ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประเมินผลงานรัฐบาล ผลงาน คมช. และ
สถานการณ์การเมืองหลังคดียุบพรรคการเมือง ในสายตาประชาชน :กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น
3,554 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้ง
นี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงผลงานรัฐบาล พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.8 พอใจต่อผลงานรัฐบาลในการคำนึงถึงผล
ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องของนักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 46.5 พอใจต่อเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวล
ชน ร้อยละ 45.1 พอใจต่อการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 39.1 พอใจต่อการแก้ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 38.3 พอใจต่อ
เรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 36.3 พอใจต่อการแก้ปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 35.5 พอใจต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการ
เมือง ร้อยละ 24.0 พอใจเรื่องการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 20.3 พอใจเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 18.5 พอใจ
เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และร้อยละ 15.7 พอใจเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงผลงานของ คมช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 พอใจต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย รองลงมาคือร้อย
ละ 70.9 พอใจต่อการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม มลพิษ ดินถล่ม ร้อยละ 63.9 พอใจต่อความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 62.8 พอ
ใจต่อความตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 60.3 พอใจต่อการเสียสละเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 54.1 พอใจต่อการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน ร้อยละ 52.7 พอใจต่อเหตุผลของการปฏิรูปการปกครอง ร้อยละ 51.1 พอใจต่อการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 49.5 พอใจต่อ
ความรวดเร็วฉับไวในการช่วยเหลือแก้ปัญหาของประชาชน ร้อยละ 34.7 พอใจต่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหากลุ่มผู้มี
อิทธิพล และร้อยละ 33.2 พอใจต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อสอบถามความสนใจติดตามข่าวคดียุบพรรคการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 สนใจติดตาม ร้อยละ 8.6 ไม่สนใจติดตาม ที่
น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวชุมนุมของประชาชนกรณีคดียุบพรรคการเมือง เพราะจะเกิดความวุ่นวาย
เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก คนไทยรักความสงบ อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อนจากการชุมนุม และคิดว่าบ้านเมืองกำลังจะดี
ขึ้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 12.8 เท่านั้นที่เห็นด้วยเพราะเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องการให้ยุบพรรคที่ชอบ และร้อยละ 12.3 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อบทบาทท่าทีที่หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ควรทำในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 เห็นว่าหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ควรทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคเพื่อความสงบของประเทศ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ
13.9 เท่านั้นเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในสังคมในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 ระบุความนิยมจะลดลง ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุจะเหมือนเดิม เพียงร้อยละ 3.7 ระบุจะเพิ่มขึ้น และ
ที่เหลือร้อยละ 8.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามต่อถึงสิ่งที่อยากเห็นคนไทยควรทำในวันตัดสินคดียุบพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 ระบุควรยอม
รับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองลงมาคือร้อยละ 74.8 ระบุให้คนไทยรู้รักสามัคคี ร้อยละ 72.9 ระบุให้คนไทยเคารพกติกาของสังคม ร้อย
ละ 64.2 ระบุให้ใช้ชีวิตไปตามปกติ ร้อยละ 62.3 ระบุให้อยู่ในความสงบ ร้อยละ 61.5 ระบุให้ติดตามข่าวสารที่บ้านพัก ร้อยละ 57.2 ระบุให้ช่วย
กันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อย ร้อยละ 43.4 ระบุให้ปล่อยไปตามกฎแห่งกรรม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.3 อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป
ในขณะที่ร้อยละ 25.4 ระบุควรมีการเลือกตั้งในช่วง 3 — 6 เดือน และร้อยละ 26.3 ระบุอยากให้มีการเลือกตั้งในช่วงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งล่าสุดนี้ชี้ให้เห็นถึง 4 เรื่องสำคัญของ
ประเทศในช่วงเวลานี้คือ ผลงานรัฐบาล ผลงานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ การตัดสินคดียุบหรือไม่ยุบพรรคการเมือง และการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่ง
ผลสำรวจได้สะท้อนให้เห็นโดยภาพรวมว่า สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศกำลังเริ่มดีขึ้นในสายตาประชาชน ประเด็นที่สำคัญคือ ประชาชนเกินกว่า
ครึ่งเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังทำประโยชน์ให้ประเทศชาติโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
