ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลัง
คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวน
ทั้งสิ้น 1,661 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจใน
ครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยร้อยละ 16.1 ระบุมีจุดยืนทางการเมือง
เป็นผู้สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 4.9 ไม่สนับสนุนรัฐบาล และที่เหลือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.0 ไม่อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือเป็นพลังเงียบ
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนพรรคการเมืองในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7 ไม่สนับสนุนพรรค
การเมืองใดเลย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 9.5 ระบุสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 4.4 ระบุสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเพียงร้อยละ 1.4
เท่านั้นสนับสนุนพรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน เป็นต้น
เมื่อสอบถามการรับทราบข่าวที่ คตส. ได้ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ระบุทราบเกี่ยวกับ
โครงการบ้านเอื้ออาทร ร้อยละ 92.2 ทราบเรื่องเกี่ยวกับการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ร้อยละ 91.3 ทราบการขายหุ้นชิน
คอร์ปฯ ให้กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ ร้อยละ 85.8 ทราบโครงการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา ร้อยละ 84.5 ทราบโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยน
สายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ ร้อยละ 80.6 ทราบการแก้กฎหมายและสัญญาสัมปทานเอื้อ
ประโยชน์ให้ธุรกิจในเครือชินคอร์ปฯ ร้อยละ 68.4 ทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อต้นกล้ายาง ร้อยละ 55.8 ทราบการปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า ร้อยละ
54.1 ระบุทราบการปล่อยเงินกู้โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามการทราบข่าว คตส.อายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 97.0 ระบุ
ทราบข่าว ร้อยละ 3.0 ระบุไม่ทราบข่าว
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 56.5 เห็นด้วยกับการสั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว เพราะควร
ตรวจสอบที่มาของเงินให้ชัดเจนก่อน และควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เอง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่
ร้อยละ 43.5 ไม่เห็นด้วย เพราะกลัวเกิดความแตกแยก / คิดว่าเป็นเงินที่หามาโดยสุจริต / ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
เมื่อพิจารณาจำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง พบว่าในกลุ่มของสมาชิกพรรคไทยรักไทยนั้น ร้อยละ 20.8 ที่ระบุเห็นด้วยกับการอายัดทรัพย์ดัง
กล่าวซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
เมื่อสอบถามถึงข้อเสนอแนะของการใช้ประโยชน์จากเงินของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว ที่มีเป็นจำนวนมาก อาจเกิดขึ้นโดย พ.
ต.ท.ทักษิณ เองหรือไม่ก็ตาม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 เห็นว่าน่าจะนำมาส่งเสริมด้านการศึกษาของประชาชน ร้อยละ 63.3 น่าจะนำมาช่วย
เหลือคนยากจน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ร้อยละ 50.3 น่าจะนำมาช่วยเหลือเกษตรกร ร้อยละ 49.6 น่าจะนำมาเป็นกองทุนประกันสุขภาพ
ประชาชน ร้อยละ 45.6 น่าจะนำมาเป็นงบประมาณแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 40.9 น่าจะนำมาเป็นงบประมาณแผ่นดิน ร้อยละ
40.5 น่าจะนำมาจัดสรรเป็นงบประมาณเพื่อปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 32.7 นำมาเป็นกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 30.0 นำมาส่งเสริมกีฬา ร้อยละ
27.2 นำมาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน และร้อยละ 16.7 นำมาปรับปรุงกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายหลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชิน
วัตรและครอบครัว โดยร้อยละ 47.8 เห็นว่าจะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 43.8 เห็นว่าจะวุ่นวายเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 8.4 เท่านั้นเห็นว่าจะลด
ความวุ่นวายลง ทั้งนี้ในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยนั้นส่วนใหญ่สูงถึงร้อยละ 96.7 เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวาย โดยร้อยละ 61.4 เห็นว่าจะ
วุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 35.3 เห็นว่าจะวุ่นวายเหมือนเดิม ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้นที่เห็นว่าจะลดความวุ่นวายลง
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 75 ของตัวอย่างทั้งหมดค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยกับทหาร
