ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ” จำนวนทั้งสิ้น 4,525 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 60 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.2 มองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 79.4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 48.3 เครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 12.4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมือง ร้อยละ 13.8 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง ร้อยละ 15.3 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง ร้อยละ 73.6 เบื่อหน่ายเรื่องการเมือง ในขณะที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 96.3 อยากเห็นสังคมสงบสุขโดยเร็ว
อย่างไรก็ตามที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 มองภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในทิศทางที่แย่ คือร้อยละ 37.7 เห็นว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 42.9 เห็นว่าแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 12.9 เห็นว่าดีเหมือนเดิม โดยเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่า ประชาชนมองภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศแย่กว่าสภาวะเศรษฐกิจภายในบ้านของตนเอง แต่ผลสำรวจครั้งนี้กลับพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รายงานผ่านผู้วิจัยว่าเศรษฐกิจภายในบ้านอยู่ในสภาพที่แย่ไม่แตกต่างกับภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศ กล่าวคือประชาชนร้อยละ 67.0 ระบุว่าขณะนี้เศรษฐกิจภายในบ้านของตนเองอยู่ในระดับที่แย่ คือร้อยละ 25.5 ระบุว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 41.5 ระบุว่าแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 25.0 ระบุว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่ระบุว่าดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 เห็นว่าควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ ในขณะที่ร้อยละ 14.9 เห็นว่าไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 26.5 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้เมื่อจำแนกออกตามสมาชิกพรรคการเมือง พบว่าสมาชิกพรรคการเมืองส่วนใหญ่ให้รัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ โดยสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 67.6 พรรคอื่นๆ เช่น ชาติไทย มหาชน ประชากรไทย ร้อยละ 54.5 และผลสำรวจพบด้วยว่าแม้แต่สมาชิกพรรคไทยรักไทยเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.0 ก็ยังสนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ ในขณะที่ประชาชนที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 สนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระเช่นกัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อวิเคราะห์ฐานการเมืองพบว่า ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่คือร้อยละ 76.1 และร้อยละ 57.3 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ เหตุผลสำคัญน่าจะอยู่ที่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยที่ต้องการเห็นสังคมสงบสุขเรียบร้อย และอยากเห็นการเลือกตั้งมากกว่าการก่อการยึดอำนาจ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 39.8 เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 28.6 ไม่มีความเห็น ประชาชนร้อยละ 35.4 มองทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นภายหลังการเลือกตั้งใหม่ว่าจะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 6.6 มองว่าจะแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 18.0 มองว่าจะดีขึ้นและร้อยละ 8.0 มองว่าจะดีเหมือนเดิม ทั้งนี้ร้อยละ 32.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 ยังคงมองว่าความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยร้อยละ 9.0 ระบุดีขึ้น และร้อยละ 51.1 ระบุดีเหมือนเดิม ในขณะที่ประชาชนร้อยละ 22.5 มองว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์ต่อกันแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 17.4 ระบุว่าแย่ลง
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์การเมืองของประเทศขณะนี้กำลังเข้าสู่สภาวะวิกฤตอีกครั้งเพราะยังไม่มีปัจจัยด้านบวกใดๆ เข้ามาป้องกันได้อย่างแท้จริง ในเวลานี้เหลือปัจจัยเดียวที่ค้นพบคือ “ความอดทน” ของประชาชน ทั้งนี้ความอดทนของประชาชนย่อมมีขีดจำกัดมากกว่ากลุ่มคนที่กำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลและ คมช. ต้องเร่งพิจารณาคือ
ประการแรก สภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเป็นจุดเปราะบางและทำให้ประชาชนไม่สามารถอดทนต่อไปได้ เนื่องจากต้องจับจ่ายใช้สอยทุกวัน ผลสำรวจครั้งนี้ยืนยันว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังมองว่าสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่และสภาพเศรษฐกิจภายในบ้านของประชาชนเองก็แย่เช่นกัน ดังนั้น “การกระจายงาน กระจายรายได้ ลดรายจ่าย” ในชุมชนและครัวเรือนของประชาชนน่าจะเป็นทางออกให้ประชาชนจับต้องได้