และพวกพ้อง ในขณะที่ผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ปรากฎในสายตาของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในหลายเรื่องมากกว่าผลงานของ
รัฐบาลที่ผ่านมา เช่น เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม การช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติและสาธารณภัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความ
ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ และความเสียสละ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า โดยภาพรวมระดับประเทศ ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่เริ่มรู้สึกดีต่อผลงานรัฐบาลและผล
งานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. แต่บังเอิญขณะนี้ประเทศไทย กำลังพบกับปัญหาทางการเมืองเรื่องคดียุบพรรค ที่ประชาชนคนไทยทุกคน
ต้องช่วยกันแก้ปัญหาด้วยความสงบและอยู่ในกรอบกติกาของสังคม ตามความเป็นจริง ประชาชนทั่วไปทุกคนสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้โดยไม่ยากและ
ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอะไร เพียงแต่ยอมรับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเท่านั้น
“ในผลสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มสนับสนุนพรรคการเมือง และต้องการให้หัว
หน้าพรรคการเมืองเร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรค เพื่อให้สังคมไทยสงบสุขผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ไปได้ โดยขอให้ยอมรับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐ
ธรรมนูญ รู้รักสามัคคี เคารพกติกาของสังคม ใช้ชีวิตไปตามปกติและอยู่ในความสงบ นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปี
นี้ แต่ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ที่ถูกสอบถาม อยากเห็นการเลือกตั้งหลังปีใหม่ ซึ่งบางที่เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดความเห็นพ้องต้องกันของประชาชนใน
สังคมว่า ปีใหม่ วันใหม่ คนไทยน่าจะได้รับของขวัญเป็นรัฐบาลชุดใหม่ที่ “ดี” และ “เก่ง” รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ทำให้
คนไทยได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ประเมินผลงานรัฐบาล ผลงาน คมช. และสถานการณ์การเมืองหลังคดียุบ
พรรคการเมือง ในสายตาประชาชน :กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,554 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ กำแพงเพชร พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี
อยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,554 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 48.4 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 29.2 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 12.3 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 23.6 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 ระบุเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 19.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยะ 5.9 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร ประมงและว่างงาน
สำหรับรายได้ต่อเดือนตัวอย่าง ร้อยละ 68.1 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท
ร้อยละ 12.0 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.3 ระบุรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 4.3 ระบุรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 1.6 ระบุรายได้ 35,001-45,000 บาท
และร้อยละ 4.7 ระบุรายได้มากกว่า 45,000 บาท
ในขณะที่ร้อยละ 71.6 ระบุอยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 28.4 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 46.8
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.8
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 9.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 21.3
5 ไม่ได้ติดตาม 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจต่อผลงานรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาล ร้อยละ
1 การคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องของนักการเมือง 53.8
2 สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน 46.5
3 การผลักดันนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง 45.1
4 การแก้ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 39.1
5 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 38.3
6 การแก้ปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม 36.3
7 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 35.5
8 การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 24.0
9 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 20.3
10 การแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน 18.5
11 การแก้ปัญหายาเสพติด 15.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช. (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ร้อยละ
1 การรักษาความสงบเรียบร้อย ควบคุมไม่ให้เกิดการปะทะกันของประชาชน 71.1
2 การช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม มลพิษ ดินถล่ม 70.9
3 ความซื่อสัตย์สุจริต 63.9
4 ความตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ 62.8
5 การเสียสละเพื่อประเทศชาติ 60.3
6 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 54.1
7 เหตุผลของการปฏิรูปการปกครอง 52.7
