ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อเหตุการณ์
บ้านเมือง:กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใน 24 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 4,135 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 10-23 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พบว่า ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อเรื่องที่ทำให้ปลื้มใจมากที่สุด พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 69.8 ระบุงานเฉลิมฉลองสิริราชย์
สมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60 ปี อันดับสองคือร้อยละ 16.0 ระบุเรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติ อันดับสามหรือร้อยละ
5.5 ระบุการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันดับสี่หรือร้อยละ 3.4 ระบุเป็นเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่ อันดับห้าหรือร้อยละ 3.0 ระบุเรื่อง
การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น และร้อยละ2.3 ระบุเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ /ข่าวการยุบพรรคการเมือง เป็นต้น
เมื่อถามถึงเรื่องที่ทำให้ประชาชนเหนื่อยหน่ายใจมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ระบุเรื่อง การชุมนุมประท้วงและความขัด
แย้งทางการเมือง อันดับสองคือร้อยละ 31.0 ระบุเรื่องปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับสามหรือร้อยละ 4.9 ระบุปัญหา
เศรษฐกิจ อันดับสี่หรือร้อยละ 1.8 ระบุข่าวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และร้อยละ 2.9 ระบุอื่นๆ อาทิปัญหาทุจริตคอรัปชั่น/ความเชื่องช้าของ
รัฐบาลในการแก้ปัญหา และข่าวปฏิวัติ เป็นต้น
ส่วนเรื่องที่ทำให้ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุด พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 36.1 ระบุเป็นเรื่องปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ อันดับสองหรือร้อยละ 35.1 ระบุเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล/ สถานการณ์การเมืองและม็อบต่างๆ อันดับสามหรือร้อยละ 13.4 ระบุปัญหาเศรษฐกิจที่
ย่ำแย่ อันดับสี่หรือร้อยละ 4.3 ระบุการปฏิวัติใหม่/ปฏิวัติซ้อน อันดับห้าหรือร้อยละ 3.0 ระบุปัญหาอาชญากรรมและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สิน อันดับหกหรือร้อยละ 2.7 ระบุเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมวางมือทางการเมือง และร้อยละ 5.4 ระบุอื่นๆ เช่น การทุจริตคอรัปชั่น การ
ประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น
ส่วนข่าวที่ทำให้ประชาชนมีความหวังมากที่สุด พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 40.8 ระบุการเลือกตั้งใหม่ อันดับสองคือร้อยละ 14.5 เป็น
เรื่องความสงบสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รองๆ ลงไปคือร้อยละ 10.0 ระบุหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ร้อยละ 6.0 ระบุความรักความสามัคคีของ
คนในชาติ ร้อยละ 4.9 ระบุการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร้อยละ 4.1 ระบุการกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ร้อยละ 2.8 ระบุการยึดทรัพย์ของครอบ
ครัวอดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.6 ระบุความมีศีลธรรมจริยธรรมของผู้นำประเทศ และร้อยละ 14.3 ระบุอื่นๆ อาทิ การปฏิวัติทางการเมือง/ การ
ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น / การขึ้นเงินเดือน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของทุกภูมิภาคในประเทศ ไม่เลือกอยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือ
เป็นพลังเงียบ โดยเมื่อพิจารณาในภาพรวมนั้นพบว่ามีกลุ่มพลังเงียบคิดเป็นร้อยละ 79.8 ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ระบุเป็นฝ่ายรัฐบาล และเพียงร้อย
ละ 6.6 เท่านั้นที่เป็นฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล และเมื่อสอบถามว่า ผิดหวังหรือไม่ต่อเหตุการณ์บ้านเมืองหลังการยึดอำนาจจนถึงปัจจุบัน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 รู้สึกผิดหวัง แม้แต่กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลครึ่งหนึ่งก็ผิดหวังเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมขับไล่รัฐบาลขณะนี้ แม้แต่ในกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่ก็
ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.5 เห็นด้วย และร้อยละ 13.3 ไม่มีความเห็น สำหรับเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการ
ชุมนุม พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 96.4 ไม่ต้องการทำให้ในหลวงไม่สบายพระทัย รองลงมาคือร้อยละ 95.6 อยากให้คนไทยรักสามัคคีกัน ร้อยละ
94.0 กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ร้อยละ 93.7 อยากเห็นประเทศชาติสงบสุข ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายมากกว่านี้ ร้อยละ 92.7 ไม่อยากเห็นคน