ประการที่สอง ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ คมช.และรัฐบาลต้องตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกันก่อนที่จะเรียกร้องให้ประชาชนทั้งประเทศสามัคคีกัน และต้องทำงานตอบสนองเพื่อประชาชนทั้งประเทศด้วยความฉับไวในการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ ให้มาก และไม่ควรพูดเรื่องการเมืองมากนัก เพราะจะกลายเป็นประเด็นทำลายความน่าเชื่อถือให้น้อยลงไปอีก เนื่องจากขณะนี้ฐานนิยมของสาธารณชนต่อตัวนายกรัฐมนตรีและ คมช. ต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้พูดอะไรออกไปก็จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นตลอด
ประการที่สาม จากการวิเคราะห์ในเชิงลึกทางสถิติ พบว่า ฐานสนับสนุนของประชาชนต่อรัฐบาลและคมช. เป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันดังนั้น ถ้ารัฐบาลและ คมช. แตกแยกจากกัน ฐานสนับสนุนนี้ก็จะแยกออกจากกันเช่นกัน จะทำให้ฐานสนับสนุนอำนาจเก่ามีมากกว่า ผลที่ตามมาก็คือ ความชอบธรรมในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของรัฐบาลและ คมช. ในสายตาของสาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะลดลงจนไม่สามารถทำงานได้
ประการที่สี่ รัฐบาลและ คมช. ควรเร่งทำความเข้าใจกับกลุ่มประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ที่เคยสนับสนุนแต่ปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นพลังเงียบและบางส่วนกลายเป็นฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้กลับมาสนับสนุนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทางออกของประเทศขณะนี้คือ รัฐบาลและ คมช. ควรเร่งจัดวางระบบประเทศให้เรียบร้อยน่าอยู่ ปลอดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างยั่งยืน ในกลุ่มนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งระดับประเทศและระดับชุมชนท้องถิ่น มุ่งทำให้ประชาชนเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์จับต้องได้ และสิ่งที่เป็นคุณธรรมของสังคม เช่น ทำให้ประชาชนมีเงินมากพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น ปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชนให้น่าอยู่ หนุนเสริมบรรยากาศชุมชนให้ประชาชนช่วยกันแก้ปัญหาปกป้องชุมชนของตนเอง และให้ความรู้ ความเข้าใจ เสริมสร้างความตระหนัก ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมผลักดันภารกิจของ “รัฐบาลคุณธรรม” ให้สำเร็จตามเป้าหมายเพื่อความเจริญมั่นคงของประเทศโดยไม่เปิดโอกาสให้มีเหตุอันจำเป็นในการยึดอำนาจและวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายในทางการเมืองอีกต่อไป
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 10— 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สระบุรี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี นครปฐม กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ สงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,525 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจหัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นายสุริยัน บุญแท้ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวจิรวดี พิศาลวัชรินทร์ นักสถิติ นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย นายคำพัน ราศรี ผู้ช่วยนักวิจัย นายภัทรวิชญ์ มั่งคั่ง ผู้ช่วยนักวิจัย นางสาวสุวิมล วันทา ผู้ช่วยนักวิจัย นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย นายสมเจตน์ เจ๊ะสนิ ผู้ช่วยนักวิจัย นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ พร้อมด้วยพนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 159 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.3 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 14.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 28.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 17.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 15.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 75.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 4.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.5 เป็นนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 40.0
2 3-4 วัน 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 10.8
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 25.2
5 ไม่ได้ติดตาม 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยากเห็นสังคมสงบสุข 96.3
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 90.2
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 79.4
4 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.6
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 48.3
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 15.3
7 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 13.8
8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 12.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในขณะนี้
ลำดับที่ ควมคิดเห็นต่อภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 กำลังดีขึ้นกว่าเดิม 6.5