8 การตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 51.1
9 ความรวดเร็วฉับไวในการช่วยเหลือแก้ปัญหาของประชาชน 49.5
10 การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล 34.7
11 การแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 33.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามข่าวคดียุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนใจติดตาม 91.4
2 ไม่สนใจติดตาม 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวชุมนุมของประชาชน กรณีคดียุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวชุมนุม ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย..... เพราะเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย / ไม่ต้องการให้ยุบพรรคที่ชอบ 12.8
2 ไม่เห็นด้วย....เพราะจะเกิดความวุ่นวาย เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก คนไทยรักความสงบ
อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อน บ้านเมืองกำลังจะดีขึ้น 74.9
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อบทบาทที่หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ควรทำในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบทบาทที่หัวหน้าพรรคการเมืองควรทำ ค่าร้อยละ
1 ควรทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อความสงบของประเทศ 78.7
2 ไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ 13.9
3 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในสังคมในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดี
ยุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ความนิยมจะเพิ่มขึ้น 3.7
2 เหมือนเดิม 11.1
3 ลดลง 77.1
4 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่อยากเห็นคนไทยควรทำในวันตัดสินคดียุบพรรคการเมือง เพื่อให้สังคมไทยอยู่รอด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นคนไทยควรทำในวันตัดสินคดียุบพรรค ค่าร้อยละ
1 ยอมรับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 80.3
2 รู้รักสามัคคี 74.8
3 เคารพกติกาของสังคม 72.9
4 ใช้ชีวิตไปตามปกติ 64.2
5 อยู่ในความสงบ 62.3
6 ติดตามข่าวสารที่บ้านพัก 61.5
7 ช่วยกันสอดส่องดูแลความเรียบร้อย 57.2
8 ปล่อยให้เป็นกฎแห่งกรรม 43.4
9 อื่นๆ เช่น ให้กำลังใจพรรคที่ถูกยุบ ใช้สันติวิธีแก้ปัญหาของประเทศ เป็นต้น 22.8
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ลำดับที่ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป 48.3
2 ช่วง 3 — 6 เดือน 25.4
3 ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacpoll.com หรือ www.abacpoll.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประเมินผลงานรัฐบาล ผลงาน คมช. และ
สถานการณ์การเมืองหลังคดียุบพรรคการเมือง ในสายตาประชาชน :กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น
3,554 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้ง
นี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงผลงานรัฐบาล พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.8 พอใจต่อผลงานรัฐบาลในการคำนึงถึงผล
ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องของนักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 46.5 พอใจต่อเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวล
ชน ร้อยละ 45.1 พอใจต่อการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 39.1 พอใจต่อการแก้ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 38.3 พอใจต่อ
เรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 36.3 พอใจต่อการแก้ปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 35.5 พอใจต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการ
เมือง ร้อยละ 24.0 พอใจเรื่องการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 20.3 พอใจเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 18.5 พอใจ
เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และร้อยละ 15.7 พอใจเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงผลงานของ คมช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 พอใจต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย รองลงมาคือร้อย
ละ 70.9 พอใจต่อการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม มลพิษ ดินถล่ม ร้อยละ 63.9 พอใจต่อความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 62.8 พอ
ใจต่อความตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 60.3 พอใจต่อการเสียสละเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 54.1 พอใจต่อการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน ร้อยละ 52.7 พอใจต่อเหตุผลของการปฏิรูปการปกครอง ร้อยละ 51.1 พอใจต่อการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 49.5 พอใจต่อ
ความรวดเร็วฉับไวในการช่วยเหลือแก้ปัญหาของประชาชน ร้อยละ 34.7 พอใจต่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหากลุ่มผู้มี
อิทธิพล และร้อยละ 33.2 พอใจต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อสอบถามความสนใจติดตามข่าวคดียุบพรรคการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 สนใจติดตาม ร้อยละ 8.6 ไม่สนใจติดตาม ที่
น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวชุมนุมของประชาชนกรณีคดียุบพรรคการเมือง เพราะจะเกิดความวุ่นวาย
เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก คนไทยรักความสงบ อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อนจากการชุมนุม และคิดว่าบ้านเมืองกำลังจะดี