และตำรวจที่จะร่วมกันตั้งด่านจุดตรวจป้องกันไม่ให้เกิดม็อบในขณะนี้ โดยร้อยละ 54.5 เห็นด้วย ร้อยละ 21.5 ค่อนข้างเห็นด้วยกับการตั้งจุดตรวจ
ต่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 13.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 10.8 ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลัง
เงียบ
และถ้ามีความวุ่นวายทางการเมืองจนถึงขั้นรุนแรง ประชาชนจะยอมรับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ
73.5 ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 26.5 ยอมรับไม่ได้ โดยผู้ที่ยอมรับได้เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบเช่นกัน
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อ การกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้ ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังไม่ควรกลับขณะนี้ หรือไม่ควรกลับมา
อีกเลย โดยร้อยละ 31.5 เห็นว่าควรรออีกสักระยะหนึ่ง เช่น อีก 1 ปี และบางส่วนให้รออีก 5 ปี เมื่อบ้านเมืองสงบสุขและเพื่อความปลอดภัยของ
พ.ต.ท.ทักษิณ เอง และบางส่วนให้รออีก 6 เดือนหลังการเลือกตั้งมีรัฐบาลใหม่ก่อน ในขณะที่ร้อยละ 23.7 เห็นว่าไม่ควรกลับมาอีกเลย เพราะอาจ
ถูกทำร้าย อาจเกิดความวุ่นวายและประเทศจะเสียหาย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 44.8 เห็นว่าควรกลับทันที เพราะเป็นสิทธิของความเป็นคนไทย ควร
มาช่วยเหลือประชาชน และมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ทุกฝ่ายควรช่วยกันคิดและปฏิบัติคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกือบร้อยละ หรือร้อยละ 94.9 อยากให้
ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีเพราะอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ร้อยละ 91.6 อยากให้มีการแสดงออกซึ่งความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่ทำผิด
กฎหมาย ร้อยละ 91.0 อยากให้ลดอคติต่อกันและกัน ร้อยละ 84.7 อยากให้หยุดเคลื่อนไหวใดๆ ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 15.7
อยากให้เคลื่อนไหวการเมืองต่อ โดยฝ่าฝืนกฎระเบียบทางสังคมได้ถ้าจำเป็น ร้อยละ 5.6 อยากให้ยึดมั่นตามผลประโยชน์ของตน และดำเนินการทุกวิถี
ทางเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ และร้อยละ 5.0 สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ต้องการความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมืองโดยเร็ว โดย
ประชาชนที่เป็นกลุ่มพลังเงียบและกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลกำลังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ขึ้น
และอาจยอมรับการประกาศสภาวะฉุกเฉินถ้าเกิดความรุนแรงต่างๆ จนไม่สามารถใช้วิธีการปกติควบคุมได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นเช่นกันว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข่าวการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในรัฐบาลชุด
ก่อน แต่กลับพบว่าสาธารณชนไม่ตื่นตัวเห็นพ้องกับการทำงานของ คตส. มากพอที่จะทำให้การเมืองสงบนิ่งได้ ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจก่อนหน้านี้เพียงไม่
กี่สัปดาห์พบว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่มีความเอนเอียงที่จะยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่นถ้าทำให้สังคมอยู่ดีกินดี ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้
สังคมไทยต้องเผชิญปัญหาเช่นที่เป็นอยุ่ในขณะนี้ จึงน่าจะมีอย่างน้อยสองประการคือ
ประการแรก รัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากจนทำให้ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเห็น
เป็นเรื่องปกติธรรมดาแ จึงไม่มีพลังพอที่จะต่อต้านขบวนการทุจริตคอรัปชั่นได้
ประการที่สอง รัฐบาลชุดปัจจุบันมีฐานสนับสนุนจากสาธารณชนต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากไม่สามารถเป็นรัฐบาลที่ทำงานให้สอดคล้องกับความ
คาดหวังและความต้องการของประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ทางการเมือง ในปัจจุบันทำให้ประชาชนจำนวนมากยังไม่เห็นความสำคัญของรัฐบาลที่ซื่อสัตย์
สุจริตชุดนี้
อย่างไรก็ตาม ฐานสนับสนุนของพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังมีไม่มากพอที่จะกลายเป็นอำนาจต่อรองทางการเมืองในขณะนี้
ได้ แต่กลุ่มที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในสถานการณ์การเมืองขณะนี้คือ “กลุ่มพลังเงียบ” ที่ไม่เอาทั้งรัฐบาลชุดปัจจุบันและพรรคการเมืองต่างๆ ในเวลานี้ ดัง
นั้น การทำงานทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะได้ “ใจ” ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในขณะนี้ก็คือ ผู้ที่เป็นผู้รักษาความสงบสุข
ให้เกิดขึ้นในสังคมได้ ผู้ที่ทำให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีได้ ผู้นั้น หรือคณะบุคคลกลุ่มนั้นก็คือผู้ที่จะได้ครอบครองทั้งอำนาจการเมืองและ
อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.
ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 13-14 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,661 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ50.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 31.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 31.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 28.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 27.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.2 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.0 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.8
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.2
5 ไม่ได้ติดตาม 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองในการสนับสนุนรัฐบาล
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองในการสนับสนุนรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนรัฐบาล 16.1
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 4.9
3 ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) 79.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุนพรรคการเมือง
ลำดับที่ การสนับสนุนพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 ไทยรักไทย 9.5
2 ประชาธิปัตย์ 4.4
3 อื่นๆ อาทิ ชาติไทย มหาชน 1.4
4 ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย 84.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวที่ คตส. ได้ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทราบข่าวที่ คตส. ได้ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน ค่าร้อยละ
1 โครงการบ้านเอื้ออาทร 92.4
2 การออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว 92.2
3 การขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ 91.3
4 โครงการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา 85.8
5 โครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพาน ลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร
และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 84.5
6 การแก้กฎหมายและสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจในเครือชินคอร์ปฯ 80.6
7 การจัดซื้อต้นกล้ายาง 68.4
8 การปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า 55.8
9 การปล่อยเงินกู้โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทย 54.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าว คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 97.0
2 ไม่ทราบข่าว 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณี คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
จำแนกตามการสนับสนุนพรรคการเมือง
ความคิดเห็น พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่สนับสนุนพรรคใด รวมทั้งสิ้น
1. เห็นด้วย เพราะควรตรวจสอบที่มาของเงินให้ชัดเจนก่อน /
ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ เอง 20.8 88.4 72.7 58.6 56.5
2. ไม่เห็นด้วย เพราะกลัวเกิดความแตกแยก / เป็นเงิน
ที่เขาหามาโดยสุจริต / ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิด 79.2 11.6 27.3 41.4 43.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อการใช้ประโยชน์ในเงินและทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากมีคำตัดสินว่า
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดฐานทุจริตจริง และมีการยึดทรัพย์สิน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อการใช้ประโยชน์ของเงินและทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ค่าร้อยละ
1 ส่งเสริมการศึกษาของประชาชน 72.1
2 ช่วยเหลือคนยากจน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส 63.3
3 ช่วยเหลือเกษตรกร 50.3
4 เป็นกองทุนประกันสุขภาพประชาชน 49.6
5 เป็นงบประมาณเพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 45.6
6 จัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดิน 40.9
7 เป็นงบประมาณเพื่อปราบปรามยาเสพติด 40.5
8 นำไปเป็นกองทุนหมู่บ้าน 32.7
9 ส่งเสริมการกีฬา 30.0
10 ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน 27.2
11 ปรับปรุงกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ 16.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง หลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว จำแนกตามการสนับสนุนพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่สนับสนุนพรรคใด รวมทั้งสิ้น
1 วุ่นวายมากขึ้น 61.4 25.4 38.1 47.5 47.8
2 วุ่นวายเหมือนเดิม 35.3 56.7 57.1 44.3 43.8
3 ลดความวุ่นวายลง 3.3 17.9 4.8 8.2 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีทหารและตำรวจจะร่วมกันตั้งด่านจุดตรวจป้องกันไม่ให้เกิดม็อบในขณะนี้
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 72.7 11.3 53.6 54.5
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 19.2 10.0 22.6 21.5
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 6.2 28.7 13.6 13.2
