ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ สื่อ รัฐบาล ประชาธิปไตย และ
อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 16 -17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 คิดว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้กำลังแย่เหมือนเดิมและแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ
30.3 คิดว่าดีเหมือนเดิมและดีขึ้น
เมื่อสอบถามถึง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.4 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ
สุข ร้อยละ 95.6 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศอย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อย
ละ 72.8 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 48.2 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 8.3 มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว
เรื่องการเมือง ร้อยละ 14.9 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน และร้อยละ 17.5 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะผู้นำในการปฏิรูปการปกครองฯ ต่อความพยายามแก้ไขปัญหาของประเทศ
เวลานี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 6.8 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชนขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 ไม่ค่อย
เชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 27.2 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่น และร้อยละ 13.5 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.2 คิดว่าความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชน หลังการเลือกตั้งใหม่จะแย่ลงไป
อีก ในขณะที่ร้อยละ 16.7 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 12.5 คิดว่าจะดีขึ้น และร้อยละ 18.6 ไม่มีความเห็น สำหรับความคิดเห็นต่อรายการ “ยามเฝ้า
แผ่นดิน” ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 พบว่า ร้อยละ 46.5 เห็นด้วย (ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วย) ในขณะที่ร้อยละ 35.2
ไม่เห็นด้วย (ไม่ค่อยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย) และร้อยละ 18.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.9 คิดว่ารัฐบาลกำลังมีแนว
ทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ร้อยละ 46.8 คิดว่ารัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 46.2 คิดว่ารัฐบาลเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ร้อยละ 44.3 คิดว่ารัฐบาล
มีความโปร่งใส ร้อยละ 42.8 คิดว่ารัฐบาลยอมให้ตรวจสอบได้ ร้อยละ 38.2 คิดว่ารัฐบาลมีความฉับไวเข้าถึงความเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ
32.9 คิดว่ารัฐบาลมีความเป็นสามัญชน ไม่มีพิธีรีตอง เข้าถึงชาวบ้านได้อย่างแท้จริง และเพียงร้อยละ 19.9 ระบุว่ารัฐบาลรู้อะไรประชาชนรู้สิ่งนั้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8 คิดว่าจะยัง
มีเหมือนเดิม (ร้อยละ 28.1) และคิดว่าจะมีปัญหาคอรัปชั่นมากกว่าเดิม (ร้อยละ 52.7) ในขณะที่เพียงร้อยละ 11.8 คิดว่าจะไม่มีปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นอีกต่อไป และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยในขณะนี้ พบว่าร้อยละ 34.8 คิดว่าไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 24.7 คิดว่า
ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 15.8 คิดว่าเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ร้อยละ 12.7 คิดว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเลย และร้อยละ 12.0 ไม่มี
ความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 คิดว่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งในอนาคตจะถูกยึดอำนาจอีก ในขณะที่เพียง
ร้อยละ 8.4 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ และร้อยละ 22.4 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลเหลือเวลาอีกไม่มาก ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐน่าจะทำเป็นอันดับแรกควบคู่กับการแก้
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนคือ การสร้างระบบสังคมที่ดีป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตตามข้ออ้างของทหารที่เข้ามายึดอำนาจ เช่น
มีกฎหมายที่เข้มแข็งเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น การจัดระเบียบสังคม สร้างสังคมที่สงบสุขไม่แตกแยก ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นสมบัติของประชาชนอย่าง
แท้จริงและความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชน เพื่อไม่ให้ทหารและกลุ่มอำนาจอื่นใดในอนาคตยกมาเป็นข้ออ้างฉีกรัฐธรรมนูญและยึดอำนาจ
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อีก
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของสื่อ และรัฐบาล
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประชาธิปไตยหลังการปฏิรูป
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สื่อ รัฐบาล ประชาธิปไตย และอารมณ์
ความรู้สึกของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.7 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.8 ไม่ระบุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปี 2549
ที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 16.4
2 ดีเหมือนเดิม 13.9
3 แย่เหมือนเดิม 38.2
4 แย่ลง 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 รู้สึกการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 95.6
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณการเมือง 77.8
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 48.2