ไทยทำร้ายกันเอง ร้อยละ 89.8 เห็นว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 88.2 อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว และร้อย
ละ 62.5 เห็นว่ารัฐบาลยังมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.0 คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะสามารถช่วยกันนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตการ
เมืองไปได้โดยใช้วิธีเจรจาด้วยสันติวิธี สมานฉันท์ มีความรักความสามัคคี และความมีน้ำใจต่อกัน ให้อภัยกัน มาร่วมกันแก้ปัญหา เป็นต้น ในขณะที่ร้อย
ละ 28.0 คิดว่าไม่สามารถผ่านพ้นไปได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุควรตำหนิการชุมนุมประท้วงเพราะทำให้เกิดความวุ่นวาย แตกแยก ควรให้โอกาสรัฐบาล
ได้ทำงานก่อน และเห็นว่าการชุมนุมทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 33.7 ระบุไม่ควรตำหนิ เพราะ เป็นสิทธิที่กระทำ
ได้ เป็นวิถีทางประชาธิปไตย และรัฐบาลไม่มีผลงาน เป็นต้น
สำหรับเรื่องที่อยากให้รัฐบาลปรับปรุง อันดับแรกหรือร้อยละ 29.9 ระบุ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ สำเร็จโดยเร็ว ร้อยละ 21.4
ระบุการแก้ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 13.3 ระบุการจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว ร้อยละ 6.9 ระบุทำงานด้วยความรวดเร็ว ร้อย
ละ 4.4 ระบุเร่งแก้ปัญหาความยากจน ร้อยละ 4.1 ระบุเร่งแก้ปัญหาด้านการศึกษา และร้อยละ 3.7 ระบุเร่งแก้ปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นเช่นนี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 70.5 ไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่
มั่นใจว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมากหรือร้อย
ละ 26.7 ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะได้ผลแม้มีปัญหาการเมืองขณะนี้
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนประมาณครึ่งหรือร้อยละ 49.3 คาดหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข คนไทยรักสามัคคีกัน มีความสมานฉันท์กันก่อนสิ้น
ปีนี้ ร้อยละ 31.6 คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ร้อยละ 29.2 คาดหวังว่า ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดจะคลี่คลาย ร้อยละ 24.0 คาดหวังว่าจะ
มีการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 11.0 คาดหวังว่าจะได้รัฐบาลที่ดี และเพียงร้อยละ 8.7 คาดหวังว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพก่อนสิ้นปีนี้
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 ระบุสิ่งที่จะช่วยทำให้ ประเทศไทยดีขึ้นได้คือ การทำความดีเพื่อถวายแด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รองลงมาคือร้อยละ 28.8 ระบุการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นโดยเร็วและมีประชาธิปไตยแท้จริง ร้อยละ 11.9 ระบุการเร่ง
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.8 ระบุการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 7.3 ระบุความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ยอมรับการทุจริต
คอรัปชั่นของคนไทย และร้อยละ 5.9 ระบุอื่นๆ เช่น การเร่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การให้ทักษิณเว้นวรรคทางการเมืองอย่างแท้จริง และความจริง
ใจของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาของชาติบ้านเมือง เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนส่วนใหญ่ขณะนี้ พอจะมีความหวังว่าประเทศไทยจะผ่านพ้นวิกฤตการเมืองไป
ได้ เพราะมีปัจจัยสำคัญหลายประการดังนี้
1. คนไทยมีลักษณะเฉพาะที่คนต่างชาติในหลายประเทศไม่มี คือ คนไทยมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องการทำสิ่งที่ทำ
ให้พระองค์ท่านไม่สบายพระทัย คนไทยรักสามัคคีกัน และรักสงบ
2. รัฐบาลชุดปัจจุบันยังได้รับความเชื่อถือจากประชาชนด้านความซื่อสัตย์สุจริต ถ้าไม่มีตัวนี้ ความวุ่นวายจะรุนแรงมากกว่านี้ นอกจากนี้
ประชาชนเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นแล้วว่า รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างไรบ้าง และประเทศชาติจะเสียหายอย่างไร
3. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาล ระบุชัดเจนจะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วและไม่สืบทอดอำนาจ ทำให้อารมณ์ที่ร้อนแรงและ
อึดอัดรอการระเบิดออกมาของสาธารชณคลี่คลายไปได้มาก
อย่างไรก็ตาม ดร.นพดล ระบุว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายจากวิกฤตการเมืองของประเทศอย่างน้อยสองประการคือ ท่าที
ทางการเมืองของรัฐบาลและ คมช. ในเรื่องละเอียดอ่อนทางการเมือง และนิสัยของคนไทยที่ทำอะไรตามความรู้สึกก่อน ส่วนเหตุผลค่อยมาว่ากันทีหลัง