4 ไม่เห็นด้วย 1.9 50.0 10.2 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับหากรัฐบาลจะประกาศพระราชกำหนดว่าด้วย
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าเกิดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในระดับรุนแรง
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
การยอมรับ สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1. ยอมรับได้ 74.6 30.0 73.4 73.5
2. ยอมรับไม่ได้ 25.4 70.0 26.6 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ควรกลับประเทศไทยในเวลานี้
หรือควรรออีกสักระยะหนึ่ง จำแนกตามการสนับสนุนพรรคการเมือง
ความคิดเห็น พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่สนับสนุนพรรคใด รวมทั้งสิ้น
1. ควรกลับทันที เพราะควรมาแก้ข้อกล่าวหา /
กลับได้ตามสิทธิความเป็นคนไทย / มาช่วยเหลือ
ประชาชน / มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก 65.5 20.0 36.4 43.5 44.8
2. ควรรออีกสักระยะ อาทิ 1 ปีรอให้บ้านเมืองสงบก่อน
/ 5 ปีเพื่อความปลอดภัย / 6 เดือนรอให้มี
รัฐบาลชุดใหม่ก่อน 25.5 28.6 27.2 32.8 31.5
3. ไม่ควรกลับมาอีกเลย เพราะอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์
วุ่นวายอีก / อาจถูกทำร้าย / ประเทศจะเสียหาย 9.0 51.4 36.4 23.7 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การดำเนินการทางการเมืองที่อยากเห็นจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การดำเนินการทางการเมืองที่อยากเห็น ค่าร้อยละ
1 หันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีเพราะอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 94.9
2 แสดงออกซึ่งความเป็นประชาธิปไตย โดยไม่ทำผิดกฎหมาย 91.6
3 ลดอคติต่อกันและกัน 91.0
4 หยุดการเคลื่อนไหวใดๆ ในขณะนี้ 84.7
5 เคลื่อนไหวการเมืองต่อโดยฝ่าฝืนกฎระเบียบทางสังคมได้ถ้าจำเป็น 15.7
6 ยึดมั่นตามผลประโยชน์ของตน และดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ 5.6
7 สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน 5.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลัง
คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” จำนวน
ทั้งสิ้น 1,661 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจใน
ครั้งนี้ มีดังนี้
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยร้อยละ 16.1 ระบุมีจุดยืนทางการเมือง
เป็นผู้สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 4.9 ไม่สนับสนุนรัฐบาล และที่เหลือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.0 ไม่อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือเป็นพลังเงียบ
เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนพรรคการเมืองในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7 ไม่สนับสนุนพรรค
การเมืองใดเลย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 9.5 ระบุสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 4.4 ระบุสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเพียงร้อยละ 1.4
เท่านั้นสนับสนุนพรรคอื่นๆ เช่น พรรคชาติไทย พรรคมหาชน เป็นต้น
เมื่อสอบถามการรับทราบข่าวที่ คตส. ได้ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ระบุทราบเกี่ยวกับ
โครงการบ้านเอื้ออาทร ร้อยละ 92.2 ทราบเรื่องเกี่ยวกับการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ร้อยละ 91.3 ทราบการขายหุ้นชิน
คอร์ปฯ ให้กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ ร้อยละ 85.8 ทราบโครงการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา ร้อยละ 84.5 ทราบโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยน
สายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ ร้อยละ 80.6 ทราบการแก้กฎหมายและสัญญาสัมปทานเอื้อ
ประโยชน์ให้ธุรกิจในเครือชินคอร์ปฯ ร้อยละ 68.4 ทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อต้นกล้ายาง ร้อยละ 55.8 ทราบการปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า ร้อยละ
54.1 ระบุทราบการปล่อยเงินกู้โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามการทราบข่าว คตส.อายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 97.0 ระบุ
ทราบข่าว ร้อยละ 3.0 ระบุไม่ทราบข่าว
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 56.5 เห็นด้วยกับการสั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว เพราะควร
ตรวจสอบที่มาของเงินให้ชัดเจนก่อน และควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เอง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่
ร้อยละ 43.5 ไม่เห็นด้วย เพราะกลัวเกิดความแตกแยก / คิดว่าเป็นเงินที่หามาโดยสุจริต / ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
เมื่อพิจารณาจำแนกตามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง พบว่าในกลุ่มของสมาชิกพรรคไทยรักไทยนั้น ร้อยละ 20.8 ที่ระบุเห็นด้วยกับการอายัดทรัพย์ดัง
กล่าวซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
เมื่อสอบถามถึงข้อเสนอแนะของการใช้ประโยชน์จากเงินของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว ที่มีเป็นจำนวนมาก อาจเกิดขึ้นโดย พ.
