหลังจากที่รัฐบาลยึดสถานีโทรทัศน์
ทีไอทีวีมาแล้ว “ควรให้ทีมงานไอทีวีชุดเดิมทำงานต่อหรือควรเปลี่ยนทีมงานชุดใหม่”
(เฉพาะคนที่ติดตามข่าวนี้)
ลำดับที่ การเปลี่ยนทีมงานไอทีวี ค่าร้อยละ
1 ให้ทีมงานเดิมทำต่อ 67.8
2 เปลี่ยนทีมงานใหม่ 9.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเป็นห่วงว่าสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีมีโอกาสที่จะถูก
ครอบครองโดยกลุ่มผู้มีอำนาจบางกลุ่ม
ลำดับที่ ความรู้สึก ค่าร้อยละ
1 เป็นห่วง 58.8
2 ไม่น่าเป็นห่วง 15.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นหากรัฐบาลจะปฏิรูปสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวีให้เป็น
“สถานีโทรทัศน์สาธารณะ (อิสระ)”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 49.5
2 ไม่เห็นด้วย 11.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 39.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเหมาะสมหากจะให้หน่วยงานต่าง ๆ มาบริหาร จัดการสถานีโทรทัศน์
ทีไอทีวีในระยะยาวต่อไป
หน่วยงานต่าง ๆ ความคิดเห็น
เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความคิดเห็น
1) องค์กรภาคประชาชน 46.2 14.6 39.2
2) องค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่ 36.4 20.9 42.7
3) บริษัทธุรกิจเอกชน 33.2 28.3 38.5
4) หน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่ราชการ (เช่น องค์การมหาชน) 32.0 26.7 41.3
5) สถานี อ.ส.ม.ท. (ช่อง 9) 27.3 29.2 43.5
6) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 24.2 30.3 45.5
7) สำนักนายกรัฐมนตรี 22.6 37.2 40.2
8) รัฐสภา 18.0 35.8 46.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหากจะเปิดโอกาสให้มี “สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี” เพิ่มขึ้น
(คล้ายกับช่อง 3, 5, 7, 9, 11 หรือทีไอทีวี)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.8
2 ไม่เห็นด้วย 10.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวที่คนของพรรคไทยรักไทยเคลื่อนไหว
ที่จะเผยแพร่รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทางสานี PTV
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 35.7
2 ไม่ติดตาม 64.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนให้มีการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ PTV
(เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนให้มีการออกอากาศ 41.0
2 ไม่สนับสนุน 38.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจที่จะชมรายการทางช่อง PTV หากมีการออกอากาศ
(เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ติดตามข่าวนี้)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สนใจที่จะชม 43.2
2 ไม่สนใจ 30.1
3 ไม่แน่ใจ/ไม่มีความคิดเห็น 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ให้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์สังคม
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 เสนอข่าวแบบตรงไปตรงมา/โปร่งใส/ไม่ปิดกั้นความรู้ข่าวสารของประชาชน/เสนอตามความเป็นจริง 20.7
2 ควรเน้นเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน 19.4
3 อยากให้มีรายการดีๆ มีสาระมากขึ้น 14.3
4 อยากให้เสนอข่าวแบบเป็นกลางและยุติธรรม 8.9
5 อยากให้เสนอข่าวที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ชาติมั่นคง 8.7
6 ควรเป็นสถานีที่มีความเป็นอิสระจากหลายๆ ฝ่าย 6.0
7 ควรเพิ่มเนื้อหาทางวิชาการมากขึ้น 3.1
8 ลดละครให้น้อยลง 3.1
9 สถานีโทรทัศน์ไม่ควรแสวงหาผลประโยชน์มากเกินไป 2.9
10 ควรมีรายการสารคดีให้มากขึ้น เช่น สัตว์ ป่า น้ำตก เป็นต้น 2.6
11 ให้มีโทรทัศน์หลายช่องแบบประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อความหลากหลายในการเลือกชม 2.1
12 ควรตรวจสอบการถ่ายทอดเรื่องลามก คำหยาบ 1.9
13 ช่วยเหลือคนจนที่ด้อยโอกาส 1.9
14 ไม่ควรนำบุคคลที่ทำให้สังคมแตกแยกมาจัดทำรายการใดๆ ทั้งสิ้น 1.9
15 อื่น ๆ เช่น ควรมีการเผยแพร่กฏหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ที่ประชาชนควรรับรู้รับทราบ-
ส่งเสริมรายการด้านครอบครัว 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-