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมือง 8.3
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 14.9
6 ขัดแย้งกับเพื่อนที่ทำงานในเรื่องการเมือง 17.5
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 72.8
8 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 97.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุการสนับสนุนพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ในความพยายามแก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 67.7
2 ไม่สนับสนุน 25.5
3 ไม่มีความเห็น 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชนขณะนี้
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 10.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 16.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 28.9
4 ไม่เชื่อมั่น 30.4
5 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชน
หลังการเลือกตั้งใหม่ปลายปีนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จะดีขึ้น 12.5
2 จะเหมือนเดิม 16.7
3 จะแย่ลง 52.2
4 ไม่มีความเห็น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 26.4
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 20.1
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 17.3
4 ไม่เห็นด้วย 17.9
5 ไม่มีความเห็น 18.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 49.9
2 ความเป็นที่ไว้วางใจได้ 46.8
3 เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 46.2
4 ความโปร่งใส 44.3
5 ความสามารถตรวจสอบได้ 42.8
6 ความฉับไวเข้าถึงความเดือดร้อนของประชาชน 38.2
7 ความเป็นสามัญชน ไม่มีพิธีรีตอง เข้าถึงชาวบ้านได้อย่างแท้จริง 32.9
8 รัฐบาลรู้อะไรประชาชนรู้สิ่งนั้น 19.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอีกต่อไป 11.8
2 คิดว่าจะยังมีเหมือนเดิม 28.1
3 คิดว่าจะมีปัญหาคอรัปชั่นมากกว่าเดิม 52.7
4 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ ประชาธิปไตยในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นประชาธิปไตยแท้จริง 15.8
2 ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตย 24.7
3 ไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตย 34.8
4 ไม่เป็นประชาธิปไตยเลย 12.7
5 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ โอกาสที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งในอนาคตจะถูกยึกอำนาจอีก
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นไปได้เหมือนอดีตที่ผ่านมา 69.2
2 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ 8.4
3 ไม่มีความเห็น 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ สื่อ รัฐบาล ประชาธิปไตย และ
อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 16 -17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 คิดว่าบรรยากาศทางการเมืองขณะนี้กำลังแย่เหมือนเดิมและแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ
30.3 คิดว่าดีเหมือนเดิมและดีขึ้น
เมื่อสอบถามถึง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.4 อยากเห็นบ้านเมืองสงบ
สุข ร้อยละ 95.6 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศอย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อย
ละ 72.8 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 48.2 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 8.3 มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว
เรื่องการเมือง ร้อยละ 14.9 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน และร้อยละ 17.5 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะผู้นำในการปฏิรูปการปกครองฯ ต่อความพยายามแก้ไขปัญหาของประเทศ
เวลานี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 6.8 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชนขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 ไม่ค่อย
เชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 27.2 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่น และร้อยละ 13.5 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.2 คิดว่าความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชน หลังการเลือกตั้งใหม่จะแย่ลงไป
อีก ในขณะที่ร้อยละ 16.7 จะเหมือนเดิม ร้อยละ 12.5 คิดว่าจะดีขึ้น และร้อยละ 18.6 ไม่มีความเห็น สำหรับความคิดเห็นต่อรายการ “ยามเฝ้า
แผ่นดิน” ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 พบว่า ร้อยละ 46.5 เห็นด้วย (ค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วย) ในขณะที่ร้อยละ 35.2
ไม่เห็นด้วย (ไม่ค่อยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย) และร้อยละ 18.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.9 คิดว่ารัฐบาลกำลังมีแนว
ทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ร้อยละ 46.8 คิดว่ารัฐบาลเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 46.2 คิดว่ารัฐบาลเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ร้อยละ 44.3 คิดว่ารัฐบาล
มีความโปร่งใส ร้อยละ 42.8 คิดว่ารัฐบาลยอมให้ตรวจสอบได้ ร้อยละ 38.2 คิดว่ารัฐบาลมีความฉับไวเข้าถึงความเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ
32.9 คิดว่ารัฐบาลมีความเป็นสามัญชน ไม่มีพิธีรีตอง เข้าถึงชาวบ้านได้อย่างแท้จริง และเพียงร้อยละ 19.9 ระบุว่ารัฐบาลรู้อะไรประชาชนรู้สิ่งนั้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8 คิดว่าจะยัง