ต.ท.ทักษิณ เองหรือไม่ก็ตาม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 เห็นว่าน่าจะนำมาส่งเสริมด้านการศึกษาของประชาชน ร้อยละ 63.3 น่าจะนำมาช่วย
เหลือคนยากจน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ร้อยละ 50.3 น่าจะนำมาช่วยเหลือเกษตรกร ร้อยละ 49.6 น่าจะนำมาเป็นกองทุนประกันสุขภาพ
ประชาชน ร้อยละ 45.6 น่าจะนำมาเป็นงบประมาณแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 40.9 น่าจะนำมาเป็นงบประมาณแผ่นดิน ร้อยละ
40.5 น่าจะนำมาจัดสรรเป็นงบประมาณเพื่อปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 32.7 นำมาเป็นกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 30.0 นำมาส่งเสริมกีฬา ร้อยละ
27.2 นำมาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน และร้อยละ 16.7 นำมาปรับปรุงกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายหลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชิน
วัตรและครอบครัว โดยร้อยละ 47.8 เห็นว่าจะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 43.8 เห็นว่าจะวุ่นวายเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 8.4 เท่านั้นเห็นว่าจะลด
ความวุ่นวายลง ทั้งนี้ในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยนั้นส่วนใหญ่สูงถึงร้อยละ 96.7 เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวาย โดยร้อยละ 61.4 เห็นว่าจะ
วุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 35.3 เห็นว่าจะวุ่นวายเหมือนเดิม ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้นที่เห็นว่าจะลดความวุ่นวายลง
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 75 ของตัวอย่างทั้งหมดค่อนข้างเห็นด้วยและเห็นด้วยกับทหาร
และตำรวจที่จะร่วมกันตั้งด่านจุดตรวจป้องกันไม่ให้เกิดม็อบในขณะนี้ โดยร้อยละ 54.5 เห็นด้วย ร้อยละ 21.5 ค่อนข้างเห็นด้วยกับการตั้งจุดตรวจ
ต่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 13.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 10.8 ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลัง
เงียบ
และถ้ามีความวุ่นวายทางการเมืองจนถึงขั้นรุนแรง ประชาชนจะยอมรับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ
73.5 ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 26.5 ยอมรับไม่ได้ โดยผู้ที่ยอมรับได้เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบเช่นกัน
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อ การกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้ ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังไม่ควรกลับขณะนี้ หรือไม่ควรกลับมา
อีกเลย โดยร้อยละ 31.5 เห็นว่าควรรออีกสักระยะหนึ่ง เช่น อีก 1 ปี และบางส่วนให้รออีก 5 ปี เมื่อบ้านเมืองสงบสุขและเพื่อความปลอดภัยของ
พ.ต.ท.ทักษิณ เอง และบางส่วนให้รออีก 6 เดือนหลังการเลือกตั้งมีรัฐบาลใหม่ก่อน ในขณะที่ร้อยละ 23.7 เห็นว่าไม่ควรกลับมาอีกเลย เพราะอาจ
ถูกทำร้าย อาจเกิดความวุ่นวายและประเทศจะเสียหาย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 44.8 เห็นว่าควรกลับทันที เพราะเป็นสิทธิของความเป็นคนไทย ควร
มาช่วยเหลือประชาชน และมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ทุกฝ่ายควรช่วยกันคิดและปฏิบัติคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกือบร้อยละ หรือร้อยละ 94.9 อยากให้
ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีเพราะอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ร้อยละ 91.6 อยากให้มีการแสดงออกซึ่งความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่ทำผิด
กฎหมาย ร้อยละ 91.0 อยากให้ลดอคติต่อกันและกัน ร้อยละ 84.7 อยากให้หยุดเคลื่อนไหวใดๆ ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 15.7
อยากให้เคลื่อนไหวการเมืองต่อ โดยฝ่าฝืนกฎระเบียบทางสังคมได้ถ้าจำเป็น ร้อยละ 5.6 อยากให้ยึดมั่นตามผลประโยชน์ของตน และดำเนินการทุกวิถี
ทางเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ และร้อยละ 5.0 สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ต้องการความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมืองโดยเร็ว โดย
ประชาชนที่เป็นกลุ่มพลังเงียบและกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลกำลังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ขึ้น
และอาจยอมรับการประกาศสภาวะฉุกเฉินถ้าเกิดความรุนแรงต่างๆ จนไม่สามารถใช้วิธีการปกติควบคุมได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นเช่นกันว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข่าวการตรวจสอบปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในรัฐบาลชุด
ก่อน แต่กลับพบว่าสาธารณชนไม่ตื่นตัวเห็นพ้องกับการทำงานของ คตส. มากพอที่จะทำให้การเมืองสงบนิ่งได้ ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจก่อนหน้านี้เพียงไม่