ทางออกคือ รัฐบาลและ คมช. ควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ “ทำมากกว่าพูด” โดยเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่าพูดใน
เรื่องละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกทางการเมืองของประชาชน และเร่งปูทางจัดระบบธรรมาภิบาลสำหรับการเมืองใหม่ในอนาคต ส่วนลักษณะนิสัยของคน
ไทยที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกเหนือเหตุผล ทางออกคือ การให้การศึกษา และใช้สื่อมวลชนช่วยขัดเกลาทางสังคมให้คนไทยมีสติสัมปะชัญญะมากขึ้น คิดและทำ
อย่างมีเหตุผล มากกว่าใช้อารมณ์ความชอบไม่ชอบตัดสินใจแก้วิกฤตของประเทศชาติ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์บ้านเมือง ในช่วงครึ่งปีแรก
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อเหตุการณ์บ้านเมือง: กรณีศึกษา
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 24 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 4,135 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-23
มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สระบุรี
เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี นครปฐม กาญจนบุรี นครศรี
ธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,585 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 49.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.5 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 9.1 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 22.1 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.3 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 30.1 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 2.5 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 54.5
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.8
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 16.5
5 ไม่ได้ติดตาม 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่ทำให้รู้สึกปลื้มใจมากที่สุด
ลำดับที่ เรื่องที่ทำให้รู้สึกปลื้มใจมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 งานฉลองสิริราชย์สมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 60 ปี 69.8
2 ข่าวเกี่ยวกับความรักความสามัคคีของคนในชาติ 16.0
3 การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 5.5
4 การเลือกตั้งครั้งใหม่ 3.4
5 ข่าวการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาล 3.0
6 อื่นๆ อาทิ การร่างรัฐธรรมนูญ /ข่าวการยุบพรรคการเมือง เป็นต้น 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายใจมากที่สุด
ลำดับที่ เรื่องที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่ายใจมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การชุมนุมประท้วงและความขัดแย้งทางการเมือง 59.4
2 ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 31.0
3 ปัญหาเศรษฐกิจ 4.9
4 ข่าวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 1.8
5 อื่น อาทิ ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น/ความเชื่องช้าของรัฐบาล
ในการแก้ไขปัญหา/ข่าวเกี่ยวกับการปฏิวัติ 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวลใจมากที่สุด
ลำดับที่ เรื่องที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวลใจมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 36.1
2 เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล/สถานการณ์การเมือง และม็อบต่างๆ 35.1
3 ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ 13.4
4 การปฏิวัติใหม่/ปฎิวัติซ้อน 4.3
5 ปัญหาอาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3.0
6 เรื่องเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไม่ยอมวางมือทางการเมือง 2.7
7 อื่นๆ อาทิ การทุจริตคอรัปชั่น/การประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่ทำให้รู้สึกมีความหวังมากที่สุด
ลำดับที่ เรื่องที่ทำให้รู้สึกมีความหวังมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 การเลือกตั้งครั้งใหม่ 40.8
2 ความสงบสุขใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 14.5
3 เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 10.0
4 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 6.0
5 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 4.9
6 การกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 4.1
7 การอายัดทรัพย์ของครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรี 2.8
8 ความมีศีลธรรม จริยธรรมของผู้นำประเทศ 2.6
9 อื่นๆ อาทิ มีการปฏิวัติทางการเมือง/ การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น/
การขึ้นเงินเดือน เป็นต้น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน
จุดยืนการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ค่าร้อยละ