มีเหมือนเดิม (ร้อยละ 28.1) และคิดว่าจะมีปัญหาคอรัปชั่นมากกว่าเดิม (ร้อยละ 52.7) ในขณะที่เพียงร้อยละ 11.8 คิดว่าจะไม่มีปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นอีกต่อไป และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยในขณะนี้ พบว่าร้อยละ 34.8 คิดว่าไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 24.7 คิดว่า
ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 15.8 คิดว่าเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ร้อยละ 12.7 คิดว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเลย และร้อยละ 12.0 ไม่มี
ความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 คิดว่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งในอนาคตจะถูกยึดอำนาจอีก ในขณะที่เพียง
ร้อยละ 8.4 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ และร้อยละ 22.4 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลเหลือเวลาอีกไม่มาก ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐน่าจะทำเป็นอันดับแรกควบคู่กับการแก้
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนคือ การสร้างระบบสังคมที่ดีป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตตามข้ออ้างของทหารที่เข้ามายึดอำนาจ เช่น
มีกฎหมายที่เข้มแข็งเอาผิดขบวนการทุจริตคอรัปชั่น การจัดระเบียบสังคม สร้างสังคมที่สงบสุขไม่แตกแยก ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นสมบัติของประชาชนอย่าง
แท้จริงและความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชน เพื่อไม่ให้ทหารและกลุ่มอำนาจอื่นใดในอนาคตยกมาเป็นข้ออ้างฉีกรัฐธรรมนูญและยึดอำนาจ
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อีก
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของสื่อ และรัฐบาล
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประชาธิปไตยหลังการปฏิรูป
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business, Assumption University) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สื่อ รัฐบาล ประชาธิปไตย และอารมณ์
ความรู้สึกของสาธารณชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,393 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 26.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.7 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.8 ไม่ระบุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปี 2549
ที่มีการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 16.4
2 ดีเหมือนเดิม 13.9
3 แย่เหมือนเดิม 38.2
4 แย่ลง 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 รู้สึกการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 95.6
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณการเมือง 77.8
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 48.2
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมือง 8.3
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 14.9
6 ขัดแย้งกับเพื่อนที่ทำงานในเรื่องการเมือง 17.5
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 72.8
8 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 97.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างทื่ระบุการสนับสนุนพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ในความพยายามแก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 67.7
2 ไม่สนับสนุน 25.5
3 ไม่มีความเห็น 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชนขณะนี้
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 10.9
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 16.3
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 28.9
4 ไม่เชื่อมั่น 30.4
5 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงของสื่อมวลชน
หลังการเลือกตั้งใหม่ปลายปีนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จะดีขึ้น 12.5
2 จะเหมือนเดิม 16.7
3 จะแย่ลง 52.2
4 ไม่มีความเห็น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 26.4
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 20.1
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 17.3
4 ไม่เห็นด้วย 17.9
5 ไม่มีความเห็น 18.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 49.9
2 ความเป็นที่ไว้วางใจได้ 46.8
3 เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 46.2
4 ความโปร่งใส 44.3
5 ความสามารถตรวจสอบได้ 42.8
6 ความฉับไวเข้าถึงความเดือดร้อนของประชาชน 38.2
7 ความเป็นสามัญชน ไม่มีพิธีรีตอง เข้าถึงชาวบ้านได้อย่างแท้จริง 32.9
8 รัฐบาลรู้อะไรประชาชนรู้สิ่งนั้น 19.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดต่อปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะไม่มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอีกต่อไป 11.8
2 คิดว่าจะยังมีเหมือนเดิม 28.1
3 คิดว่าจะมีปัญหาคอรัปชั่นมากกว่าเดิม 52.7
4 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ ประชาธิปไตยในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นประชาธิปไตยแท้จริง 15.8
2 ค่อนข้างเป็นประชาธิปไตย 24.7
3 ไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตย 34.8
4 ไม่เป็นประชาธิปไตยเลย 12.7
5 ไม่มีความเห็น 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ โอกาสที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งในอนาคตจะถูกยึกอำนาจอีก
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นไปได้เหมือนอดีตที่ผ่านมา 69.2
2 คิดว่าเป็นไปไม่ได้ 8.4
3 ไม่มีความเห็น 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis, Assumption University)
โทร. 0-2719-1550 หรือ 0-2719-1955
www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-