กี่สัปดาห์พบว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่มีความเอนเอียงที่จะยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่นถ้าทำให้สังคมอยู่ดีกินดี ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้
สังคมไทยต้องเผชิญปัญหาเช่นที่เป็นอยุ่ในขณะนี้ จึงน่าจะมีอย่างน้อยสองประการคือ
ประการแรก รัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมากจนทำให้ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเห็น
เป็นเรื่องปกติธรรมดาแ จึงไม่มีพลังพอที่จะต่อต้านขบวนการทุจริตคอรัปชั่นได้
ประการที่สอง รัฐบาลชุดปัจจุบันมีฐานสนับสนุนจากสาธารณชนต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากไม่สามารถเป็นรัฐบาลที่ทำงานให้สอดคล้องกับความ
คาดหวังและความต้องการของประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ทางการเมือง ในปัจจุบันทำให้ประชาชนจำนวนมากยังไม่เห็นความสำคัญของรัฐบาลที่ซื่อสัตย์
สุจริตชุดนี้
อย่างไรก็ตาม ฐานสนับสนุนของพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังมีไม่มากพอที่จะกลายเป็นอำนาจต่อรองทางการเมืองในขณะนี้
ได้ แต่กลุ่มที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในสถานการณ์การเมืองขณะนี้คือ “กลุ่มพลังเงียบ” ที่ไม่เอาทั้งรัฐบาลชุดปัจจุบันและพรรคการเมืองต่างๆ ในเวลานี้ ดัง
นั้น การทำงานทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะได้ “ใจ” ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในขณะนี้ก็คือ ผู้ที่เป็นผู้รักษาความสงบสุข
ให้เกิดขึ้นในสังคมได้ ผู้ที่ทำให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีได้ ผู้นั้น หรือคณะบุคคลกลุ่มนั้นก็คือผู้ที่จะได้ครอบครองทั้งอำนาจการเมืองและ
อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง “ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.
ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ในครั้งนี้ ดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 13-14 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,661 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อย
ละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ50.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 32.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 31.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.3 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 31.6 ระบุจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 8.8 ระบุจบอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 28.8 ระบุจบปริญญาตรี
และร้อยละ 2.5 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 27.4 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.2 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 1.0 อื่นๆ อาทิ เกษตรกร และว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.8
2 3-4 วัน /สัปดาห์ 15.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 8.4
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.2
5 ไม่ได้ติดตาม 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมืองในการสนับสนุนรัฐบาล
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมืองในการสนับสนุนรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนรัฐบาล 16.1
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 4.9
3 ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) 79.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุนพรรคการเมือง
ลำดับที่ การสนับสนุนพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 ไทยรักไทย 9.5
2 ประชาธิปัตย์ 4.4
3 อื่นๆ อาทิ ชาติไทย มหาชน 1.4
4 ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย 84.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวที่ คตส. ได้ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทราบข่าวที่ คตส. ได้ตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน ค่าร้อยละ
1 โครงการบ้านเอื้ออาทร 92.4
2 การออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว 92.2
3 การขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ 91.3
4 โครงการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดา 85.8
5 โครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพาน ลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร
และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 84.5
6 การแก้กฎหมายและสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจในเครือชินคอร์ปฯ 80.6
7 การจัดซื้อต้นกล้ายาง 68.4
8 การปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า 55.8
9 การปล่อยเงินกู้โดยผู้บริหารธนาคารกรุงไทย 54.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าว คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
