ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง 10 คำถามที่คนไทยกลุ่มพลังเงียบตอบ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ชลบุรี สุโขทัย นครสวรรค์ เชียงใหม่ นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 1,185 ครัวเรือน ดำเนินโครงการในวันที่ 21 พฤษภาคม 2553
จากการวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมาพบว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นกลุ่มที่ไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือที่มักถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มพลังเงียบ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงเกิดขึ้นโดยเน้นไปที่กลุ่มพลังเงียบและหาแนวทางประยุกต์ใช้ข้อมูลวิจัยในเชิงสร้างสรรค์ให้สังคมไทยกลับสู่ความปกติสุขโดยเร็ว โดยผลวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า
คำถามที่หนึ่ง ถามว่า ได้เห็นภาพเหตุการณ์ความเสียหายจากการชุมนุมครั้งที่ผ่านมานี้หรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.9 ได้เห็นภาพเหตุการณ์ความเสียหายต่างๆ
คำถามที่สอง ถามว่า รู้สึกสงสารคนที่หาเช้ากินค่ำต้องตกงานเพราะเหตุการณ์ชุมนุมครั้งที่ผ่านมาหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.8 รู้สึกสงสาร
คำถามที่สาม ถามว่า รู้สึกเจ็บปวดแค่ไหน ถ้าตนเองหรือญาติพี่น้องต้องลำบากหรือสูญเสียเพราะเหตุการณ์ชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.4 ระบุค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
คำถามที่สี่ ถามว่า ถ้าประเทศชาติเสียหาย คิดว่า ตนเองจะเสียหายตามไปด้วยหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.2 คิดว่า ตนเองจะเสียหายตามไปด้วย
คำถามที่ห้า ถามว่า ยังคงเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศในการคลี่คลายวิกฤตการณ์ต่างๆ หรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.4 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมากที่สุด
คำถามที่หก ถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ต่อแนวทางปรองดอง 5 ข้อที่นายกรัฐมนตรีเสนอ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 ค่อนข้างเห็นด้วย ถึงเห็นด้วยมากที่สุด
คำถามที่เจ็ด ถามว่า ยังเชื่อมั่นหรือไม่ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ว่าจะเป็นหนทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมากที่สุด
คำถามที่แปด ถามว่า ต้องการใช้โอกาสวันวิสาขบูชาเป็นวันคืนความสงบสุขที่สมบูรณ์ให้กับสังคมไทย โดยคนไทยทุกกลุ่มทุกสีหันหน้าจับมือร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศชาติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 ต้องการเห็นการจับมือกัน
คำถามที่เก้า ถามว่า รู้สึกเสียใจแค่ไหนที่คนไทยไม่รักกัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.6 รู้สึกเสียใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
คำถามที่สิบ ถามว่า สายเกินไปหรือไม่ที่คนไทยจะหันหน้ามารักกัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.1 ยังไม่สายเกินไปที่คนไทยจะหันหน้ามารักกัน
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวโดยสรุปว่า สิ่งที่คณะผู้วิจัยค้นพบคือ คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศยังคงรักความสงบสุข และต้องการอยู่ในสังคมที่มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่หากมีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้นก็ต้องยังคงเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ ได้ ดังนั้น ในโอกาสวันวิสาขบูชาที่จะมาถึงนี้จึงน่าเป็นโอกาสที่ดีของวันแห่งการคืนความสงบสุขที่สมบูรณ์ให้กับสังคมไทยด้วยความร่วมมือของประชาชนทุกกลุ่มสีทุกศาสนาในการพัฒนาฟื้นฟูประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.7 เป็นชาย
ร้อยละ 59.3 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 15.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 14.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 28.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 33.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 67.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 27.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 9.7 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ได้เห็นภาพเหตุการณ์ความเสียหายต่างๆ 94.9 2 ไม่เห็น 5.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า รู้สึกสงสารคนที่หาเช้ากินค่ำต้องตกงานเพราะเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้หรือไม่ ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 รู้สึกสงสาร 97.8 2 ไม่รู้สึกอะไร 2.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า จะรู้สึกเจ็บปวดแค่ไหน ถ้าตนเองหรือญาติพี่น้องต้องลำบากหรือ
สูญเสียเพราะเหตุการณ์ชุมนุม
ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด 96.4 2 ค่อนข้างน้อย ถึงไม่รู้สึกเลย 3.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าประเทศชาติเสียหาย คิดว่าตนเองเสียหายตามไปด้วยหรือไม่ ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 คิดว่า ตนเองจะเสียหายตามไปด้วย 83.2 2 ไม่คิดเช่นนั้น 16.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ในการคลี่คลาย
วิกฤตการณ์ต่างๆ หรือไม่
ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น ถึง เชื่อมั่นมากที่สุด 72.4 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ถึง ไม่เชื่อมั่นเลย 27.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่าเห็นด้วยหรือไม่ต่อแนวทางปรองดอง 5 ข้อที่นายกรัฐมนตรีเสนอ ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างเห็นด้วย ถึงเห็นด้วยมากที่สุด 74.5 2 ไม่ค่อยเห็นด้วย ถึง ไม่เห็นด้วยเลย 25.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า ยังเชื่อมั่นหรือไม่ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ว่าจะเป็นหนทาง
แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศได้
ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น ถึง เชื่อมั่นมากที่สุด 80.7 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ถึง ไม่เชื่อมั่นเลย 19.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ต้องการใช้โอกาสวันวิสาขบูชา เป็นวันคืนความสงบสุขที่สมบูรณ์ให้กับสังคมไทย โดยคนไทยทุกกลุ่มทุกสีหันหน้าจับมือร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศชาติ ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ต้องการเห็นการจับมือกัน 95.9 2 ไม่ต้องการ 4.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่าเสียใจแค่ไหนที่คนไทยไม่รักกัน ลำดับที่ ระดับความเสียใจของประชาชน ค่าร้อยละ 1 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด 96.6 2 ค่อนข้างน้อยถึงไม่เสียใจเลย 3.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่าสายเกินไปหรือไม่ที่คนไทยจะหันหน้ามารักกัน ลำดับที่ คำตอบ ค่าร้อยละ 1 ยังไม่สายเกินไปที่คนไทยจะหันหน้ามารักกัน 91.1 2 สายเกินไปแล้ว 8.9 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--