ขึ้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 12.8 เท่านั้นที่เห็นด้วยเพราะเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องการให้ยุบพรรคที่ชอบ และร้อยละ 12.3 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อบทบาทท่าทีที่หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ควรทำในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 เห็นว่าหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ควรทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคเพื่อความสงบของประเทศ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ
13.9 เท่านั้นเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในสังคมในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 ระบุความนิยมจะลดลง ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุจะเหมือนเดิม เพียงร้อยละ 3.7 ระบุจะเพิ่มขึ้น และ
ที่เหลือร้อยละ 8.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามต่อถึงสิ่งที่อยากเห็นคนไทยควรทำในวันตัดสินคดียุบพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 ระบุควรยอม
รับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองลงมาคือร้อยละ 74.8 ระบุให้คนไทยรู้รักสามัคคี ร้อยละ 72.9 ระบุให้คนไทยเคารพกติกาของสังคม ร้อย
ละ 64.2 ระบุให้ใช้ชีวิตไปตามปกติ ร้อยละ 62.3 ระบุให้อยู่ในความสงบ ร้อยละ 61.5 ระบุให้ติดตามข่าวสารที่บ้านพัก ร้อยละ 57.2 ระบุให้ช่วย
กันสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อย ร้อยละ 43.4 ระบุให้ปล่อยไปตามกฎแห่งกรรม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.3 อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป
ในขณะที่ร้อยละ 25.4 ระบุควรมีการเลือกตั้งในช่วง 3 — 6 เดือน และร้อยละ 26.3 ระบุอยากให้มีการเลือกตั้งในช่วงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งล่าสุดนี้ชี้ให้เห็นถึง 4 เรื่องสำคัญของ
ประเทศในช่วงเวลานี้คือ ผลงานรัฐบาล ผลงานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ การตัดสินคดียุบหรือไม่ยุบพรรคการเมือง และการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่ง
ผลสำรวจได้สะท้อนให้เห็นโดยภาพรวมว่า สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศกำลังเริ่มดีขึ้นในสายตาประชาชน ประเด็นที่สำคัญคือ ประชาชนเกินกว่า
ครึ่งเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังทำประโยชน์ให้ประเทศชาติโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
และพวกพ้อง ในขณะที่ผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ปรากฎในสายตาของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในหลายเรื่องมากกว่าผลงานของ
รัฐบาลที่ผ่านมา เช่น เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม การช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติและสาธารณภัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความ
ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ และความเสียสละ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า โดยภาพรวมระดับประเทศ ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่เริ่มรู้สึกดีต่อผลงานรัฐบาลและผล
งานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. แต่บังเอิญขณะนี้ประเทศไทย กำลังพบกับปัญหาทางการเมืองเรื่องคดียุบพรรค ที่ประชาชนคนไทยทุกคน
ต้องช่วยกันแก้ปัญหาด้วยความสงบและอยู่ในกรอบกติกาของสังคม ตามความเป็นจริง ประชาชนทั่วไปทุกคนสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้โดยไม่ยากและ
ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอะไร เพียงแต่ยอมรับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเท่านั้น
“ในผลสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มสนับสนุนพรรคการเมือง และต้องการให้หัว
หน้าพรรคการเมืองเร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรค เพื่อให้สังคมไทยสงบสุขผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ไปได้ โดยขอให้ยอมรับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐ
ธรรมนูญ รู้รักสามัคคี เคารพกติกาของสังคม ใช้ชีวิตไปตามปกติและอยู่ในความสงบ นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปี
นี้ แต่ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ที่ถูกสอบถาม อยากเห็นการเลือกตั้งหลังปีใหม่ ซึ่งบางที่เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดความเห็นพ้องต้องกันของประชาชนใน
สังคมว่า ปีใหม่ วันใหม่ คนไทยน่าจะได้รับของขวัญเป็นรัฐบาลชุดใหม่ที่ “ดี” และ “เก่ง” รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ทำให้
คนไทยได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ประเมินผลงานรัฐบาล ผลงาน คมช. และสถานการณ์การเมืองหลังคดียุบ
พรรคการเมือง ในสายตาประชาชน :กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 3,554 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ กำแพงเพชร พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี
อยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,554 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.6 ระบุเป็นชาย
