ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คนไทยและชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อการเปลี่ยน
แปลงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน” โดยสำรวจจากคนไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,750 คน ระหว่างวันที่ 13 — 16
มิถุนายน 2550 และชาวต่างชาติจำนวน 558 คน ระหว่างวันที่ 11 — 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา
สำหรับผลสำรวจในกลุ่มคนไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ
ครั้ง
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 46.3 ระบุ พล.อ.สนธิ บุญยรัต
กลิน รองลงมา คือ ร้อยละ 24.8 ระบุเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 20.5 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 16.0 ระบุ พล.อ.สุ
รยุทธ์ จุลานนท์ และ ร้อยละ 9.7 ระบุอื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงกลุ่มบุคคลนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 26.2 ระบุเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
ชาติ หรือ คมช. ร้อยละ 16.7 ระบุ ทหารหรือกองทัพ ร้อยละ 13.6 ระบุ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 9.6 ระบุผู้นำม็อบ/ ประชาชนที่
ก่อม็อบ PTV ร้อยละ 9.3 ระบุชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 7.5 ระบุ กลุ่ม ส.ส. /กลุ่มนักการเมือง ร้อยละ 6.8 ระบุรัฐบาล และ ร้อยละ
10.9 ระบุอื่นๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์/กลุ่มประชาธิปไตย และม็อบต่อต้านทักษิณ เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงตัวบุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 46.3 ระบุ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รอง
ลงมาคือร้อยละ 26.7 ระบุ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ร้อยละ 15.9 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 7.4 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 5.1 ระบุ นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 7.8 ระบุอื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มบุคคลนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเชิงคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 27.5 ระบุเป็นชาวบ้าน และประชาชนทั่ว
ไป รองลงมาคือร้อยละ 24.4 ระบุเป็นพระสงฆ์/ศาสนา ร้อยละ 22.3 ระบุเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ร้อยละ 20.3 ระบุเป็น
รัฐบาล ร้อยละ 5.1 ระบุ กลุ่มผู้สนับสนุน พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 4.4 ระบุนักวิชาการ/ ครูอาจารย์ และร้อยละ 8.3 ระบุอื่นๆ อาทิ กลุ่ม ส.ส.
นักการเมือง และ คตส. เป็นต้น
ประเด็นสำคัญคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.6 อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นภายในไม่เกิน 3 เดือนนี้ ร้อยละ
31.6 อยากให้มีการเลือกตั้งภายใน 3 — 6 เดือน และร้อยละ 19.8 อยากให้มีการเลือกตั้งหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในทรรศนะของประชาชน พบว่า ร้อยละ 41.7 ระบุ ร.ต.อ.ปุระชัย
เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือร้อยละ 37.7 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 34.6 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 31.0 ระบุนายศุภชัย พา
นิชภักดิ์ ร้อยละ 28.1 ระบุ นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 17.5 ระบุอื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ดร.นพดล กล่าวว่า ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยังได้สำรวจความคิดเห็นของชาวต่างชาติ ต่อการเปลี่ยน
แปลงทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการที่สำรวจพบ คือ
ชาวต่างชาติที่ถูกศึกษาในครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 รับรู้สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน ในขณะที่เพียงร้อยละ 14.6 ไม่รับรู้
เลย ผลสำรวจพบด้วยว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 เห็นด้วยต่อข้อความที่ว่า รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ชาวต่างชาติประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า การขับไล่ คมช. จะนำไปสู่ความ
รุนแรงต่อไปในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 25.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น ส่วนความคิดเห็นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของ
ประเทศไทยหลังการเลือกตั้งใหม่ พบว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ ในขณะที่ร้อยละ 12.9 ไม่คิดว่าจะทำให้มี
เสถียรภาพ และร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 เห็นว่า การจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
สถานการณ์การเมืองไทยได้ดีที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 12.1 ไม่คิดว่าเหมาะสม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 คิดว่า คนไทยจะมีความรักความสามัคคีกัน
ในปีนี้ เพราะ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / เพราะคิดว่าคนไทยรักความสงบ เพราะคิดว่า
ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งความสุข และเพราะคิดว่าประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาในจิตใจของคนไทย เป็นต้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 18.1 คิดว่าคน
ไทยคงไม่มีความรักความสามัคคีกัน เพราะมีแต่เหตุการณ์ที่วุ่นวายหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการเมือง ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่น่าพึงพอใจสำหรับคนไทยคือ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ระบุว่ามีความตั้งใจจะกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก ในขณะ
ที่ร้อยละ 4.3 เท่านั้นที่ไม่คิดว่าจะกลับมาเมืองไทยอีก ยิ่งไปกว่านั้น ชาวต่างชาติเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.3 ระบุถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมา
เป็นคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 56.1 ระบุไม่อยาก เพราะพอใจกับเชื้อชาติของตน เพราะสถานการณ์การเมืองไทยและเศรษฐกิจไทยไม่ดี เพราะสังคม
ไทยยุ่งยากซับซ้อนเข้าใจยาก และเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนเกินไป เป็นต้น และพบด้วยว่าชาวต่างชาติร้อยละ 13.6 ระบุขอคิดดู
ก่อนเพราะยังไม่แน่ใจว่าถ้าเลือกเกิดใหม่ได้จะเลือกเกิดเป็นคนไทยหรือไม่
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับคนไทยแล้ว บุคคลนัยสำคัญต่อการเมืองไทยขณะนี้คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ถ้ากล่าวถึงบุคคลนัยสำคัญต่อสังคมคุณธรรมของประเทศขณะนี้คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์และ พล.อ.สนธิ บุญยรัต
กลิน ในขณะที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และประชาชนทั่วไปคือกลุ่มบุคคลที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการ
เมืองไทยในช่วงเวลานี้ โดยประชาชนคนไทยอยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเพื่อเป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และ ร.ต.อ.ปุระ
ชัย เปี่ยมสมบูรณ์ กำลังถูกมองว่าเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ภายใต้ข้อจำกัดของตัวเลือกทางการเมืองภายหลังคณะตุลาการรัฐ
ธรรมนูญตัดสิทธิทางการเมือง 111 แกนนำพรรคไทยรักไทย
ในขณะที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นทางออกที่ดีที่สุดเช่นกัน และหวังว่าคนไทยจะรักและสามัคคีกันในปีนี้เพราะรู้
ว่าปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคิดว่าคนไทยรักความสงบ โดยส่วนใหญ่อยากกลับมา
เมืองไทยอีก และเกือบ 1 ใน 3 ระบุถ้าเลือกเกิดใหม่ได้อยากเกิดมาเป็นคนไทย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ พวกเราคนไทยน่าจะลดอคติที่มีต่อกัน เพราะอคติเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อ
กันในหมู่คนไทยเหลือน้อยลงไป พวกเราน่าจะนึกถึงวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีน้ำใจเกื้อกูลกัน เอื้ออาทรต่อกัน เพราะความดีงามเหล่านี้เป็นภาพลักษณ์
ที่ทำให้ประเทศไทยโดดเด่นในสังคมประเทศทั่วโลกและครอบครองใจชาวต่างชาติที่ได้มีโอกาสมาสัมผัสสังคมไทย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ของประเทศในขณะนี้อยู่ในมือของคนไทยทุกคนที่จะหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีและช่วยกันนำพาประเทศชาติให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,750 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ
95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 ในขณะที่ตัวอย่างชาวต่างชาติที่ทำการสำรวจมีจำนวนทั้งสิ้น
558 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจ
สอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ50.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 31.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 31.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 28.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 27.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.2 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.0 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างชาวต่างชาติ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.7 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 42.3 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 63.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 6.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 4.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 44.6 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 26.8 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 37.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 21.9 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.9 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 ระบุว่างงาน
ร้อยละ 3.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 0.8 ระบุอาชีพเกษตรกรรม
ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 68.2 ระบุเป็นชาวยุโรป