ลำดับที่ การทราบข่าว ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 97.0
2 ไม่ทราบข่าว 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณี คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว
จำแนกตามการสนับสนุนพรรคการเมือง
ความคิดเห็น พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่สนับสนุนพรรคใด รวมทั้งสิ้น
1. เห็นด้วย เพราะควรตรวจสอบที่มาของเงินให้ชัดเจนก่อน /
ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ เอง 20.8 88.4 72.7 58.6 56.5
2. ไม่เห็นด้วย เพราะกลัวเกิดความแตกแยก / เป็นเงิน
ที่เขาหามาโดยสุจริต / ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิด 79.2 11.6 27.3 41.4 43.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อการใช้ประโยชน์ในเงินและทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากมีคำตัดสินว่า
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดฐานทุจริตจริง และมีการยึดทรัพย์สิน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อการใช้ประโยชน์ของเงินและทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ค่าร้อยละ
1 ส่งเสริมการศึกษาของประชาชน 72.1
2 ช่วยเหลือคนยากจน คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส 63.3
3 ช่วยเหลือเกษตรกร 50.3
4 เป็นกองทุนประกันสุขภาพประชาชน 49.6
5 เป็นงบประมาณเพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 45.6
6 จัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดิน 40.9
7 เป็นงบประมาณเพื่อปราบปรามยาเสพติด 40.5
8 นำไปเป็นกองทุนหมู่บ้าน 32.7
9 ส่งเสริมการกีฬา 30.0
10 ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน 27.2
11 ปรับปรุงกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ 16.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง หลัง คตส. สั่งอายัดทรัพย์สิน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว จำแนกตามการสนับสนุนพรรคการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่สนับสนุนพรรคใด รวมทั้งสิ้น
1 วุ่นวายมากขึ้น 61.4 25.4 38.1 47.5 47.8
2 วุ่นวายเหมือนเดิม 35.3 56.7 57.1 44.3 43.8
3 ลดความวุ่นวายลง 3.3 17.9 4.8 8.2 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกรณีทหารและตำรวจจะร่วมกันตั้งด่านจุดตรวจป้องกันไม่ให้เกิดม็อบในขณะนี้
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1 เห็นด้วย 72.7 11.3 53.6 54.5
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 19.2 10.0 22.6 21.5
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 6.2 28.7 13.6 13.2
4 ไม่เห็นด้วย 1.9 50.0 10.2 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การยอมรับหากรัฐบาลจะประกาศพระราชกำหนดว่าด้วย
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าเกิดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในระดับรุนแรง
จำแนกตามการสนับสนุนรัฐบาล
การยอมรับ สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่อยู่ฝ่ายใด(พลังเงียบ) รวมทั้งสิ้น
1. ยอมรับได้ 74.6 30.0 73.4 73.5
2. ยอมรับไม่ได้ 25.4 70.0 26.6 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ควรกลับประเทศไทยในเวลานี้
หรือควรรออีกสักระยะหนึ่ง จำแนกตามการสนับสนุนพรรคการเมือง
ความคิดเห็น พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ ไม่สนับสนุนพรรคใด รวมทั้งสิ้น
1. ควรกลับทันที เพราะควรมาแก้ข้อกล่าวหา /
กลับได้ตามสิทธิความเป็นคนไทย / มาช่วยเหลือ
ประชาชน / มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก 65.5 20.0 36.4 43.5 44.8
2. ควรรออีกสักระยะ อาทิ 1 ปีรอให้บ้านเมืองสงบก่อน
/ 5 ปีเพื่อความปลอดภัย / 6 เดือนรอให้มี
รัฐบาลชุดใหม่ก่อน 25.5 28.6 27.2 32.8 31.5
3. ไม่ควรกลับมาอีกเลย เพราะอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์
วุ่นวายอีก / อาจถูกทำร้าย / ประเทศจะเสียหาย 9.0 51.4 36.4 23.7 23.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การดำเนินการทางการเมืองที่อยากเห็นจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การดำเนินการทางการเมืองที่อยากเห็น ค่าร้อยละ
1 หันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีเพราะอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 94.9
2 แสดงออกซึ่งความเป็นประชาธิปไตย โดยไม่ทำผิดกฎหมาย 91.6
3 ลดอคติต่อกันและกัน 91.0
4 หยุดการเคลื่อนไหวใดๆ ในขณะนี้ 84.7
5 เคลื่อนไหวการเมืองต่อโดยฝ่าฝืนกฎระเบียบทางสังคมได้ถ้าจำเป็น 15.7
6 ยึดมั่นตามผลประโยชน์ของตน และดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ 5.6
7 สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน 5.0
ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacsimba.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-