ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความสุขของ ประชาชน หลังทราบข่าว กลุ่ม นปช. รับแนวทางสร้างความปรองดอง 5 ข้อ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,123 ครัวเรือน ดำเนินโครงการในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ยังคงติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.5 ค่อนข้างเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อแนวทางเพื่อสร้างความปรองดอง 5 ข้อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยร้อยละ 54.3 เชื่อมั่นต่อการปกป้อง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ให้ถูกดึงเข้าสู่ประเด็นความ ขัดแย้งทางการเมือง แต่ร้อยละ 14.2 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 31.5 ไม่มีความเห็น ในขณะที่ร้อยละ 55.4 เชื่อมั่นต่อการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ต่างๆ แต่ร้อยละ 22.3 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 22.3 เช่นกันไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ เพียงร้อยละ 39.8 เชื่อมั่นต่อการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างชัดเจน แต่ร้อยละ 38.9 ไม่เชื่อ มั่น และร้อยละ 21.3 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 44.9 เชื่อมั่นต่อการสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่าง สร้างสรรค์ของสื่อมวลชน และเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.6 ที่เชื่อมั่นต่อการตั้งกฎกติกาทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.6 มองว่าการจัดการเลือกตั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว แต่ร้อย ละ 16.1 มองว่าช้าเกินไป และร้อยละ 28.3 มองว่าเร็วเกินไป
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ความสุขของประชาชนสูงถึง 6.72 จากระดับความสุขเต็มที่ 10.00 คะแนน หลังทราบข่าวกลุ่ม นปช. ประกาศรับ แนวทางการปรองดอง 5 ข้อ อย่างไรก็ตาม ประชาชนก้ำกึ่งกันคือประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.2 เท่านั้นที่เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 49.8 ที่ยังคงกังวลและหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า วันนี้น่าจะเป็นวันแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีของคนไทยเพราะสิ่งที่มีผลต่อความสุขของประชาชน อย่างมากในระยะสั้นคือ การที่กลุ่ม นปช. ประกาศรับแนวทางสร้างความปรองดอง 5 ข้อ ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งทำให้สาธารณชนทั่วไปรับทราบถึง เจตนาที่ดีของกลุ่ม นปช. ครั้งนี้ด้วย โดยให้ออกมาในรูปของชัยชนะของทุกๆ ฝ่าย มากกว่าการนำเสนอข้อมูลให้สาธารณชนเข้าใจว่า เป็นภาพลักษณ์ที่ ดีของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีเพียงฝ่ายเดียว ยิ่งไปกว่านั้น การประกาศแนวทางปรองดอง 5 ข้อของนายกรัฐมนตรีนั้นต้องมีแผนภาพและช่วง เวลาออกมาให้ชัดเจนสู่สาธารณชนว่า จะมีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่าแนวทางทั้งหมดจะเป็นจริงขึ้นมาได้ที่ไม่ใช่เป็นเพียงคำแถลงการณ์ของนายก รัฐมนตรีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องความเป็นธรรมในสังคม และการสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ของสื่อมวลชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.9 เป็นชาย
ร้อยละ 50.1 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.1 อายุ น้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 27.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 23.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 11.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 63.9 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.5 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.9 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.7 5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ “แนวทางเพื่อความปรองดอง 5 ข้อ” ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อ “แนวทางเพื่อความปรองดอง 5 ข้อ”ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ 1 ไม่ค่อยเห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยเลย 15.1 2 เฉยๆ 24.4 3 ค่อนข้างเห็นด้วย ถึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง 60.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อแนวทางเพื่อความปรองดอง 5 ข้อ ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลำดับที่ แนวทางเพื่อความปรองดอง 5 ข้อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 การปกป้อง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ให้ถูกดึงเข้ามาสู่ประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง 54.3 14.2 31.5 2 การสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างชัดเจน 39.8 38.9 21.3 3 สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ของสื่อสารมวลชน 44.9 24.7 30.4 4 จัดตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ต่างๆ 55.4 22.3 22.3 5 การตั้งกฎกติกาทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 49.6 30.7 19.7 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกำหนดวันเลือกตั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2553 ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการจัดการเลือกตั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2553 ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเร็วเกินไป 28.3 2 ช้าเกินไป 16.1 3 คิดว่าเหมาะสมแล้ว 55.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชน หลังทราบข่าวกลุ่ม นปช. ประกาศรับแนวทางการปรองดอง 5 ข้อ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ลำดับที่ ความสุขของประชาชนในวันนี้ คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 1 ระดับความสุขของประชาชน หลังจากทราบ กลุ่ม นปช. รับแนวทางการปรองดอง 6.72 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความหวังและความหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ของประเทศไทยในวันนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า 50.2 2 ยังคงกังวลและหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 49.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-