ร้อยละ 10.5 ระบุเป็นชาวอเมริกัน
ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นชาวเอเซีย
และร้อยละ 12.1 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.8
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.2
5 ไม่ได้ติดตาม 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 46.3
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 24.8
3 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 20.5
4 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 16.0
5 อื่นๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร 9.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. 26.2
2 ทหาร / กองทัพ 16.7
3 กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย 13.6
4 ผู้นำม็อบ / ประชาชนที่ก่อม็อบ PTV 9.6
5 ชาวบ้าน / ประชาชนทั่วไป 9.3
6 กลุ่ม สส./ นักการเมือง 7.5
7 รัฐบาล 6.8
8 อื่นๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์/ กลุ่มประชาธิปไตย / ม็อบต่อต้านทักษิณ 10.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 46.3
2 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 26.7
3 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 15.9
5 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 7.4
6 นายชวน หลีกภัย 5.1
7 อื่นๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / นายอานันท์ ปันยารชุน 7.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ชาวบ้าน / ประชาชนทั่วไป 27.5
2 พระสงฆ์ / ศาสนา 24.4
3 คมช. 22.3
4 รัฐบาล 20.3
7 กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย 5.1
8 นักวิชาการ / ครู-อาจารย์ 4.4
9 อื่นๆ อาทิ กลุ่ม สส./ นักการเมือง/ คตส. 8.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาที่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ระยะเวลา ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือน 48.6
2 ภายใน 3 — 6 เดือน 31.6
3 เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (เฉพาะบุคคลที่ไม่ถูกคณะ
ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมือง และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ค่าร้อยละ
1 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 41.7
2 นายอานันท์ ปันยารชุน 37.7
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 34.6
4 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 31.0
5 นายชวน หลีกภัย 28.1
6 อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 17.5
ผลสำรวจชาวต่างชาติ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รับรู้ 85.4
2 ไม่รับรู้เลย 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อความที่ว่า “รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 59.3
2 ไม่เห็นด้วย 7.4
3 ไม่มีความเห็น 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อความที่ว่า “การขับไล่ คมช. จะนำไปสู่ความรุนแรง
ต่อไปในประเทศไทย”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 49.0
2 ไม่เห็นด้วย 25.6
3 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า “ถ้ามีการเลือกตั้งครั้งใหม่ จะทำให้สถานการณ์
การเมืองไทยมีเสถียรภาพหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ 67.9
2 ไม่คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ 12.9
3 ไม่มีความเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า “การจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ เป็นวิธีที่เหมาะสมในการ
แก้ปัญหาสถานการณ์การเมืองไทยได้ดีที่สุด”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 87.9
2 ไม่เหมาะสม 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า “คนไทยจะมีความรักสามัคคีกันในปีนี้”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คนไทยจะมีความรักสามัคคี เพราะ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ /คนไทยรักความสงบ / ประเทศไทยเป็นประเทศ
แห่งความสุข / มีศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นต้น 81.9
2 จะไม่มีความรักสามัคคี เพราะ มีเหตุการณ์ที่วุ่ยวายหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการเมือง
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปัญหาคอรัปชั่น เป็นต้น 18.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยอีก
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะกลับมาเที่ยวอีก 95.7
2 ไม่คิดว่าจะกลับมาอีก 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า “ถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมาเป็นคนไทยหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 อยากเกิดมาเป็นคนไทย 30.3
2 ไม่อยาก เพราะ พอใจกับเชื้อชาติของตน เพราะสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไม่ดี
เพราะสังคมไทยยุ่งยากซับซ้อน เข้าใจยาก และเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนเกินไป เป็นต้น 56.1
3 ขอคิดดูก่อนเพราะยังไม่แน่ใจ 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คนไทยและชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อการเปลี่ยน
แปลงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน” โดยสำรวจจากคนไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,750 คน ระหว่างวันที่ 13 — 16
มิถุนายน 2550 และชาวต่างชาติจำนวน 558 คน ระหว่างวันที่ 11 — 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา
สำหรับผลสำรวจในกลุ่มคนไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ
ครั้ง
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 46.3 ระบุ พล.อ.สนธิ บุญยรัต
กลิน รองลงมา คือ ร้อยละ 24.8 ระบุเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 20.5 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 16.0 ระบุ พล.อ.สุ
รยุทธ์ จุลานนท์ และ ร้อยละ 9.7 ระบุอื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามถึงกลุ่มบุคคลนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 26.2 ระบุเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
ชาติ หรือ คมช. ร้อยละ 16.7 ระบุ ทหารหรือกองทัพ ร้อยละ 13.6 ระบุ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 9.6 ระบุผู้นำม็อบ/ ประชาชนที่
ก่อม็อบ PTV ร้อยละ 9.3 ระบุชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 7.5 ระบุ กลุ่ม ส.ส. /กลุ่มนักการเมือง ร้อยละ 6.8 ระบุรัฐบาล และ ร้อยละ
10.9 ระบุอื่นๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์/กลุ่มประชาธิปไตย และม็อบต่อต้านทักษิณ เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงตัวบุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 46.3 ระบุ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รอง
ลงมาคือร้อยละ 26.7 ระบุ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ร้อยละ 15.9 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 7.4 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 5.1 ระบุ นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 7.8 ระบุอื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มบุคคลนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเชิงคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 27.5 ระบุเป็นชาวบ้าน และประชาชนทั่ว
ไป รองลงมาคือร้อยละ 24.4 ระบุเป็นพระสงฆ์/ศาสนา ร้อยละ 22.3 ระบุเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ร้อยละ 20.3 ระบุเป็น
รัฐบาล ร้อยละ 5.1 ระบุ กลุ่มผู้สนับสนุน พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 4.4 ระบุนักวิชาการ/ ครูอาจารย์ และร้อยละ 8.3 ระบุอื่นๆ อาทิ กลุ่ม ส.ส.
นักการเมือง และ คตส. เป็นต้น
ประเด็นสำคัญคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.6 อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นภายในไม่เกิน 3 เดือนนี้ ร้อยละ
31.6 อยากให้มีการเลือกตั้งภายใน 3 — 6 เดือน และร้อยละ 19.8 อยากให้มีการเลือกตั้งหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในทรรศนะของประชาชน พบว่า ร้อยละ 41.7 ระบุ ร.ต.อ.ปุระชัย
เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือร้อยละ 37.7 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 34.6 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 31.0 ระบุนายศุภชัย พา
นิชภักดิ์ ร้อยละ 28.1 ระบุ นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 17.5 ระบุอื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ดร.นพดล กล่าวว่า ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยังได้สำรวจความคิดเห็นของชาวต่างชาติ ต่อการเปลี่ยน
แปลงทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการที่สำรวจพบ คือ
ชาวต่างชาติที่ถูกศึกษาในครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 รับรู้สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน ในขณะที่เพียงร้อยละ 14.6 ไม่รับรู้
เลย ผลสำรวจพบด้วยว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 เห็นด้วยต่อข้อความที่ว่า รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ชาวต่างชาติประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า การขับไล่ คมช. จะนำไปสู่ความ
รุนแรงต่อไปในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 25.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น ส่วนความคิดเห็นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของ
ประเทศไทยหลังการเลือกตั้งใหม่ พบว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ ในขณะที่ร้อยละ 12.9 ไม่คิดว่าจะทำให้มี
เสถียรภาพ และร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 เห็นว่า การจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
สถานการณ์การเมืองไทยได้ดีที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 12.1 ไม่คิดว่าเหมาะสม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 คิดว่า คนไทยจะมีความรักความสามัคคีกัน
ในปีนี้ เพราะ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / เพราะคิดว่าคนไทยรักความสงบ เพราะคิดว่า
ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งความสุข และเพราะคิดว่าประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาในจิตใจของคนไทย เป็นต้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 18.1 คิดว่าคน
ไทยคงไม่มีความรักความสามัคคีกัน เพราะมีแต่เหตุการณ์ที่วุ่นวายหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการเมือง ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่น่าพึงพอใจสำหรับคนไทยคือ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ระบุว่ามีความตั้งใจจะกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก ในขณะ
ที่ร้อยละ 4.3 เท่านั้นที่ไม่คิดว่าจะกลับมาเมืองไทยอีก ยิ่งไปกว่านั้น ชาวต่างชาติเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.3 ระบุถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมา
เป็นคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 56.1 ระบุไม่อยาก เพราะพอใจกับเชื้อชาติของตน เพราะสถานการณ์การเมืองไทยและเศรษฐกิจไทยไม่ดี เพราะสังคม
ไทยยุ่งยากซับซ้อนเข้าใจยาก และเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนเกินไป เป็นต้น และพบด้วยว่าชาวต่างชาติร้อยละ 13.6 ระบุขอคิดดู
ก่อนเพราะยังไม่แน่ใจว่าถ้าเลือกเกิดใหม่ได้จะเลือกเกิดเป็นคนไทยหรือไม่
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับคนไทยแล้ว บุคคลนัยสำคัญต่อการเมืองไทยขณะนี้คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ถ้ากล่าวถึงบุคคลนัยสำคัญต่อสังคมคุณธรรมของประเทศขณะนี้คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์และ พล.อ.สนธิ บุญยรัต
กลิน ในขณะที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และประชาชนทั่วไปคือกลุ่มบุคคลที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการ
เมืองไทยในช่วงเวลานี้ โดยประชาชนคนไทยอยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเพื่อเป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และ ร.ต.อ.ปุระ
ชัย เปี่ยมสมบูรณ์ กำลังถูกมองว่าเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ภายใต้ข้อจำกัดของตัวเลือกทางการเมืองภายหลังคณะตุลาการรัฐ
ธรรมนูญตัดสิทธิทางการเมือง 111 แกนนำพรรคไทยรักไทย
ในขณะที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นทางออกที่ดีที่สุดเช่นกัน และหวังว่าคนไทยจะรักและสามัคคีกันในปีนี้เพราะรู้
ว่าปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคิดว่าคนไทยรักความสงบ โดยส่วนใหญ่อยากกลับมา
เมืองไทยอีก และเกือบ 1 ใน 3 ระบุถ้าเลือกเกิดใหม่ได้อยากเกิดมาเป็นคนไทย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ พวกเราคนไทยน่าจะลดอคติที่มีต่อกัน เพราะอคติเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อ
กันในหมู่คนไทยเหลือน้อยลงไป พวกเราน่าจะนึกถึงวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีน้ำใจเกื้อกูลกัน เอื้ออาทรต่อกัน เพราะความดีงามเหล่านี้เป็นภาพลักษณ์
ที่ทำให้ประเทศไทยโดดเด่นในสังคมประเทศทั่วโลกและครอบครองใจชาวต่างชาติที่ได้มีโอกาสมาสัมผัสสังคมไทย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ของประเทศในขณะนี้อยู่ในมือของคนไทยทุกคนที่จะหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีและช่วยกันนำพาประเทศชาติให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,750 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ
95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 ในขณะที่ตัวอย่างชาวต่างชาติที่ทำการสำรวจมีจำนวนทั้งสิ้น
558 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจ
สอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ50.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 31.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 31.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 28.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 27.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.2 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.0 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างชาวต่างชาติ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.7 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 42.3 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 63.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 6.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 4.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 44.6 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 26.8 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 37.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 21.9 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.9 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 ระบุว่างงาน
ร้อยละ 3.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 0.8 ระบุอาชีพเกษตรกรรม
ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 68.2 ระบุเป็นชาวยุโรป
ร้อยละ 10.5 ระบุเป็นชาวอเมริกัน
ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นชาวเอเซีย
และร้อยละ 12.1 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.8
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.2
5 ไม่ได้ติดตาม 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 46.3
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 24.8
3 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 20.5
4 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 16.0
5 อื่นๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร 9.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. 26.2
2 ทหาร / กองทัพ 16.7
3 กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย 13.6
4 ผู้นำม็อบ / ประชาชนที่ก่อม็อบ PTV 9.6
5 ชาวบ้าน / ประชาชนทั่วไป 9.3
6 กลุ่ม สส./ นักการเมือง 7.5
7 รัฐบาล 6.8
8 อื่นๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์/ กลุ่มประชาธิปไตย / ม็อบต่อต้านทักษิณ 10.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 46.3
2 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน 26.7
3 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 15.9
5 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 7.4
6 นายชวน หลีกภัย 5.1
7 อื่นๆ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / นายอานันท์ ปันยารชุน 7.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรมให้ดีขึ้นในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ชาวบ้าน / ประชาชนทั่วไป 27.5
2 พระสงฆ์ / ศาสนา 24.4
3 คมช. 22.3
4 รัฐบาล 20.3
7 กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย 5.1
8 นักวิชาการ / ครู-อาจารย์ 4.4
9 อื่นๆ อาทิ กลุ่ม สส./ นักการเมือง/ คตส. 8.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาที่อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ระยะเวลา ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือน 48.6
2 ภายใน 3 — 6 เดือน 31.6
3 เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (เฉพาะบุคคลที่ไม่ถูกคณะ
ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมือง และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ค่าร้อยละ
1 ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 41.7
2 นายอานันท์ ปันยารชุน 37.7
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 34.6
4 นายศุภชัย พานิชภักดิ์ 31.0
5 นายชวน หลีกภัย 28.1
6 อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 17.5
ผลสำรวจชาวต่างชาติ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รับรู้ 85.4
2 ไม่รับรู้เลย 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อความที่ว่า “รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 59.3
2 ไม่เห็นด้วย 7.4
3 ไม่มีความเห็น 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อความที่ว่า “การขับไล่ คมช. จะนำไปสู่ความรุนแรง
ต่อไปในประเทศไทย”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 49.0
2 ไม่เห็นด้วย 25.6
3 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า “ถ้ามีการเลือกตั้งครั้งใหม่ จะทำให้สถานการณ์
การเมืองไทยมีเสถียรภาพหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ 67.9
2 ไม่คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ 12.9
3 ไม่มีความเห็น 19.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า “การจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ เป็นวิธีที่เหมาะสมในการ
แก้ปัญหาสถานการณ์การเมืองไทยได้ดีที่สุด”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 87.9
2 ไม่เหมาะสม 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า “คนไทยจะมีความรักสามัคคีกันในปีนี้”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คนไทยจะมีความรักสามัคคี เพราะ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ /คนไทยรักความสงบ / ประเทศไทยเป็นประเทศ
แห่งความสุข / มีศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นต้น 81.9
2 จะไม่มีความรักสามัคคี เพราะ มีเหตุการณ์ที่วุ่ยวายหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการเมือง
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปัญหาคอรัปชั่น เป็นต้น 18.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยอีก
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะกลับมาเที่ยวอีก 95.7
2 ไม่คิดว่าจะกลับมาอีก 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า “ถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมาเป็นคนไทยหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 อยากเกิดมาเป็นคนไทย 30.3
2 ไม่อยาก เพราะ พอใจกับเชื้อชาติของตน เพราะสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไม่ดี
เพราะสังคมไทยยุ่งยากซับซ้อน เข้าใจยาก และเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนเกินไป เป็นต้น 56.1
3 ขอคิดดูก่อนเพราะยังไม่แน่ใจ 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-