1. สนับสนุนรัฐบาล 12.0 13.1 7.2 22.7 15.6 13.6
2. ไม่สนับสนุนรัฐบาล 5.6 3.7 9.9 3.8 4.3 6.6
3. ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) 82.4 83.2 82.9 73.5 80.1 79.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกผิดหวังกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่มี
การปฏิรูปการปกครองเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา
ลำดับที่ ความรู้สึกผิดหวังของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ภาพรวม
1 ผิดหวัง 49.6 86.2 72.5 69.8
2 ไม่ผิดหวัง 50.4 13.8 27.5 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชุมนุมขับไล่รัฐบาลในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ภาพรวม
1 เห็นด้วย 4.0 27.0 14.0 15.5
2 ไม่เห็นด้วย 84.2 63.2 72.6 71.2
3 ไม่มีความเห็น 11.8 9.8 13.4 13.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมขับไล่รัฐบาลในขณะนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ค่าร้อยละ
1 ไม่ต้องการทำให้ในหลวงไม่สบายพระทัย 96.4
2 อยากให้คนไทยมีความรักความสามัคคีกัน 95.6
3 กลัวเศรษฐกิจแย่ลงไปอีก 94.0
4 อยากเห็นประเทศชาติสงบสุข / ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายในประเทศชาติไปมากกว่านี้ 93.7
5 ไม่อยากเห็นคนไทยทำร้ายกันเอง 92.7
6 เห็นว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี 89.8
7 อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเร็วๆ 88.2
8 รัฐบาลมีความซื่อสัตย์สุจริต 62.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น กรณีประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะ
สามารถช่วยกันนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ จากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ภาพรวม
1 คิดว่าผ่านไปได้ โดยใช้วิธีเจรจาด้วยสันติ สมานฉันท์
มีความรักความสามัคคีกัน และความมีน้ำใจต่อกัน
ให้อภัยกัน มาร่วมกันแก้ปัญหา เป็นต้น 81.0 47.5 69.3 72.0
2 คิดว่าผ่านไปไม่ได้ 19.0 52.5 30.7 28.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการตำหนิกลุ่มคนที่กำลังขับไล่รัฐบาลและ คมช.
อยู่ในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ภาพรวม
1 ควรตำหนิ เพราะทำให้เกิดความวุ่นวาย แตกแยก ควรให้โอกาส
รัฐบาลได้ทำงานก่อน ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เป็นต้น 79.9 52.2 66.6 66.3
2 ไม่ควรตำหนิ เพราะ เป็นสิทธิที่กระทำได้ เป็นวิถีทางประชาธิปไตย
รัฐบาลไม่มีผลงาน เป็นต้น 20.1 47.8 33.4 33.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่อยากให้รัฐบาลปรับปรุง (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ เรื่องที่อยากให้รัฐบาลปรับปรุง ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้สำเร็จโดยเร็ว 29.9
2 การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 21.4
3 จัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด 13.3
4 ทำงานแก้ไขปัญหาด้วยความรวดเร็ว 6.9
5 การแก้ไขปัญหาความยากจน 4.4
6 ปัญหาด้านการศึกษา 4.1
7 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 3.7
8 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน/ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ให้เสร็จโดยเร็ว/คุณธรรมจริยธรรมของประชาชน 16.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นเช่นนี้ ความมั่นใจต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ
รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ความมั่นใจต่อนโยบายกระตุ้น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
เศรษฐกิจของรัฐบาล(ถ้าการเมืองเป็นแบบนี้)
1. มั่นใจ 17.3 2.0 4.3 5.9
2. ค่อนข้างมั่นใจ 26.0 3.9 8.8 10.8
3. ไม่ค่อยมั่นใจ 38.5 21.6 40.9 39.3
4. ไม่มั่นใจ 12.0 63.7 31.7 31.2
5. ไม่มีความเห็น 6.2 8.8 14.3 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคาดหวังต่อสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองก่อนสิ้นปี 2550
(ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคาดหวังที่จะเห็นก่อนสิ้นปีนี้ ค่าร้อยละ
1 ความสงบสุข ความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 49.3
2 เศรษฐกิจฟื้นตัว 31.6
3 การแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้สำเร็จ 29.2
4 มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ 24.0
5 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่เป็นรัฐบาลที่ดี 11.0
6 ความมีเสถียรภาพทางการเมือง 8.7
7 อื่นๆ อาทิ ไม่มีปัญหาทุจริตคอรับชั่น /ปัญหายาเสพติดหมดไป/คนไทยมีชีวิตที่พอเพียง /ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 8.4
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งหรือเรื่องที่จะช่วยทำให้ประเทศไทยดีขึ้นได้ (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)
(ยังมีต่อ)