และร้อยละ 48.4 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 29.2 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 12.3 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 23.6 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.8 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 ระบุเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 21.2 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 19.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
และร้อยะ 5.9 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร ประมงและว่างงาน
สำหรับรายได้ต่อเดือนตัวอย่าง ร้อยละ 68.1 ระบุรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท
ร้อยละ 12.0 ระบุรายได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.3 ระบุรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 4.3 ระบุรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 1.6 ระบุรายได้ 35,001-45,000 บาท
และร้อยละ 4.7 ระบุรายได้มากกว่า 45,000 บาท
ในขณะที่ร้อยละ 71.6 ระบุอยู่นอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 28.4 อยู่ในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 46.8
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 16.8
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 9.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 21.3
5 ไม่ได้ติดตาม 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจต่อผลงานรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานรัฐบาล ร้อยละ
1 การคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องของนักการเมือง 53.8
2 สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน 46.5
3 การผลักดันนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง 45.1
4 การแก้ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 39.1
5 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 38.3
6 การแก้ปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม 36.3
7 การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 35.5
8 การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 24.0
9 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 20.3
10 การแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน 18.5
11 การแก้ปัญหายาเสพติด 15.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช. (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ร้อยละ
1 การรักษาความสงบเรียบร้อย ควบคุมไม่ให้เกิดการปะทะกันของประชาชน 71.1
2 การช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม มลพิษ ดินถล่ม 70.9
3 ความซื่อสัตย์สุจริต 63.9
4 ความตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ 62.8
5 การเสียสละเพื่อประเทศชาติ 60.3
6 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 54.1
7 เหตุผลของการปฏิรูปการปกครอง 52.7
8 การตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 51.1
9 ความรวดเร็วฉับไวในการช่วยเหลือแก้ปัญหาของประชาชน 49.5
10 การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล 34.7
11 การแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 33.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามข่าวคดียุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนใจติดตาม 91.4
2 ไม่สนใจติดตาม 8.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวชุมนุมของประชาชน กรณีคดียุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวชุมนุม ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย..... เพราะเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย / ไม่ต้องการให้ยุบพรรคที่ชอบ 12.8
2 ไม่เห็นด้วย....เพราะจะเกิดความวุ่นวาย เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก คนไทยรักความสงบ
อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อน บ้านเมืองกำลังจะดีขึ้น 74.9
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อบทบาทที่หัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ ควรทำในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อบทบาทที่หัวหน้าพรรคการเมืองควรทำ ค่าร้อยละ
1 ควรทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อความสงบของประเทศ 78.7
2 ไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ 13.9
3 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในสังคมในช่วงก่อนและหลังการตัดสินคดี
ยุบพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ความนิยมจะเพิ่มขึ้น 3.7
2 เหมือนเดิม 11.1
3 ลดลง 77.1
4 ไม่มีความเห็น 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่อยากเห็นคนไทยควรทำในวันตัดสินคดียุบพรรคการเมือง เพื่อให้สังคมไทยอยู่รอด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นคนไทยควรทำในวันตัดสินคดียุบพรรค ค่าร้อยละ
1 ยอมรับคำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 80.3
2 รู้รักสามัคคี 74.8
3 เคารพกติกาของสังคม 72.9
4 ใช้ชีวิตไปตามปกติ 64.2
5 อยู่ในความสงบ 62.3
6 ติดตามข่าวสารที่บ้านพัก 61.5
7 ช่วยกันสอดส่องดูแลความเรียบร้อย 57.2
8 ปล่อยให้เป็นกฎแห่งกรรม 43.4
9 อื่นๆ เช่น ให้กำลังใจพรรคที่ถูกยุบ ใช้สันติวิธีแก้ปัญหาของประเทศ เป็นต้น 22.8
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
ลำดับที่ ช่วงเวลาประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ไป 48.3
2 ช่วง 3 — 6 เดือน 25.4
3 ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50
www.abacpoll.com หรือ www.abacpoll.au.edu
--เอแบคโพลล์--
-พห-