2 ดีเหมือนเดิม 12.9
3 แย่เหมือนเดิม 37.7
4 แย่ลง 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจภายในบ้านของตนเอง
ลำดับที่ ควมคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจภายในบ้านของตนเอง ค่าร้อยละ
1 กำลังดีขึ้นกว่าเดิม 8.0
2 ดีเหมือนเดิม 25.0
3 แย่เหมือนเดิม 25.5
4 แย่ลง 41.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ความคิดเห็น สมาชิก สมาชิก สมาชิก ไม่เป็นสมาชิก
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ พรรคอื่น พรรคใด ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. ควรให้โอกาส 47.0 67.6 54.5 59.4 58.6
2. ไม่ควรให้โอกาส 28.9 9.9 18.2 13.7 14.9
3. ไม่มีความเห็น 24.1 22.5 27.3 26.9 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามการเป็นฐานความคิดทางการเมือง
ความคิดเห็น ฝ่ายสนับสนุน ไม่สนับสนุน ไม่อยู่ฝ่ายใด
รัฐบาล รัฐบาล (พลังเงียบ) ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. ควรให้โอกาส 76.1 36.1 57.3 58.6
2. ไม่ควรให้โอกาส 8.9 45.4 14.2 14.9
3. ไม่มีความเห็น 15.0 18.5 28.5 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปีนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 39.8
2 ไม่เชื่อมั่น 31.6
3 ไม่มีความเห็น 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัญหาการทุจริต
คอรัปชั่นภายหลังการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 18.0
2 ดีเหมือนเดิม 8.0
3 แย่เหมือนเดิม 35.4
4 แย่ลง 6.6
5 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรค
ความรู้สึก สมาชิก สมาชิก สมาชิก ไม่เป็นสมาชิก
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ พรรคอื่น พรรคใด ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. รู้สึกว่าความสัมพันธ์ดีขึ้น 10.6 25.4 12.5 7.8 9.0
2. ดีเหมือนเดิม 36.2 50.0 40.6 52.9 51.1
3. แย่เหมือนเดิม 30.4 15.8 25.0 22.0 22.5
4. แย่ลง 22.8 8.8 21.9 17.3 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามการเป็น
ฐานความคิดทางการเมือง
ความรู้สึก ฝ่ายสนับสนุน ไม่สนับสนุน ไม่อยู่ฝ่ายใด
รัฐบาล รัฐบาล (พลังเงียบ) ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. รู้สึกว่าความสัมพันธ์ดีขึ้น 22.7 6.5 7.4 9.0
2. ดีเหมือนเดิม 55.0 27.3 51.6 51.1
3. แย่เหมือนเดิม 13.8 27.3 23.6 22.5
4. แย่ลง 8.5 38.9 17.4 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 60 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เมื่อสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.2 มองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ร้อยละ 79.4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 48.3 เครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 12.4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการเมือง ร้อยละ 13.8 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง ร้อยละ 15.3 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง ร้อยละ 73.6 เบื่อหน่ายเรื่องการเมือง ในขณะที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 96.3 อยากเห็นสังคมสงบสุขโดยเร็ว
อย่างไรก็ตามที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 มองภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในทิศทางที่แย่ คือร้อยละ 37.7 เห็นว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 42.9 เห็นว่าแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 12.9 เห็นว่าดีเหมือนเดิม โดยเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่า ประชาชนมองภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศแย่กว่าสภาวะเศรษฐกิจภายในบ้านของตนเอง แต่ผลสำรวจครั้งนี้กลับพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รายงานผ่านผู้วิจัยว่าเศรษฐกิจภายในบ้านอยู่ในสภาพที่แย่ไม่แตกต่างกับภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศ กล่าวคือประชาชนร้อยละ 67.0 ระบุว่าขณะนี้เศรษฐกิจภายในบ้านของตนเองอยู่ในระดับที่แย่ คือร้อยละ 25.5 ระบุว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 41.5 ระบุว่าแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 25.0 ระบุว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่ระบุว่าดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 เห็นว่าควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ ในขณะที่ร้อยละ 14.9 เห็นว่าไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 26.5 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้เมื่อจำแนกออกตามสมาชิกพรรคการเมือง พบว่าสมาชิกพรรคการเมืองส่วนใหญ่ให้รัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ โดยสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 67.6 พรรคอื่นๆ เช่น ชาติไทย มหาชน ประชากรไทย ร้อยละ 54.5 และผลสำรวจพบด้วยว่าแม้แต่สมาชิกพรรคไทยรักไทยเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.0 ก็ยังสนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ ในขณะที่ประชาชนที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 สนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระเช่นกัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อวิเคราะห์ฐานการเมืองพบว่า ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่คือร้อยละ 76.1 และร้อยละ 57.3 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปจนครบวาระ เหตุผลสำคัญน่าจะอยู่ที่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยที่ต้องการเห็นสังคมสงบสุขเรียบร้อย และอยากเห็นการเลือกตั้งมากกว่าการก่อการยึดอำนาจ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 39.8 เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 28.6 ไม่มีความเห็น ประชาชนร้อยละ 35.4 มองทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นภายหลังการเลือกตั้งใหม่ว่าจะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 6.6 มองว่าจะแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 18.0 มองว่าจะดีขึ้นและร้อยละ 8.0 มองว่าจะดีเหมือนเดิม ทั้งนี้ร้อยละ 32.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 ยังคงมองว่าความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยร้อยละ 9.0 ระบุดีขึ้น และร้อยละ 51.1 ระบุดีเหมือนเดิม ในขณะที่ประชาชนร้อยละ 22.5 มองว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์ต่อกันแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 17.4 ระบุว่าแย่ลง
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์การเมืองของประเทศขณะนี้กำลังเข้าสู่สภาวะวิกฤตอีกครั้งเพราะยังไม่มีปัจจัยด้านบวกใดๆ เข้ามาป้องกันได้อย่างแท้จริง ในเวลานี้เหลือปัจจัยเดียวที่ค้นพบคือ “ความอดทน” ของประชาชน ทั้งนี้ความอดทนของประชาชนย่อมมีขีดจำกัดมากกว่ากลุ่มคนที่กำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลและ คมช. ต้องเร่งพิจารณาคือ
ประการแรก สภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเป็นจุดเปราะบางและทำให้ประชาชนไม่สามารถอดทนต่อไปได้ เนื่องจากต้องจับจ่ายใช้สอยทุกวัน ผลสำรวจครั้งนี้ยืนยันว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังมองว่าสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่และสภาพเศรษฐกิจภายในบ้านของประชาชนเองก็แย่เช่นกัน ดังนั้น “การกระจายงาน กระจายรายได้ ลดรายจ่าย” ในชุมชนและครัวเรือนของประชาชนน่าจะเป็นทางออกให้ประชาชนจับต้องได้
ประการที่สอง ในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ คมช.และรัฐบาลต้องตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกันก่อนที่จะเรียกร้องให้ประชาชนทั้งประเทศสามัคคีกัน และต้องทำงานตอบสนองเพื่อประชาชนทั้งประเทศด้วยความฉับไวในการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ ให้มาก และไม่ควรพูดเรื่องการเมืองมากนัก เพราะจะกลายเป็นประเด็นทำลายความน่าเชื่อถือให้น้อยลงไปอีก เนื่องจากขณะนี้ฐานนิยมของสาธารณชนต่อตัวนายกรัฐมนตรีและ คมช. ต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้พูดอะไรออกไปก็จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นตลอด
ประการที่สาม จากการวิเคราะห์ในเชิงลึกทางสถิติ พบว่า ฐานสนับสนุนของประชาชนต่อรัฐบาลและคมช. เป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันดังนั้น ถ้ารัฐบาลและ คมช. แตกแยกจากกัน ฐานสนับสนุนนี้ก็จะแยกออกจากกันเช่นกัน จะทำให้ฐานสนับสนุนอำนาจเก่ามีมากกว่า ผลที่ตามมาก็คือ ความชอบธรรมในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของรัฐบาลและ คมช. ในสายตาของสาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะลดลงจนไม่สามารถทำงานได้
ประการที่สี่ รัฐบาลและ คมช. ควรเร่งทำความเข้าใจกับกลุ่มประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ที่เคยสนับสนุนแต่ปัจจุบันบางส่วนกลายเป็นพลังเงียบและบางส่วนกลายเป็นฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้กลับมาสนับสนุนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ทางออกของประเทศขณะนี้คือ รัฐบาลและ คมช. ควรเร่งจัดวางระบบประเทศให้เรียบร้อยน่าอยู่ ปลอดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอย่างยั่งยืน ในกลุ่มนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งระดับประเทศและระดับชุมชนท้องถิ่น มุ่งทำให้ประชาชนเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์จับต้องได้ และสิ่งที่เป็นคุณธรรมของสังคม เช่น ทำให้ประชาชนมีเงินมากพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น ปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชนให้น่าอยู่ หนุนเสริมบรรยากาศชุมชนให้ประชาชนช่วยกันแก้ปัญหาปกป้องชุมชนของตนเอง และให้ความรู้ ความเข้าใจ เสริมสร้างความตระหนัก ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมผลักดันภารกิจของ “รัฐบาลคุณธรรม” ให้สำเร็จตามเป้าหมายเพื่อความเจริญมั่นคงของประเทศโดยไม่เปิดโอกาสให้มีเหตุอันจำเป็นในการยึดอำนาจและวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายในทางการเมืองอีกต่อไป
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “อารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่าง 10— 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สระบุรี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี นครปฐม กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ สงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,525 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจหัวหน้าโครงการวิจัย
นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นายสุริยัน บุญแท้ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
นางสาวจิรวดี พิศาลวัชรินทร์ นักสถิติ นางสาวอุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย นายคำพัน ราศรี ผู้ช่วยนักวิจัย นายภัทรวิชญ์ มั่งคั่ง ผู้ช่วยนักวิจัย นางสาวสุวิมล วันทา ผู้ช่วยนักวิจัย นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย นายสมเจตน์ เจ๊ะสนิ ผู้ช่วยนักวิจัย นางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการ พร้อมด้วยพนักงานเก็บข้อมูล และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 159 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.3 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 49.7 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 14.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 28.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 17.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 15.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 75.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 4.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.5 เป็นนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 40.0
2 3-4 วัน 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 10.8
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 25.2
5 ไม่ได้ติดตาม 8.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ร้อยละ
1 อยากเห็นสังคมสงบสุข 96.3
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 90.2
3 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 79.4
4 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.6
5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 48.3
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 15.3
7 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 13.8
8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 12.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในขณะนี้
ลำดับที่ ควมคิดเห็นต่อภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 กำลังดีขึ้นกว่าเดิม 6.5
2 ดีเหมือนเดิม 12.9
3 แย่เหมือนเดิม 37.7
4 แย่ลง 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจภายในบ้านของตนเอง
ลำดับที่ ควมคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจภายในบ้านของตนเอง ค่าร้อยละ
1 กำลังดีขึ้นกว่าเดิม 8.0
2 ดีเหมือนเดิม 25.0
3 แย่เหมือนเดิม 25.5
4 แย่ลง 41.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ความคิดเห็น สมาชิก สมาชิก สมาชิก ไม่เป็นสมาชิก
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ พรรคอื่น พรรคใด ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. ควรให้โอกาส 47.0 67.6 54.5 59.4 58.6
2. ไม่ควรให้โอกาส 28.9 9.9 18.2 13.7 14.9
3. ไม่มีความเห็น 24.1 22.5 27.3 26.9 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดนี้ทำงานต่อไปจนครบวาระตามที่ประกาศไว้
จำแนกตามการเป็นฐานความคิดทางการเมือง
ความคิดเห็น ฝ่ายสนับสนุน ไม่สนับสนุน ไม่อยู่ฝ่ายใด
รัฐบาล รัฐบาล (พลังเงียบ) ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. ควรให้โอกาส 76.1 36.1 57.3 58.6
2. ไม่ควรให้โอกาส 8.9 45.4 14.2 14.9
3. ไม่มีความเห็น 15.0 18.5 28.5 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายในปีนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 39.8
2 ไม่เชื่อมั่น 31.6
3 ไม่มีความเห็น 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัญหาการทุจริต
คอรัปชั่นภายหลังการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 18.0
2 ดีเหมือนเดิม 8.0
3 แย่เหมือนเดิม 35.4
4 แย่ลง 6.6
5 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
จำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรค
ความรู้สึก สมาชิก สมาชิก สมาชิก ไม่เป็นสมาชิก
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ พรรคอื่น พรรคใด ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. รู้สึกว่าความสัมพันธ์ดีขึ้น 10.6 25.4 12.5 7.8 9.0
2. ดีเหมือนเดิม 36.2 50.0 40.6 52.9 51.1
3. แย่เหมือนเดิม 30.4 15.8 25.0 22.0 22.5
4. แย่ลง 22.8 8.8 21.9 17.3 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามการเป็น
ฐานความคิดทางการเมือง
ความรู้สึก ฝ่ายสนับสนุน ไม่สนับสนุน ไม่อยู่ฝ่ายใด
รัฐบาล รัฐบาล (พลังเงียบ) ภาพรวม
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1. รู้สึกว่าความสัมพันธ์ดีขึ้น 22.7 6.5 7.4 9.0
2. ดีเหมือนเดิม 55.0 27.3 51.6 51.1
3. แย่เหมือนเดิม 13.8 27.3 23.6 22.5
4. แย่ลง 8.5 38.9 17.4 17.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-